เรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด! “รู้ทันภัยไซเบอร์” ป้องกันอย่างไร..ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

Loading

  ปัจจุบัน Cybercrime หรือ อาชญากรรมไซเบอร์เกิดขึ้นทุกวันและมีอัตราการโจมตีเพิ่มขึ้น ทำให้องค์กรในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากกว่าในอดีต อีกทั้งอาชญากรรมไซเบอร์มีการพัฒนารูปแบบการจู่โจม เทคนิคและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น พร้อมแทรกซึมเข้าสู่องค์กรเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา   แล้วจะทำอย่างไร? ให้องค์กรของคุณ…สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปลอดภัย และสามารถป้องกันพร้อมรับมือกับอาชญากรรมไซเบอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้   “Attackers are adapting and finding new ways to implement their techniques, increasing the complexity of how and where they host campaign operation infrastructure.” – Amy Hogan-Burney, General Manager, Digital Crimes Unit, Microsoft     1. Malware Attack ภัยคุกคามรุ่นบุกเบิกที่มักจะแฝงตัวมากับไฟล์ที่ดาวน์โหลด อีเมล และจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น…

ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok

Loading

iT24Hrs   ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok โดย TikTok กำลังเผชิญกับข้อจำกัดที่เพิ่มขึ้นและการแบน TikTok ในหลายประเทศทั่วโลก   โดยในสหรัฐอเมริกาได้เตรียมคำสั่งห้าม และได้พิจารณาคดีในรัฐสภาเมื่อเร็ว ๆ นี้กับ Shou Zi Chew CEO ของ TikTok ทำให้หลายคนพูดถึง TikTok เยอะ เป็นพาดหัวหลายสำนักข่าวทั้งในสหรัฐและทั่วโลก นอกจากนี้ ทั่วทั้งอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย หลายประเทศได้บังคับใช้ข้อจำกัดระดับหนึ่งกับแอป TikTok   เนื่องด้วยเหตุผลความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแม่ ที่หลายประเทศมองว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok มีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน ทำให้หน่วยงานรัฐบาลระหว่างประเทศรวมถึงคณะกรรมาธิการยุโรปและNATOได้สั่งห้ามไม่ให้พนักงานใช้ TikTok บนมือถือของบริษัท เช่นเดียวกับรัฐบาลกลางในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องด้วยเหตุผลความมั่นคงของชาติ   ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok   อัฟกานิสถาน กลุ่มตาลีบันห้าม TikTok ในอัฟกานิสถานในเดือนเมษายน 2565 โดยกล่าวว่าเนื้อหาของแพลตฟอร์ม “ไม่สอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม”…

‘การ์ทเนอร์’ เจาะ 8 เทรนด์ใหญ่ อิทธิพลแรงสมรภูมิ ‘ซิเคียวริตี้’

Loading

  วันนี้ที่ “ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้” กลายเป็นวาระสำคัญของทุกองค์กร แน่นอนว่าหนึ่งในผู้ที่ต้องรับบทหนักมากที่สุดหนีไม่พ้น ผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Chief Information Security Officers หรือ CISOs)   Keypoints •   ผู้บริหารควรคิดนอกกรอบไปมากกว่าแค่เรื่องของเทคโนโลยี •   ต้องสร้างสมมุติฐานและวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความปลอดภัยในอีกสองปีข้างหน้า •   ริชาร์ด แอดดิสคอตต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์อิงค์ กล่าวว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่า CISO และทีมงานด้านความปลอดภัยจะต้องมุ่งไปยังสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรของพวกเขาปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้   โดยผู้บริหารความปลอดภัยทางไซเบอร์ต้องสร้างสมมุติฐานและวางแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความปลอดภัยในอีกสองปีข้างหน้า     1. ภายในปี 2570 50% ของผู้บริหาร CISO จะนำแนวทางปฏิบัติการออกแบบความปลอดภัยที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางมาปรับใช้ เพื่อลดแรงเสียดทานที่เกิดจากความปลอดภัยไซเบอร์และเพิ่มการควบคุมในระดับสูงสุด ผลการวิจัยของการ์ทเนอร์พบว่า มากกว่า 90% ของพนักงานยอมรับว่า ได้กระทำการที่ไม่ปลอดภัยในระหว่างการทำงานแม้ทราบดีว่าการกระทำนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงให้องค์กรแต่ก็ยังทำอยู่ดี   ปลูกฝัง Zero-Trust mindset   2. ภายในปี 2567…

กระสุนปืนใหญ่มีมอเตอร์เสริม ยิงแม่น-ไกลขึ้น 2 เท่า เขี้ยวเล็บใหม่กองทัพสหรัฐฯ

Loading

  กองทัพสหรัฐ เผยเขี้ยวเล็บใหม่ กระสุนปืนใหญ่วิถีโค้งระยะไกล ซับ คาลิเบอร์ อาร์ทิลเลอรี เพิ่มพิสัยการยิงเป็น 2 เท่าของกระสุนนำวิถีในปัจจุบัน   บีเออี ซิสเต็มส์ (BAE Systems) บริษัทผลิตยุทโธปกรณ์ และอากาศยานสัญชาติอังกฤษ และกองทัพสหรัฐฯ ประกาศความสำเร็จในการยิงกระสุนปืนใหญ่วิถีโค้งระยะไกล ซับ คาลิเบอร์ อาร์ทิลเลอรี (Sub-Caliber Artillery) ด้วยปืนใหญ่ XM907E2 ขนาด 155 มิลลิเมตร พร้อมด้วยเทคโนโลยีเพิ่มความรุนแรงของกระสุน หรือ Enhanced Lethality เพิ่มพิสัยการยิงเป็น 2 เท่าของกระสุนนำวิถีในปัจจุบัน   สำหรับกระสุน Sub-caliber round ในหมวดกระสุนปืนใหญ่นั้นคือลูกกระสุนแบบ KEP, KE (Kinetic energy penetrator) ซึ่งเป็นกระสุนลูกดอกที่ทำมาจากโลหะแข็งอย่างทังสเตนคาร์ไบน์ ซึ่งเอาไว้สำหรับยิงเจาะรถถัง-ยานเกราะโดยเฉพาะ โดยที่ตัวกระสุนจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าขนาดลำกล้องปืน ด้านส่วนที่สัมผัสผิวลำกล้องคือ ครอบกระสุนหรือหมอนรองกระสุนซึ่งจะถูกสลัดออกไปเมื่อกระสุนพ้นลำกล้อง   โดยการทดสอบกระสุนปืนแบบใหม่นี้ เกิดขึ้นที่ฐานทดสอบขีปนาวุธ ไวท์…

เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของเรารั่วไหล❗️ เราจะรับมือแล้วป้องกันอย่างไร❓

Loading

    วันนี้ ETDA ขอเสนอแนวทางป้องกันกรณีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล! ที่คัดพิเศษมาให้สำหรับคนทั่วไป และหน่วยงานที่ทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ? ตามไปดูกันได้เลย   แนวทางป้องกันตัวเองจากผู้ไม่หวังดี ที่อาจจะแอบใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเราที่รั่วไหล   1. หยุด   โอนเงิน ให้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลสำคัญ กับบุคคลที่ไม่รู้จัก ที่ติดต่อเรา มาทาง อีเมล SMS หรือโทรศัพท์ เพราะผู้ไม่หวังดีอาจปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ติดต่อมาหาเรา และใช้ข้อมูลที่รั่วไหล สร้างความน่าเชื่อในการพูดคุยกับเรา   2. คิดก่อนคลิก   หลีกเลี่ยงการเปิดลิงก์หรือไฟล์แนบ จากอีเมลหรือ SMS ที่ไม่รู้จัก เพราะผู้ไม่หวังดี อาจส่งลิงก์หรือไฟล์แนบ มายังอีเมลหรือ SMS และหวังให้เราหลงกล กดคลิกติดตั้ง malware เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญของเราไปใช้ทำธุรกรรมการเงินต่อได้   ดังนั้น เมื่อได้รับการติดต่อจากคนที่เราไม่รู้จัก หรือ ไม่แน่ใจว่าเป็นตัวจริง   โปรด!!! หยุด…

สแกน QR CODE ดูดเงินได้จริงหรือ? พร้อมดูวิธีตรวจสอบ QR Code ก่อนสแกน

Loading

    สแกน QR CODE ดูดเงินได้จริงหรือ? หลายคนได้ยินข่าวก็กังวล ไม่กล้าที่จะใช้มือถือสแกน QR CODE เพราะกลัวเงินหาย เห็นแชร์ทางโซเชียลว่าสแกนแล้วดูดเงินจนหมดบัญชีนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชี้แจงว่า QR Code เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เงินในบัญชีของท่านถูกโอนไปให้กับคนร้ายได้ หรือเงินหายไปได้ทันที แต่อาจเกิดขึ้นได้หากมีองค์ประกอบอื่นร่วมอยู่ด้วย   แค่สแกน QR CODE นั้น เงินไม่หายไปทันที ยกเว้นมีองค์ประกอบอื่น ที่มีส่วนให้เงินหายไป เช่น   1. ลิงก์ใน QR Code พาไปหน้าเว็บไซต์ปลอมของทางธนาคาร เพื่อหลอกเอาข้อมูลชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านในการใช้งาน Internet Banking ทำให้คนร้ายสามารถทำธุรกรรมทุกอย่างโดยเฉพาะการถอนเงิน โอนเงินจากบัญชีเหยื่อได้   2. QR Code ดังกล่าว เป็น QR Code ในการรับโอนเงินเข้าบัญชีคนร้าย แต่คนร้ายจะหลอกว่าให้เหยื่อสแกนเพื่อจะทำการโอนเงินค่าสินค้าหรือบริการคืนให้กับเหยื่อ หากเหยื่อไม่ตรวจสอบให้ดีก็อาจทำให้สูญเสียเงินในบัญชีธนาคารให้คนร้ายได้   3. QR Code…