กระสุนยูเรเนียมเสื่อมสภาพคืออะไร ทำไมรัสเซียขู่ตอบโต้หากส่งให้ยูเครน?

Loading

  รัฐบาลของสหราชอาณาจักรประกาศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า พวกเขาจะส่งกระสุนปืนเจาะเกราะที่มีส่วนผสมของ แร่ยูเรเนียมเสื่อมสภาพ ไปให้ยูเครนเพื่อใช้รับการรุกรานจากรัสเซีย ทำให้ฝ่ายรัสเซียออกมาแสดงความต่อต้านทันที โดยวลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศจะตอบโต้หากเรื่องนี้เกิดขึ้น   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และอาวุธนิวเคลียร์ มันยังปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมา แม้จะอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดข้อถกเถียงมาตลอดว่า อาวุธชนิดนี้มีอันตรายมากเกินไปหรือไม่   ประเทศอย่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ชื่อว่า กระสุนยูเรเนียมเสื่อมสภาพเป็นเครื่องมือที่ดีในการทำลายรถถังในปัจจุบัน โดยที่อังกฤษระบุในคู่มือการใช้ของพวกเขาว่า การสูดดมฝุ่นยูเรเนียมเข้าไปในปริมาณมากเกิดการบาดเจ็บเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก สวนทางกับรัสเซียที่บอกว่า กระสุนนี้เป็นอันตรายต่อทั้งคนและสิ่งแวดล้อม   ด้านนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกระบุว่า ในกรณีทั่วไป แร่ชนิดนี้มีความเสี่ยงต่ำมาก เว้นแต่เกิดสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่มียูเรเนียมเสื่อมสภาพมาอยู่รวมกันมากๆ ก็อาจส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้     ยูเรเนียมเสื่อมสภาพคืออะไร?   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพ (depleted uranium) คือผลพลอยได้ที่เหลือจากกระบวนการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมสำหรับใช้ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรืออาวุธนิวเคลียร์ แม้จะเสื่อมสภาพแล้ว ยูเรเนียมประเภทนี้ยังคงเป็นสารกัมมันตรังสี แต่มีไอโซโทป U-235 กับ U-234 ต่ำกว่าในแร่ยูเรเนียมที่พบตามธรรมชาติมาก ลดการปล่อยกัมมันตภาพรังสีของมัน และไม่สามารถทำปฏิกิริยานิวเคลียร์ใดๆ ได้   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพถูกนำไปใช้ในอาวุธเพราะคุณสมบัติความหนาแน่นสูงของมัน ทำให้มีน้ำหนักมากกว่าตะกั่วที่มีขนาดเท่ากัน เมื่อนำมาทำหัวกระสุนจึงมีความต้านทานของอากาศน้อยกว่าเวลายิงออกไป และสามารถทะลวงเข้าไปในวัสดุได้ดีเนื่องจากจุดที่ตกกระทบมีแรงกดดันสูงกว่า…

บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล Documents Digital Platform Services : DPS       ความเป็นมา ปัจจุบันมีการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ซึ่งมีลักษณะเป็นสื่อกลางทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนตอบสนองรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยมีการให้บริการที่หลากหลายประเภทธุรกิจ เช่น บริการด้านการเงิน การขายสินค้าออนไลน์ การขนส่ง เป็นต้น ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก ดังนั้น เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนามาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จึงเห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นให้เป็นไปอย่างหมาะสม มีความโปร่งใสและเป็นธรรม   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ผลักดันการจัดทำ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ เสริมสร้างความน่าเชื่อถือและยอมรับในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเพื่อป้องกัน ความเสียหายแก่สาธารณชนหรือประชาชนที่ใช้บริการ ให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดเป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 และต่อมาได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ…

ธุรกิจบริการ Digital ID

Loading

    มาทำความรู้จัก Digital ID กันเถอะ   Digital Identity (ดิจิทัลไอดี) คือ อัตลักษณ์ (identity) ที่ถูกรวบรวมและบันทึกในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งใช้บ่งบอกหรือจำแนกบุคคลในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยอัตลักษณ์ (identity) จะหมายถึง ลักษณะเฉพาะของบุคคลซึ่งสามารถบ่งบอกหรือจำแนกได้โดยคุณลักษณะหรือชุดของคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลนั้น   ตัวอย่างคุณลักษณะ (attribute) ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดา เช่น เลขประจำตัว ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ ภาพใบหน้า อีเมล หรือข้อมูลระบุอุปกรณ์ที่บุคคลใช้งาน เป็นต้น ส่วนตัวอย่างคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล เช่น เลขทะเบียนนิติบุคคล ชื่อนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ชื่อกรรมการของนิติบุคคล เป็นต้น       การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล   การพิสูจน์ตัวตน (identity proofing)  เป็นกระบวนการที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (Identity Provider: IdP) รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์ และตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับอัตลักษณ์นั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจว่าอัตลักษณ์ที่กล่าวอ้างเป็นอัตลักษณ์ของบุคคลนั้นจริง…

อาชญากรไซเบอร์ ‘ผู้หญิง’ มีอยู่ไม่น้อยกว่า 30%

Loading

    หลายคนมักจะคิดว่าเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์โดยส่วนใหญ่นั้นจะต้องเป็นผู้ชาย แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่า อาชญากรทางไซเบอร์เป็นผู้หญิงถึง 30% เป็นอย่างต่ำเลยทีเดียว   ทุกวันนี้ เราจะเห็นข่าวคดีการคุกคามทางไซเบอร์ซิเคียวริตี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในทั่วทุกมุมโลก   หากพิจารณาเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมในทุก ๆ ประเภทของผู้หญิงแล้ว จะพบจุดที่น่าสนใจก็คือ การก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์นั้นสูงกว่าประเภทอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด   โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ “เทรนด์ ไมโคร (Trend Micro)” ได้ส่งทีมงานเข้าสอดแนมโดยใช้นามแฝงเพื่อเข้าใช้งานเว็บเซอร์วิสอย่าง Gender Analyzer V5 เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยสุ่มผู้ใช้งานจำนวน 50 คนของ XSS forum ในภาษารัสเซีย และผู้ใช้งานจำนวน 50 คนของ Hackforums site ในภาษาอังกฤษ   พบว่าผู้ใช้งานเป็นผู้หญิงถึง 30% ของผู้ใช้ XSS forum และ 36% ของผู้ใช้งาน Hackforums และจากรายงานยังพบอีกว่า…

‘อะโดบี’ แนะกลยุทธ์ ลดความเสี่ยง ‘ยุคแห่งข้อมูล’

Loading

    อะโดบี เปิดผลการศึกษาล่าสุดซึ่งแสดงให้เห็นว่า แบรนด์ต่าง ๆ ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อพัฒนา “กลยุทธ์ด้านข้อมูล” แม้ว่าจะทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อธุรกิจก็ตาม   Keypoints   -การใช้งาน third-party cookies จะส่งผลเสียต่อธุรกิจ   -ผู้บริหารที่ใช้คุกกี้จำนวนมากมองว่าคุกกี้เป็น ‘evil จำเป็น’   -การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ครั้งใหญ่นี้จะต้องใช้ความมุ่งมั่นและการลงทุนระยะยาว   การสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารฝ่ายการตลาดและประสบการณ์สำหรับผู้บริโภคกว่า 2,600 คนทั่วโลก รวมถึง 1,057 คนในเอเชีย-แปซิฟิก เกี่ยวกับการลงทุนด้านการตลาดและกลยุทธ์ที่ทำให้ผู้นำอุตสาหกรรมมีความโดดเด่นแตกต่างเหนือคู่แข่งพบว่า   แบรนด์ 76% ในเอเชีย-แปซิฟิกยังคงพึ่งพา “third-party cookies” เป็นอย่างมาก โดยผู้บริหารกว่า 48% คาดว่าการยุติการใช้งาน third-party cookies จะส่งผลเสียต่อธุรกิจของตน   ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ความคลุมเครือเกี่ยวกับการเลิกใช้คุกกี้ทำให้เกิดความสับสน และในบางกรณีอาจนำไปสู่การเพิกเฉย โดยไม่ยอมดำเนินการใด ๆ   ทั้งนี้ 33 % ระบุว่าพวกเขาไม่ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดเพราะมองว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนแต่อย่างใด ขณะที่คนอื่น…

เผยขั้นตอนการตรวจสอบ “หมายเรียก” จริงหรือของปลอม เช็คยังไง

Loading

    เผยขั้นตอนการตรวจสอบ “หมายเรียก” หมายที่ท่านได้มานั้นเป็นของจริงหรือของปลอม เช็ค 5 ข้อง่ายๆ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมีคำตอบ   จากกรณีที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ออกมาเปิดเผยว่า ถ้าคุณต้องเจอ “หมายเรียก” แต่ไม่แน่ใจว่าจริงหรือหมายเรียกปลอม วันนี้ศูนย์ฯ มีขั้นตอนการตรวจสอบว่าหมายเรียกที่ท่านได้รับเป็นของจริงหรือของปลอม เช็ค 5 ข้อง่ายๆ ดังต่อไปนี้   1. ตั้งสติ ไม่ต้องตกใจ เพราะหมายเรียกนั้นเป็นแค่การเรียกท่านไปพบพนักงานสอบสวน ยังไม่ได้หมายความว่าท่านเป็นผู้ต้องหา (ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหา) แต่ถึงแม้ว่าท่านจะได้รับหมายเรียกในฐานะผู้ต้องหา ท่านก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธข้อกล่าวหาได้ เมื่อไปพบพนักงานสอบสวน   2. ตรวจสอบหมายเรียกที่อยู่ในมือท่านว่ามีรายละเอียดครบถ้วนตามนี้หรือไม่   – สถานที่ออกหมาย – วันที่ที่ออกหมาย – ชื่อและที่อยู่ของพนักงานสอบสวนที่ออกหมาย – สาเหตุที่เรียกไปพบ – สถานที่และวันเวลาที่นัดหมายให้ไปพบ – ลายมือชื่อพร้อมตำแหน่งของพนักงานสอบสวน     3. เพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานสอบสวนที่อยู่ในหมายเรียกนั้นเป็นตำรวจจริง ให้ท่านติดต่อไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เช่น…