จีนส่งบอลลูนสอดแนมสหรัฐฯ? วิธีโบราณที่กลับมาเป็นตัวเลือกอีกครั้ง

Loading

  –  กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ตรวจพบบอลลูนที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นบอลลูนสอดแนมของจีนบินอยู่เหนือท้องฟ้าของประเทศ ขณะที่จีนยอมรับว่าบอลลูนเป็นของพวกเขาจริง แต่อ้างว่ามันลอยเข้าสหรัฐฯ อย่างไม่ตั้งใจ –  ปัจจุบันวิธีสอดแนมยอดนิยมคือการใช้ดาวเทียม แต่บอลลูนก็เริ่มกลับมาเป็นตัวเลือกอีกครั้ง จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กับคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ดาวเทียมทำไม่ได้ –  การพบบอลลูนสอดแนมของจีนจุดประเด็นความขัดแย้งรอบใหม่กับสหรัฐฯ นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศ ประกาศเลื่อนกำหนดเดินทางเยือนปักกิ่ง ที่ไม่เกิดขึ้นมานานกว่า 5 ปี   ข่าวที่ว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กำลังสังเกตการณ์บอลลูนที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็นบอลลูนสอดแนมของประเทศจีน ที่ลอยเหนือฟ้าสหรัฐฯ ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ทำให้เกิดคำถามตามมามากมาย รวมถึงเรื่องที่ว่า มันมาทำไม   ตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เส้นทางการบินของบอลลูนลูกนี้ ซึ่งพบเหตุครั้งแรกที่เมืองมอนทานา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 ก.พ. 2566 อาจทำให้มันลอยผ่านพื้นที่อ่อนไหวหลายแห่ง และพวกเขากำลังดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อต่อต้านการรวบรวมข้อมูลข่าวกรองของต่างชาติ   อีกคำถามที่เกิดขึ้นคือ หากบอลลูนดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อสอดแนมจริง เหตุใดจีนจึงเลือกใช้บอลลูนแทนที่จะเป็นดาวเทียม ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การใช้บอลลูนเพื่อการสอดแนมเริ่มกลับมาเป็นตัวเลือกอีกครั้งแล้ว เพราะมันมีข้อดีหลายอย่างที่ทำให้มันน่าสนใจไม่แพ้ดาวเทียม   แต่ไม่ว่าบอลลูนลูกนี้จะมาด้วยเหตุผลใดก็ตาม มันได้สร้างความเสียหายเพิ่มเติมแก่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว และทำให้แผนการเดินทางเยือนจีนของนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ…

เมื่อ กต.เจรจาสหรัฐ ถอนสถานีสอดแนม ‘รามสูร’ 2519

Loading

  พอไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 คนไทยก็กลัว “ทฤษฎีโดมิโน” ซึ่งเป็นหลักคิดของคนบางกลุ่มว่าเมื่ออินโดจีนกลายเป็นคอมมิวนิสต์หมดแล้ว เป้าหมายต่อไปก็คือประเทศไทย แต่หนังสือ 3 เล่มที่บันทึก “การทูตไทย” ที่ต้องเผชิญวิกฤตในช่วงนั้นได้เปิดเผยเบื้องหลังที่ทำให้ไทยรอดจากปากเหยี่ยวปากกาได้อย่างน่าสนใจยิ่ง บันทึกความทรงจำของคุณอาสา สารสิน, ม.ร.ว.เทพกมล เทวกุล และคุณวิทยา เวชชาชีวะ ที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้เนื่องในวาระสิริอายุครบ 7 รอบตรงกันของทั้งสามท่านทำให้คนไทยได้รับทราบรายละเอียดของการดำเนินนโยบายการทูตในจังหวะนั้น อย่างที่หลายคนอาจจะไม่ได้รับรู้มาก่อน     หนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่าสำหรับการได้เรียนรู้ว่าในยามที่บ้านเมืองเผชิญกับการต้องแก้วิกฤตที่มีผลต่อความอยู่รอดของประเทศนั้น การทูตที่ชาญฉลาด, กล้าหาญและสอดคล้องกับความเป็นจริงในช่วงนั้น ๆ ได้ช่วยทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นภยันตรายได้อย่างไร หนังสือเล่มนั้นชื่อ “นักสู้…อานันท์ กล้าคิด กล้าทำ กล้าเสี่ยง” เขียนโดยคุณวิทยา เวชชาชีวะ เป็นการบันทึกที่ผมถือว่ามีคุณประโยชน์สำหรับคนรุ่นหลังที่จะเรียนรู้, ศึกษาและนำมาประกอบการพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง คุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศสองรอบ ก่อนหน้านั้นท่านเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนจะลาออกไปทำงานในภาคเอกชน แต่ในขณะที่ท่านทำหน้าที่เป็น “นักการทูตอาชีพ” นั้นต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ท้าทายประเทศชาติเป็นอย่างยิ่งครั้งแล้วครั้งเล่า   ในช่วงเวลาที่ไซ่ง่อนแตก สหรัฐถอนตัวกลับบ้าน ประเทศไทยซึ่งอนุญาตให้อเมริกามาตั้งฐานทัพในหลาย ๆ…

5 วิธีหนี Scammer โจรไซเบอร์จ้องป่วนโซเชียล

Loading

    ปัจจุบัน Facebook และ Instagram ถือเป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะกับ Facebook มีฐานผู้ใช้ที่ใหญ่ที่สุด มากถึง 2.9 พันล้านคนต่อเดือน แบ่งออกเป็นผู้ใช้งานที่หลากหลาย ถือเป็นกลุ่มเหยื่อที่ใหญ่ที่สุดสำหรับ Scammer หรือนักต้มตุ๋นครับ   Techhub อยากพาทุกคนมารู้จักกับวิธีหนี Scammer หรือวิธีที่ Scammer มักใช้ พร้อมทั้งวิธีที่จะระวังตัวเองจากพวกมันได้ ไปดูกัน   1. Phishing Scams หรือ กลลวงฟิชชิง วิธีนี้ Scammer จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลของเรา หลอกให้เราติดตั้งแอปเพิ่มเติม หรือนำเราไปยังเว็บไซต์ปลอมของธนาคารหรือเว็บไซต์เทรดคริปโต เพื่อให้เราใส่ข้อมูลของเราลงไป ซึ่ง Scammer จะทำการส่งลิงก์ต่าง ๆ ผ่าน อีเมล โพสต์ ข้อความ หรือเล่นกับความโลภของคน เช่น บอกว่าเราได้รางวัลนู่นนี่ แต่ต้องกรอกข้อมูลส่วนเพื่อที่จะส่งของ แล้วก็ไม่ส่งมาจริง ๆ   วิธีหลีกหนี Phishing…

พร้อมหรือยังกับการรับมือ Top SaaS Cybersecurity (จบ)

Loading

    สัปดาห์ที่แล้วผมได้นำเสนอวิธีการรับมือ Top SaaS Cybersecurity ในปี 2566 ไปแล้ว 2 วิธีด้วยกัน สำหรับในตอนที่ 2 นี้ เราจะมาตามกันต่อสำหรับวิธีการรับมือที่เหลือรวมถึงบทสรุปกันนะครับว่ามีอะไรบ้าง   Software ที่มีช่องโหว่และการแพตช์ (patch) : ประเด็นนี้ยังเป็นปัญหาใหญ่ในทุกองค์กรและทุกธุรกิจ ไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่บริษัท SaaS เพราะเมื่อเรา host app ด้วยตนเองแล้ว ในทุกครั้งต้องแน่ใจก่อนว่าระบบความปลอดภัยจะเริ่มทำงานเมื่อมีการเปิดระบบปฏิบัติการและ library patch ขึ้น   แต่น่าเสียดายที่สิ่งนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาอยู่ และขณะนี้ก็ยังมีการค้นพบช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในระบบปฏิบัติการและ library และความพยายามในการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง   การใช้แนวทางปฏิบัติของ DevOps และโครงสร้างพื้นฐานชั่วคราวสามารถช่วยให้แน่ใจว่าบริการขององค์กรได้รับการปรับใช้กับระบบที่แพตช์อย่างสมบูรณ์ในแต่ละรุ่น แต่ก็ยังต้องตรวจสอบหาจุดอ่อนแบบใหม่ ๆ ที่อาจพบระหว่างรุ่นต่าง ๆ ด้วย   อีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากการโฮสต์ด้วยตนเองคือข้อเสนอแบบฟรี (และจ่ายเงิน) แบบไร้เซิร์ฟเวอร์และ Platform as a Service (PaaS) ที่เรียกใช้…

คลื่นดาวเทียมย่านความถี่ x-band ถูก กสทช. นำไปประมูลและกระทบความมั่นคงของชาติ ?

Loading

    กสทช. ได้นำสิทธิวงโคจรดาวเทียมและคลื่นความถี่ดาวเทียมนำมาประมูลอีกรอบ หลังจากที่ต้องล้มเลิกการประมูลไปคราวก่อน และที่น่าเสียใจคือดาวเทียมที่ทำรายได้เป็นแสนล้านบาทกลับนำรายได้เข้ารัฐเพียงหลักไม่กี่ร้อยล้านบาท โดยที่การเปิดให้มีการแข่งขันไม่ได้ทำให้เปิดกว้างเต็มที่ โดยกำหนดให้ว่าต้องมีประสบการณ์ในการประกอบกิจการดาวเทียม ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่แม้จะไม่ใหม่ก็ไม่มีเพราะดาวเทียมเป็นธุรกิจผูกขาดของประเทศแต่เพียงรายเดียว จึงไม่เกิดการแข่งขันอย่างที่ควรจะเป็น   สิ่งที่คนทั่วไปอาจจะไม่ทราบคือ มีย่านความถี่ของดาวเทียมที่ปกติเป็นย่านความถี่ทางการทหารและความมั่นคงถูกนำออกมาให้เอกชนประมูลไปด้วย   ทั้งนี้คลื่นความถี่ย่าน X band (8.0 – 12.0 GHz) เป็นย่านความถี่สูงที่ถูกรบกวนด้วยความแปรปรวนในบรรยากาศโลกได้น้อย จึงเหมาะสำหรับการสำรวจระยะไกลหรือการรับส่งข้อมูลจากดาวเทียมสู่ดาวเทียมหรือดาวเทียมสู่ภาคพื้นดิน อีกทั้งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ International Telecommunication Union: ITU อันเป็นองค์การนานาชาติด้านดาวเทียมและการโทรคมนาคมไม่ได้จำกัดการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน X band ในงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ หากแต่แนะนำว่าเป็นย่านความถี่ที่เหมาะต่อการปฏิบัติการทางทหาร ดังนั้นภาครัฐของประเทศต่างๆ ในสากลโลก จึงนิยมให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้กำหนดแนวทางการใช้งานคลื่นความถี่ในย่านนี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้งานเพื่อกิจการด้านความมั่นคงและงานสาธารณะประโยชน์ของประเทศ   เนื่องจากชุดข่ายงานดาวเทียมที่ 3 ที่กสทช. นำออกมาประมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วยข่ายงานดาวเทียม 4 ชุด ได้แก่ THAICOM-IP1, THAICOM-P3, THAISAT-119.5E และ THAISAT-120E มีคลื่นความถี่ในย่าน X band ด้วยแบนด์วิดท์…

ชมบรรยากาศเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐแสดงแสนยานุภาพทะเลจีนใต้

Loading

    สหรัฐอวดเครื่องบินรบและเฮลิคอปเตอร์ทะยานขึ้นลงจากเรือบรรทุกเครื่องบินนิมิตซ์ หวังแสดงแสนยานุภาพในทะเลจีนใต้ น่านน้ำที่มีการอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกันดุเดือดที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งยังเปรียบเสมือนหลังบ้านพญามังกรจีน   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ นิมิตซ์ นำ กองเรือจู่โจม เข้าสู่ ทะเลจีนใต้ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ฝูงเฮลิคอปเตอร์ MH-60 Seahawk และเครื่องบินรบF/A-18 Hornet ขึ้นลงกันให้ว่อน   พลเรือตรีคริสโตเฟอร์ สวีนีย์ ผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐ กล่าวเมื่อวันศุกร์ (27 ม.ค.) ว่า การเดินทางท่องทะเลจีนใต้เป็นความรับผิดชอบหนึ่งของสหรัฐต่อเสรีภาพการเดินทางในน่านน้ำและน่านฟ้าภูมิภาคที่สำคัญต่อการค้าโลก     “เราจะแล่นเรือ เหินฟ้า และปฏิบัติการในทุกที่ที่กฎหมายและปทัสถานระหว่างประเทศอนุญาต เราจะทำอย่างปลอดภัยและมุ่งมั่นในเรื่องนี้ มันก็แค่การเดินเรือและปฏิบัติการกับพันธมิตรและหุ้นส่วนของเราในพื้นที่ เพื่อสร้างหลักประกันให้พวกเขาถึงการค้าพาณิชย์ที่เปิดกว้างและเสรีในอินโดแปซิฟิก” สวีนีย์กล่าว   กองเรือบรรทุกเครื่องบินจู่โจมนิมิตซ์ 11 ประกอบด้วย – ขีปนาวุธร่อนนำวิถี Bunker Hill – ขีปนาวุธทำลายล้างนำวิถี Decatur – เรือ Wayne E. Meyer…