รู้ทัน Scammer นักต้มตุ๋น ใช้กลโกงเก่า Pig Butchering แต่ได้ผล

Loading

  ปัจจุบันมีวิธีการมากมายที่นักต้มตุ๋นหรือ Scammer จะหลอกลวงจากเรา ใครเผลอหน่อย เงินอาจหมดบัญชีโดยไม่รู้ตัว   โดยทั่วไปแล้ว เป้าหมายหลักของ Scammer มีเพียงอย่างเดียวคือเงินหรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับเงิน พวกเขาจะทำให้ทุกอย่างเพื่อหลอกเอาเงินคุณ และวันนี้ ก็มีอีกหนึ่งวิธี ที่ได้รับความนิมมากและได้ผลเสมอนั่นคือ การเชือดหมู หรือ Pig Butchering Scam   การหลอกลวงนี้เริ่มครั้งแรกในจีน รู้จักกันในวลีชื่อ shāzhūpán (ชาจูปัน) เป็นการลวงให้เหยื่อเชื่อมั่นแล้วร่วมลงทุน ที่เราเห็นชัดกันจริง ๆ จะเป็นเรื่องของ Crytocerrency เมื่อได้จำนวนเงินที่เพียงพอ Scammer จะปิดบัญชีตัวเองแล้วหายไปตัวอย่างไร้ร่องรอย   Scammer จะเริ่มติดต่อไปยังเหยื่อด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น การส่งข้อความทางโทรศัพท์ สุ่มโทรหา แล้วแกล้งบอกว่า ตัวเองเป็นคนรู้จักหรือเป็นเพื่อนในสมัยเด็ก หากปลายสายยอมคุยด้วย พวกเขาจะเริ่มสร้างสัมพันธ์ต่อและเริ่มชวนคุยเกี่ยวกับการลงทุนและพูดวิธีที่พวกเขาสามารถทำเงินได้อย่างมากจากการลงทุนในอะไรก็ตามที่พวกเขาแต่งเรื่องขึ้น   หลังจากนั้น Scammer จะชวนให้โหลดแอปหรือหลอกให้เหยื่อเข้าในเว็บที่เป็นอันตราย ซึ่งในนั้นจะมีข้อมูลน่าเชื่อถือหรือมีภาพความสำเร็จของคนอื่น ๆ พร้อมทั้ง อาจมีข้อมูลที่ลิงค์ไปยังสถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะทำให้เหยื่อเห็นข้อมูลตลาดตามเวลาจริง และทำให้เหยื่อเชื่อในศักยภาพของการลงทุน ว่าสิ่งนี้มันน่าลงทุนมาก…

‘ไซเบอร์ซีเคียวริตี้’ ความท้าทายครั้งใหญ่ขององค์กรยุคใหม่

Loading

  การทำ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) เติบโตรวดเร็วมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโต รวมถึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการตลาดและเข้าใจลูกค้ามากขึ้น ขณะที่การทำงานของคนถูกเปลี่ยนไปเป็นแบบรีโมท (Remote Working) ส่งผลให้องค์กรทุกขนาด ต้องปรับตัววางแผนการทำงานผ่าน คลาวด์ (Cloud)   นางสาวปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ข้อมูลจาก Gartner บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก ระบุว่า ในปี 2025 องค์กรทั่วโลก จะใช้จ่ายกับคลาวด์มากขึ้น 20.4%   ขณะที่ประเทศไทยเติบโตขึ้นถึง 36.6% เมื่อโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าไปสู่การใช้คลาวด์ ทำให้ระบบ Security เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะองค์กรต่างต้องรักษาข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจให้ปลอดภัย     “องค์กรที่ใช้ย้ายไปใช้คลาวด์ จะต้องวางแผนและดึงเรื่อง Security ให้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น และต้องวางรากฐานด้านความปลอดภัยไว้ตั้งแต่เริ่มต้น”     ความท้าทายใหม่ด้าน Security ในปี…

โอมชินริเกียว กลุ่มก่อการร้ายคราบลัทธิคลั่ง “วันสิ้นโลก” กับนิวเคลียร์หลังสงครามเย็น

Loading

  โอมชินริเกียวโจมตีญี่ปุ่นด้วยการใช้ก๊าซซารินในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1995 / AFP PHOTO / Junji KUROKAWA   โอมชินริเกียว หรือเรียกสั้น ๆ ว่าลัทธิโอมฯ ก่อตั้งขึ้นโดย โชโกะ อาซาฮาร่า มีชื่อจริงว่า ชิซูโอะ มัตสึโมโตะ ชายผู้นี้คือเจ้าลัทธิโอมฯ ที่ได้ก่อวินาศกรรม “ก๊าซซาริน” ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1995 ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (อ่านประวัติของอาซาฮาร่า และเหตุการณ์วินาศกรรมเพิ่มเติ่มได้ คลิกที่นี่)   ลัทธิโอมฯ ได้ผสมผสานแนวคิดความเชื่อต่าง ๆ เข้ามาเป็นแก่นของลัทธิตนเอง โดยมีความเชื่อเกี่ยวกับ “วันสิ้นโลก” ที่จะมาถึงในไม่ช้า แนวคิดนี้อาซาฮาร่านำมาจากหลากหลายความเชื่อ ทั้งจากแนวคิดทางศาสนาและไม่เกี่ยวกับศาสนา เช่น แนวคิดพระศิวะกับการทำลายล้างโลก คำทำนายของนอสตราดามุส และวันพิพากษาของศาสนาอื่น ๆ โดยอาซาฮาร่าสั่งสอนลูกศิษย์ของเขาว่าหากต้องการหลีกเลี่ยงวันสิ้นโลกจะต้องหันมานับถือลัทธิโอมฯ   อย่างไรก็ตาม อาซาฮาร่าไม่ได้ทำให้ลัทธิโอมฯ…

‘ปัญญาประดิษฐ์’ พ่วง ‘ภาพถ่ายดาวเทียม’ ฮีโร่ช่วยคนยากยามวิกฤต

Loading

Targeting Aid with AI and Satellites   ด้วยขุมพลังของภาพถ่ายดาวเทียม ประสานกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กลายเป็นเครื่องมือที่ประเทศต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ในการระบุพิกัดและช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากในช่วงวิกฤตได้   ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนในฟลอริดาและเปอร์โตริโกได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา โดยมีการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมและระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยกำหนดเป้าหมายของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันที่เคยใช้ในประเทศโตโก ในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 มาแล้ว   อีไล โควมาโค ช่างก่อสร้าง จากประเทศโตโก เล่าว่าเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในปี 2020 ธุรกิจในเมืองหลวงโลเมต้องหยุดชะงัก เขาบอกว่าในตอนนั้น “หากไม่มีงานจากลูกค้า เราไม่สามารถทำงาน รวมถึงหารายได้เล็กน้อยเพื่อเลี้ยงครอบครัวได้ สิ่งนี้สร้างความเสียหายให้กับเราอย่างมาก”   ผู้คนนับล้านทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาความยากจนไม่ต่างจากโควมาโค รัฐบาลพยายามหาวิธีเพื่อบรรเทาและมอบความช่วยเหลือ   แต่คำถามสำคัญสำหรับประเทศโตโก ที่มีประชากรจำนวนมากกว่า 8 ล้านคน คือ ภาครัฐจะระบุตำแหน่งของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุดได้อย่างไร?   Terran Orbital Aids Successful Demonstration of Record-Breaking 1.4 Terabyte Single-Pass Optical Downlink…

“มัสยิดอัล-อักซอ” ชนวนขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์

Loading

  แนวโน้มความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์อาจปะทุขึ้นอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ หลังรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ที่เพิ่งจะสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ได้เดินทางไปยังมัสยิดอัล-อักซอ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมที่ตั้งอยู่ในบริเวณเมืองเก่าของนครเยรูซาเลม และยังเป็นหนึ่งในพื้นที่เปราะบางที่สุดในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มฮามาสออกมาประณามและระบุว่าการกระทำนี้เป็นการยั่วยุ และ เหตุการณ์นี้จะก่อให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่หรือไม่   ภาพของรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ “อิตามาร์ เบน กวีร์” ที่กำลังเดินเข้าไปในบริเวณมัสยิดอัล-อักซอ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของนครเยรูซาเล็ม ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างหนาแน่น     เบน กวีร์เป็นหนึ่งในคนที่มีแนวคิดขวาจัด เขามาจากพรรคพลังชาวยิว (Jewish Power) ซึ่งเป็นพรรคพันธมิตรลัทธิไซออนิสต์เคร่งศาสนา และเพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา   มีรายงานว่าเบน กวีร์ เดินทางไปมัสยิดอัล-อักซอในช่วงเวลาเช้าตรู่ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการละหมาด   เบน กวีร์ใช้เวลาอยู่ภายในมัสยิดอัล-อักซอไม่นาน ก่อนจะทวีตภาพตัวเองบนบัญชีทวิตเตอร์พร้อมกับเขียนข้อความที่มีระบุถึง Temple Mount หรือ เนินพระวิหาร ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวยิวใช้เรียกสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นี้   เขาให้สัมภาษณ์สั้นๆ กับสื่อมวลชน ระบุว่า รัฐบาลอิสราเอลจะไม่ยอมยกสถานที่แห่งนี้ให้กับองค์กรอาชญากรรม   โฆษกของกลุ่มฮามาส ซึ่งปกครองพื้นที่ฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ออกมาแถลงการณ์ประณามทันที…

“สกมช.”ห่วงหน่วยงานรัฐขาดผู้บริหารด้านไอที

Loading

  เผย หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ยังขาดผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตามที่กฎหมายกกำหนดให้ต้องมี เพื่อป้องกันและบริหารความเสี่ยงด้านภัยไซเบอร์ เร่งจัดอบรมและประสานหน่วยงานต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนด   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เปิดเผยว่า กฎหมายลูกของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ได้บังคับให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (ซีไอไอ) ของประเทศ เช่น ด้านการเงิน โทรคมนาคม  สาธารณูปโภค สาธารณสุข การศึกษา ฯลฯ  ต้องมีตำแหน่งผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ หรือซิโซ่ (CISO) เพื่อทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับหน่วยงาน ให้ได้ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดและป้องกันความเสี่ยง และผลกระทบต่อที่อาจเกิดขึ้น กรณีถูกโจมตีจนเกิดความเสียหายต่อระบบ ทำให้บริการหรือธุรกิจหยุดชะงัก จนส่งผลต่อประชาชนในวงกว้าง   อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันบางหน่วยงานของรัฐ รวมถึงรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องกับงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ยังไม่มีการตั้งบุคคลมาดำรงตำแหน่งนี้ เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ที่จะขึ้นมาในระดับผู้บริหาร ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นภาคเอกชน เช่น สถาบันการเงิน ฯลฯ ไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีบุคลากรที่พร้อมกว่า รวมถึงมีงบประมาณในการจ้างผู้เชี่ยวชาญในส่วนนี้ ให้มาทำงานได้ ซึ่งที่ผ่านมาทาง สกมช. ก็ได้เร่งแก้ปัญหาในกับหน่วยงานรัฐ ด้วยการเปิดหลักสูตรด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระดับผู้บริหาร (เอ็กซ์คูลซีฟ ซิโซ่) ในรุ่นที่ 1 ซึ่งมีผู้บริหารหน่วยงานรัฐ สำเร็จจบหลักสูตรแล้ว 69 คน   พล.อ.ต.อมร กล่าวต่อว่า ทาง สกมช. ได้พยายามประสานและแจ้งหน่วยงานเหล่านี้แล้ว…