#สรุปให้ ประกาศ ก.ดิจิทัลฯ ใหม่ สั่งปิดเว็บได้ใน 24 ชม. ไม่ต้องมีคนร้องเรียน

Loading

  กระทรวงดิจิทัลฯ ออกประกาศใหม่ เพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่กระทรวง สั่งปิดเว็บได้เลยภายใน 24 ชั่วโมง ใครไม่ทำตาม ให้สันนิษฐานว่าผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้น ร่วมมือ สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ออกประกาศกระทรวง เรื่อง “ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2565” โดยเนื้อหาสาระสำคัญส่วนใหญ่ เป็นการเพิ่มอำนาจและตัวบทลงโทษให้กับเจ้าหน้าที่กระทรวงในการสั่งปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมายให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น   โดยภายในประกาศ ระบุถึง ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ไว้ด้วย และระบุต่ออีกว่า หากไม่ปฎิบัติตามให้สันนิษฐานว่าผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้น ร่วมมือ สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด   สำหรับประกาศดังกล่าว ใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 หรือที่เราเรียกติดปากว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์     มีอะไรเพิ่ม ?   ภายในตัวประกาศมีการเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ หากพบความผิดตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์…

‘พาโลอัลโต’ เปิดเทรนด์ซิเคียวริตี้ เขย่าสมรภูมิธุรกิจปี 2566

Loading

  “พาโลอัลโต” เปิดคาดการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่น่าจับตามองและเฝ้าระวังปี 2566 มาดูกันว่า 5 เทรนด์ที่จะมีอิทธิพลต่อการทำธุรกิจและใช้ชีวิตจะมีอะไรบ้าง   ปี 2565 อาชญากรไซเบอร์มุ่งเป้าการโจมตีไปที่โครงสร้างระบบ ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ทั้งยังมีการคิดค้นวิธีใหม่ๆ เพื่อโจมตีคริปโทเคอร์เรนซี การทำงานแบบไฮบริด รวมไปถึงเอพีไอที่ไม่ปลอดภัย โดยภาพรวมนับว่าสถานการณ์รุนแรงขึ้นและสร้างความเสียหายต่อธุรกิจจำนวนมากขึ้น   พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ เผยว่า องค์กรธุรกิจต่างยอมรับว่า เคยพบกับปัญหาด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และปัญหาข้อมูลรั่วไหลในปีที่ผ่านมา   โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 11 ครั้ง แต่สิ่งที่น่ากังวลไปกว่าก็คือ มีเพียง 2 ใน 5 ที่ระบุว่าคณะกรรมการของบริษัทตระหนักมากขึ้นในเรื่องความเสี่ยงทางไซเบอร์ควบคู่ไปกับการดำเนินกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลให้เร็วขึ้น     เตรียมรับมือภัยคุกคามยุคใหม่   เอียน ลิม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ภาคสนาม ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วทุกวันนี้ทำให้ผู้บริหารธุรกิจจำเป็นต้องทบทวนแนวทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์อยู่ตลอดเวลา   ผู้บริหารต้องเลือกใช้โซลูชัน เทคโนโลยี ตลอดจนแนวทางที่ทันสมัยกว่ากลไกที่เคยใช้ในอดีต ทั้งยังต้องระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งในปี 2566…

เกิดอะไรขึ้นในเปรู? ปธน.โดนถอดถอน-คนแห่ไล่ผู้นำใหม่

Loading

    –  เปรูเผชิญมรสุมทางการเมืองอย่างหนัก ล่าสุดประธานาธิบดีถูกถอดออกจากตำแหน่ง ขณะที่รัฐบาลของประธานาธิบดีคนใหม่ก็ถูกประท้วงต่อต้านอย่างหนัก   –  ชนวนของเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากอดีตประธานาธิบดี เปโดร กาสติลโล พยายามยุบสภาที่ฝ่ายค้านครองเสียงข้างมาก เพื่อตั้งรัฐบาลฉุกเฉินเพื่อให้ได้อำนาจบริหารเต็มที่   –  การประท้วงในเปรูเริ่มบานปลาย เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจจนมีคนตาย รัฐบาลพยายามหาทางความคุมสถานการณ์ สุดท้ายก็ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน   เปรูอยู่ในสภาพปั่นป่วน เพราะความยุ่งเหยิงทางการเมืองมาตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องเปลี่ยนตัวผู้นำประเทศไปแล้วหลายคน ท่ามกลางเรื่องอื้อฉาวมากมายและการสืบสวนคดีคอร์รัปชัน แต่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเขากำลังเผชิญเหตุวุ่นวายที่อาจเป็นครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์   เมื่อ 7 ธ.ค. รัฐสภาเปรูมีกำหนดการลงมติว่าจะถอดถอนประธานาธิบดี เปโดร กาสติลโล ซึ่งกำลังถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชันหรือไม่ แต่นายกาสติลโลกลับพยายามขัดขวางการโหวต ด้วยการประกาศยุบสภาคองเกรส และตั้งรัฐบาลฉุกเฉินขึ้นมา   การกระทำของกาสติลโลสร้างความตกตะลึงให้แก่ทุกฝ่ายรวมทั้งพันธมิตรของเขา และถูกประณามอย่างรวดเร็วว่าเป็นความพยายามก่อรัฐประหาร แต่ในวันเดียวกันนั้น นายกาสติลโลก็ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งและถูกจับกุม น.ส.ดีนา โบลูอาร์เต รองประธานาธิบดี ถูกเลื่อนขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ผู้นำหญิงคนแรกของเปรู   อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะผู้สนับสนุนนายกาสติลโล ออกมาชุมนุมประท้วงในหลายเมือง เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ก่อนเหตุการณ์จะลุกลามบานปลายเป็นความรุนแรงภายในไม่กี่วันต่อมา เมื่อผู้ประท้วงบางกลุ่มก่อเหตุโจมตีสถานีตำรวจ, สนามบิน…

เครื่องหมายถูก Twitter สีต่าง ๆ หมายถึงอะไรบ้าง ? หลังเปิด ทวิตเตอร์บลู อีกรอบ

Loading

  ทวิตเตอร์ เปิดให้บริการ Twitter Blue อีกครั้งหนึ่ง หลังเปิดแล้วมีปัญหา ล่าสุดผุดเครื่องหมายถูกเพิ่มอีก 2 สี นอกจากสีฟ้า แล้วเครื่องหมายถูก Twitter สีอะไรหมายถึงอะไรบ้าง ?   ทวิตเตอร์ ประกาศเปิดบริการ Twitter Blue อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันจันทร์ (12 ธ.ค.) ที่ผ่านมา ตามเวลาสหรัฐฯ โดยเป็นการเปิดให้ผู้ใช้สามารถจ่ายเงินเพื่อเข้ารับเครื่องหมายถูกสีฟ้าหลังชื่อ เป็นการยืนยันตัวตนบัญชีว่า ผู้ใช้นั้นมีตัวตนอยู่จริง เป็นเวลาหนึ่งเดือน   การเปิดตัว Twitter Blue ครั้งนี้ มีเครื่องหมายถูกสีต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 2 สีนอกจากสีฟ้า คือ สีเทา และสีทอง(สีเหลือง)   เครื่องหมายถูก Twitter สีอะไรหมายถึงอะไรบ้าง ? –   สีเทา หมายถึง หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรอิสระที่ได้รับการยืนยันบัญชีอย่างเป็นทางการแล้ว –   สีน้ำเงิน…

เข้าใกล้พลังงานไร้ขีดจำกัด! การศึกษา “นิวเคลียร์ฟิวชัน” คืบหน้า

Loading

  นักวิจัยพบความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในการศึกษา “พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน” ที่หลายคนเชื่อว่า คือแหล่งพลังงานสะอาด ปลอดภัย และแทบจะไร้ขีดจำกัด   เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่นักวิจัยพบความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในการศึกษา “นิวเคลียร์ฟิวชัน (Nuclear Fusion)” ปฏิกิริยาชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างพลังงานได้อย่างมหาศาล เป็นความหวังใหม่ของ “แหล่งพลังงานสะอาด ปลอดภัย และแทบจะไร้ขีดจำกัด”   หลักการของนิวเคลียร์ฟิวชันคือ ปฏิกิริยาเมื่อเกิดการรวมตัวของอะตอมธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน เพื่อสร้างอะตอมธาตุที่หนักกว่า และปลดปล่อยพลังงานจำนวนมากออกมาในกระบวนการนี้     พลังงานมหาศาลที่ถูกปล่อยออกมาระหว่างกระบวนการนี้เอง ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน   อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชันเริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1950 ตลอดมา นักวิจัยไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างพลังงานที่มากพอ เนื่องจากพลังงานตั้งต้นที่ต้องใช้ในการรวมอะตอมนั้นสูงมาก พลังงานที่ได้จากฟิวชันนั้นมากกว่าพลังงานที่ใช้ในการทำให้มันเกิดฟิวชันแค่นิดเดียว พูดง่าย ๆ คือ ได้พลังงานที่เป็น “ผลกำไร” มาแค่นิดเดียวหรือไม่ได้เลย   แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ (LLNL) ของสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการสร้างพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันแบบ “ได้กำไรสุทธิ”   ผลลัพธ์ของการทดลองนี้นับเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ในภารกิจที่ยาวนานหลายทศวรรษในการสร้างแหล่งพลังงานสะอาดที่ไร้ขีดจำกัด ซึ่งสามารถช่วยยุติการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ โดยมีข้อมูลว่า…

ย้อนปมขัดแย้งจีน-อินเดีย ปัญหาพรมแดนปะทุ ปะทะเดือดครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี

Loading

  กองทัพจีนและอินเดียปะทะกันบริเวณชายแดนพื้นที่พิพาทบนเทือกเขาหิมาลัย ครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี หลังทั้งสองฝ่ายพยายามลดความตึงเครียด จากเหตุการณ์ปะทะครั้งใหญ่ จนคร่าชีวิตทหารไปอย่างน้อย 24 นาย เมื่อปี 2563   กองทัพอินเดียออกมาระบุเมื่อวันจันทร์ (12 ธ.ค.) ว่า ทหารของตนได้ปะทะกับทหารกองทัพจีนในพื้นที่พิพาทตามแนวชายแดนระหว่างสองประเทศ ทำให้มีทหารได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจำนวนหนึ่ง   การปะทะครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ (9 ธ.ค.) ในพื้นที่เมืองตาวัง รัฐอรุณาจัลประเทศ ซึ่งเป็นพรมแดนทางตะวันออกสุดของอินเดีย   โดยกองทัพอินเดียระบุในแถลงการณ์ว่า ทั้งสองฝ่ายได้ถอนกำลังออกนอกพื้นที่ในทันทีหลังเกิดการปะทะ ในขณะที่ผู้บัญชาการของทั้งสองได้จัดการเจรจาขึ้นอย่างเร่งด่วน เพื่อรื้อฟื้นสันติภาพและความสงบสุขในพื้นที่   อย่างไรก็ตาม จากรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ส ทางการจีนยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีเพียงแหล่งข่าวจากกองทัพอินเดียที่เปิดเผยว่า มีทหารอินเดียได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากการปะทะครั้งนี้อย่างน้อย 6 นาย       เกิดอะไรขึ้นที่พรมแดนจีน-อินเดีย   จีนและอินเดียมีพรมแดนร่วมกันเป็นระยะทางยาว 4,056 กิโลเมตร แต่ในระยะทางดังกล่าวมีอยู่ราว 3,440 กิโลเมตร เป็นจุดที่ไม่สามารถกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนได้อย่างชัดเจน เพราะเป็นแนวแม่น้ำ ทะเลสาบ…