เมื่อ WIFI อาจจะถูกนำไปใช้ในงานจารกรรม

Loading

  เราทราบดีว่าเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ WIFI ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่เรา แต่มุมมองต่อ WIFI ของเราอาจเปลี่ยนไป เมื่อล่าสุดมีการดัดแปลงอุปกรณ์ให้ใช้ประโยชน์จากระบบนี้ในการจารกรรม   ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายสื่อสารที่มีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัย 4 ด้วยเราพึ่งพาระบบเครือข่ายแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร, ตรวจสอบเส้นทาง, การเงิน ฯลฯ กลายเป็นเทคโนโลยีซึ่งขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน แต่ล่าสุดความอันตรายกลับเพิ่มขึ้นเมื่อมีผู้มองเห็นแนวทางการใช้ระบบ WIFI ในการโจรกรรม   แต่ก่อนอื่นคงต้องอธิบายรูปแบบการทำงานของ WIFI เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของเพิ่มเติมกันเสียก่อน     ระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ครอบคลุมทั่วโลก   คาดว่าปัจจุบันผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกท่านคงรู้จัก WIFI หรืออินเทอร์เน็ตไร้สายกันมาบ้าง หลายท่านอาจเข้าใจว่าคำนี้มาจาก Wireless Fidelity แต่ต้นตอจริงของคำนี้มาจากเครื่องหมายการค้าขององค์กร Wi-Fi Alliance ที่เป็นผู้คิดค้นระบบนี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในปี 1999   ระบบการทำงานของ WIFI ถือเป็นระบบ LAN ไร้สาย ส่วนหนึ่งของ IEEE 802.11 ทำหน้าที่สื่อสารกันผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยคลื่นวิทยุแบบเดียวกับสัญญาณโทรศัพท์มือถือและบลูทูธ คอยทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์และบริการ ด้วยระดับความถี่คลื่นอยู่ที่ 2.4 GHz…

เมื่อโจรไซเบอร์เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ

Loading

  เมื่อโจรไซเบอร์เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก ยังคงสังเกตเห็นการลดลงของจำนวนการตรวจจับมัลแวร์บนอุปกรณ์โมบายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ในช่วงมกราคม-มิถุนายน 2022 แคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามโจมตีผู้ใช้อุปกรณ์โมบายในประเทศไทย 6,754 ครั้ง ซึ่งต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 88% ซึ่งมีตัวเลขความพยายามโจมตี 54,937 ครั้ง (ไม่รวมแอดแวร์และริสก์แวร์)   ประเทศไทยมีสถิติที่สำคัญในช่วงสามปีที่ผ่านมา ในปี 2019 มีการบันทึกการตรวจจับโมบายมัลแวร์ 44,813 ครั้ง ในปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่โรคระบาดใหญ่ถึงจุดสูงสุด จำนวนการตรวจจับลดลงเหลือ 28,861 ครั้ง โดยจำนวนความพยายามโจมตีสูงสุดคือเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา คือ 66,586 ครั้ง   แม้ว่าจำนวนโมบายมัลแวร์บนอุปกรณ์โมบายทั่วโลกและระดับภูมิภาคจะลดลง แต่การโจมตีก็มีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งในแง่ของฟังก์ชันและเวกเตอร์ของมัลแวร์ นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้สังเกตุเห็นผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดภัยคุกคามทางไซเบอร์ หนึ่งในสิ่งที่อันตรายที่สุดในคือแบงก์กิ้งมัลแวร์   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เมื่อเร็ว ๆ…

“กล้องกริ่งประตู” ผู้ช่วยยับยั้งอาชญากรรมในสหรัฐฯ

Loading

Doorbell Cameras Police   ผู้คนจำนวนมากขึ้นหันมาติดตั้งกริ่งประตูประเภทที่มีกล้องวิดีโอ รวมถึงกล้องวงจรปิดทั้งในและรอบตัวบ้านเพื่อความปลอดภัย รวมถึงป้องกันผู้บุกรุก ผู้ใช้งานจำนวนมากรู้สึกอุ่นใจที่ใช้เครื่องมือดังกล่าว โดยเชื่อว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อุปกรณ์นี้จะมียอดขายทั่วโลกที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีบางส่วนมองว่าภาพที่ถ่ายได้จากอุปกรณ์นี้กำลังถูกนำไปใช้เพื่อสร้างอคติต่อคนบางกลุ่ม   เมื่อต้นปีนี้ เคนเนดี แนช เด็กหญิงอายุ 6 ปี กำลังทิ้งขยะบริเวณหน้าบ้าน ปรากฏว่าคนแปลกหน้าจู่โจมเข้ามาจับตัว และพยายามจะลากเธอออกไป แต่เด็กสาวสามารถหนีจนหลุดออกมาได้   เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกด้วยกล้องวิดีโอของกริ่งประตูที่ครอบครัวติดตั้งไว้ ซึ่งภาพวิดีโอนี้สามารถใช้เป็นหลักฐานส่งมอบให้แก่ตำรวจ จนนำไปสู่การจับกุมชายที่กระทำความผิด   แมนดี มิลเลอร์ แนช คุณแม่ของเด็กสาว เล่าให้ฟังว่า “ลูกสาววิ่งเข้ามาในบ้านพร้อมกับกรีดร้องเสียงดัง ฉันรู้ทันทีว่ามีบางอย่างที่ผิดปกติเกิดขึ้น และลูกสาวก็บอกว่ามีคนพยายามจะจับและลักพาตัวเธอ จากเหตุการณ์นี้ ฉันรู้สึกขอบคุณ กล้องกริ่งประตูอย่างมาก เพราะถ้าไม่มีภาพจากกล้องวิดีโอเป็นพยานหลักฐาน คิดว่าคงเป็นการยากที่จะทำให้ใครเชื่อเราได้”   Alarm.com Develops the First Touchless Video Doorbell   กริ่งประตูแบบมีกล้องวิดีโอ เป็นที่แพร่หลายในชุมชนประเทศสหรัฐฯ ไม่เพียงแต่ที่อุปกรณ์เหล่านี้ใช้บันทึกภาพขณะที่เกิดอาชญากรรม แต่กล้องตามหน้าประตูยังช่วยยับยั้งการเกิดเหตุร้ายได้อีกด้วย   กล้องบางรุ่นมาพร้อมความสามารถในการตรวจจับความเคลื่อนไหว…

พ.ร.บ.เดินอากาศ พ.ศ.2497 กับ อากาศยานไร้คนขับ

Loading

  คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้ผู้คนส่วนใหญ่จะได้ยินหรือรู้จักกับคำว่า “โดรน DRONE” หรือถ้าจะเรียกอย่างเป็นทางการคือ “อากาศยานไร้คนขับ หรือ UNMANNED AERIAL VEHICLE – UAV”   ยานพาหนะตัวนี้ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะนำมาใช้ในงานของทางราชการ งานของเอกชน หรือบุคคลทั่วไป งานราชการ เช่น การสำรวจพื้นที่ การสำรวจเหตุอุทกภัย การสำรวจรังวัดพื้นที่เขตป่าสงวน หรือใช้ในราชการทหาร เช่น ทางยุทธวิธี ฯลฯ   ส่วนของเอกชนก็นำมาใช้ในงานถ่ายภาพเทศกาลต่าง ๆ หรือถ่ายภาพโฆษณา ถ่ายเพื่อความสนุกสนาน ถ่ายสำรวจรังวัดพื้นที่ สำรวจเส้นทาง หรือพ่นยาฆ่าแมลง เป็นต้น     การใช้ โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ โดยเฉพาะของเอกชนหรือบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หน่วยงานของราชการ การจะใช้งานหรือทำการบินได้ จะต้องมีการจดทะเบียนโดรน มีการขออนุญาตใช้โดรน และขออนุญาตใช้คลื่นความถี่     เนื่องจากพระราชบัญญัติเดินอากาศ พ.ศ.2497 ได้ถือว่า “โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ” เป็นอากาศยานประเภทหนึ่ง…

ปืนกับคนไทย ทำอย่างไรให้ลดการถือครอง

Loading

GETTY IMAGES   คนไทยสนใจเรื่องปืนมากพอ ๆ กับ อาหาร ท่องเที่ยว และสินค้าไอที การแนะนำ รีวิวอาวุธปืนหลากชนิด เป็นหนึ่งในเนื้อหายอดนิยมติดอันช่องยูทิวบ์ เฟซบุ๊กของไทย แต่ละตอนที่นำเสนอออกมา เรียกผู้ชมได้เป็นหลักแสนในเวลาไม่ถึงสัปดาห์   ไม่น่าแปลกใจที่ประเทศไทยมีปืนมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปืนถูกใช้ไปในการประกอบอาชญากรรมตั้งแต่การแก้ปัญหาพิพาทส่วนตัว การปล้นทรัพย์ ไปจนถึงการสังหารหมู่ครั้งล่าสุดเมื่อ 6 ต.ค. ที่ จ.หนองบัวลำภู   เหตุการณ์ดังกล่าว แม้ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากคมมีดมากกว่ากระสุนปืนส่งผลให้รัฐบาลต้องรีบหาทาง “ล้อมคอก” ซึ่งนักอาชญาวิทยาบอกว่าอาจไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ถูกวิธี   บีบีซีไทยชวนหาคำตอบว่าทำไมไทยมีอัตราการครองปืนสูงสุดอาเซียน เกือบครึ่งเป็นปืนเถื่อน คนทั่วไปครอบครองปืนได้ง่ายแค่ไหน การนิรโทษกรรมปืนเถื่อนจะช่วยลดอัตราการเกิดเหตุความรุนแรงได้จริงหรือไม่     ปืน ผู้หญิง และความสนใจ กชนก สุต๊า หรือ “น้ำอิง” พิธีกรหญิงวัย 32 ปี ผู้ผลิตวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปืน วิดีโอแต่ละตอนมียอดผู้เข้าชมเรือนหมื่นถึงหลายล้านบอกว่า เธอเริ่มสนใจเรื่องปืนจากตอนที่เธอไปซ้อมยิงปืนที่สนามกับเพื่อนครั้งแรกเมื่อห้าปีที่ผ่านมา   “แต่ก่อนไม่ได้มีความสนใจเรื่องปืน แต่มีเพื่อนที่ชอบยิงปืนและชักชวนไปสนามยิงปืน พอได้ลองยิงแล้วถ่ายคลิปลงเฟซบุ๊ก เกิดเป็นกระแสไวรัลขึ้นมา มีคนแชร์นับหมื่น…

วิธีเช็กเบราว์เซอร์ในแอปกำลังติดตามเราหรือไม่

Loading

  วิธีเช็กเบราว์เซอร์ในแอปกำลังติดตามเราหรือไม่ โดยแอปมักเปิดลิงก์เหล่านี้โดยใช้เบราว์เซอร์ในแอปภายในแอปโซเชียลมีเดีย เช่น TikTok และ Instagram นี่คือเมื่อคุณเปิดลิงก์ภายในแอปโดยไม่ต้องออกจากแอปและเปลี่ยนไปใช้เบราว์เซอร์อื่น แม้จะสะดวกแบบนี้ มีผลเสียเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือเบราว์เซอร์ดังกล่าวสามารถติดตามกิจกรรมของคุณทางออนไลน์ได้   วิธีเช็กเบราว์เซอร์ในแอปกำลังติดตามเราหรือไม่   หากคุณกังวลเกี่ยวกับเบราว์เซอร์ในแอปที่ติดตามคุณ เว็บไซต์ InAppBrowser เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ซึ่งคุณสามารถใช้ตรวจสอบได้ วิธีใช้งานบนมือถือและเดสก์ท็อปมีดังนี้   1.  เปิดแอป LINE , Instagram , facebook หรือแอปอื่น ๆ ที่คุณต้องการตรวจสอบบนอุปกรณ์มือถือของคุณ   2.  แชร์เว็บ หรือส่งเว็บ InAppBrowserในกลุ่มแชท หรือโซเชียล หรือส่งให้เพื่อนภายในแอป คุณยังสามารถส่งให้ตัวเองถ้าเป็นไปได้ ที่อนุญาตให้คุณเปิดลิงก์ในแอปได้   3.  แตะที่ลิงค์เพื่อเปิด InAppBrowser ภายในแอปโดยใช้เบราว์เซอร์ในแอป       4.  เมื่อโหลดขึ้นมา จะมีรายงานที่ JavaScript ทำงานบนอุปกรณ์ของคุณ นอกจากนี้ยังจะบอกคุณถึงการใช้งาน JavaScript ที่เป็นไปได้…