รู้จัก Dirty Bomb ระเบิดกัมมันตรังสีที่รัสเซียอ้างถึง มีอานุภาพรุนแรงแค่ไหน น่ากังวลหรือไม่

Loading

  เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (23 ตุลาคม) รัสเซียได้กล่าวอ้างว่าฝ่ายยูเครนเตรียมใช้ระเบิดกัมมันตรังสี หรือ Dirty Bomb เพื่อหวังพลิกเกมในสงครามที่กินเวลายืดเยื้อเข้าสู่เดือนที่ 8 ขณะที่รัฐบาลเคียฟและพันธมิตรชาติตะวันตกออกมาโต้ว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะยูเครนจะใช้ระเบิดที่กระจายสารพิษในดินแดนของตัวเองไปเพื่ออะไร   แม้ตอนนี้เราจะยังไม่ทราบว่าฝ่ายใดพูดจริงหรือเท็จกันแน่ แต่วันนี้ THE STANDARD จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับระเบิดกัมมันตรังสี อาวุธล่าสุดที่อาจถูกเลือกใช้ในสมรภูมิรบ รวมทั้งดูว่าอาวุธชนิดมีอานุภาพรุนแรงแค่ไหน ส่งผลกระทบอย่างไร และทำไมรัสเซียถึงเอ่ยชื่อมันขึ้นมา   รัสเซียพูดอะไร? –   เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (24 ตุลาคม) รัสเซียได้ร่อนจดหมายถึงองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยอ้างว่ายูเครนจะใช้ระเบิดกัมมันตรังสีในสงครามที่เกิดขึ้น และได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นหารือในการประชุมแบบปิดร่วมกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) เมื่อวานนี้ (25 ตุลาคม)   –   พลโท อิกอร์ คิริลลอฟ (Igor Kirillov) หัวหน้ากองกำลังป้องกันนิวเคลียร์ ชีวภาพ และเคมีของรัสเซีย เปิดเผยในการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่า ยูเครนมีเป้าหมายที่จะใช้การโจมตีด้วยอาวุธดังกล่าวในประเทศของตัวเอง และโทษว่าเป็นความผิดของรัสเซีย   –   โดยวานนี้ ดมิทรี โพลีอันสกี (Dmitriy…

เบื้องหลัง Super Computer รุ่นแรก ไทยใช้แก้ปัญหาน้ำท่วม – ภัยแล้ง

Loading

  26 ปีก่อน ประเทศไทยได้ใช้งานคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือ Super Computer รุ่นแรก ๆ ภายใต้หน่วยงานวิจัยระดับประเทศอย่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โดยการนำของ ดร.รอยล จิตรดอน นักซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นแรกของประเทศไทย ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดหน่วยปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงขึ้น เพื่อรวมกลุ่มและสนับสนุนคนใช้งานด้าน “วิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์” ในขณะที่หลายหน่วยงานมุ่งเน้นไปที่การสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งาน   โจทย์แรกที่ศูนย์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงรับมาทำ คือการใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ จัดการกับข้อมูลน้ำขนาดใหญ่ของประเทศ โดยร่วมกับศิษย์เก่าของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเมสซาชูเสต (MIT) ที่มีส่วนสร้างอินเทอร์เน็ตขึ้นมาในยุคเริ่มต้น หลังจากที่ได้พูดคุยกับกลุ่มผู้ใช้ ทำให้รู้ว่าประเทศไทยจะต้องมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบไหน จึงจะเหมาะกับการใช้งาน         Super Computer รุ่นแรก   : จุดเริ่มต้นของทฤษฏีใหม่   ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปี 2538 และปัญหาน้ำแล้งปี 2539 ทำให้ประเทศไทย โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มมองหาคำตอบใหม่ ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่การแก้ไขในเชิงโครงสร้าง แต่เป็นการบริหารจัดการที่มากกว่า จนได้ข้อสรุปว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมี tools ทางด้านไอทีที่รองรับการทำงานร่วมกับแบบกระจายศูนย์ (Distributed…

จีนกลายเป็นภัยคุกคามเจ้าเทคโนโลยีสหรัฐฯ ได้อย่างไร

Loading

ภาพโกลบอลไทมส์   เมื่อ 7 ปีที่แล้ว จีนประกาศแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ “เมดอินไชน่า 2025” ตั้งเป้าหมายการพัฒนา 10 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของแดนมังกร ให้ผงาดทัดเทียมบนเวทีการแข่งขันระดับโลกภายในปี พ.ศ.2568   หากย้อนดูเส้นทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของจีน ก็จะเข้าใจได้ว่า จีนกลายเป็นภัยอันน่ากลัวต่อผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างสหรัฐฯ ในทุกวันนี้ได้อย่างไร   ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ กำลังถูกจีนไล่ตามมาเหลือระยะห่างกันมากน้อยแค่ไหน และเหตุใดรัฐบาลของประธานาธิบดี โจ ไบเดน จึงรู้สึกถูกคุกคามถึงขนาดต้องยกระดับมาตรการจำกัดการส่งออกเทคโนโลยีแก่จีนเมื่อเร็ว ๆ นี้ อธิบายได้จากสิ่งต่อไปนี้   1.ความเฟื่องฟูด้านการวิจัย   จีนมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ตอนนั้นเศรษฐกิจแดนมังกรกำลังบูม หลังจากการฟื้นฟูเปิดประเทศและเศรษฐกิจของผู้นำ “เติ้ง เสี่ยวผิง” ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2533-2542)   เมื่อดูการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งหมด (Gross R&D spending) ของแต่ละฝ่าย พบว่า จีนไล่ตามมาชนิดหายใจรดต้นคอในปัจจุบัน โดยจีนมีโอกาสลดช่องว่างให้แคบลงในช่วงที่สหรัฐฯ เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ด็อตคอมในปี 2540-2543 และวิกฤตการเงินโลกระหว่างปี 2551-2552 ซึ่งทำให้การใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของสหรัฐฯ ชะลอ…

ประเทศที่นักเดินทาง พึ่งระวัง! เปิด 10 ประเทศสุดอันตรายที่สุดในโลก

Loading

  เปิด 10 ประเทศสุดอันตรายที่สุดในโลก 2022 ที่คุณอาจไม่เคยรู้ ใครอยากไปต้องระวัง !   การเดินทางรอบโลกนับเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน แต่ความเป็นจริงนั้นอาจไม่สวยหรูเหมือนความฝัน อาจไม่ได้ราบเรียบเสมอไป เพราะยังมีหลายประเทศที่ค่อนข้างอันตรายและไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด หากใครที่พร้อมจะเดินทาง ควรจะต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจเดินทาง ติดต่อคนพื้นที่หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องไว้ก่อนล่วงหน้าเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเรื่องไม่คาดคิด ลองดูกันว่าประเทศต่อไปนี้ อยู่ในลิสต์ประเทศที่คุณปักหมุดไว้หรือไม่?     สำหรับประเทศที่อันตรายมากที่สุดในโลก โดยอ้างอิงจากคะแนน ดัชนีสันติภาพโลกประจำปี 2022 (Global Peace Index 2022) จากตัวชี้วัดสวัสดิการหรือระดับความอยู่ดีมีสุขของประชาชน (GPI) นับได้จากความรุนแรงความขัดแย้งภายใน ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น ระดับการก่อการร้ายทางการเมือง และความไม่มั่นคงทางการเมือง รวมถึงผลกระทบของการก่อการร้ายอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธหนัก การเสียชีวิตจากความขัดแย้งภายใน ค่าใช้จ่ายทางทหาร อัตราการกักขัง และการรับรู้ถึงความผิดทางอาญา ล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่ไม่เป็นมิตรต่อคนแปลหน้าที่จะเข้าไปเยือนอย่างแน่นอน       10 ประเทศสุดอันตรายที่สุดในโลก   1. อัฟกานิสถาน (Afghanistan) GPI : 3.554 ภาวะการย้ายถิ่นและความขัดแย้งภายใน…

วิธีตรวจสอบมือถือ Android ถูกแฮกหรือไม่ พร้อมวิธีแก้ไขและป้องกันมือถือ Android ถูกแฮก

Loading

  วิธีตรวจสอบมือถือ Android ถูกแฮกหรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าถูกแฮก หากสมาร์ทโฟนของคุณทำงานผิดปกติ คุณสามารถใช้วิธีนี้ตรวจหามัลแวร์ แอปหลอกลวง และปัญหาอื่นๆ กับอุปกรณ์ของคุณ นอกจากนี้ มีแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้ถูกแฮกได้อีก   วิธีตรวจสอบมือถือ Android ถูกแฮกหรือไม่ ลองสังเกตดังนี้   1.แบตหมดไว มีบางแอปใช้พลังงานแบตมากเกินไป ผิดปกติ ให้เข้าไปที่ Settings > Battery > Battery usage แล้วดูว่ากราฟลดลงมากผิดปกติมั้ย และแอปไหนใช้พลังงานแบตมากที่สุด   อย่างไรก็ตามหากคุณติดตั้งแอปทั่วไปละก็ Google มีระบบรักษาความปลอดภัยในชื่อ Google Play Protect ใน Android เตือนคุณโดยอัตโนมัติถึงแอปที่ติดมัลแวร์ ในสถานการณ์สมมตินี้ คุณอาจมีคีย์ล็อกเกอร์หรือไวรัสซ่อนชื่อไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกพบ ดังนั้นก็น่ากังวลมาก คุณสามารถลองรีบูตโทรศัพท์ บังคับปิดแอปต้องสงสัย หรือถอนการติดตั้งแอปทั้งหมดหากเป็นไปได้   2.เจอแอปที่เราไม่ได้ดาวน์โหลดติดตั้งเอง แก้ได้ด้วยให้ทำการถอนแอปนั้นออกเฉพาะแอปที่น่าสงสัยจริงๆที่ไม่ใช่มาจากผู้ผลิตมือถือ มีแอปมากมายที่ติดตั้งมาล่วงหน้าโดยผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการโทรศัพท์ และไม่เป็นอันตราย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณใช้ความระมัดระวังเกี่ยวกับการลบแอปที่สงสัยออก   3.การใช้ข้อมูลเน็ตสูงผิดปกติ จากแอปแปลก…