รัสเซีย ยูเครน : ทำไมดาวเทียม “สตาร์ลิงก์” ของอีลอน มัสก์ ถึงสำคัญต่อยูเครนมาก

Loading

GETTY IMAGES   อีลอน มัสก์ บอกว่า เขาจะให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม “สตาร์ลิงก์” (Starlink) ของเขาแก่ชาวยูเครนต่อ แม้ก่อนหน้านี้ออกมาขู่ว่าจะหยุดให้เงินสนับสนุน   มาดูกันว่าระบบอินเทอร์เน็ตที่ต้องพึ่งดาวเทียมบริษัทนี้สำคัญต่อกองทัพและรัฐบาลยูเครนอย่างไร     “สตาร์ลิงก์” คืออะไร ทำงานอย่างไร   สตาร์ลิงก์ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านฝูงดาวเทียม โดยมีประโยชน์ต่อคนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบทั่วไปได้ ดาวเทียมเหล่านี้อยู่ในวงโคจรระยะต่ำรอบโลกเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อระหว่างดาวเทียมกับพื้นดินได้เร็วที่สุด     ประเมินกันว่าตั้งแต่ปี 2018 สตาร์ลิงก์ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรอยู่ราว 3,000 ดวง โดยคริส ฮอล ผู้อำนวยการด้านเนื้อหาของเว็บไซต์ด้านเทคโนโลยี Pocket-lint บอกว่า ในที่สุด บริษัทของนายมัสก์อาจใช้ดาวเทียมถึง 10,000 หรือ 12,000 ดวง   เขาบอกว่าดาวเทียมช่วยแก้ปัญหาเรื่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตในที่ห่างไกล “สามารถหลีกเลี่ยงการต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานมากมาย อาทิ สายและเสารับสัญญาณ ในพื้นที่เหล่านั้น”     “สตาร์ลิงก์” ช่วยยูเครนอย่างไร   อีลอน มัสก์ เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสตาร์ลิงก์แก่ยูเครนไม่นานหลังรัสเซียเข้าบุกรุกราน และไปปิดกั้นสัญญาณอินเทอร์เน็ตและสัญญาณโทรศัพท์ในประเทศ…

อว.หนุนงานวิจัยรับมือ แผ่นดินไหว ภัยธรณีพิบัติ ลดความเสี่ยง ลดสูญเสีย

Loading

  กระทรวงการอุดมศึกษาฯ สนับสนุนทุนวิจัยโครงการการสร้างแบบจำลองระบบธรณีแปรสัณฐานของประเทศไทย เพื่อประเมินสภาวะความเค้นของธรณีภาคและความเสี่ยงแผ่นดินไหว   กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   สนับสนุนทุนวิจัยภายใต้ชุดโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย และโครงการการศึกษาแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวของประเทศไทย และการกำหนดตำแหน่งและประเมินผลกระทบของรอยเลื่อนที่ซ่อนตัวในเขตเมืองจากการตรวจวัดแผ่นดินไหว   รศ.ภาสกร ปนานนท์ นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวจังหวัดแพร่เกิดในบริเวณที่มีกลุ่มรอยเลื่อนมีพลังเถินพาดผ่าน ซึ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วหลายครั้ง     เช่น แผ่นดินไหวขนาด 5.0 ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในปี 2538 และแผ่นดินไหวขนาด 2-3 ในช่วงปี 2560-2562 ที่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ห่างจากแผ่นดินไหวปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตร   ส่วนแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงใหม่เกิดในบริเวณที่มีกลุ่มรอยเลื่อนมีแม่ทาพาดผ่าน ซึ่งมีแผ่นดินไหวมาโดยตลอดโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แผ่นดินไหวครั้งสำคัญมีขนาด 5.1 ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี 2549…

รวมเว็บไซต์สร้างอีเมลชั่วคราว ใช้แล้วทิ้ง ป้องกันสแปมและความเป็นส่วนตัว

Loading

  รวมเว็บไซต์สร้างอีเมลชั่วคราว ใช้แล้วทิ้ง ทุกคนคงทราบดีว่าที่อยู่อีเมลมีความสำคัญขนาดไหนในโลกอินเทอร์เน็ต คุณไม่สามารถสมัครใช้งานแอปหรือบริการอินเทอร์เน็ตได้ได้หากไม่มีที่อยู่อีเมล แม้แต่ระบบปฏิบัติการอย่าง Windows และ macOS ก็ต้องการที่อยู่อีเมล อย่างไรก็ตาม การป้อนที่อยู่อีเมลส่วนตัวในไซต์อื่นๆ ไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากจะได้รับอีเมลสแปมและเพิ่มความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัว   เพื่อความปลอดภัย คุณสามารถใช้อีเมลอีกชื่อนึงหรืออีเมลที่ใช้แล้วทิ้งได้ โดยอีเมลที่ใช้แล้วทิ้งนั้นเป็นอีเมลชั่วคราวที่จะถูกลบโดยอัตโนมัติหลังจากผ่านไปไม่กี่นาที ชั่วโมงหรือหลายวัน คุณสามารถใช้อีเมลชั่วคราวเพื่อลงชื่อสมัครใช้ในเว็บไซต์ บริการ และแอปออนไลน์ได้   บทความนี้จะเป็นการสร้างที่อยู่อีเมลที่สามารถสร้างอีเมลชั่วคราว ใช้แล้วทิ้ง หรือชื่ออีเมลปลอมได้ภายในไม่กี่วินาที   Temp Mail     เว็บไซต์สร้างอีเมลฟรีที่สามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณโดยให้ที่อยู่อีเมลชั่วคราวแก่คุณสำหรับการใช้งาน หลังจากได้รับอีเมลชั่วคราวจาก Temp Mail แล้ว คุณสามารถใช้อีเมลดังกล่าวเพื่อลงชื่อสมัครใช้ในเว็บไซต์ แอป และบริการต่างๆ   ข้อดีของ Temp Mail คือที่อยู่อีเมลนั้นได้รับการยอมรับจากเว็บไซต์และบริการยอดนิยม สามารถใช้โปรแกรมสร้างอีเมลนี้เพื่อลงทะเบียนบนเว็บไซต์ที่น่าสงสัย Temp Mail ใช้งานได้ฟรี และปราศจากสแปม     Emailfake     Emailfake…

จะเกิดอะไรขึ้นหลังรัสเซียประกาศใช้กฎอัยการศึก

Loading

Ukraine Russia   เมื่อวันพุธ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ประกาศใช้กฎอัยการศึกในดินแดนสี่แห่งของยูเครนที่รัสเซียเข้ายึดและอ้างว่าเป็นดินแดนของตน   แม้รัสเซียจะเข้ายึดเขตปกครองดอแนตสก์ ลูฮันสก์ เคอร์ซอน และซาปอริห์เชีย เพียงฝ่ายเดียว และไม่ได้มีอำนาจควบคุมพื้นที่เหล่านี้อย่างเต็มที่ แต่รัสเซียก็ประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านี้ เสมือนว่าเป็นพื้นที่ของตน   กฎหมายที่มีมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2002 นี้ ไม่เคยถูกประกาศใช้มาก่อน และจะถูกใช้ได้ก็ต่อเมื่อรัสเซียเผชิญการรุกราน หรือ”ภัยต่อการถูกรุกรานแบบฉับพลัน”   รอยเตอร์ประเมินเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นหลังผู้นำรัสเซียประกาศใช้กฎอัยการศึกดังต่อไปนี้   การระดมพล   กฎอัยการศึกของรัสเซียกำหนดให้มีการระดมกำลังพลโดยทั่วไปหรือระดมกำลังพลบางส่วน   อย่างไรก็ตาม รัสเซียได้เริ่มระดมพลบางส่วนแล้วทั้งในประเทศ และในดินแดนของยูเครนที่รัสเซียยึดครอง ดังนั้น จึงยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ารัสเซียจะเรียกระดมพลเพิ่มหรือไม่   กฎอัยการศึกมอบอำนาจให้ทางการรัสเซียประกาศใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อ “สนองความต้องการของกองกำลังติดอาวุธรัสเซีย” และเพื่อ “ปกป้องดินแดน”   วิตาลี คิม ผู้ว่าการแคว้นมีโคลาอีฟทางตอนใต้ของยูเครน ระบุว่า เขาเชื่อว่ารัสเซียประกาศใช้กฎอัยการศึกครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้รัสเซีย “ระดมกำลังจากประชาชนของเราที่ยังเหลืออยู่” ในดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดครอง   ทั้งนี้ การบังคับให้พลเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังของฝั่งที่เข้ายึดครอง…

สำรวจการใช้ “โดรนกามิกาเซ” ของทัพรัสเซียและยูเครน

Loading

  ซากของโดรนชาเฮด-136 ที่ถูกยูเครนยิงตก   ยูเครนกล่าวหาว่ารัสเซียใช้ “โดรนกามิกาเซ” โจมตีเป้าหมายที่เป็นพลเรือนในกรุงเคียฟ   โดรนชนิดนี้บรรทุกระเบิดที่จะระเบิดขึ้นเมื่อเกิดแรงปะทะ ซึ่งจะทำลายโดรนไปพร้อมกัน     โดรนกามิกาเซ ของรัสเซียคืออะไร   เชื่อกันว่ารัสเซียใช้โดรน “ชาเฮด-136” (Shahed-136) ที่อิหร่านผลิต ในสมรภูมิยูเครนตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา   โดรนชนิดนี้ซึ่งรัสเซียเรียกว่า เจอเรเนียม-2 (Geranium-2) มีระเบิดอยู่ในหัวรบที่ส่วนจมูกของมัน และได้รับการออกแบบให้บินวนเวียนเหนือเป้าหมายจนกว่าจะได้รับคำสั่งให้โจมตี   ชาเฮด-136 มีระยะระหว่างปลายปีก 2 ข้างประมาณ 2.5 เมตร และยากที่จะตรวจจับด้วยเรดาร์   ยังไม่ชัดเจนว่ารัสเซียมีโดรนชนิดนี้อยู่เท่าใด แต่สหรัฐฯ ระบุว่า อิหร่านมีแผนจะจัดส่งโดรนหลายร้อยลำให้แก่รัสเซีย แต่อิหร่านปฏิเสธข้อกล่าวหานี้       โดรนกามิกาเซสร้างความเสียหายมากแค่ไหนในยูเครน   มีรายงานว่ารัสเซียใช้โดรนชาเฮด-136 ครั้งแรกเมื่อ 13 ก.ย. เพื่อโจมตีเป้าหมายในเมืองคูปิยันสก์ ในภูมิภาคคาร์คีฟ ทางภาคตะวันออกของยูเครน   ช่วงปลายเดือนเดียวกัน…

‘ChromeLoader’ ช่องโหว่ การโจมตี ‘แรนซัมแวร์’

Loading

  แฮกเกอร์ใช้ประโยชน์จากเบราว์เซอร์ในการช่วยเพิ่มพื้นที่ในการโจมตี ส่งมัลแวร์ที่เป็นอันตรายมามากขึ้น ทั้งยังใช้เพื่อจุดประสงค์ที่ร้ายกาจอื่น ๆ   ขณะที่ ChromeLoader ถูกมองว่าเป็น hijacker เบราว์เซอร์ที่ขโมยข้อมูลประจำตัว นักวิจัยยังพบว่า ChromeLoader เวอร์ชันใหม่ล่าสุดสามารถส่งมัลแวร์ที่เป็นอันตรายมากขึ้นและยังใช้เพื่อจุดประสงค์ที่ร้ายกาจอื่น ๆ ได้อีกด้วย   โดยนักวิจัยของ VMware รายงานว่า ระบบของ ZipBombs ติดไวรัส โดยการติดจากไวรัสในไฟล์เก็บถาวรที่ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลด และผู้ใช้งานต้องดับเบิลคลิกเพื่อให้ ZipBomb และเมื่อทำงานแล้ว   มัลแวร์จะทำลายระบบของผู้ใช้งานด้วยการโหลดข้อมูลที่มีจำนวนมากเกินไป อีกทั้ง นักวิจัยของ VMware ได้สังเกตเห็น ChromeLoader รุ่นต่างๆ ของวินโดว์สในและเวอร์ชัน macOS โดย ChromeLoader มีตัวแปรบางตัวอาทิ ChromeBack และ Choziosi Loader ซึ่งพบหลักฐานของ The Real First Windows Variant ซึ่งนักวิจัยมีการใช้เครื่องมือ AutoHotKey (AHK) เพื่อคอมไพล์โปรแกรมปฏิบัติการที่เป็นอันตรายและวางมัลแวร์เวอร์ชัน 1.0…