ผู้พิพากษา vs Judge AI เมื่อความยุติธรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI อาจดีกว่าการถูกตัดสินด้วยอคติจากมนุษย์

Loading

  แม้มันดูเหมือนจะเป็นเรื่องราวจากภาพยนตร์ไซไฟ แต่ต้องบอกว่าในยุคปัจจุบันนั้น ในวงการกฎหมายเริ่มนำเอาเทคโนโลยีอย่าง AI มาประยุกต์ใช้จริง ๆ กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   การเติบโตอย่างบ้าคลั่งของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ข้อมูล Big Data ขนาดมหึมา เทคโนโลยีอย่าง Machine Learning และข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ได้รับอย่างต่อเนื่องจากอินเทอร์เน็ต ที่ครอบคลุมทุกอย่างรอบตัวเรา กำลังเปลี่ยนโลกของเราด้วยความเร็วที่ไม่เคยมีมาก่อน   มีผลการศึกษาผลกระทบต่อเทคโนโลยีต่อหลากหลายอาชีพ ได้พบว่า นักกฎหมายและผู้พิพากษาอยู่ที่จุดกึ่งกลางของงานที่มีแนวโน้มว่าจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน   มีสิ่งบ่งชี้เกี่ยวกับภัยคุกคามต่ออาชีพนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น chatbot บริการทางกฎหมายที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในสหราชอาณาจักร ที่มีชื่อว่า ‘DoNotPay’ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2015 ในฐานะ ‘ทนายความหุ่นยนต์’ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคอมพิวเตอร์ Watson ของ IBM   ในปี 2016 ระบบ chatbot ได้โต้แย้งข้อพิพาทเรื่องตั๋วจอดรถมากกว่า 250,000 คดีในลอนนดอนและนิวยอร์ก ซึ่งสามารถชนะการตัดสินได้ถึง 160,000 คดี     DoNotPay…

เทคโนโลยีที่อาจ “สอดแนม” คุณ!!!

Loading

  เมื่อเราก้าวเข้าสู่พรมแดนใหม่ ๆ ด้วยเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุด และเพลิดเพลิน ผสมปนเปได้ด้วยความสะดวกสบาย ไปกับประโยชน์เชิงบวกมากมายที่จะเกิดขึ้นกับวิธีการทำงาน การเล่น การบันเทิง พักผ่อน และการใช้ชีวิต   แต่เหรียญนั่นมีสองด้าน ดาบนั่นมีสองคม เราต้องมีสติอยู่เสมอและเตรียมพร้อมสำหรับผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมอยากบอกเล่าถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่อันตรายที่สุด อีกประเภทที่มีผลทั้งในแง่บวกและลบ อีกทั้งยังอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด     เทคโนโลยีการสอดแนมอุปกรณ์สมาร์ทโฮม (Spying Smart Home Devices)     เพื่อให้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมตอบคำถาม รับคำสั่ง และมีประโยชน์มากที่สุด อุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องฟัง และติดตามข้อมูลเกี่ยวกับตัวเรา และนิสัยประจำของเราตลอดเวลา ปัจจุบันแกนหลักของเทคโนโลยีนี้ คือ ลำโพงอัจฉริยะ ที่จะเชื่อมต่อและส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์สมาร์ทโฮมชิ้นอื่นๆภายในบ้าน ซึ่งเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบแนวคิด I.O.T หรือชื่อเต็มๆว่า Internet Of Thing คือการเชื่อมต่อถึงได้อย่างครอบคลุมจากอุปกรณ์ที่หลากหลายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยสั่งเปิด-ปิด ผ่านระบบผ่านลำโพงอัจฉริยะ เพื่อเชื่อมต่อ ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ กล้องวงจรปิด และอีกมากมาย…

ญี่ปุ่นกับภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่นและน้ำท่วม

Loading

  คอลัมน์ “เรื่องเล่าสะใภ้ญี่ปุ่น” โดย “ซาระซัง”   สวัสดีค่ะเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน ช่วงนี้ญี่ปุ่นอยู่ในฤดูมรสุมต้องเผชิญพายุไต้ฝุ่นเป็นประจำทุกปี หลายครั้งสร้างความเสียหายอย่างหนักและมึผู้เสียชีวิตด้วย เราจะไปดูกันว่าญี่ปุ่นเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติจากพายุและน้ำท่วมอย่างไร   เดือนกันยายนและตุลาคมเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นเป็นประจำ หลายคนอาจคิดว่าเมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวและสึนามิแล้ว ภัยจากพายุไม่ได้น่ากลัวมากนัก แต่ความจริงแล้วพายุก่อภัยพิบัติทั้งจากลมแรง ฝนตกหนัก น้ำท่วม ดินถล่ม สร้างความเสียหายต่อทั้งพืชผลการเกษตร บ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ หลายครั้งมีผู้เสียชีวิตด้วย และหลายครั้งความเสียหายก็เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึง     ตัวอย่างที่ชัดเจนครั้งหนึ่ง คือ เมื่อเดือนกันยายน 2561 พายุได้พัดเรือลำหนึ่งไปชนเข้ากับสะพานที่เชื่อมเมืองโอซากากับสนามบินคันไซจนสะพานหักลง สนามบินคันไซที่สร้างขึ้นบนเกาะเทียมบนทะเลต้องถูกตัดขาดจากโลกภายนอก นักเดินทางจำนวนมากติดค้างอยู่ภายในสนามบินที่ถูกน้ำท่วม ไม่มีน้ำ-อาหารเพียงพอ และไม่มีไฟฟ้าด้วย ต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะอพยพคนที่อยู่ในสนามบินออกมาได้ การกู้สนามบินที่น้ำท่วมรันเวย์และชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสารใช้เวลานานถึง 17 วัน ส่วนสะพานต้องใช้เวลาซ่อนนานกว่า 7 เดือน จึงจะเปิดการจราจรเชื่อมโยงตัวเมืองกับสนามบินได้อย่างสมบูรณ์     รับมือพายุอย่างไรจึงจะปลอดภัย   ภัยที่เกิดจากพายุหลัก ๆ แล้วเกิดจากลม (วาตภัย) และฝน (อุทกภัย) ซึ่งทำให้น้ำท่วม แม่น้ำเอ่อล้น และดินโคลนถล่ม…

ตีแผ่ซีไอเอ! อดีตสายลับแฉเรื่องราวถูกหลอกใช้ ทอดทิ้ง ติดคุกนานนับสิบปี

Loading

Biden CIA   สำนักข่าวรอยเตอร์จัดทำรายงานพิเศษ เกี่ยวกับชีวิตของอดีตสายลับของรัฐบาลสหรัฐฯ ในอิหร่าน ที่ตีแผ่ถึงวิธีที่เจ้าหน้าที่ซีไอเอใช้ในการรับสมัครสายลับและติดต่อสื่อสาร ไปจนถึงชีวิตหลังจากที่ถูกเปิดเผยตัวตน การถูกทอดทิ้ง จับกุมคุมขัง และทรมานนานนับสิบปี   โกลัมเรซา ฮอสเซนี (Gholamreza Hosseini) ถูกจับกุมที่ท่าอากาศยานอิมาม โคไมนี ในกรุงเตหะราน เมื่อปีค.ศ. 2010 ขณะกำลังจะขึ้นเครื่องบินไปยังกรุงเทพฯ เขาถูกคุมขังนานเกือบ 10 ปีในข้อหาเป็นสายลับให้กับรัฐบาลต่างชาติและเพิ่งได้รับอิสระเมื่อ 3 ปีที่แล้ว   วิศวกรอุตสาหการชาวอิหร่านผู้นี้ คือหนึ่งในอดีตสายลับชาวอิหร่าน 6 คนที่ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ ถึงเรื่องราวการจับพลัดจับผลูไปเป็นสายลับให้แก่สำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ หรือ ซีไอเอ (Central Intelligence Agency – CIA) ไปจนถึงความยากลำบากจากการถูกซีไอเอทอดทิ้ง ถูกเปิดเผยตัวตน และถูกทางการอิหร่านจับกุมคุมขังในข้อหาจารกรรม   รายงานของรอยเตอร์ชิ้นนี้พบว่า ซีไอเอพยายามใช้ทุกวิถีทางเพื่อเก็บข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ในประเทศเป้าหมาย รวมทั้งอิหร่าน ซึ่งหลายครั้งสร้างความเสี่ยงให้แก่บรรดาผู้ที่ทำงานให้กับหน่วยงานข่าวกรองขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้   FILE – In this…

เปิด 3 แอปพลิเคชัน ถูกแบนเพราะผิดกฎหมาย เปิดให้สอดแนม-แฮกมือถือได้

Loading

  เปิด 3 แอปฯ มือถือ ที่ถูกแบนเพราะผิดกฎหมาย เพราะเปิดข้อมูลส่วนบุคคลให้คนอื่นรู้ เสี่ยงโดนสอดแนม ถูกคุกคามทางเพศ และแฮกมือถือชาวบ้านได้   ชวนวัยรุ่นดิจิทัลไลฟ์ มาทำความรู้จัก เปิด 3 แอปฯ มือถือ ที่ผิดกฎหมายและถูกแบนเพราะเปิดโอกาสให้ชีวิตดิจิทัลเราเสี่ยงภัยมากขึ้น     AndroDumpper   แอปฯ AndroDumpper เป็นแอปพลิเคชันที่เปิดให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi ของคนอื่นได้โดยไม่ต้องใช้รหัส Wi-Fi ด้วยฟีเจอร์ของมันทำให้คนร้ายอาจใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ จึงถูกถอดออกจาก Play Store และมีส่วนที่ผิดกฎหมายด้วย เพราะการพยายามเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่ามีความผิด ในการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้อื่น   ดังนั้นถ้าใครที่แอปฯ แฮก Wi-Fi ข้างบ้านก็ระวังตัวให้ดีครับ ถ้าเขาจับได้ก็อาจเจอดีได้ ส่วนใครที่บ้านมี Wi-Fi แรก ๆ ก็ระวังให้ดี เพราะไม่แน่ใครที่เดินผ่านไปมาอาจะแอบพยายามยืนแฮก Wi-Fi หน้าบ้านของคุณได้     Secret SMS Replicator  …

ย้อนรอยวิกฤติ ‘เลบานอน’ จาก ‘ปารีสแห่งตะวันออกกลาง’ มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

Loading

  ประเด็นความวุ่นวายใน “เลบานอน” กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง เมื่อธนาคารทุกแห่งทั่วประเทศปิดทำการไม่มีกำหนด เนื่องจากหวั่นความปลอดภัย หลังลูกค้าที่โกรธแค้นบุกปล้นธนาคารหลายแห่งเพื่อเอาเงินฝากตัวเองคืน ขณะที่ค่าเงินปอนด์เลบานอนอ่อนค่าลงถึง 90% นับตั้งแต่ปี 2562 เรามาย้อนรอยวิกฤติใหญ่ในเลบานอนกันว่า มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร   สถานการณ์ในเลบานอนขณะนี้ อาจแทบเรียกได้ว่าเข้าสู่ “กลียุค” เพราะถูกรุมเร้าจากทั้งหนี้สาธารณะท่วม เหตุจลาจลทั่วประเทศ และเศรษฐกิจล้มละลายจนต้องขอกู้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขณะที่ประชาชนที่ฝากเงินกับธนาคารไม่สามารถถอนเงินตัวเองออกมาใช้ได้ จนเกิดเหตุการณ์ปล้นธนาคารทั่วทุกหัวระแหง   เมื่อวันพฤหัสบดี (22 ก.ย.) สมาคมธนาคารเลบานอน ประกาศว่า ธนาคารทุกแห่งจะยังปิดทำการต่อไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากไม่ได้รับความมั่นใจจากทางการในการรักษาความปลอดภัย ยังคงมีความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องสำหรับพนักงานและลูกค้า และบรรยากาศของการปลุกระดมยังคงมีอยู่     – เหตุจลาจลในเลบานอนล่าสุด ก.ย. 2565 (เครดิจภาพ: REUTERS/Mohamed Azakir) – ธนาคารหลายแห่งปิดประตูไม่ต้อนรับลูกค้า หลังจากเกิดเหตุการณ์ประชาชนที่โกรธแค้นบุกปล้นธนาคาร 7 แห่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่วิกฤติการเงินที่ยืดเยื้อนาน 3 ปีกลับเลวร้ายลงอีก และชีวิตชาวเลบานอนยากลำบากยิ่งขึ้น   ภาคธนาคารเลบานอน “อายัดเงินฝาก” มานานกว่า…