ข้อมูลรั่วไหลคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด วิธีป้องกันข้อมูลรั่วไหลทำอย่างไร

Loading

  ข้อมูลรั่วไหลคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด เรามักจะได้ยินในข่าวไอที แต่จะส่งผลกระทบต่อเราอย่างไร การรั่วไหลของข้อมูล เป็นปัญหาด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงสำหรับทั้งบุคคลและธุรกิจ สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น อีเมล ข้อความ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย และอื่นๆ ถูกเปิดเผยต่อบุคคลอื่นไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของเรา ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายวิธีรวมถึงการแฮก การขโมย หรือการปล่อยข้อมูลลับโดยไม่ได้ตั้งใจ หากคุณไม่ระมัดระวัง ข้อมูลลับของคุณอาจถูกบุกรุก และเปิดเผยสาธารณะได้ ข้อมูลรั่วไหลคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด ข้อมูลรั่วไหลคือ การรั่วไหลของข้อมูลเกิดขึ้นเมื่อผู้คนได้รับข้อมูลที่พวกเขาไม่ควรมี สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธี ทั้งโดยบังเอิญและโดยเจตนา จะดีที่สุดหากคุณระมัดระวังข้อมูลของคุณเอง เพราะข้อมูลอาจหลุดออกมาและอาจมีคนแอบนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดได้ ยกตัวอย่าง เช่น คุณมีบัตรเครดิตและคุณใช้บัตรเครดิตเพื่อซื้อของทางออนไลน์ หมายเลขบัตรเครดิต วันหมดอายุ และรหัส เป็นข้อมูลที่ละเอียดอ่อนทั้งหมด หากข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยแก่บุคคลอื่น เขาจะสามารถแอบใช้บัตรเครดิตของคุณเพื่อซื้อสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต หรืออีกอย่างนึงคือ ถ้าคุณประกอบธุรกิจ และคุณมีประวัติพนักงาน บันทึกเหล่านี้อาจรวมถึงหมายเลขประกันสังคม ที่อยู่ วันเกิด และอื่นๆ หากข้อมูลนี้ถูกเปิดเผย มิจฉาชีพสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อขโมยข้อมูลประจำตัวของคุณ หรือฉ้อโกงได้ ข้อมูลรั่วไหลเป็นปัญหาร้ายแรงเพราะอาจนำไปสู่การสูญเสียเงิน ชื่อเสียง และอื่นๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องตระหนักถึงวิธีต่างๆ ที่อาจเกิดข้อมูลรั่วไหลขึ้น และต้องพยายามป้องกัน ไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลเกิดขึ้นกับคุณหรือเกิดกับองค์กรของคุณ ข้อมูลรั่วไหล…

ครบรอบ 50 ปี เหตุการณ์เทือนขวัญ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกมิวนิค กลุ่มก่อการร้าย “Black September” ได้สังหาร นักกีฬาและเจ้าหน้าที่อิสราเอลเสียชีวิตไปถึง 11 ราย

Loading

  ย้อนกลับไป เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ที่มิวนิค เยอรมนี เกิดเหตุที่โศกนาฏรรมครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งของโลก จนกลายเป็นภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เมื่อมี คนร้ายชาวปาเลสไตน์ บุกเข้าไปหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิก 1972 ที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี แล้วจับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมอิสราเอล 11 คนไว้เป็นตัวประกัน ช่วงเช้ามืดของวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2515 ( ค.ศ.1972) ภายหลังมีการเปิดเผยว่า กลุ่มคนร้ายชาวปาเลสไตน์ คือกลุ่ม Black September ซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1970 – 1971 ก่อนที่จะมีการจัดโอลิมปิก 1972 ไม่นาน โดยในการก่อการร้ายครั้งนั้นมีทั้งสิ้นจำนวน 8 คน จุดมุ่งหมายของการก่อการร้ายครั้งนั้น คือ การเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์ในประเทศอิสราเอลจำนวน 234 คน อีกทั้ง ยังเรียกร้องให้ ปล่อยตัวผู้ก่อตั้งกลุ่มแยกกองทัพแดง (German Red Army Faction) พวกเขาจึงจะยอมปล่อยตัวประกันทั้งหมด ซึ่ง ณ เวลานั้นในช่วงแรก…

ลืมเด็กในรถ อุทาหรณ์พ่อแม่ ที่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ และป้องกันได้

Loading

ลืมเด็กในรถ หรือ โรคลืมลูก คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้พ่อแม่ทิ้งเด็กไว้ในรถ หลายคนคงเห็นข่าวที่ผู้ใหญ่ ลืมเด็กในรถ จนเกิดเป็นเหตุสลด เนื่องจากเด็กเสียชีวิตกันมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นญาติ หรือแม้กระทั่งพ่อแม่เอง และล่าสุด คนขับรถโรงเรียน ลืมเด็กหญิงวัย 7 ปี ไว้ในรถตู้รับส่งจนเสียชีวิตตามที่เป็นข่าว แน่นอนว่าหลายคนย่อมสงสัย ว่าทำไมขนาดมีอุทาหรณ์มากมายขนาดนี้ ก็ยังมีข่าวผู้ใหญ่ลืมเด็กในรถจนเด็กเสียชีวิตมาให้เห็นเรื่อย ๆ แทบจะทุกปี ผู้เขียนเองก็สงสัยเช่นกัน จนกระทั่งเรื่องนี้เกิดขึ้นกับคนที่รู้จัก จากประสบการณ์คุณแม่ลืมลูก เรื่องนี้เป็นประสบการณ์ของคนรู้จักของผู้เขียนเอง โดยขอสงวนชื่อและนามสกุล เธอเป็นคุณแม่ของลูกสาววัย 2 ขวบครึ่ง ยังไม่เข้าโรงเรียน เธอจึงนำลูกสาวไปฝากไว้กับคุณยาย หรือแม่ของเธอ ส่วนตัวเองก็ทำงานในเมือง อาศัยอยู่ที่คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง แล้ววันหนึ่งช่วงสุดสัปดาห์ เธอเกิดคิดถึงลูกขึ้นมา จึงขับรถไปหาลูกที่บ้านของแม่ และตัดสินใจพาลูกกลับมาค้างด้วยที่คอนโดฯ ของเธอ เรื่องก็เริ่มจากตรงนี้ เธอให้ลูกนั่งคาร์ซีตที่เบาะหลัง แล้วก็ขับรถมาจนถึงคอนโดฯ บนลานจอดรถชั้นประจำ เมื่อรถจอดสนิท สิ่งที่เธอทำคือคว้ากระเป๋า กุญแจรถ แล้วออกจากรถปิดประตู เดินขึ้นคอนโดฯไปเลย โดยลืมลูกสาวของเธอเอาไว้ในรถ แต่โชคยังดี ที่จุดจอดรถของเธอนั้นอยู่ในตัวอาคาร และใกล้กับทางเข้าคอนโดฯ มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคนหนึ่งสังเกตเห็นเด็ก จึงนำทะเบียนรถของเธอไปเช็กกับนิติบุคคลประจำอาคาร…

บพข. พัฒนาเทคโนโลยี 5G – AI ป้องกันการอาชญากรรม

Loading

  หน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) และเกาหลีใต้ “วิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G – AI” เพื่อติดตามและป้องกันอาชญากรรม เช่น การตรวจจับใบหน้า ติดตามวัตถุ สร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะให้แก่ประชาชน   สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล ม.สงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกข้อตกลง “วิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ AI” เพื่อกิจการงานตำรวจ ซึ่งนำร่องด้วยแพลตฟอร์ม 5G-AI รักษาความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง ม.สงขลานครินทร์, โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, บริษัท พอยท์ ไอที คอนซัลทิ่ง จำกัด   และภาคเอกประเทศเกาหลีใต้ ประกอบด้วย Hanwha Techwin (ประเทศไทย) บริษัท ฟาโตส จำกัด (FATOS) และ บริษัท อินโนเดป อิงค์ (InnoDep Inc) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ เพื่อติดตามและป้องกันการเกิดอาชญากรรม สร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ…

โลกมุสลิม…ขั้วที่สามของสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงโลก

Loading

  โลกมุสลิมกำลังก้าวเข้ามาเป็นผู้คานอำนาจการเมืองระดับโลก ที่กำลังแยกค่ายแบ่งขั้วอย่างชัดเจนขึ้น รัฐอิสลามจำนวนมากเมื่อผนึกพลังกันจะมีศักยภาพไม่น้อยหน้าประเทศยักษ์ใหญ่หรือกลุ่มพหุภาคีใด ๆ   สมัยก่อนพวกเขาเหมือนยักษ์หลับ ที่ต้องยุดโยงอยู่กับขั้วใดขั้วหนึ่ง หรือไม่มีอำนาจที่แท้จริง แต่มาวันนี้ภายใต้ความขัดแย้งที่รุนแรงของฝ่ายฝรั่งตะวันตกโปรประชาธิปไตยกับฝ่ายอำนาจนิยมตะวันออก พวกเขาพร้อมผงาดขึ้นมาอย่างหนักแน่น และส่งผลให้โฉมหน้าสภาวะแวดล้อมโลกต้องเปลี่ยนไปอีกครั้ง   ในขณะที่ สหรัฐ มหาอำนาจเดี่ยวดั้งเดิมนั้นมีแนวทางปลุกกระแสพันธมิตรโดยใช้อุดมการณ์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นหลักการที่ตกผลึกมาจากคุณค่ายึดถือของชาติตะวันตกนั้น นับว่าประสบความสำเร็จในการหาพวกมากที่สุด เพราะมนุษย์ทุกสีผิวหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์ ปราศจากข้อจำกัดในการกีดกันแสวงหาประโยชน์     ในอดีตด้านหนึ่งนั้น จีน มหาอำนาจที่พึ่งขึ้นชั้นมา อาศัยความรู้สึกชาตินิยม ปลุกกระแสชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ผลักดันความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วน จนขึ้นมาทาบสหรัฐได้ คนจีนที่มีจำนวนถึง 20% ของโลกเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จนี้ แต่ในขณะที่โลกจับจ้องการเผดียงแข่งกันของสองฝ่ายนี้ โลกมุสลิมที่อาศัยความศรัทธายึดมั่นที่มีต่อศาสนาร่วมกันก็พุ่งขึ้นมาอย่างเงียบๆ พร้อมกับความหนักแน่น ชาวมุสลิมพันแปดร้อยล้านคนทั่วโลกเป็นฐานที่สำคัญของการเป็นขั้วที่สามความมั่นคงโลก   ในอดีต จักรวรรดิมุสลิมเคยยิ่งใหญ่มาแล้วหลายอาณาจักร หลายแห่งกินเวลายาวนานหลายร้อยปี ไม่ว่าจะเป็นของชาวมัวร์ในไอบีเรีย โมกุลในอินเดีย หรือออตโตมานที่เกือบพิชิตยุโรปตะวันตกได้ด้วยหากไม่สะดุดที่ปากกำแพงเวียนนาเสียก่อน แต่ในรอบร้อยปีมานี้ความยิ่งใหญ่อย่างนี้ลดลงไป   เพราะรัฐจำนวนมากเกิดปัญหาทั้งภายในและระหว่างรัฐ ไม่ว่าจะเป็นความยากจน ความเห็นแก่ตัวของชนชั้นนำที่ร่ำรวย การไปเกี่ยวข้องสนับสนุนก่อการร้าย การถูกแทรกแซงจากประเทศยักษ์ใหญ่ต่างศาสนา และการสู้รบ ผลก็คือไม่มีชาติไหนเลยที่สามารถก้าวขึ้นมามีอิทธิพลระดับท็อปไฟว์ในการเมืองโลก     แต่ที่น่าแปลกใจคือ…

ตะลึง! เมื่อ AI มีความคิด “อคติ” แถมยัง “เลือกปฏิบัติ” ไม่ต่างจากมนุษย์

Loading

  นักวิจัยด้านวิทยาการหุ่นยนต์กำลังหาทางป้องกันไม่ให้ ‘หุ่นยนต์’ แสดงพฤติกรรมเลือกปฏิบัติและอคติต่อมนุษย์ หลังพบว่าระบบอัลกอริทึมของ AI สามารถสร้างรูปแบบการเลือกที่รักมักที่ชังได้ เพื่อให้แน่ใจว่าหุ่นยนต์ และ AI นั้นปฏิบัติกับมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียม นักวิจัยปัญญาประดิษฐ์ จึงได้ทำการวิจัยกับแขนกลหุ่นยนต์ในสถานการณ์จำลอง โดยแขนกลนี้ถูกติดตั้งระบบการมองเห็น ทำให้สามารถเรียนรู้การเชื่อมโยงระหว่างภาพกับคำจากภาพถ่าย และข้อความออนไลน์ได้ ทีมวิจัยทดลองด้วยการให้หุ่นยนต์ดูรูปภาพใบหน้าคนหลากหลายเชื้อชาติที่ถ่ายในลักษณะเดียวกันกับพาสปอร์ต ไม่ว่าจะเป็นชาวเอเชีย คนผิวดำ คนละติน หรือคนผิวขาว แล้วให้แขนกลหยิบรูปภาพที่ตรงกับกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้ระบุตัว เช่น “กลุ่มอาชญากร” หรือ “กลุ่มแม่บ้าน” หุ่นยนต์เลือกปฏิบัติไม่ต่างจากคน จากการทดลองกว่า 1,300,000 ครั้ง ในโลกเสมือนจริง พบว่า การจัดรูปแบบอัลกอริทึมนั้นมีความสอดคล้องกับการกีดกันทางเพศและการเหยียดเชื้อชาติในอดีต แม้จะไม่มีการเขียนข้อความหรือทำตำหนิบนรูปภาพใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อสั่งให้หุ่นยนต์หยิบใบหน้าของอาชญากร หุ่นยนต์มักเลือกภาพถ่ายของคนผิวดำมากกว่ากลุ่มอื่นถึง 10% และเมื่อให้เลือกภาพของหมอ หุ่นยนต์มักจะเลือกภาพผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเสมอ เมื่อถามว่าลักษณะของบุคคลเป็นอย่างไร หุ่นยนต์มักจะเลือกรูปภาพของชายผิวขาวมากกว่าผู้หญิง ไม่ว่าจะเชื้อชาติใดก็ตาม นอกจากนี้ในการทดลองทั้งหมดหุ่นยนต์จะเลือกรูปภาพของหญิงผิวดำน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ วิลลี่ แอคนิว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ผู้ทำการศึกษาดังกล่าว เขาพบว่า งานวิจัยของเขาเป็นสัญญาณเตือนให้กับสาขาวิทยาการหุ่นยนต์เฝ้าระวังอันตรายจากการเลือกปฏิบัติของหุ่นยนต์ รวมถึงหาหนทางใหม่ ๆ ในการทดสอบหุ่นยนต์…