ท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ข้อมูลของเราปลอดภัย

Loading

  ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “โลกโซเชียล” สำคัญสำหรับเราขนาดไหน เพราะในทุก ๆ เช้าที่ตื่นมาหลายคนเป็นต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อเช็กโซเชียลก่อนเป็นอย่างแรก และแน่นอนว่าหากเราลองคิดตามเราก็จะรู้ว่าโลกโซเชียลมีผลกับชีวิตประจำวันเราขนาดไหน เช่น การสั่งอาหาร การสั่งสินค้า หรือแม้แต่การอ่านข่าวสารต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้ไวกว่าช่องทางอื่น ๆ แต่เราเองต้องไม่ลืมว่าการที่เราใช้งานโซเชียลมีเดียบ่อย ๆ นั้นบางครั้งก็มีการบันทึก “ข้อมูล” หรือที่เรียกว่า DATA ของเราเอาไว้ อ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนคงกำลังสงสัยว่า.. เราสามารถท่องโซเชียลโดยที่ข้อมูลของเรายังปลอดภัยได้ไหม? เพราะเราคงไม่อยากให้ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ถูกเผยแพร่ไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราสามารถปกป้องข้อมูลและเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลของเราได้ แต่เราต้องมาเรียนรู้วิธีท่องโซเชียลให้ปลอดภัยเสียก่อน บทความนี้จึงอยากพาทุก ๆ คนไปรู้จักกับ “วิธีท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ DATA ของเราปลอดภัย” กัน เริ่มแรกเลยเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ “ข้อมูล” หรือ “DATA” กันก่อน ข้อมูล (DATA) คือ ข้อเท็จจริงในเรื่องต่าง ๆ ที่มาในรูปแบบ ภาพ ตัวเลข ตัวอักษร และอื่น ๆ…

รับมืออย่างไร? เมื่อ “อีเมลอันตราย” 1 ใน 4 จากทั่วโลกมุ่งเจาะ “เอเชียแปซิฟิก”

Loading

  อีเมลไม่ใช่เซฟโซน! จะรับมืออย่างไร เมื่อ 1 ใน 4 “อีเมลอันตราย” จากทั่วโลกมุ่งสู่ “เอเชียแปซิฟิก” ในปี 2022 แถม “อีเมล” ยังคงเป็นช่องทางหลักในการโจมตีด้านความปลอดภัย เพราะโอกาสสำเร็จสูง และต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่นๆ แม้ปัจจุบันจะมี “สมาร์ทโฟน” และแอปพลิเคชันที่ทำให้ติดต่อกันได้แบบสุดแสนจะง่ายดาย แต่ “อีเมล” ก็ยังถือเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารโดยเฉพาะในเชิงธุรกิจ การทำงาน เพราะถูกมองว่าเป็นทางการกว่าและเหมาะกับการส่งข้อมูลในปริมาณมาก ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่มี “สแปมอีเมล” ฉบับแรกช่วงปี 1978 ก็มีเหล่าสแกมเมอร์พยายามใช้อีเมลเป็นช่องทางในการโจมตีด้านความปลอดภัยเสมอมา เนื่องจากอีเมลสามารถกระจายได้ง่ายกว่า ประหยัดกว่า แถมมีโอกาสทำสำเร็จสูงเสียด้วย ข้อมูลอัปเดตล่าสุดพบว่า 1 ใน 4 “อีเมลอันตราย” จากทั่วโลกมุ่งสู่ “เอเชียแปซิฟิก” หรือ “APAC” โดย Noushin Shabab หนึ่งในนักวิจัยของ “Kaspersky” อัปเดตข้อมูลในงาน Kaspersky’s 8th APAC Cyber Security Weekend เกี่ยวกับอีเมลอันตรายเหล่านี้ว่า…

วิธีป้องกัน-รับมือภัยใกล้ตัว ก่อน “ถังก๊าซรั่ว” จนไหม้หรือระเบิด

Loading

  ปภ.แนะนำวิธีการป้องกันและข้อปฏิบัติเพื่อใช้ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ LPG อย่างถูกวิธี ป้องกันภัยใกล้ตัวก๊าซรั่วจนเกิดไฟไหม้หรือระเบิด ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงที่บ้านและร้านอาหารนิยมใช้ประกอบอาหาร เนื่องจากใช้งานง่ายและสะดวกสบาย แต่มีคุณสมบัติไวไฟจะติดไฟอย่างรวดเร็ว หากอุปกรณ์ถังก๊าซอยู่ในสภาชำรุด ผู้ใช้งานประมาทและขาดความระมัดระวัง จะเสี่ยงต่อการระเบิดและเพลิงไหม้ได้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้แนะนำวิธีการป้องกันและข้อปฏิบัติเพื่อใช้ก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธีและปลอดภัยไว้ ดังนี้ การเลือกใช้ถังก๊าซ ถังก๊าซ มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรับรองคุณภาพมีซีลปิดผนึกที่หัวถังในสภาพสมบูรณ์ พร้อมหมายเลขถังกำกับ และมีข้อความระบุชื่อบริษัท เดือน ปี ที่ตรวจสอบถังครั้งสุดท้าย น้ำหนักถัง และน้ำหนักบรรจุอย่างชัดเจน รวมถึงตัวถังไม่มีรอยบุบ บวม หรือเป็นสนิท สายนำก๊าซ ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซหุงต้ม ไม่ทำจากยางหรือพลาสติก เพราะเมื่อถูกก๊าซหุงต้มจะละลาย ทำให้เกิดการรั่วไหลได้ ที่สำคัญ ต้องไม่หักงอง่ายทนต่อแรงดันและการขูดขีด สามารถต่อกับลิ้นเปิด – ปิดได้สนิทและแน่นหนา เหล็กรัดสายยางส่งก๊าซ ต้องเลือกใช้ชนิดที่ไม่เป็นสนิม มีความแข็งแรงทนทาน และควรเปลี่ยนใหม่ทุก ๆ 2 ปี วิธีป้องกันเหตุรั่วไหล -หมั่นตรวจสอบเตาแก๊สและถังก๊าซให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ห้ามเปลี่ยนอุปกรณ์หรือแก้ไขด้วยตนเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ -ใช้งานก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธี ไม่เปิดเตาแก๊สติดต่อกันหลายครั้ง…

ภัยสังคม!! บทเรียน “แอปพลิเคชันหาคู่” หลอกเหยื่อให้รัก-ลวงล่วงละเมิด-หลอกลงทุน

Loading

  ระบาดหนัก!! “แอปพลิเคชันหาคู่” ไม่ได้แฟนแต่เสี่ยงเจอมิจฉาชีพ กูรูความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ดึงสติ จะใช้แอปฯหาคู่ อย่าไว้ใจไว ต้องมองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อน!! อุทาหรณ์ “แอปฯหาคู่” ที่ไม่อยากเจอกับตัว!! “อยากฝากถึงคนที่เล่นแอปฯหาคู่ ให้ระวังตัวให้ดี อย่าไปเจอใครง่ายๆ หลังจากนี้เข็ดแล้ว จะไม่เล่นแอปฯพวกนี้อีกเด็ดขาด” คำพูดของผู้เสียหายหญิงวัย 20 ปี กล่าวถึงบทเรียนออนไลน์ที่เจอมากับตัวสดๆ ร้อนๆ หลังจากที่เธอเล่นแอปพลิเคชันหาคู่ Omi (โอมิ) และมีนัดเจอ “บู” ชายวัย 27 ปีที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจคอมมานโด ยศ ร.ต.ท. ก่อนจะถูกข่มขืน ทำร้ายร่างกายและกักขังหน่วงเหนี่ยว จนเธอบอบช้ำไปทั้งกายและใจ ทราบในภายหลังว่า ชายคนดังกล่าวเป็น “ตำรวจเก๊” เพราะประวัติถูกจับกุมข้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เมื่อปี 2561 โดยปลอมเฟซบุ๊กอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติด และเคยถูกจับกุมคดีเสพยาเสพติดมาแล้วถึง 12 ครั้ง สำหรับสิ่งที่ทำให้ผู้เสียหายของเหตุการณ์นี้ หลงเชื่อว่าเขาเป็นตำรวจนั้น มาจากรูปโปรไฟล์ใน TikTok และFacebook ที่สวมชุดตำรวจ อีกทั้งยังมีทั้งบัตรตำรวจ หมวกตำรวจ ปืน ชุดเกราะ…

ยานใต้น้ำ micro-AUV ทำภารกิจเฝ้าระวังลาดตระเวนใต้น้ำและลอยตัวสู่ผิวน้ำเชื่อมต่อดาวเทียม

Loading

  “ยานใต้น้ำขนาดเล็ก micro-AUV ทำหน้าที่ลอยตัวเหนือผิวน้ำเพื่อส่งข้อมูลไปยังดาวเทียมอิริเดียม หรือเดินทางไปยังตำแหน่งที่ต้องการทำภารกิจรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม” ปัจจุบันเทคโนโลยีการพัฒนายานใต้น้ำอัตโนมัติ (AUV) มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่ยานใต้น้ำยังมีข้อจำกัดและอาจถูกตรวจพบได้ถ้าโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำ ล่าสุดบริษัท เซลลูลาร์ โรโบติกส์ (Cellula Robotics) ประเทศแคนาดา ได้พัฒนายานใต้น้ำขนาดเล็ก micro-AUV เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและใช้ทำภารกิจการเฝ้าระวัง การลาดตระเวนใต้น้ำ แม้ยานใต้น้ำขนาดเล็ก micro-AUV ถูกผลิตโดยบริษัท เซลลูลาร์ โรโบติกส์ (Cellula Robotics) แต่บริษัทที่ออกแบบเทคโนโลยีนี้เป็นบริษัท อีโคซับ โรโบติกส์ (ecoSUB Robotics) ประเทศอังกฤษ ยานใต้น้ำขนาดเล็ก micro-AUV ถูกติดตั้งเข้ากับยานใต้น้ำที่มีขนาดใหญ่กว่าชื่อ Solus-LR AUV ที่สามารถดำน้ำลึกกว่า 3 กิโลเมตร ความเร็วในการเคลื่อนที่ 2 เมตรต่อวินาที ขับเคลื่อนด้วยเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ระยะปฏิบัติการ 2,000 กิโลเมตร ขั้นตอนการปฏิบัติการยานใต้น้ำ Solus-LR AUV ลอยตัวขึ้นมาในระดับความลึกที่เหมาะสมสำหรับการซ่อนตัวหลังจากนั้นจึงปล่อยยานใต้น้ำขนาดเล็ก micro-AUV ทำหน้าที่ลอยตัวเหนือผิวน้ำเพื่อส่งข้อมูลไปยังดาวเทียมอิริเดียม หรือเดินทางไปยังตำแหน่งที่ต้องการทำภารกิจรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม วิธีการนี้ทำให้ยานใต้น้ำ…

วิธีดูเว็บไซต์ ที่แอบติดตามคุณ ตรวจสอบรายงานความเป็นส่วนตัวบน Safari

Loading

  วิธีดูเว็บไซต์ ที่แอบติดตามคุณ รู้หรือไม่ในแต่ละเว็บไซต์ที่คุณดูบ่อยๆ นั้น มีตัว tracker แอบตามรอยคุณมากมาย safari มีเครื่องมือรายงานความเป็นส่วนตัว ซึ่งเข้าถึงและใช้งานได้ง่าย เช็กรายงานความเป็นส่วนตัว คุณสามารถดูเว็บไซต์ที่แอบติดตามคุณได้ด้วย มาดูกันว่า safari ช่วยจัดการโดเมนที่แอบตามรอยคุณอย่างไร วิธีดูเว็บไซต์ ที่แอบติดตามคุณ รายงานความเป็นส่วนตัวบน Safari ฟีเจอร์นี้ใช้ได้ทั้งบน iPhone , iPad และ MacOS ในตัวอย่างนี้จะแนะนำในส่วน iPhone     แตะไอคอน กก แล้วเลือกไอคอนโล่ ซึ่งก็คือ รายงานความเป็นส่วนตัว นั่นเอง     ก็จะแสดงจำนวน tracker ที่ Apple ได้ทำการบล็อกไว้ในแต่ละเว็บไซต์     ลองคลิกที่ตัวติดตาม จะแสดงตัว tracker ที่แฝงในเว็บไซต์แต่ละเว็บไซต์นั่นเอง ซึ่ง safari ได้บล็อกไว้หมดแล้ว คุณสามารถใช้ข้อมูลนั้นเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่คุณเยี่ยมชมได้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะเว็บไซต์ที่คุณได้ชมบ่อย ๆ…