ตำรวจนักเก็บกู้ระเบิด (EOD)

Loading

  สถานการณ์ของโลกปัจจุบัน การก่ออาชญากรรม ก่อวินาศกรรม หรือก่อการร้าย หากคนร้ายใช้วัตถุระเบิดเป็นอาวุธ แรงระเบิด สะเก็ดระเบิดและความร้อน จะเป็นภยันตรายก่อให้เกิดความเสียหายกับชีวิตร่างกายและทรัพย์สินอย่างร้ายแรงที่สุด ในต่างประเทศ ปรากฏข่าวคนร้ายได้ลอบวางระเบิด และเกิดเหตุระเบิด เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก ประเทศไทยคนร้ายลอบวางระเบิดหรือใช้ระเบิดเป็นอาวุธก่อเหตุหลายครั้ง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจทำลายสถานที่ราชการ สถานที่ต่างๆเป็นประจำ ล่าสุดเมื่อวันพุธที่ 17สิงหาคม 2565 มีการลอบวางระเบิด วางเพลิง สถานที่ต่างๆ รวม 18 แห่ง ระหว่างปี พ.ศ.2551 – 2557 มีการชุมนุมประท้วงทางการเมือง โดยกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.)กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการปฏิรูปฯ (กปปส.) มีเหตุคนร้ายลอบขว้างปาระเบิดใส่กลุ่มผู้ชุมนุม หรือลอบวางระเบิดในสถานที่ต่างๆ ก่อเหตุสร้างความวุ่นวาย สร้างความตระหนักตกใจให้กับประชาชนหลายต่อหลายครั้ง เมื่อมีการลอบวางระเบิดเกิดขึ้นที่ใด หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันไม่ให้เกิดระเบิดขึ้นทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน คือ ตำรวจหน่วยเก็บกู้และตรวจสอบระเบิด EOD (Explosive Ordnance Disposal) ประวัติความเป็นมาของหน่วยเก็บกู้ระเบิด เริ่มตั้งแต่สมัยสงครามโลก ครั้งที่…

แคมเปญ ‘Phishing email’ โจมตีองค์กรนับหมื่นแห่ง

Loading

  อีเมลอาจจะไม่ใช่คำตอบของการยืนยันตัวตนอีกต่อไป ผู้โจมตีกำลังหาวิธีใหม่ในการหลีกเลี่ยงมาตรการรักษาความปลอด ไมโครซอฟท์เปิดเผยว่า ขณะนี้มีธุรกิจประมาณ 10,000 แห่งถูกโจมตีในแคมเปญ Adversary-in-The-Middle หรือ AiTM ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้สามารถโจรกรรมเงินไปได้หลายล้านดอลลาร์ โดยมีการสรุปไดอะแกรมกระบวนการอย่างละเอียดและอธิบายว่า การโจมตี AiTM ที่ซับซ้อนมักจะสามารถเลี่ยงการยืนยันตัวตนโดยใช้หลายปัจจัย (Multi-Factor Authentication หรือ MFA) และจัดการกับเป้าหมายที่จะหลอกลวง สำหรับแคมเปญใหญ่ของฟิชชิ่งที่ใช้เทคนิค AiTM เพื่อขโมยรหัสผ่าน โจรกรรมจากการลงชื่อเข้าใช้ของผู้ใช้ และข้ามกระบวนการตรวจสอบ แม้ว่าผู้ใช้จะเปิดใช้งานการรับรองความถูกต้องด้วยการยืนยันตัวตนโดยใช้หลายปัจจัย (MFA) ทว่าผู้โจมตียังสามารถใช้ข้อมูลประจำตัวที่ขโมย และคุกกี้เซสชั่น (session cookies) เพื่อเข้าถึงกล่องจดหมาย (mailboxes) ของผู้ใช้งานและดำเนินการติดตามไปยังแคมเปญการโจมตีผ่านอีเมลเพื่อหลอกเอาเงินจากองค์กร (Business Email Compromise หรือ BEC) กับเป้าหมาย วิธีการในแคมเปญฟิชชิ่ง AiTM ผู้โจมตีจะปรับใช้พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ระหว่างผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานต้องการเข้าชมซึ่งการจัดการแบบนี้ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถขโมยและสกัดกั้นรหัสผ่านของเป้าหมายและคุกกี้ของเซสชันที่เป็นขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่านเว็บไซต์ และเมื่อ AiTM ฟิชชิ่งขโมยเซสชันคุกกี้ แม้จะมีการยืนยันตัวตนโดยใช้หลายปัจจัย แต่ผู้โจมตีจะได้รับการตรวจสอบสิทธิ์ไปยังเซสชันในนามของผู้ใช้งานโดยไม่คำนึงถึงวิธีการลงชื่อเข้าใช้ที่ผู้ใช้งานใช้อยู่ ที่ผ่านมาการหลอกลวงแบบและโจมตีผ่านอีเมล หรือ Business Email Compromise (BEC)…

Gen Y ทวงแชมป์ ใช้เน็ตมากสุดเกือบ 8 ชม./วัน ขรก.-จนท.รัฐ ใช้เน็ต 12 ชม./วัน

Loading

ETDA เผย Gen Y ทวงบัลลังก์ ใช้เน็ตมากสุด เกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน ฮิตสุด ดู LIVE COMMERCE ข้าราชการ-จนท.รัฐ ชนะขาดทุกอาชีพ ใช้เน็ตเกือบ 12 ชั่วโมงต่อวัน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565 หรือ Thailand Internet User Behavior 2022 ในงาน “IUB 2022: WHAT’S NEXT INSIGHT AND TREND เจาะลึกไลฟ์สไตล์คนไทย ในวันที่ขาดอินเทอร์เน็ตไม่ได้” พบ Gen Y กลับมาทวงบัลลังก์คืน ใช้เน็ตครองแชมป์ สูงถึง 8 ชั่วโมง 55 นาทีต่อวัน ฮิตสุดดู Live…

เกาหลีใต้เตรียมปรับหลักสูตรการศึกษา สร้างแรงงานป้อนอุตสาหกรรมดิจิทัล 1 ล้านคน

Loading

  กระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้ประกาศแผนร่วมกับกระทรวงอื่นๆ ในการพัฒนาแรงงานป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมดิจิทัล โดยตั้งเป้าผลิตแรงงานมีทักษะให้ได้ 1 ล้านคนภายในปี 2026 ซึ่งในการนี้จะมีทั้งการเพิ่มหลักสูตรการเรียนในระดับประถมศึกษา , มัธยมศึกษาให้มีชั่วโมงการเรียนการสอนวิชาไอทีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า รวมทั้งกำหนดให้สถานศึกษาสอนการเขียนโค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในจำนวนเป้าหมาย 1 ล้านคนนี้ ยังได้แบ่งย่อยลงไปตามระดับการศึกษาของกลุ่มแรงงาน อันได้แก่ แรงงานที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือวิทยาลัยในระดับเทียบเท่า 160,000 คน , กลุ่มที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี 710,000 คน และอีก 130,000 คนคือเป้าหมายของแรงงานดิจิทัลที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษาให้เพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาไอทีจาก 17 ชั่วโมงเป็น 34 ชั่วโมง และในระดับมัธยมศึกษาให้เพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนวิชาไอทีจาก 34 ชั่วโมงเป็น 68 ชั่วโมง โดยจะดำเนินการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้แล้วเสร็จภายในปี 2025 โดยจะมีทั้งการสอนเรื่องการคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) และการเขียนโปรแกรมรวมทั้งภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ส่วนโรงเรียนวิทยาศาสตร์หรือห้องเรียนพิเศษสำหรับกลุ่มนักเรียนที่มีความฉลาดโดดเด่น ก็จะมีการจัดหลักสูตรพิเศษด้านซอฟต์แวร์และปัญญาประดิษฐ์ให้ได้เรียนกันตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น พร้อมกันนี้ทางกระทรวงยังเตรียมยกเลิกข้อกำหนดที่เคยบังคับใช้กับสถานศึกษาต่างๆ ก่อนหน้านี้ ซึ่งมีการควบคุมการเปิดแผนกหรือคณะที่จัดการสอนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิทัลมิให้มีจำนวนมากเกินไป การยกเลิกข้อกำหนดนี้จะทำให้สถาบันสถานศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศสามารถเปิดแผนกและคณะทำการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัลได้มากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการยกเลิกข้อข้อกำหนดเรื่องจำนวนสูงสุดของผู้เรียนต่อคณะ ทำให้สถานศึกษาเดิมที่มีการเรียนการสอนในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัลอยู่ก่อนแล้วสามารถรับผู้เรียนเพิ่มขึ้นได้อีก…

แคสเปอร์สกี้ ผนึก สกมช.ยกระดับกูรูภัยไซเบอร์ในไทย!!!

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) จับมือกับ NCSA เพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รับการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้น เหตุการณ์ไซเบอร์ที่ซับซ้อนส่งสัญญาณบอกถึงความท้าทายที่เฉพาะเจาะจงอย่างมากต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้วยการโจมตีมักจะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรในหลายๆ ด้าน เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น และโซลูชันการรักษาความปลอดภัยต้องการทรัพยากรมากขึ้นในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่รวบรวมไว้ทุกวัน องค์กรจำนวนมากต่างต้องการบริการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่สามารถจัดการกับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นแบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ด้วยตระหนักถึงประเด็นข้างต้นนี้ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช. หรือ NCSA) ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคในหัวข้อ ‘Building a Safer Future for Thailand’ (การสร้างอนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับประเทศไทย) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ สร้างคลังความรู้สำหรับบุคลากรผู้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศ และแบ่งปันวิธีการใช้เทคโนโลยีข้อมูลภัยคุกคามหรือ Threat Intelligence ในการสร้างความสามารถในการป้องกันประเทศ ครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการครั้งแรกของแคสเปอร์สกี้กับ สกมช. นางสาวจีนี่ ซูจีน กัน หัวหน้าฝ่ายกิจการสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี และแอฟริกา แคสเปอร์สกี้ ได้กล่าวถึงภารกิจของแคสเปอร์สกี้ในการสร้างโลกที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่ออนาคตที่โปร่งใสและไว้วางใจได้ ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่สร้างโอกาสไร้ขีดจำกัด และรักษาความปลอดภัยโดยบริษัทอย่างแคสเปอร์สกี้ “ปัจจุบัน ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลและโลกาภิวัตน์มากขึ้น…

“4 ทักษะดิจิทัล”ที่จำเป็น ต่อการทำงานในอนาคต

Loading

  วันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงโควิดมีการทำงานจากที่บ้าน ประชุมออนไลน์ และทำงานแบบลดการใช้กระดาษ จึงทำให้ใครก็ตามที่ขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้อีกต่อไปแล้ว ในยุคก่อนการสรรหาพนักงานใหม่ เรามักพิจารณาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมสำนักงานต่างๆ เช่น โปรแกรมการทำเอกสาร โปรแกรมการนำเสนอ รวมถึงการใช้สเปรดชีต จำได้ว่ามีช่วงหนึ่งทางราชการถึงกับต้องกำหนดเกณฑ์ให้ข้าราชการที่ต้องการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ผ่านการอบรมทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์บางอย่าง แต่วันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงโควิดมีการทำงานจากที่บ้าน ประชุมออนไลน์ และทำงานแบบลดการใช้กระดาษ จึงทำให้ใครก็ตามที่ขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้อีกต่อไปแล้ว ดังนั้นทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมต่างๆ จึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนทำงานในยุคปัจจุบัน แต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ได้หยุดอยู่แค่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมในรูปแบบเดิม ปัจจุบันมีอุปกรณ์มากมาย ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต อุปกรณ์สวมใส่ ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต พาเราเข้าสู่โลกดิจิทัลได้ในแทบทุกอุปกรณ์ อีกทั้งยังมีโปรแกรมใหม่ๆ ที่ต้องดาวน์โหลดมาใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ต้องเล่นโปรแกรมที่หลากหลายขึ้นด้วย กลายเป็นว่า วันนี้ใครใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่คล่องนอกจากจะทำงานลำบากขึ้นแล้ว ก็จะเริ่มใช้ชีวิตประจำวันลำบากมากขึ้น ไล่มาตั้งแต่การชำระเงินซึ่งการใช้ QR code กลายเป็นเรื่องปกติ บางร้านค้าปฏิเสธที่จะรับเงินสดก็มีแล้ว การใช้โมบายแบงค์กิ้งในการทำธุรกรรมการเงิน การสั่งอาหาร สั่งสินค้าออนไลน์ การจองตั๋วเดินทาง ที่พัก หรือแม้แต่การเช็คอินเที่ยวบินก็กลายเป็นว่าต้องใช้สมาร์ทโฟนจัดการ รวมไปถึงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์บางอย่างที่ทำงานผ่านโปรแกรมบนมือถือ จึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นทักษะด้านดิจิทัลปัจจุบัน กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานที่โลกกำลังเปลี่ยนไป จากการทำงานแบบเดิมๆ กลายเป็นโลกการทำงานที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ…