wifi สาธารณะ wifi ฟรี ในโรงแรม เสี่ยงล้วงข้อมูล วิธีดู Wifi ไหนเชื่อมต่อเน็ตอย่างปลอดภัย

Loading

Image : OSXdaily   wifi สาธารณะ wifi ฟรี ในโรงแรม เสี่ยงล้วงข้อมูล   โดยทั่วไป เครือข่ายที่ไม่ปลอดภัยจะใช้พอร์ทัลแบบ Captive เพื่อเข้าถึงเครือข่าย Wi-Fi โดยที่หน้าจอเริ่มต้นปรากฏขึ้นในหน้าต่างเว็บเบราว์เซอร์ก่อนที่คุณจะได้เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต มักจะมีข้อกำหนดในการเข้าสู่ระบบเเช่น การป้อนหมายเลขห้องหรือที่อยู่อีเมล แตกต่างจากการป้อนรหัสผ่าน Wi-Fi เพื่อเข้าร่วมเครือข่ายไร้สาย คุณจะทราบได้อย่างไรว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของคุณปลอดภัยหรือไม่ ตรวจสอบได้ดังนี้   wifi สาธารณะ wifi ฟรี วิธีดู Wifi ไหนเชื่อมต่อเน็ตอย่างปลอดภัย?   สำหรับผู้ใช้ MAC   Image : OSXdaily   1. หากคุณใช้ macOS ให้กดปุ่ม OPTION ค้างไว้   2. คลิกรายการแถบเมนู Wi-Fi ในขณะที่กดปุ่ม OPTION ค้างไว้อยู่   3.…

เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงเมื่อเกิด เหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 (ประกาศฯ) ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับองค์กร โดยระบุถึงองค์กรที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลคลขึ้น เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระยะแรกที่กฎหมายมีผลใช้บังคับมีความเหมาะสม “ความมั่นคงปลอดภัย” ตามประกาศฯ ฉบับดังกล่าว หมายความว่า “การธำรงไว้ซึ่งความลับ (confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (integrity) และสภาพพร้อมใช้งาน (availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ” จากความหมายข้างต้นองค์กรต่าง ๆ จึงมีหน้าที่ต้องดูแลปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรให้สามารถคงการเป็นความลับ (C) มีความถูกต้อง (I) และพร้อมใช้งาน (A) โดยการจัดให้มีมาตรการเชิงองค์กร (organizational measures) และมาตรการเชิงเทคนิค (technical measures) ที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงมาตรการทางกายภาพ (physical measures) ที่จำเป็นด้วย โดยคำนึงถึงระดับความเสี่ยงตามลักษณะและวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนโอกาสเกิดและผลกระทบจากเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล…

“วิคเตอร์ บูท” เป็นใคร ทำไมรัสเซียอยากได้ตัวคืนจากสหรัฐฯ?

Loading

  ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดความคาดหมายมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า สหรัฐฯ จะปล่อยตัว วิคเตอร์ บูท ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานเกี่ยวข้องกับการค้าอาวุธผิดกฎหมาย เจ้าของฉายา ‘พ่อค้าความตาย’ เพื่อแลกกับอิสรภาพของ บริตนีย์ ไกรเนอร์ นักบาสเกตบอลหญิงชาวอเมริกัน เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก 2 สมัย และนาย พอล วีแลน อดีตนาวิกโยธิน ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในรัสเซียทั้งคู่ สำหรับฝ่ายรัสเซีย สื่อในประเทศรายงานหลายเดือนแล้วว่า น.ส.ไกรเนอร์ ผู้ถูกจับที่สนามบินในมอสโก เมื่อกุมภาพันธ์ ในข้อหานำเข้ายาเสพติด และนายวีแลน ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 16 ปี ฐานจารกรรมข้อมูล อาจถูกใช้เพื่อแลกตัวนายบูท ซึ่งรัฐบาลเครมลินเรียกร้องให้สหรัฐฯ ปล่อยตัวมานาน แต่รัฐบาลของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ปิดปากเงียบเกี่ยวกับเรื่องนี้มาตลอด จนกระทั่งในวันพุธที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ก็ออกมาพูดถึงเรื่องความพยายามในการนำตัว น.ส.ไกรเนอร์กับนายวีแลน กลับบ้านเป็นครั้งแรก โดยระบุว่า สหรัฐฯ ได้ยื่นข้อเสนอที่ใหญ่มากให้รัสเซียพิจารณา แต่ไม่เผยรายละเอียด อย่างไรก็ตาม…

กฎหมายควบคุมการใช้อุปกรณ์ติดตามคน-สิ่งของ | ณิชนันท์ คุปตานนท์

Loading

  AirTag เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยติดตามสิ่งของผ่านการเชื่อมต่อ Bluetooth กับสมาร์ทโฟน ซึ่งบริษัท Apple ได้พัฒนาขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. ปี 2564 โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามสิ่งของส่วนบุคคล เช่น กุญแจ กระเป๋า ซึ่งอาจตกหล่น หรือทำหาย หรือใช้ตามหารถที่จอดไว้ โดยที่ทางบริษัทเองก็ได้เน้นย้ำจุดประสงค์ของการออกแบบว่า ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้ติดตามผู้คนหรือทรัพย์สินของผู้อื่น อีกทั้งประณามการใช้ AirTag ในทางที่ผิด และด้วยเหตุนี้ Apple จึงได้พัฒนาระบบแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบกรณีมีการติดตามที่ไม่พึงประสงค์ด้วย หลังจากที่เริ่มมีรายงานการใช้ AirTag ผิดวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ดี ระบบแจ้งเตือนดังกล่าวยังมีจุดอ่อน โดยเฉพาะในกรณีผู้ที่ถูกติดตามไม่ได้ใช้ iPhone หรืออุปกรณ์อื่นๆ ของ Apple ด้วยลักษณะของการออกแบบ AirTag ที่มีขนาดเล็ก สะดวกต่อการใช้งานในราคาที่ไม่แพง และแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานถึงหนึ่งปี แต่ไม่ได้ออกแบบป้องกันการถูกเอาไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์หรือเกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรม จึงยังคงเกิดกรณีที่มีผู้ใช้บริการผิดวัตถุประสงค์ โดยการนำไปใช้ติดตามบุคคล เช่น นำไปใส่ไว้ในรถหรือเสื้อผ้าของคนที่ต้องการติดตาม และในหลายๆ กรณีก็เป็นเหตุนำไปสู่อาชญากรรมร้ายแรงตามมา   (ภาพถ่ายโดย kat wilcox) ไม่ว่าจะเป็นการฆาตกรรม หรือแม้กระทั่งการค้ามนุษย์ ซึ่งจะเห็นได้จากรายงานข่าวอาชญากรรมไม่ว่าจะเรื่อง…

ติดกระบองให้ยักษ์

Loading

  ในขณะที่สังคมไทยตื่นตัวกับกฎหมาย PDPA ที่มุ่งเน้นคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะมีการกำหนดโทษทั้งทางแพ่งและอาญา ตามความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ประเด็นที่ต้องตระหนักไปพร้อมกัน ก็คือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร และการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอก ที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคล ได้เช่นการจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคาร โรงพยาบาล รวมทั้งความมั่นคงในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ไปจนถึงความมั่นคงของประเทศ ที่นับวันปัญหาดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น   ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เป็นภัยความมั่นคงระดับประเทศ หรือความเสียหายทางธุรกิจ เช่น กรณี Apple ได้ตรวจสอบความปลอดภัยและได้พบมัลแวร์ Pegasus ในไอโฟนของนักเคลื่อนไหวการเมืองไทยกว่า 30 คน หรือกรณี ที่ T-Mobileต้องจ่ายเงิน350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 12,800ล้านบาท เพื่อชดเชนให้ยุตืคดีที่ลูกค้าฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัท ฐานปล่อยให้ถูกแฮกข้อมูลรั่วไหล 76.6ล้านคน   โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิดที่ผ่านมา ที่มีการทำงานที่บ้านหรือเวิร์กฟรอมโฮม เพราะคนอยู่หน้าจอออนไลน์กันมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำให้ตกเป็นเหยื่อ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นคนส่วนใหญ่ก็มักจะคิดถึงการติดตามไล่ล่าตัวผู้กระทำผิด และมักคิดถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือตำรวจไซเบอร์เพียงเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหานอกจากจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของแต่ละองค์กรแล้ว ปัจจุบันไทยเรามีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการโจตีทางไซเบอร์ โดยมีพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562  …

ผู้บริโภค-องค์กร ‘เหยื่อ’ โจมตีไซเบอร์ สะเทือนโลก

Loading

  ‘ผู้บริโภค’ คือ เหยื่อปลายทาง ‘ไอบีเอ็ม’ เปิดผลศึกษาองค์กรที่สูญเสียจากเหตุโจมตีไซเบอร์ “ขึ้นราคาสินค้า-บริการ” ดึงผู้บริโภคร่วมแบกรับ ท่ามกลางภาวะ “เงินเฟ้อ-ซัพพลายเชน” ชะงัก   การโจมตีทางไซเบอร์กลาย เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ที่สร้างความเสียหายมหาศาลให้กับธุรกิจ การละเมิดข้อมูลและข้อมูลรั่ว หรือการส่งอีเมลหลอกให้โอนเงิน (BEC)   ในปีที่ผ่านมา เหตุที่โด่งดังไปทั่วโลก เพราะสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชน องค์กร เศรษฐกิจ และสังคมในวงกว้าง คงหนีไม่พ้นเหตุแรนซัมแวร์เรียกค่าไถ่ท่อส่งน้ำมันโคโลเนียล ไปป์ไลน์ ที่ทำให้ผู้คนในฝั่งตะวันออกของอเมริกาต้องเข้าคิวยาวเหยียดเพื่อเติมน้ำมัน แถมส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นถึง 10%     ผู้บริโภคแบกรับความสูญเสีย   “สุรฤทธิ์ วูวงศ์” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ชี้ว่า “ไม่เพียงแต่ธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจากภัยไซเบอร์ แต่วันนี้ผู้บริโภคคือผู้ที่แบกรับมูลค่าความสูญเสียเหล่านี้ด้วย โดยจากรายงานมูลค่าความเสียหายของเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลประจำปี 2565 องค์กรที่สำรวจ 60% ระบุว่าความเสียหายจากการเผชิญกับเหตุข้อมูลรั่วไหลทำให้ตนเพิ่มราคาสินค้าและบริการ ซึ่งถือเป็นการส่งต่อค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้า ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาซัพพลายเชน และการขึ้นราคาของสินค้าที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ”…