“No More Ransom” แหล่งรวมเครื่องมือถอดรหัส Ransomware

Loading

Credit : Europol   ผู้คนกว่า 1,500,000 ราย ได้ไฟล์คืนโดยไม่ต้องเสียค่าไถ่   No More Ransom เป็นโครงการริเริ่มการต่อต้านแรนซัมแวร์ ของหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายของสหภาพยุโรป เปิดตัวครั้งแรกในปี 2016 โดย Europol สำนักงานตำรวจแห่งชาติดัตช์ (Politie) และบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และไอทีจำนวนหนึ่งที่มีเครื่องมือถอดรหัสสี่ตัวที่พร้อมใช้งาน   พันธกิจของ No More Ransom – “ให้การช่วยเหลือเพื่อปลดล็อกข้อมูลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับผู้โจมตี”   No More Ransom ได้เติบโตขึ้นเพื่อเสนอเครื่องมือถอดรหัสฟรี 136 รายการสำหรับแรนซัมแวร์ 165 ประเภท รวมถึง GandCrab, REvil, Maze และอื่นๆ ซึ่งทำงานร่วมกับพันธมิตรกว่า 188 รายจากภาคเอกชน ภาครัฐ การบังคับใช้กฎหมาย สถาบันการศึกษา และอื่นๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ และปัจจุบันยังคงจัดหาเครื่องมือถอดรหัสใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยมีพอร์ทัลให้บริการใน 37 ภาษาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จากทั่วโลก  …

AI ในอนาคต

Loading

  การปรับตัวของภาคธุรกิจต่อการมาถึงของเอไอเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้   หากจะมีการปรับหรือเปลี่ยนแปลงการทำงานในภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นประเทศใด มักจะต้องทำแแบบสอบถาม เพื่อดูแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว   อย่างเช่นเมื่อปี 2018 ประเทศญี่ปุ่นทำการสำรวจความพร้อมในด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ขององค์กรธุรกิจโดยทำแบบสอบถามกว่า 20,000 ชุดซึ่งผู้ที่ตอบแบบสอบถามถึงประมาณ 30% เชื่อมั่นว่ายุคของเทคโนโลยีได้มาถึงแล้วและไม่มีทางปฎิเสธได้   ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามถึง 90% ระบุว่าองค์กรได้เริ่มใช้งานระบบ AI ไปบ้างแล้ว แต่ที่น่าสนใจก็คือในจำนวนนี้มีผู้ใช้มากถึง 20% ที่ไม่รู้ว่า AI คืออะไรและจะช่วยงานเราได้อย่างไรบ้าง สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทหลายๆ แห่งลงทุนในระบบนี้ไปเพียงเพราะกลัวตกยุค กลัวจะดูไม่ทันสมัยเท่านั้น   ก็ไม่น่าแปลกใจอะไรที่ปัจจุบันนี้ หรือ 4 ปีหลังการสำรวจจะพบว่าการใช้งาน AI ในองค์กรธุรกิจหลาย ๆ แห่งประสบปัญหามากมายเพราะจุดเริ่มต้นที่ผิดพลาดและไม่ได้มาจากความต้องการใช้งานจริง ผลสุดท้ายก็กลายเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าและไม่ต้อบโจทย์ใด ๆ ในองค์กรเลย   ตรงกันข้ามกับบริษัทที่เริ่มต้นโดยมีกลยุทธ์ชัดเจน และให้ความรู้ทีมงานพร้อมนำ AI มาใช้อย่างถูกจุด จะพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานถูกยกระดับขึ้นอย่างมหาศาล ลดงานที่ทำซ้ำและตอบสนองความต้องการของลูกค้าไม่เพิ่มขึ้นหลายเท่า   AI อาจเป็นการปฏิวัติวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมอีกครั้ง เพราะนับตั้งแต่เทคโนโลยีนี้แพร่หลาย มันได้สร้างแต้มต่อให้กับธุรกิจเกิดใหม่ได้อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เช่นกรณีของ…

รู้จัก “มัรกัสยะลา” มุมมองต่อความมั่นคงชายแดนใต้

Loading

  หลังเกิดข่าวใหญ่จากเหตุปิดล้อม-ยิงปะทะที่บ้านเช่าหลังหนึ่ง บริเวณซอยด้านหลัง “ศูนย์มัรกัสยะลา” ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา ทำให้หลายคนสงสัยว่า เหตุใดพื้นที่แถบนั้นจึงมีกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงไปเช่าบ้านและซ่อนตัวอยู่ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่มองว่า มาเช่าบ้านเพื่อเตรียมก่อเหตุ หรือไม่ก็คอยสนับสนุนการก่อเหตุ (เรียกว่าเป็นพวกทำหน้าที่ โลจิสติกส์) “ศูนย์มัรกัสยะลา” มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ศูนย์ดะวะห์แห่งประเทศไทย มัสยิดอิล – นูร (มัรกัสยะลา)” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ฝั่งตรงข้ามของมัสยิดกลางประจำจังหวัดยะลา ย่านตลาดเก่า อำเภอเมืองยะลา ศูนย์ดะวะห์แห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ มีที่นั่งล้อมรอบ ด้านในมีอาคารมัสยิด 1 หลัง ห้องน้ำ 30 ห้อง อาคารห้องครัว 1 หลัง มีอาคารโรงเรียนสอนท่องจำอัลกุรอาน (โรงเรียนฮาฟิส) 1 หลัง มีเด็กเรียนท่องจำคัมภีร์อัลกุอาน จำนวนประมาณ 600 คน เป็นชายล้วน สำหรับกิจกรรมในมัสยิด มีการละหมาด 5 เวลา นอกนั้นเป็นงานดะวะห์ ประกอบด้วย ประชุมประจำวัน อ่านตะเล็ม…

ป้องกันตัวเบื้องต้นจากสปายแวร์ | บวร ปภัสราทร

Loading

  มีสปายแวร์ที่ดุดันถึงขนาดว่าเจ้าของสมาร์ทโฟนอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ไปกดนั่นกดนี่ หรือทำอะไรที่แตกต่างไปจากที่กระทำตามปกติเลย ก็ยังโดนเล่นงานได้ โดยวิธีที่รู้จักกันในชื่อว่า Zero Click และ Packet Injection เขาแค่ส่งข้อความผ่านแอปบางตัวมาที่เครื่องของเราเท่านั้น เขาก็ติดตั้งแอปสปายซ่อนไว้ในเครื่องของเราได้แล้ว สมาร์ทโฟนของเราอย่างน้อยก็อาจกลายเป็นกล้อง เป็นไมโครโฟนให้เขานั่งดูนั่งฟังเราได้เลย หนักขึ้นไปอีกคือเขารู้ว่าเราไปไหนมาไหนมาบ้างในแต่ละวัน ซึ่งแอปที่เขาใช้ส่งข้อความมามักจะเป็นแอปภาคบังคับ ติดมากับเครื่องตั้งแต่ซื้อมาใช้เลย เช่น เฟซไทม์ ไอแมสเซสในไอโฟน ซึ่งบางคนแทบไม่เคยใช้เลยด้วยซำ้ แต่ก็ไม่ได้สั่งปิดการทำงานของแอปพวกนี้ ข่าวดีก็คือสปายแวร์ที่ดุดันนั้นราคาร่วมล้านห้าแสนเหรียญสหรัฐ ถ้าไม่ใหญ่โตจริง ๆ คงมีเงินทองไม่พอไปซื้อมาใช้แน่นอน ข่าวร้ายคือถ้าท่านกำลังเป็นที่สนใจของคนมีเงินทองในระดับนั้น โอกาสที่จะรอดจากสปายแวร์เหล่านี้มีน้อยมาก ป้องกันตัวได้ยากมาก ๆ แต่ยังมีหนทางเล็กๆ คือ “รีบูทเครื่อง” ให้บ่อยครั้งมากที่สุด สปายแวร์พวกนี้ส่วนใหญ่ต้องติดตั้งตัวเองใหม่ทุกครั้งที่รีบูทเครื่อง เขาจึงตามเราได้บ้างไม่ได้บ้าง ขาดตอนเป็นระยะๆ แต่เราเองจะทนรำคาญการที่รีบูทเครื่องบ่อย ๆไม่ไหวเสียมากกว่า ถ้าไม่ใช่คู่อริของคนในระดับที่น่าจะหาสปายแวร์ราคาเป็นล้านเหรียญสหรัฐมาใช้ได้ ท่านอาจจะเจอตัวที่ไม่ได้เก่งกาจเหมือนที่คนดัง ๆ เขาเจอะเจอกัน เพียงแค่ท่านทำอะไรบางอย่างที่เป็นที่สนใจของบางคน ข่าวดีคือยังป้องกันตัวได้ด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยากอะไรมากนัก     เพราะสปายแวร์ระดับธรรมดา ๆ นั้น แทบทั้งหมดทำ Zero Click…

กฎหมายภาษีอากรกับการคุ้มครองข้อมูลของผู้เสียภาษีอากร | กฤษรัตน์ ศรีสว่าง

Loading

ปัจจุบัน ทุกคนมีความเข้าใจและรับรู้เป็นอย่างดีว่าประชาชนแต่ละคน รวมถึงบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และบุคคลอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดต่างมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรให้กับรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร หน้าที่เสียภาษีอากรจึงเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญต่อบ้านเมือง เนื่องจากรัฐ หน่วยงานของรัฐ รวมถึงรัฐบาล มีความจำเป็นต้องนำรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรไปใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้เสียภาษีอันเป็นการบริหารจัดการประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าในทุกด้าน ผู้เสียภาษีอากรทุกคนจึงต้องดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากรชนิดต่างๆ ที่มีการจัดเก็บในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรตามช่วงระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอาจเสียภาษีอากรเป็นรายปี รายเดือนหรือรายครั้งเมื่อได้รับรายได้แล้วแต่กรณี ผลของการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร ทำให้ผู้เสียภาษีอากรมีความจำเป็นต้องกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตนไม่ว่าจะเป็นชื่อสกุล อายุ ที่อยู่ บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น รวมถึงข้อมูลของบุคคลที่สาม เช่น ชื่อสกุลนายจ้าง ชื่อสกุลคู่สมรส ที่อยู่ที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น   (ภาพถ่ายโดย olia danilevich) อีกทั้งยังต้องมีการระบุรายการรายได้หรือเงินได้ รายจ่าย การลดหย่อนและสิทธิประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งจำนวนเงินของแต่ละรายการดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการคิดคำนวณภาษีอากรอีกด้วย ข้อมูลในแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียภาษีอากร ซึ่งในทางหลักการแล้วข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับความคุ้มครองให้มีความปลอดภัยและผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจะต้องดำเนินการใดๆ โดยคำนึงความปลอดภัยของข้อมูลเหล่านี้ด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นการเฉพาะแล้ว อันส่งผลทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ได้รับความคุ้มครองมากยิ่งขึ้นโดยบทบัญญัติกฎหมาย อย่างไรก็ตาม…

“ล่อ – ลวง – หลอก โรแมนซ์สแกม” ปรากฎการณ์เปลี่ยวเหงายุคดิจิทัล

Loading

  ผู้จัดการสุดสัปดาห์ – เสน่ห์เล่ห์กลในเชิงจิตวิทยาทำให้มีผู้ตกหลุมพราง อาชญากรรมไซเบอร์ในรูปแบบ “โรแมนซ์สแกม (Romance Scam)” คำหวานของคนแปลกหน้าที่ทำให้ใจหวั่นไหว หลอกให้หลงหลอกโอนเงิน ลวงให้รักสุดท้ายกลายเป็นมือที่ 3 ถือเป็น “ปรากฏการณ์การณ์เปลี่ยวเหงายุคดิจิทัล” ที่น่าสนใจยิ่ง รอบสัปดาห์ที่เป็นข่าวครึกโครมกรณี ชายวัยดึกอายุ 60 ปี ทักแชทลวงเหยื่อสาว 12 ราย เน้นสาวใหญ่ แม่ม่าย ลูกติด ล่อลวงมีเพศสัมพันธ์ เลี้ยงดูแบบสามีภรรยา แต่กลับตกเป็นเมียน้อยไม่รู้ตัว ทำให้กลุ่มผู้เสียหายรวมตัวเข้าปรึกษาทนายคนดัง หวังดำเนินคดีทางกฎหมาย ซึ่งดูเหมือนไม่มีกฎหมายข้อใดเอาผิดได้ เพราะเป็นเรื่องความยินยอมของทั้งสองฝ่ายแต่แรก งานนี้ยิ่งไปออกรายการโหนกระแส ยิ่งเป็นข่าวเรียกเสียงฮือฮาวิจารณ์สนั่น อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าปรากฎการณ์ความเปลี่ยวเหงาของผู้คนในยุคดิจิทัล เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอ่อนไหวง่ายขึ้น และเทคนิคทางจิตวิทยาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญของอาชญากรรมไซเบอร์ในรูปแบบโรแมนซ์สแกมให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการทั้งเงินทองสนองกิเลสตัณหา งานวิจัยโครงการข้อจำกัดของกระบวนการยุติธรรมเพื่อป้องกันและปราบปรามพิศวาสอาชญากรรม (Romance Scam) และแนวทางสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันพฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหาคู่ หรือแสวงรัก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า “Romance Scam” หรือ…