วิธีสังเกตสัญญาณกล้องโดนแฮก พร้อมวิธีแก้ปัญหากล้องวงจรปิดถูกแฮก

Loading

  วิธีสังเกตสัญญาณกล้องโดนแฮ็ก โดยกล้องรักษาความปลอดภัยให้ความอุ่นใจโดยให้คุณตรวจสอบบ้านหรือทรัพย์สินของคุณ ตรวจสอบว่าคนอยู่ในบ้านหรือนอกบ้านทำอะไรอยู่ มองเห็นคนอยู่ในห้อง ดูสัตว์เลี้ยงของคุณ หรือแม้แต่เห็นผู้บุกรุก อย่างไรก็ตาม หากกล้องคุณถูกแฮก เจ้าของกล้องก็จะกลายเป็นที่จับตามองของแฮกเกอร์ แอบดูชีวิตส่วนตัว ทรัพย์สินในบ้าน และมีการอัดฟังเสียงของคุณด้วย บทความนี้ได้รวบรวมวิธีสังเกตว่ากล้องโดนแฮกหรือไม่ วิธีสังเกตสัญญาณกล้องโดนแฮ็ก 1.เสียงแปลกๆที่มาจากกล้อง หากคุณได้ยินเสียงผิดปกติ ให้รู้ว่ามีบางอย่างผิดปกติ โอกาสที่อาจมีใครบางคนแอบสอดแนมดูคุณผ่านกล้องที่ถูกแฮก มีสูงเลยทีเดียว 2. กล้องถูกเลื่อนหรือเอียง สิ่งที่ชัดเจนว่ากล้องถูกแฮกคือ คือกล้องถูกย้ายตำแหน่งใหม่ โดยมักจะควบคุมตำแหน่งของกล้องจากแอพหรือคอมพิวเตอร์ หากคุณสังเกตเห็นว่ากล้องเคลื่อนที่ไปเอง โดยไม่มีใครควบคุม แสดงว่ามีคนกำลังควบคุมกล้องอยู่ 3. กล้องเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่แล้ว เมื่อติดตั้งกล้องรักษาความปลอดภัยเป็นครั้งแรก โดยปกติแล้ว ระบบจะขอให้คุณสร้างบัญชีใหม่กับผู้ให้บริการ อย่างไรก็ตาม เมื่อจู่ๆ แอปกล้องรักษาความปลอดภัยขอให้คุณป้อนรหัสผ่านทันที ยังไม่ทันได้สร้างบัญชีเลย อาจเป็นไปได้ว่าอาจมีคนแฮกกล้อง ปกติแล้วคุณมักได้รับอีเมลหากมีการเปลี่ยนรหัสผ่าน แต่ก็เป็นไปได้ว่าเมื่อมีคนแฮ็กกล้องวงจรปิดของคุณไปแล้ว คุณก็อาจจะไม่ได้รับอีเมลเตือนเมื่อมีการเปลี่ยนรหัสผ่าน 4.มีการใช้ข้อมูลจำนวนมาก กล้องวงจรปิดที่ใช้รักษาความปลอดภัยมักจะใช้ข้อมูลจำนวนมากในการสตรีมวิดีโอสดไปยัง Cloud หากกล้องวงจรปิดของคุณถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณไม่ได้เข้าถึงกล้องนั้นเลยเป็นไปได้ว่าอาจถูกแฮก คุณยังสามารถตรวจสอบปริมาณข้อมูลที่ ถ่ายโอนได้โดยเข้าไปที่การตั้งค่าของเราเตอร์บางตัว และสำหรับเราเตอร์บางตัว คุณสามารถตรวจสอบทั้งการรับส่งข้อมูลและเวลาในระหว่างวันก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในทำนองเดียวกัน คุณสามารถติดตั้งโปรแกรมไฟร์วอลล์บนคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อติดตามระบบความปลอดภัยของคุณและแจ้งให้คุณทราบทุกครั้งที่มีการถ่ายโอนข้อมูลเพิ่มขึ้น 5. ประวัติการเข้าสู่ระบบที่น่าสงสัย กล้องรักษาความปลอดภัยบางตัวมาพร้อมกับแอปที่ให้คุณตรวจสอบประวัติการเข้าสู่ระบบของบัญชีของคุณ…

Gartner จัดอันดับ 7 แนวโน้ม ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำหรับปี 2022

Loading

  หัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในการก้าวสู่ Digital Transformation คือ การอยู่บนความไม่ประมาท รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working เป็นการผสานการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัลบนระบบคลาวด์ได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งจะต้องเผชิญกับรูปแบบความเสี่ยงที่หลากหลายมากกว่าเดิม ทำให้องค์กรต่างๆ จะต้องตระหนักและเข้าใจแนวโน้มด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อยกระดับมาตรฐานการรับมือต่อภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ     แนวโน้มที่ 1 คือ Attack surface expansion   ผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะความรู้ในการประยุกต์รูปแบบการทำงานมักจะเลือกความคล่องตัวให้รองรับ Hybrid Working ได้อย่างลงตัว ส่วนใหญ่ 60% เลือกที่จะทำงานจาก Remote Access จากภายนอกมากกว่า และกว่า 18% จะไม่กลับเข้ามาที่สำนักงาน ส่งผลให้ความนิยมการใช้ระบบคลาวด์สาธารณะมากขึ้น ทำให้ห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกันอย่างสูงในรูปแบบนี้ จะต้องเจอกับความท้าทายจากการโจมตีที่ไม่ซ้ำหน้าเรียงรายกันเข้ามาแวะเวียนโดยไม่ได้นัดหมาย สิ่งนี้ทำให้องค์กรเสี่ยงต่อการโจมตีมากขึ้น Gartner แนะนำให้ผู้นำด้านความปลอดภัยมองข้ามวิธีการแบบเดิมๆ ในการตรวจสอบความปลอดภัย การตรวจจับ และการตอบสนองเพื่อรับมือในการจัดการชุดความเสี่ยงที่กว้างขึ้น     แนวโน้มที่ 2 คือ Identity system defense   ระบบการระบุตัวตนเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่เลือกคัดกรองผู้เข้าถึงระบบที่มีสิทธิ์ แต่ก็เป็นช่องทางที่กำลังถูกโจมตีมากที่สุดเช่นกัน…

คนมีเน็ตฯบ้านรู้ไว้ เปิดวิธีป้องกัน Wi-Fi บ้านไม่ให้โดนแฮก

Loading

อินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเรา ดังนั้นการเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ปลอดภัยก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน สำหรับใครที่เริ่มมีอินเทอร์เน็ตบ้าน นี่คือสิ่งที่คุณต้องรูป ก่อนที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของคุณจะโดนแฮกทั้งบ้าน อินเทอร์เน็ตทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น เชื่อมต่อกันได้ง่ายมากขึ้น เช่นเดียวกับเหล่าแฮกเกอร์ที่อาศัยโอกาสเหล่านี้เข้ามาโจรกรรมข้อมูล ทรัพย์สิน และเงินเราได้มากขึ้นเช่นกัน ทำไมการต่อเน็ตฯ ต้องปลอดภัย ? ถ้าจะตอบคำถามว่า ทำไมเราต้องเชื่อมต่อ Wi-Fi หรืออินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย ? ก็ต้องย้อนถามกลับตัวเองก่อนว่า เราโอนเงินผ่านแอปฯ มือถือ หรือไม่ ? แอปฯ ธนาคารต้องใช้อินเทอร์เน็ตหรือไม่ ? กล้องวงจรปิดเราเชื่อมอินเทอร์เน็ตหรือไม่ ? เครื่องพิมพ์เราพิมพ์ไร้สายได้หรือไม่ ? ถ้าใช่ นั่นแหละ คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องทำให้อินเทอร์เน็ตที่เราใช้ การแฮกอินเทอร์เน็ตบ้านเกิดขึ้นประจำ โดยมีการรายงานว่าอาชญากรรมทางไซเบอร์ในปี 2564 สร้างความเสียหายให้ผู้คนกว่า 6,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 293,519 ล้านบาท ซึ่งเป็นการฟิชชิง (Phishing) หรือหลอกให้คนกรอกข้อมูลส่วนตัวในเว็บไซต์ปลอม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัวเป็นหลัก วิธีการป้องกันไม่ให้เราถูกแฮกส่วนหนึ่งก็คือการลดความเสียงการถูกแฮก ซึ่งก็เริ่มจากบ้านเราเป็นที่แรก ด้วยการทำให้ Wi-Fi ปลอดภัยสำหรับทุกคนในบ้าน 4 วิธีป้องกัน…

แคสเปอร์สกี้ โชว์สถิติ ‘ฟิชชิ่ง’ ภัยร้ายโจมตีองค์กรธุรกิจ

Loading

  อาชญากรไซเบอร์มักคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการส่งข้อความสแปมและฟิชชิ่งไปยังทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและองค์กรธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางดิจิทัลในช่วงการระบาดใหญ่ เพื่อโจมตีแบบโซเชียลเอนจิเนียริง   แคสเปอร์สกี้ พบว่า การใส่หัวข้อและวลียอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมออนไลน์ในข้อความ เช่น การชอปปิง การสตรีมความบันเทิง การระบาดของโควิด-19 ทำให้เพิ่มโอกาสที่ผู้ใช้จะไม่สงสัยและคลิกลิงก์ที่ติดมัลแวร์หรือไฟล์แนบที่เป็นอันตรายขึ้นอย่างมาก   ปีที่ผ่านมาระบบป้องกันฟิชชิ่ง (Anti-Phishing) ของแคสเปอร์สกี้บล็อกลิงก์ฟิชชิ่งลิงก์กว่า 11,260,643 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิชชิ่งลิงก์ส่วนใหญ่ถูกบล็อกบนอุปกรณ์ของผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ส่วนในไทยพบการโจมตีกว่า 1,287,283 รายการ     ระบาดหนัก-แค่จุดเริ่มต้น   เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า อีเมลยังเป็นการสื่อสารรูปแบบหลักสำหรับการทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   การพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งจำนวน 11 ล้านรายการในหนึ่งปี เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของการโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อข้อมูลสำคัญทั้งหมดถูกส่งผ่านอีเมล อาชญากรไซเบอร์มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำกำไรได้   ดังนั้น องค์กรควรตรวจสอบเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบองค์รวมและเชิงลึกอย่างรอบคอบ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเซิร์ฟเวอร์อีเมลที่มีความสำคัญมาก   ข้อมูลระบุว่า ในปี 2564 ลิงก์ฟิชชิ่งทั่วโลกจำนวน 253,365,212…

ตชด.เหยื่อการเมือง

Loading

  เห็นข่าว ส.ส.บางคนตั้งคำถามในทำนองว่า ตชด. (ตำรวจตะเวนชายแดน ) มีไว้ทำไม ผู้ถามจะความมุ่งหมายที่จะสื่อความหมายทำนองนี้หรือไม่ แต่คนฟังเข้าใจทำนองนี้ ในฐานะที่ผู้เขียนเคยทำงานร่วมกับ ตชด.ในหลายโอกาสทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงขอเป็นอีกเสียงหนึ่งที่จะทำความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของ ตชด.   ในการพิจารณางบประมาณประจำปีในปีก่อน ๆ ไม่มีข่าวที่กระทบต่องบประมาณ หรือมีการเอ่ยถึง ตชด. แต่ปีนี้ถือว่าเป็นกรณีพิเศษที่ผิดปกติ ไม่ใช่ว่า ตชด.เป็นหน่วยงานที่แตะต้องไม่ได้ แต่คำถามที่หลายคนสงสัยคือ ทำไม   มองในแง่ดีก็คือ ผู้ตั้งประเด็นอาจมองไม่เห็นความสำคัญของ ตชด. และคิดว่าคงเป็นหน่วยตำรวจปกติธรรมดา ก็ควรปรับให้เป็นตำรวจปกติเสียเลย หรืออาจเห็นว่า บทบาทของ ตชด.เปลี่ยนไปจากสมัยที่มีการแทรกซึม ต่อสู้กับภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ เวลานี้ไม่มีคอมมิวนิสต์แล้ว ก็ควรยุบเลิก ตชด.เสีย นี่เป็นการมอง ส.ส.คนนั้นในแง่ดี   แต่ที่คนพูดกันมากก็คือ ในระยะหลายปีที่ผ่านมา เมื่อมีการจับกุมแกนนำม็อบ หรือผู้ก่อความวุ่นวายจำนวนมาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ส่งมาควบคุมไว้ที่ บก.ตชด.ภาค 1 ซี่งอยูที่คลอง 5 เพราะมีพื้นที่กว้างขวาง มีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี การที่ม็อบจะว่ายน้ำข้ามกลองบุกเข้าไปหรือขว้างปาสิ่งของเหมือนกับที่กระทำต่อสถานีตำรวจทั่วไปทำได้ยาก สิ่งที่ทำได้ก็ไปยืนออกกันอยู่ริมถนนคนละฝั่งคลอง ทำให้แกนนำม็อบหลายคนไม่พอใจ โกรธแค้น…

สหรัฐฯ พร้อมแค่ไหน ในการต่อสู้ ‘สงครามไซเบอร์’ กับรัสเซีย?

Loading

USA-CYBER/ ในแต่ละวัน สหรัฐฯ ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้านไซเบอร์ ซึ่งบางส่วนมีต้นกำเนิดมาจากรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญมองว่าหากความตึงเครียดระหว่างกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโคว์เกี่ยวกับสงครามในยูเครนพุ่งสูงขึ้น ผู้นำรัสเซียอาจจะสั่งให้มีการโจมตีทางไซเบอร์แบบเต็มรูปแบบที่อาจจะทำลายระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของอเมริกาได้ การที่ประเทศโลกตะวันตกประสานงานกันอย่างดีและนำเอามามาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจมาใช้กับรัสเซียอย่างรวดเร็ว หลังการบุกรุกยูเครนนั้น ได้ทำให้ระบบการเงินของรัสเซียทรุดลงไปมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์มองว่า ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน อาจจะใช้วิธีที่รัสเซียเชี่ยวชาญที่สุด นั่นก็คือ การทำสงครามไซเบอร์ (Cyber Attack) เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ซึ่งเป็นโต้โผในการระดมให้ประเทศโลกตะวันตกลงโทษรัสเซียอย่างพร้อมเพียงและยังเป็นผู้ส่งอาวุธให้ยูเครนอีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า การทำสงครามไซเบอร์ ซึ่งเป็นการโจมตีคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น อาจจะน่ากลัวกว่าการทำสงครามที่ใช้อาวุธทั่วไปเสียด้วยซ้ำ แต่หากถามว่า สหรัฐฯ มีความพร้อมแค่ไหนในการเตรียมรับมือกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามทางไซเบอร์นั้น ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนนัก นิโคลาส ไชลาน (Nicolas Chaillan) อดีตเจ้าหน้าที่หัวหน้างานด้านซอฟท์แวร์แห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ เมื่อ 6 ปีก่อน เพื่อช่วยต่อสู้กับภัยคุกคามไซเบอร์ในระดับระหว่างประเทศนั้น กล่าวว่าตั้งแต่เขาทำงานให้รัฐบาลสหรัฐฯ เขารู้สึกผิดหวังในความสามารถของอเมริกาในการปกป้องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตัวเอง “สหรัฐฯ เป็นผู้นำในการโจมตีทางไซเบอร์ ดังนั้นเราจึงมีความสามารถในการโจมตีเป็นอย่างดี แต่ความสามารถในการตั้งรับหรือป้องกันตัวของเรานั้นยังอ่อนแอมาก เทียบได้กับระดับอนุบาล” ไชลานกล่าว   FILE – This Sept. 16, 2016, file photo…