‘กำหนดเป้าหมาย – เตรียมคน – เตรียมจัดการ’ 3 ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำ Big Data

Loading

  หากเทียบกับในอดีตแล้ว ข้อมูลที่ถูกผลิตขึ้นในปัจจุบันนั้นมีทั้งรายละเอียด รูปแบบ และปริมาณที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ความเปลี่ยนแปลงนี้ได้เปิดประตูมากมายให้กับธุรกิจในการเพิ่มประสิทธิภาพ แก้ปัญหา และสร้างโอกาสใหม่ๆ ในตลาดแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ในบทความนี้เราได้สรุปมุมมองจาก ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้าน Digital Transformation สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ถึงปัจจัยที่จะกำหนดความสำเร็จของธุรกิจในการนำข้อมูลไปใช้ เวลาเปลี่ยน ข้อมูลเปลี่ยน ข้อมูลนั้นเป็นสิ่งที่มีมานานแล้วในโลก และก่อนการเกิดของคำว่า Big Data ธุรกิจจำนวนมากก็มีการนำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินการเสมอ แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันคือเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทำให้เกิดข้อมูลรูปแบบใหม่ๆที่จะช่วยบอกเล่าเรื่องราวให้กับธุรกิจได้มากกว่าเดิม เช่น ข้อมูลจากเครือข่ายโซเชียล ที่สามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าใจในตัวลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากรูปแบบข้อมูลที่แตกต่างและละเอียดขึ้นแล้ว การประมวลผลข้อมูลยังมีความซับซ้อนและ “เก่ง” ขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น การใช้เทคนิค AI และ Machine Learning เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ใครๆ ก็อยากใช้ข้อมูล แต่ข้อมูลไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง ความสามารถของข้อมูลนั้นมีมากและช่วยธุรกิจได้จริง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าคำว่า Big Data หรือศัพท์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลจะได้รับความสนใจจากธุรกิจอย่างรวดเร็ว ทว่าหนึ่งมุมมองที่บิดเบือนไปคือการมุ่งหวังว่าพอนำข้อมูลเข้ามาใช้แล้ว ปัญหาจะหมดไป หรือธุรกิจจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จากมุมมองของ…

เปิดเมืองใต้ดินฟินแลนด์ รับภัยนิวเคลียร์จากรัสเซีย

Loading

  เมืองขนาดใหญ่สุดแข็งแกร่งที่ซ่อนอยู่ใต้เมืองหลวงของฟินแลนด์ บังเกอร์ใต้ดินในฟินแลนด์ได้รับความสนใจอีกครั้งหลังจากที่ฟินแลนด์ซึ่งเคยวางตัวเป็นกลางมาตลอด ตัดสินใจเปลี่ยนท่าทีเพื่อขอเข้าร่วมกลุ่มนาโต ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่รัสเซียอย่างมาก ทั้งยังลั่นวาจาว่าจะมีมาตรการตอบโต้กับฟินแลนด์ รวมถึงการย้ายนิวเคลียร์ให้เข้าใกล้ยุโรปมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าฟินแลนด์จะไม่สะทกสะท้านกับคำขู่ของปูติน ตามรายงานของ Daily Mail ชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของเครือข่ายบังเกอร์นิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ดินของประเทศฟินแลนด์ ลึกลงไปใต้ท้องถนนของเมืองหลวงเฮลซิงกิราว 25 เมตร มีเครือข่ายอุโมงค์และถ้ำขนาดใหญ่และแข็งแรง ที่สามารถทนทานต่อระเบิดนิวเคลียร์ พร้อมกับ 500 บังเกอร์ ซึ่งรองรับผู้คนได้กว่า 600,000 คน พวกเขาสามารถหลบภัยจากสงครามนิวเคลียร์อยู่ใต้ดินนี้ได้นานหลายเดือน บังเกอร์ใต้ดินสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1960 โดยได้มีการขุดพื้นหินด้านล่างของประเทศมากกว่า 9 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเพียงพอต่อการจัดเก็บรถโดยสารสองชั้นถึง 50,000 คัน     เจ้าหน้าที่ยังพูดถึงความแข็งแกร่งของบังเกอร์ที่สร้างขึ้นในช่วงสงครามเย็นนี้ว่าประตูของมันมีความทนทานชนิดที่ว่าระเบิดนิวเคลียร์ก็ไม่สามารถแม้แต่จะทำให้เกิดรอยบุ๋ม นอกจากนี้ที่นี่ยังได้รับการคุ้มครองจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นด้วย ขณะที่ประธานาธิบดีฟินแลนด์เตือนว่ารัสเซียอาจยกระดับการทำสงครามเทคโนโลยีกับฟินแลนด์ได้ หากข้อเสนอของนาโตได้รับไฟเขียวจากสมาชิก ในขณะที่เกิดการโจมตีทางทหารชาวฟินแลนด์กว่า 600,000 คน สามารถพักพิงในบังเกอร์หินแข็งแห่งนี้ ซึ่งนอกจากจะมีเสบียงอาหาร เครื่องนอน สุขาภิบาล หน่วยพยาบาล และเตียงสองชั้นอีกหลายพันหลังแล้ว ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็นโรงจอดรถ สนามแข่งรถโกคาร์ท สนามซอฟต์บอล สระว่ายน้ำ โรงเรียน ร้านกาแฟ หรือแม้แต่ลานสเก็ตน้ำแข็งใต้ดิน…

การทูตของประชาชน

Loading

  ขณะนี้ เรื่องราวที่คนไทยที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองสนใจเป็นพิเศษ คือ การเดินทางไปเยือนสหรัฐของนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญเพื่อร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2565 ที่กรุงวอชิงตัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่เปิดเผยคือ ฉลอง 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐ สองฝ่ายจะร่วมกันกำหนด “ ทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างกันท่ามกลางความท้าทายต่าง ๆ “ เพื่อฟื้นฟูการเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาคหลังโควิด 19   ก่อนหน้านี้ สหรัฐเคยเชิญผู้นำอาเซียนไปประชุมมาแล้ว แต่ต้องเลื่อนไปเพราะผู้นำกัมพูชาซึ่งเป็นประธานอาเซียนแจ้งไปว่า หลายคนติดธุระ ไม่ว่างที่จะมาพบตามวันเวลาที่กำหนด แต่ผู้นำสหรัฐก็เชิญมาอีกที ทำนองยืนยันว่าต้องมาพบกันให้ได้เป็นการแสดงพลัง ( แม้ว่าการประชุมผ่านวิดีโอสามารถทำได้และสะดวกกว่า )   ผู้นำที่ไปไม่ได้คงมีฟิลิปปินส์เพราะเพิ่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่คนใหม่ต้องเข้าพิธีสาบานตนก่อนจึงจะทำงานได้ อีกประเทศหนึ่งที่ไม่ไปก็คือพม่า ส่วนที่เหลือจะไปโดยเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ต้องไป เพื่อรักษาผลประโยชน์ที่มีกับสหรัฐ   เป็นที่รู้กันว่า ผู้นำสหรัฐต้องการใช้ “อาเซียน” เป็นตัวแสดงพลังหนุนท่าทีสหรัฐในประเด็นเฉพาะหน้าคือ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ตามที่เขาเคยประกาศว่า ประเทศประชาธิปไตยต้องช่วยกันประณามรัสเซีย ใครไม่ประณามรัสเซียก็เท่ากับไม่ใช่ประเทศประชาธิปไตย ส่วนระยะยาว เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการร่วมด้วยช่วยกันในการสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคนี้…

เมื่อโลกแยกขั้ว : จีนกับรัสเซียเผชิญหน้ามะกันกับยุโรปตะวันตก/กาแฟดำ สุทธิชัย หยุ่น

Loading

  เมื่อโลกแยกขั้ว : จีนกับรัสเซียเผชิญหน้ามะกันกับยุโรปตะวันตก   สงครามยูเครนจะทำให้เกิดการแบ่งโลกเป็นสองขั้วทางด้านเศรษฐกิจและทหารหรือไม่ เป็นหัวใจที่ถกแถลงกันอย่างกว้างขวางในวันนี้   ขั้วหนึ่งคือรัสเซียกับจีน   อีกซีกหนึ่งคือสหรัฐกับยุโรปตะวันตกหรือ NATO   โอกาสของการทำสงครามระดับโลกอาจจะไม่ได้อยู่ในลำดับที่ “เป็นไปไม่ได้” เหมือนที่เคยเชื่อกัน   นักวิเคราะห์ทางยุทธศาสตร์ระดับโลกกำลังเสนอว่าเราต้องเริ่ม “คิดในสิ่งที่ไม่เคยกล้าคิด” หรือ Thinking the Unthinkable   ฉากทัศน์แห่งสงครามระดับโลกอันมีสาเหตุจากสงครามยูเครนจึงกำลังกลายเป็น “รูปการณ์” ที่จะทิ้งลงตะกร้าไม่ได้อีกต่อไป     รัสเซียมีงบประมาณทางทหาร ใช้จ่ายด้านการทหารสูงสุดเป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐ และจีน   และจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ   แต่ไม่ได้ยกระดับด้านสร้างแสนยานุภาพทางทหารเพียงคนเดียว   ในทศวรรษที่ผ่านมา รัสเซียสามารถขอความช่วยเหลือจากจีนได้   สองประเทศพันธมิตรมีพลังรวมกันมากกว่าที่คนส่วนใหญ่เต็มใจยอมรับ   เมื่อรัสเซียบุกแหลมไครเมียเมื่อปี 2014 จีนสนับสนุนการเคลื่อนไหวนี้โดยปริยายด้วยการงดออกเสียงในสหประชาชาติ   และเมื่อมีการคว่ำบาตรใหม่ของสหภาพยุโรปต่อรัสเซีย ปักกิ่งแสดงจุดยืนว่าการคว่ำบาตรเพิ่มเติม “อาจนำไปสู่ปัจจัยใหม่และซับซ้อนมากขึ้น” ในยูเครน   มองลึกลงไป รัสเซียและจีนร่วมมือกันตามแนวเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การทหาร…

Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม/Cool Tech จิตต์สุภา ฉิน

Loading

Delete Remove Trash Can Application Graphic Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม   เมื่อชีวิตของเราผูกพันกับอินเตอร์เน็ตไปในทุกแง่มุม ทั้งเรื่องงานไปจนถึงเรื่องส่วนตัวจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยหากข้อมูลส่วนตัวบางอย่างของเราอาจจะถูกเผยแพร่ออกไปบนโลกอินเตอร์เน็ตโดยที่เราไม่รู้ตัว   ซ้ำร้ายไปกว่านั้นหากข้อมูลส่วนตัวที่ว่าไปปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาของ Google ด้วย ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่ข้อมูลของเราจะถูกหยิบฉวยไปใช้ให้กลับมาเป็นโทษต่อตัวเราเองได้   Right to be forgotten หรือสิทธิที่จะถูกลืมเป็นแนวคิดที่มีการพูดถึงและใช้จริงมานานหลายปีแล้ว   สิทธินี้หมายถึงการที่เจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินเรื่องร้องขอให้มีการปลดข้อมูลส่วนตัวของตัวเองลงจากผลลัพธ์การค้นหาบนอินเตอร์เน็ตได้   ลองนึกดูว่าหากช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเราเคยตัดสินใจผิดพลาด อาจจะด้วยความเยาว์ในช่วงเวลานั้นหรือการถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายให้เสียหายและมีหลักฐานปรากฏหราอยู่บนอินเตอร์เน็ต ทุกครั้งที่มีคนเสิร์ชชื่อเราซึ่งอาจจะเป็นนายจ้างขององค์กรที่เราไปยื่นใบสมัครงานไว้ หรือแม้กระทั่งคนที่เรากำลังจะไปออกเดตด้วย ผลลัพธ์การค้นหาที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวชีวิตที่น่าอายของเราก็จะปรากฏขึ้นมาให้คนเหล่านั้นได้เห็นก่อนที่พวกเขาจะได้สัมผัสถึงตัวตนที่แท้จริงของเราเสียด้วยซ้ำ   สิทธิที่จะถูกลืมคือการหยิบยื่นโอกาสในการลบอดีตอันน่าอายและไม่เป็นธรรมของเราทิ้งไปและทำให้เราใช้ชีวิตต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยหวาดระแวงอยู่เสมอ   การปลดข้อมูลที่เราต้องการลืมทิ้งไปไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถยื่นเรื่องเพื่อบังคับให้เว็บไซต์ต้นตอลบข้อมูลของเราทิ้งได้ แต่เป็นการขอให้เสิร์ชเอนจิ้นซึ่งรายใหญ่ที่สุดก็คือ Google ช่วยปลดลิงค์เหล่านั้นออกไม่ให้ปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาอีกต่อไป   ดังนั้น แม้เว็บไซต์ต้นทางจะยังอยู่ แต่เวลาใครค้นหาชื่อเรา ลิงค์นั้นก็จะไม่ปรากฏขึ้นมาให้คลิกเข้าไปดูได้อีกต่อไป   กรณีที่มีการหยิบยกสิทธิในการถูกลืมมาพูดถึงบ่อยๆ ก็อย่างเช่น สิ่งที่เรียกว่า revenge porn หรือการที่แฟนเก่านำภาพลับในตอนที่ยังคบกันออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยไม่ได้รับการยินยอม สร้างความอับอายและเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับคนๆ นั้น สิทธิที่จะถูกลืมจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเหยื่อกลุ่มนี้ได้…

GRU หน่วยสายลับมือฉมังของรัสเซียที่ตระเวนล้วงความลับไปทั่วโลก

Loading

นอกจากหน่วยลอบสังหารแล้ว รัสเซียยังมีไม้ตายอย่างหน่วยสายลับ GRU ที่คอยล้วงความลับของประเทศต่างๆ ทั่วโลก   เมื่อเร็วๆ นี้ สื่อเชิงสืบสวนสอบสวนของรัสเซีย 2 กลุ่มคือ Agentura.ru และ Bellingcat รายงานว่า ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ปลดหน่วยสายลับ FSB (หน่วยข่าวกรองหลักของรัสเซียที่เปลี่ยนชื่อมาจาก KGB) จากหน้าที่ในการหาข่าวในยูเครน แล้วแต่งตั้งให้หน่วย GRU ซึ่งเป็นหน่วยข่าวกรองทางทหารมารับหน้าที่นี้แทน เนื่องจาก FSB ทำหน้าที่ล้มเหลว   1.หน่วย GRU ถูกก่อตั้ง โดย โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียต เมื่อปี 1942 ไม่ถึงปีหลังจากนาซีเยอรมันบุกสหภาพโซเวียต ในช่วงพีคของสงครามโลกครั้งที่ 2 GRU ได้รับมอบหมายให้สอดแนมเยอรมนีและพันธมิตร และในช่วงสงครามเย็นมีผลงานที่โดดเด่นคือ การแทรกซึมเข้าไปล้วงข้อมูลโครงการระเบิดปรมาณูของอังกฤษ   2.รายงานต่อสภาคองเกรสของสหรัฐบรรยายถึง GRU ไว้ว่า เป็นองค์กร “ขนาดใหญ่ กว้างขวาง และทรงพลัง” แต่ไม่ค่อยมีใครทราบเกี่ยวกับขนาดและการดำเนินงานของ…