ถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้ ต้องทำอย่างไรเช็กเลยที่นี่

Loading

  สตช.เผยวิธีการหากถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้ ต้องทำอย่างไร พร้อมเตือนคนโกงหากปลอมแปลงเอกสารมีโทษหนักคุก 3 ปี ปรับ 6 หมื่น   เมื่อ 26 มี.ค. 65 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กล่าวว่า ขอเตือนภัยกรณีมีสื่อสังคมออนไลน์นำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชนหรือข้อมูลส่วนตัวไปซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีความห่วงใยต่อภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ที่หลอกลวงสร้างความเสียหายให้กับประชาชน โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย   ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จึงได้กำชับและสั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัดที่เกี่ยวข้องทำการสืบสวนสอบสวน จับกุม ปราบปรามภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ทุกรูปแบบตามกฎหมายอย่างจริงจัง มีผลการปฎิบัติเป็นรูปธรรม รวมถึงสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงภัยดังกล่าวและแนวทางในการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย   ดังเช่น กรณีที่สื่อสังคมออนไลน์มีการนำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชน หรือข้อมูลส่วนตัวไปใช้ สำหรับซื้อขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งอาจจะถูกมิจฉาชีพปลอมลายมือชื่อลงในสำเนาบัตรประชาชนแล้วนำไปใช้ในการกระทำความผิด หรือหลอกลวงผู้อื่น หากมีการแก้ไขข้อความในช่องชื่อ นามสกุล วันออกบัตร หรือวันหมดอายุ ลงในสำเนาบัตรประชาชน ไม่ว่าจะนำไปถ่ายสำเนาใหม่อีกครั้ง…

GISTDA ส่งเทคโนโลยีอวกาศบริหารจัดการที่ดินรอบเรือนจำ

Loading

  GISTDA จับมือ กรมราชทัณฑ์ ดึงเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ บริหารจัดการที่ดินรอบเรือนจำ เล็ง เรือนจำสงขลา นำร่องก่อนใช้จริงในทัณฑสถานที่มีอยู่กว่า 143 แห่งทั่วประเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสร้างความร่วมมือ ด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ นายปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า การลงนามครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่ GISTDA จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาและดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานของกรมราชทัณฑ์ด้านการสำรวจและจัดทำแผนที่ด้านความมั่นคง และวางแผนจัดการการใช้ที่ดินบริเวณโดยรอบทัณฑสถานที่มีอยู่กว่า 143 แห่งทั่วประเทศ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่างสองหน่วยงาน และมุ่งสร้างเสริมขีดความสามารถในการพัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เข้ามาบูรณาการในการบริหารจัดการด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของกรมราชทัณฑ์ นอกจากนี้ GISTDA จะร่วมผลักดันพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ภารกิจของกรมราชทัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการจัดทำแผนที่แสดงอาณาบริเวณเขตเรือนจำทั่วประเทศ ที่ผ่านการจัดทำในมาตราส่วนที่เหมาะสม และมีมาตรฐาน เพื่อให้หน่วยงานภายใต้สังกัดของกรมราชทัณฑ์สามารถนำไปวางแผน ควบคุม เฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมายในบริเวณเรือนจำทั่วประเทศ ได้ทันการณ์ และมีประสิทธิภาพต่อไป ด้าน นายอายุตม์…

สงครามยูเครนกับตลาดซื้อขายอาวุธ

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ **************************************** สงครามและการสู้รบที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นเรื่องความขัดแย้งในผลประโยชน์และความมั่นคงของประเทศคู่กรณีที่ไม่สามารถตกลงทางการทูตได้ จึงนำไปสู่การสู้รบ เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กำลังสู้รบกันอยู่ในขณะนี้ คำถามคือ อุตสาหกรรมและตลาดการซื้อขายอาวุธเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามครั้งนี้หรือไม่ อย่างไร ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งนี้ รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลกับประเทศในกลุ่มอาหรับ สหรัฐฯ กับอิรัก ซีเรีย ปากีสถาน ส่วนหนึ่งที่เปิดเผยคือความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ตกลงกันทางการทูตไม่ได้ จึงนำไปสู่สงคราม แต่ตลาดการซื้อขายอาวุธสงครามก็คึกคักและทำเงินได้มากทีเดียว แม้ว่า ประเทศต่างๆ ต้องมีการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยตามห้วงเวลา แต่นั่นก็ไม่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตอาวุธและตลาดซื้อขายอาวุธคึกคักและทำกำไรให้เท่ากับเมื่อเกิดการสู้รบหรือสงคราม ยิ่งสงครามขยายใหญ่โต ความสูญเสียอาวุธก็เพิ่มขึ้นซึ่งจำเป็นต้องมีการทดแทนและสำรอง อุตสาหกรรมอาวุธจะทำกำไรได้มากเมื่อมีความตึงเครียดระหว่างประเทศ เกิดการเผชิญหน้าทางทหารและการสู้รบ สงคราม เพราะคู่กรณีต้องใช้อาวุธที่ทันสมัยเหนือคู่สงคราม ประเทศผู้ผลิตอาวุธขายจะทำกำไรได้มาก หุ้นสูงขึ้น คนถือหุ้นได้กำไรชนิดนับเงินกันไม่ไหว สถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในสวีเดน (SIPRI) รายงานเมื่อปี 2564 ว่า ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา (2559-2563) ตลาดซื้อขายอาวุธขยายมากที่สุดหลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ส่งออกอาวุธมากที่สุดถึงร้อยละ 47 ในตลาดซื้อขายอาวุธของโลก ฝรั่งเศสส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 และเยอรมนีส่งออกเพิ่มร้อยละ 21 รัสเซียและจีนก็ส่งออกอาวุธได้เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยแย่งตลาดสหรัฐฯ มาได้ในส่วนหนึ่ง โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลางเป็นตลาดอาวุธที่ใหญ่ที่สุด เพราะมีการสู้รบตลอดมาโดยพื้นฐานระหว่างอิสราเอลกับประเทศอาหรับเพื่อนบ้าน…

เตือนภัย!! ใครใช้ Google Authenticator กำเครื่องเอาไว้แน่น ๆ เครื่องหาย ลำบากแน่

Loading

  ถ้าพูดถึงเรื่องการยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงนึกถึงรหัสสั้น ๆ 6 หลัก ที่นำไปยืนยันตัวตน ที่ทุกวันนี้บริการหลาย ๆ บริการ ทั้ง Google , Facebook , Instagram , Twitter และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย ต่างแนะนำหรือบังคับให้ผู้ใช้งานทำการตั้งค่าการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน ในขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าสู่บัญชีจากผู้ไม่หวังดี     Google Authentication ถือเป็นหนึ่งแอปที่หลาย ๆ คนเลือกใช้สำหรับการจัดการ เก็บ และการสร้างรหัสยืนยันตัวตน ในบรรดาแอปพลิเคชันหลาย ๆ ตัวที่มีอยู่ในตลาด     อย่างไรก็ตามแอป Google Authentication ไม่ได้มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ครบครัน ทำให้ผู้ใช้หลาย ๆ คนต่างรีวิวให้ 1 ดาว ทั้งบน Play…

การใช้ ‘Wi-Fi ฟรี’ มีความเสี่ยงถูกขโมยข้อมูลได้อย่างไร !?

Loading

เวลาที่เราไปไหนต่อไหน มักจะได้พบเจอกับบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือ Wi-Fi จากสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นสาธารณะให้เราได้ใช้งานกันฟรี ๆ เสมอ แต่ด้วย W-Fi ที่ฟรี นั่นหมายถึงการเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ที่ไหนก็ไม่รู้ เข้าถึง Wi-Fi ฟรีนั้นด้วย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า Wi-Fi ฟรีเหล่านั้นจะปลอดภัย เรามาดูกันว่าแฮกเกอร์เหล่านี้สามารถขโมยข้อมูลเราผ่าน Wi-Fi ฟรีได้อย่างไรบ้าง ! ต่อไปนี้จะเป็น 5 วิธีที่แฮกเกอร์ใช้ในการขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือแม้กระทั่งตัวตนบนโลกออนไลน์ของเราไปได้อย่างง่ายดายผ่าน Wi-Fi ฟรีที่เราใช้งาน และวิธีที่เราจะสามารถป้องกันตัวจากการถูกแฮกข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้ไป 1. การโจมตีแบบ Man-In-The-Middle (MitM) การโจมตีแบบ Man-In-The-Middle (MitM) คือการโจมตีทางไซเบอร์ โดยที่บุคคลภายนอกเข้ามาแทรกกลางการสื่อสารระหว่างผู้เข้าร่วมสองคน แทนที่จะแชร์ข้อมูลโดยตรงระหว่างเซิร์ฟเวอร์ (Server) และไคลเอนต์ (Client) การเชื่อมต่อนั้นจะถูกเข้ามาแทรกด้วยคนกลางแทน แฮกเกอร์ที่เข้าถึงเครือข่ายแบบสาธารณะ ก็จะสามารถดักจับการรับส่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ รวมถึงดักฟัง หรือแม้แต่ขัดขวางการสื่อสารระหว่างสองเครื่อง และขโมยข้อมูลส่วนตัวไปได้ การโจมตีแบบ MitM เป็นปัญหาด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงอย่างมากเลย  …

ป้องกันข้อมูลองค์กรรั่วไหล

Loading

  อาชญากรรมทางเทคโนโลยีกำลังเป็นปัญหาใหญ่ ข้อมูลส่วนตัวที่ประชาชนหวงนักหวงหนา ถูกลักลอบนำไปใช้ทำร้ายตัวเอง! หลายคนหลายฝ่ายกำลังหน้าดำคร่ำเครียด ตำรวจไล่จับไม่เว้นแต่ละวัน แถมยังป่าวประกาศเตือนถึงกลโกงถี่ยิบ แต่ยังมีเหยื่อทั้งรายเล็กรายใหญ่โผล่ให้เห็นต่อเนื่อง!   ด้วยเรื่องนี้ขยายวงกว้างจนยั้งไม่อยู่ มีหลายส่วนที่เป็นรูรั่วให้แก๊งอาชญากรที่เราเรียกติดปากว่า “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ดูดเอาข้อมูลไปใช้หลอกลวงเหยื่อ   ล่าสุด พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. สั่งการ พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษก ตร. ออกมาแถลงเตือน องค์กรหรือบริษัทต่างๆทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ที่ถูกแฮกเกอร์หรือผู้ไม่หวังดีแอบเอาข้อมูลที่เป็นความลับ หรือข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ามาประกาศขายในโลกออนไลน์ หรือนำไปใช้ทำความผิดอื่น   ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน และทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กร!   พร้อมเสนอแนะแนวทางการป้องกัน 3 ขั้นตอน   1.องค์กรและบริษัทต้องระมัดระวังเรื่องการรักษาความปลอดภัยข้อมูล หมั่นตรวจสอบบัญชีผู้ดูแลระบบ หรือช่องทางที่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญ และลบบัญชีของผู้ดูแลระบบ หรือปิดกั้นช่องทางเข้าถึงข้อมูลที่ไม่จำเป็น เช่น กรณีพนักงานที่รับผิดชอบเปลี่ยนหน้าที่หรือลาออก ต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเพื่อป้องกันข้อมูลสำคัญรั่วไหล   2.กำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลพนักงานแต่ละคน ควรอนุญาตให้เฉพาะผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นที่เข้าถึง และกำชับให้ผู้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลเก็บรักษาบัญชีและรหัสผ่านให้ปลอดภัย   3.การสร้างบัญชีผู้ใช้งานไม่ควรตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาง่าย หรือรหัสผ่านเหมือนเว็บไซต์อื่น เพราะในกรณีเว็บไซต์อื่นทำรหัสผ่านรั่วไหล ผู้ได้ข้อมูลไปจะไม่สามารถเข้าถึงบัญชีผู้ใช้งานขององค์กรหรือบริษัทได้   พนักงานในองค์กรหรือบริษัทต้องระมัดระวังการกดลิงก์หรือเข้าเว็บไซต์ต่างๆ…