4 วิธีเอาตัวรอด ป้องกันการโจมตีผ่านอีเมล

Loading

  อีเมลยังคงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการสื่อสารออนไลน์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยน้อยที่สุด นั่นคือเหตุผลที่เราต้องดูแลมันเป็นพิเศษครับ . ในปัจจุบัน ขณะที่การรุกรานยูเครนของรัสเซียยังคงดำเนินต่อไปและการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากประชาคมโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความกังวลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน . แม้จะยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการ แต่ตอนนี้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้ออกมาเตือนพลเมืองในประเทศ ให้ระวังการโจมตีทางอีเมลจากรัสเซีย และประเทศที่ลงชื่อประณามรัสเซีย ก็มีโอกาศที่จะโดนโจมตีเช่นกัน โดยไทยคือหนึ่งในนั้นครับ มาลองดู 4 วิธีรักษาความปลอดภัยบนอีเมล ที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองกัน 1.ใช้รหัสผ่านที่รัดกุมและไม่ซ้ำกัน     ผมเชื่อว่าหลายคนใช้รหัสผ่านแบบเดียวกันกับไอดีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook , email , Twitter ซึ่งก็เข้าใจแหละว่า มันช่วยให้จำได้ง่าย แต่ในแง่ความปลอดภัย มันอันตรายมาก และ Password ควรตั้งให้ปลอดภัยด้วยเช่น ต้องยาวอย่างน้อย 8 ตัว มีตัวเลขและสัญลักษณ์รวมอยู่ในนั้น แต่หากกลัวจำไม่ได้ ลองใช้แอปช่วยจำรหัสผ่าน เช่น Lastpass ก็จะช่วยได้เยอะครับ . ทำไมถึงต้องเน้นเรื่องรหัสผ่าน เพราะรหัสผ่านของเราเป็นด่านแรกในการป้องกันคนที่ต้องการแทรกซึมบัญชีเพื่อ เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและการสื่อสารของเรา จึงจำเป็นตรวจสอบให้แน่ใจว่าการป้องกันนี้แข็งแกร่ง ไม่ใช่ใช้รหัสผ่านที่เดาทางได้ง่าย เช่น qwerty…

10 เทคนิค เอาตัวรอดจากแฮกเกอร์ ทำบ้านให้ปลอดภัย ถ้าต้องกลับไป WFH

Loading

  กระแสการทำงานที่บ้านหรือ Work from home ในประเทศไทยกลับมาอีกครั้ง หลังจากผู้ติดเชื้อพุ่งไปถึงสามหมื่น สาธารณสุขประกาศยกระดับเตือนภัยเป็นระดับ 4 และมีข้อเรียกร้องให้หลายคนกลับไป Work from home ร้อยละ 50-80 .แม้จะมีข้อดีในการป้องการแพร่ระบาด แต่การทำงานระยะไกลนั้นเปิดช่องให้คนทำงานและธุรกิจมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้นเช่นกัน โดยความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อันดับต้น ๆ ของการทำงานระยะไกลคือการเชื่อมต่อเครือข่ายในบ้านที่ไม่ปลอดภัย การใช้เครื่องมือออนไลน์มากขึ้น หรือแม้กระทั่งตัวเราเองที่ไม่ได้มีภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์ ทีนี้ มีวิธีเอาตัวรอดยังไงบ้าง หากต้องกลับไปทำงานที่บ้านอีกครั้งหนึ่ง 10 เทคนิค เอาตัวรอดจากแฮกเกอร์ ไม่ต้องห่วง หากต้องทำงานที่บ้าน 1. ใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตที่บ้าน เคล็ดลับด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดประการหนึ่งสำหรับการทำงานจากที่บ้าน คือ การลงทุนเรื่องซอฟต์แวร์ความปลอดภัย ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานจากระยะไกลอัตโนมัติ ป้องกันภัยคุกคามต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดกับคอมหรือเครือข่ายของเราได้ . 2. ไม่ให้สมาชิกในครอบครัวใช้อุปกรณ์ของบริษัท แม้ว่าเราอาจไว้ใจตัวเองและพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยในโลกออนไลน์ แต่ก็ควรจำไว้ว่าการทำงานจากที่บ้านหมายความว่าคอมพิวเตอร์ของบริษัทมีแนวโน้มที่จะถูกใช้งานโดยเด็ก ๆ ได้ ในช่วงที่เราไม่ได้อยู่หน้าจอ ซึ่งพวกเขามีโอกาสที่จะกดเข้าเว็บที่ทำให้เครื่องติดมัลแวร์ได้ . 3. ใช้ฝาปิดเว็บแคมแบบเลื่อนได้ การทำงานจากที่บ้านมักรวมถึงการประชุมทางไกลและวิดีโอที่ต้องใช้เว็บแคม แฮกเกอร์ที่เชี่ยวชาญจะสามารถเข้าถึงเว็บแคมของเราได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องได้รับอนุญาต ซึ่งส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวมาก ๆ…

อาวุธ “นิวเคลียร์” วันนี้ ชาติไหน “สะสม” มากสุด?

Loading

  เมื่อสัปดาห์ที่แล้วช่วงที่มีข่าวว่าประธานาธิบดีรัสเซียคุณวลาดิเมียร์ ปูติน สั่งหน่วยงานทุกหน่วยของท่านให้เตรียมพร้อมขั้นสูงสุดในการรับมือกับชาติตะวันตก รวมถึงหน่วย “ป้องปรามนิวเคลียร์” ด้วยนั้น…เล่นเอาผู้คนสะดุ้งโหยงไปทั้งโลก เพราะเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า กองกำลังป้องปรามนิวเคลียร์ หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Nuclear Deterrent Force นั้นก็คือหน่วยที่ติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งหัวจรวดหรือขีปนาวุธที่พร้อมจะยิงใส่คู่ต่อสู้เพื่อป้องกันตัวเองนั่นเอง การเตรียมพร้อมสูงสุดจึงอาจแปลความได้ว่า รัสเซียพร้อมที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ซึ่งมีพลังในการทำลายสูงสุดทันที…หากอีกฝ่ายหนึ่งลงมือ สหรัฐฯ และประเทศยักษ์ใหญ่ในยุโรปต่างออกมาตำหนิปูตินเป็นเสียงเดียวกันว่า การออกคำสั่งเช่นนี้จะทำให้สถานการณ์บานปลายยิ่งขึ้น อีกทั้งจะเป็นข้ออ้างในการรุกรานต่อไปอีก ดังเช่นที่ปูตินใช้อยู่เสมอคือจะอ้างว่า โดนคุกคามก่อนเพื่อสร้างความชอบธรรมในการรุกราน สำหรับนักวิเคราะห์สถานการณ์ระดับโลกก็มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง แต่ในที่สุดก็สรุปในทำนองว่า คุณปูตินคงจะส่งสัญญาณ “เตือน” ฝ่ายตะวันตกไว้เท่านั้น ว่าเราทุกฝ่ายมี “นิวเคลียร์” อยู่นะ คงมิใช่เป็นการ “ขู่” แต่อย่างใด นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในมือในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ตาม “ทฤษฎี” แล้วจึงต่างฝ่ายต่างก็จะคุมเชิงกันต่อไป เพราะตระหนักดีว่าการใช้อาวุธนิวเคลียร์จะนำไปสู่ความสูญเสียใหญ่หลวงด้วยกันทั้งคู่ ในการวิเคราะห์นั้นเองได้มีการหยิบยกตัวเลขประมาณการอาวุธนิวเคลียร์ของแต่ละประเทศทั่วโลกมาเปรียบเทียบกันด้วย ดังนี้ รัสเซียน่าจะมีหัวจรวดติดอาวุธนิวเคลียร์รวมทั้งสิ้น 5,977 หัว นาโตน่าจะมี 5,943 หัว แยกออกเป็นของสหรัฐฯ 5,428 หัว ฝรั่งเศส 290 หัว…

ทำไมรัสเซียเล่นเกมเสี่ยง ยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่สุดในยุโรปของยูเครน

Loading

  – รัสเซียบุกยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย ซึ่งถือเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่สุดในยุโรป จนถูกประณามอย่างหนัก หวั่นวิตกจะก่อให้เกิดความเสียหายจนสารกัมมันตรังสีรั่วไหล ซ้ำรอยหายนะภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล – ผู้เชี่ยวชาญชี้ รัสเซียบุกยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย ถือเป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ เพื่อหวังควบคุมพลังงานไฟฟ้าในยูเครน ส่งผลกระทบต่อประชาชนหลายล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ หลังรัสเซียเปิดฉากทำสงครามในยูเครน บุกโจมตีอย่างหนักหน่วงตั้งแต่ 24 ก.พ.65 – หวั่นหากมีกระสุนปืนใหญ่สักลูกตกใส่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อาจทำให้เกิดความเสียหายจนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลอมละลาย สารกัมมันตรังสีรั่วไหล เตือนไม่ควรใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ให้กลายเป็นสมรภูมิรบ และแล้ว รัสเซียก็เรียกเสียงประณามลั่นโลกอีกครั้ง จากการโจมตีและบุกยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน ได้สำเร็จเมื่อ 5 มี.ค.65 หลังจากทำสงคราม ส่งทหารบุกโจมตียูเครนอย่างดุเดือด เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในยุโรป ได้เกิดไฟไหม้ขึ้นที่อาคารศูนย์ฝึกภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ หลังจากเบื้องต้น มีการเข้าใจกันว่า บริเวณที่เกิดไฟไหม้ คือเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 1 ใน 6 เตาที่อยู่ระหว่างการซ่อมแซม ทำให้นานาประเทศทั่วโลกหวั่นวิตกว่าจะเกิดภัยพิบัติซ้ำรอยโศกนาฏกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด จนสารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมาในปี 1986 โชคยังดีที่การปะทะกันระหว่างทหารรัสเซียกับยูเครนเกิดขึ้นบริเวณใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย และไม่ได้เกิดไฟไหม้ที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ในขณะที่ ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ระบุว่า ไม่พบความผิดปกติของระดับกัมมันตรังสีในบริเวณโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย แน่นอนว่า คำถามที่ตามมาก็คือ…

มัลแวร์ล้างข้อมูล โจมตี ‘ยูเครน’ หวั่น ‘ไทย’ โดนหางเลข แนะปิดช่องโหว่

Loading

  สกมช.เตือนภัยไซเบอร์ พบมัลแวร์ล้างข้อมูล โจมตี ยูเครน หวั่นกระทบไทย เหตุเครือข่ายเน็ตเชื่อมโยงถึงกัน แนะป้องกันปิดช่องโหว่ก่อนถูกโจมตีแบบไม่รู้ตัว เร่งประชุมหน่วยงาน ภายใต้กฎหมายวางแผนป้องกัน เผยประชาชนทั่วไป หน่วยงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายต้องระวัง นาวาอากาศเอก อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า จากกรณีความขัดแย้งระหว่าง “รัสเซีย กับ ยูเครน” ทำให้มีการปฏิบัติการโจมตีทางทหาร และ การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้น โดยมีเหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ในระหว่างวันที่ 22 – 25 กุมภาพันธ์ 2565 ในรูปแบบ DDoS (Distributed-denial-of-service) หรือการก่อกวนเว็บไซต์ของหน่วยงานสำคัญระดับประเทศ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และภาคธนาคาร โดยทำการเข้าถึงหลายเว็บไซต์พร้อมๆ กัน ทำให้ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ส่งผลให้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตล่ม และยังมีการตรวจพบมัลแวร์ชื่อ Hermetic Wiper ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่เน้นการล้างข้อมูลของเป้าหมายบนระบบเครือข่ายภายในประเทศยูเครน ทั้งนี้ บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์เปิดเผยว่ามัลแวร์นี้จะสร้างความเสียหายให้กับ Master Boot Record (MBR) ทำให้คอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ไม่สามารถทำงานได้ และยังมีการตรวจพบมัลแวร์ชื่อ Cyclops…

น.อ.อมร ชมเชย รองเลขาฯ สกมช. ระดม ‘คนรุ่นใหม่’ ร่วมแนวรบไซเบอร์ไทย

Loading

จากหนึ่งในนายทหารหัวกะทิของทัพฟ้า มาสู่แนวรบไซเบอร์ที่ไร้ขอบเขต น.อ.อมร ชมเชย ก้าวมาช่วยงานของ บิ๊กเอี้ยง Ž พล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ แม่ทัพผู้คุมเกมความปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ และกลายเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาหน่วยงานใหม่แห่งนี้ ให้เติบโตทันกับสถานการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ที่นับวันยิ่งเพิ่มความล่อแหลม น.อ.อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เปิดเผยว่า สกมช.ย่อมาจาก สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เกิดมาพร้อมกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 หรือ พ.ร.บ.ไซเบอร์ โดยเหตุผลหลักของ พ.ร.บ. เนื่องจากปัญหาภัยคุกคามด้านไซเบอร์รุนแรงขึ้น ประกอบกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารประเทศ ร่วมกับทุกฝ่ายมองว่าหากไม่ทำอะไรเลย ไม่มีกฎหมายมาผลักดัน พัฒนาหรือกำกับดูแล อาจเกิดปัญหาเวลาถูกแฮกข้อมูล ถึงขั้นทำให้ประชาชนเดือดร้อน หรือเสียชีวิตได้ เพราะก่อนหน้าที่จะมี พ.ร.บ. เมื่อเกิดการแฮกข้อมูล หรือเกิดการโจมตีจนระบบล่ม ทำให้ประชาชนไม่ได้รับการบริการอย่างเหมาะสม     ขณะเดียวกัน ตามมาตรา 22 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ระบุว่า ต้องมีการจัดตั้ง สกมช. เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการแต่ละระดับที่ พ.ร.บ.กำหนดไว้ ได้แก่ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ…