หนักกว่านิวเคลียร์ Deepfake ปลุกปั่นให้เกลียดชัง มหันตภัยใหม่ จากภาพปลอม

Loading

  James Cameron ผู้สร้าง The Terminator หรือที่เรารู้จักกันในนาม “คนเหล็ก” ออกมาให้สัมภาษณ์กับ BBC ว่า Skynet อาจจะทำลายมนุษย์ชาติด้วย Deepfake ไม่ใช่ Nukes อย่างในภาพยนตร์ . หนึ่งในบทสัมภาษณ์คือ “ทั้งหมดที่ Skynet ต้องทำ ก็แค่แกล้งคนจำนวนมาก โดยการปลุกปั่นให้พวกเขาเกิดความโกลาหล ปลุกปั่นให้เกิดการเกลียดชัง โดยการใช้แค่ Deepfakes” ยกตัวอย่างเช่น เลียนแบบคนที่มีอำนาจขึ้นมาเพื่อสั่งการอะไรบางอย่างออกไป . หากพูดถึง Skynet มันคือเครือข่าย Computer ขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั้งหมด มีความสามารถในการประมวลผลสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วจนตัวมันเองนั้นสามารถคิดแทนมนุษย์ได้ หากจะเปรียบในโลกแห่งความเป็นจริง เราก็มี AI ที่สามารถคิดแทนมนุษย์ได้แล้วจริง ๆ . James Cameron หยิบยกหัวข้อนี้ขึ้นมาในขณะที่พูดคุยถึงภัยคุกคามของวิดีโอ “Deepfake” ที่สร้างโดย AI สามารถบิดเบือนใบหน้าของใครบางคนให้พูดอย่างอื่นได้ คาเมรอนกลัวว่าเทคโนโลยีเดียวกันนี้อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อสร้างความวุ่นวายทางการเมืองหรือก่อสงคราม ซึ่งเขาได้ยกตัวอย่าง…

บินปลอดภัยไปกับคลื่น 5จี

Loading

  มีข่าวใหญ่เกี่ยวกับวงการบิน ที่ว่าเที่ยวบินจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาต้องยกเลิกไป เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัยในการบิน จากการรบกวนของคลื่นวิทยุที่ใช้งานในระบบห้าจี โชคดีที่เรื่องนี้เกิดขึ้นในระหว่างที่โลกมีโรคระบาด ผู้คนเดินทางกันน้อยลง และในบ้านเราก็มีเรื่องอื่นที่โด่งดังกว่ามาดึงความสนใจไปหมด จึงเหลือไม่มากนักที่สงสัยว่าแล้วบ้านเราที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายแข่งขันกันเป็นผู้นำห้าจีตัวจริง จะมีโอกาสเกิดอันตรายกับการบินบ้างหรือไม่ พร้อม ๆ กับที่หน่วยการกำกับดูแลโทรคมนาคมดูเหมือนจะมีเรื่องอื่นที่น่าใส่ใจทำมากกว่า จึงไม่มีคำชี้แจงอะไรออกมา ถ้ามีความเสี่ยงอันตรายในการบินจากคลื่นห้าจีที่อเมริกา แล้วที่อื่นจะเสี่ยงเหมือนกันหรือไม่ เรายังปลอดภัยที่จะบินในพื้นที่ที่ให้บริการห้าจีแข่งกันสามสี่เจ้าอยู่หรือไม่  ในบ้านเราในวันนี้ตามทฤษฎีแล้ว ยังไม่มีความเสี่ยงใด ๆในการบินจากการรบกวนของคลื่นห้าจี  อธิบายได้ง่าย ๆ ว่า การรบกวนที่เกิดขึ้นอเมริกาเกิดขึ้นกับคลื่นวิทยุคนละย่านความถี่กับที่ใช้ให้บริการห้าจีในบ้านเราในวันนี้ เปรียบเทียบได้เหมือนกับถนนคนละระดับกัน ของเขาเป็นถนนลอยฟ้า อยู่สูงจากพื้นดินมาก ๆ แต่ของเรายังใช้ถนนติดดิน โอกาสที่จะไปวุ่นวายกับอะไรที่อยู่สูง ๆ แทบไม่มี การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ว่าจะเป็นยุคไหน จะสามจี สี่จี หรือห้าจี ต้องใช้คลื่นวิทยุเป็นพาหนะนำเสียงของเรา นำข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเราไปสู่ปลายทาง เราจะไปไหนไกล ๆ เรามักขึ้นรถเดินทางไป จะเดินไปเองก็ได้ แต่กว่าจะถึงต้องใช้ระยะเวลานานมากทีเดียว คลื่นวิทยุที่ใช้เป็นพาหนะสำหรับห้าจีในบ้านเรา มีความถี่สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 26000 MHz แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองนั้นอยู่ประมาณตั้งแต่เจ็ดแปดร้อย จนถึงสองพันกว่า ๆ เมกะเฮิรตซ์ ด้วยเหตุที่คลื่นวิทยุในช่วงนี้มีพื้นที่ให้บริการของแต่ละสถานีฐานค่อนข้างกว้างใหญ่ สามารถให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยใช้จำนวนสถานีฐานไม่มากมายเกินไป จะได้ไม่ต้องลงทุนมากมายนัก คลื่นวิทยุที่ความถี่สูงมาก…

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้!…e-Signature ทำยังไง ใช้ยังไงได้บ้าง

Loading

  1. การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หลายคน สามารถทำในเอกสารเดียวกันได้ไหม ตอบ : การลงลายมือชื่อหลายบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำได้ เช่น การอนุมัติตามสายการบังคับบัญชา การลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดควรใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทและรูปแบบเดียวกัน เพื่อช่วยให้การเก็บรักษาหลักฐานเกี่ยวกับการแสดงเจตนา การรักษาความครบถ้วน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน     2. ทำยังไงให้สามารถใช้ e-Signature ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย ตอบ : 1. การใช้สไตลัส (stylus) เขียนลายมือชื่อลงบนหน้าจอและบันทึกไว้ วิธีลดความเสี่ยง – เชื่อมโยงวิธีการที่บุคคลใช้แสดงเจตนากับข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับผู้ลงลายมือชื่อ รูปแบบของลายมือชื่อ กระบวนการลงลายมือชื่อ และวันเวลาที่ลงลายมือชื่อ – เชื่อมโยงวิธีการที่บุคคลใช้แสดงเจตนากับข้อความที่ลงลายมือชื่ออย่างชัดเจน – ตรวจสอบกระบวนการลงลายมือชื่ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้งานที่สอดคล้องกัน การเก็บหลักฐาน / พยาน – ข้อมูลและภาพของลายมือชื่อ – วันเวลาที่ลงลายมือชื่อ – อัตลักษณ์ของผู้ลงลายมือชื่อ – วิธีการที่ใช้ยืนยันตัวตน 2. การใช้ระบบงานอัตโนมัติที่มีการยืนยันตัวผู้ใช้งาน + รูปแบบของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทที่ 1 วิธีลดความเสี่ยง…

ข้อมูลสำคัญ กู้คืนได้เร็ว หากโดน Ransomware โจมตี

Loading

ปี 2021 ถือได้ว่าเป็นปีแห่ง Ransomware โจมตีรุนแรงและรุกหนักมากที่สุด เพราะมันไม่ได้จ้องโจมตีแค่องค์กรที่มีผลกำไร แต่กำลังมุ่งเป้าโจมตีโครงสร้างพื้นฐานซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิต ประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น Colonial Pipeline บริษัทท่อส่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่ต้องปิดให้บริการท่อส่งระยะทาง 5,500 ไมล์ เป็นเวลา 5 วัน ส่งผลให้สถานีบริการน้ำมันกว่า 10,000 แห่ง ทั่วภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐไม่มีน้ำมันจำหน่าย บริษัทจำเป็นต้องกัดฟันจ่ายเงินให้กลับกลุ่มแรนซัมแวร์ Darkside มูลค่ากว่า 4.4 ล้านดอลล่าร์ เพื่อกู้ให้สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ ในเดือนมิถุนายน JBS บริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจ่ายเงินค่าไถ่ให้กับกลุ่ม Ransomware REvil มากกว่า 11 ล้านดอลล่าร์ ผ่านบิทคอยน์เพื่อไม่ให้การดำเนินงานภายในหยุดชะงัก และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับร้านอาหาร ร้านขายของชำและเกษตรกร อีกเคสหนึ่งที่น่าสนใจคือ Kaseya บริษัทสัญชาติไอร์แลนด์ผู้ให้บริการโซลูชั่นไอทีต่าง ๆ ทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือ Managed Service Providers (MSP) ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และมีองค์กรกว่า 40,000 แห่งทั่วโลกใช้โซลูชันจาก Kaseya อย่างน้อยหนึ่งโซลูชัน…

13 เทรนด์ด้าน Cybersecurity สำหรับปี 2022 โดย IBM

Loading

Credit: ShutterStock.com IBM ได้ออกมาคาดการณ์ภาพภัยคุกคามของปีนี้ ทีมงาน TechTalkThai ขอสรุปมาให้ทุกท่านได้ติดตามกันครับ 1.) การรุกรานของแรนซัมแวร์จากธุรกิจหนึ่งสามารถข้ามไปข่มขู่ธุรกิจอื่น แนวโน้มการข่มขู่เปิดเผยข้อมูลของแรนซัมแวร์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยไอเดียที่ IBM คาดการณ์คือเมื่อคนร้ายสามารถเจาะเข้าองค์กรแห่งหนึ่งได้แล้ว อาจจะสามารถส่งผลกระทบไปเรียกค่าไถ่กับบริษัทคู่ค้าที่มีข้อมูลเชื่อมโยงกัน 2.) Supply Chain Attack คือหัวข้อสำคัญในห้องประชุมบอร์ด จากประสบการณ์ของปี 2021 หากพูดถึง Supply Chain ต้องยอมรับว่าท่านจะพบจุดอ่อนอีกมาก และแฮกเกอร์ก็ทราบดีในการหาประโยชน์จากช่องโหว่ ด้วยเหตุนี้หัวข้อดังกล่าวจึงเป็นที่กังวลอย่างมากของบอร์ดบริหาร 3.) ใกล้สู่ช่วงเปลี่ยนผ่านการพึ่งพารหัสผ่าน การเชื่อถือรหัสผ่านอย่างเดียวคือจุดอ่อนในระบบการป้องกันไปเสียแล้ว อย่างไรก็ดีเมื่อเทคโนโลยีมากขึ้นเราก็เริ่มเข้าสู่รูปแบบไบโอเมทริกซ์ นอกจากสามารถรักษาความมั่นคงปลอดภัยได้ดี การใช้งานยังง่ายขึ้นเรื่อยๆ 4.) Blockchain คือจุดซ่อนตัวของคนร้าย เมื่อองค์กรและตลาดพึ่งพาบล็อกเชนเช่น ใช้เพื่อบริการจัดการ Supply Chain , การทำธุรกรรมการเงิน หรือ NFT ด้วยเหตุนี้ IBM เริ่มเห็นว่าคนร้ายหันมาใช้งานสิ่งเหล่านี้เพื่อซ่อนการตรวจจับได้นานขึ้น โดยปีนี้บล็อกเชนจะกลายเป็นเครื่องมือที่คนร้ายทั่วไปใช้เพื่อทำให้ทราฟฟิคอันตรายของตนยุ่งเหยิง เลี่ยงการตรวจจับ หรือทำให้ตรวจพบกิจกรรมอันตรายบนเครือข่ายยากขึ้น 5.) ขอบเขตการดูแล Security ขยายสู่ Hybrid Cloud…

Tim Berners-Lee ผู้สร้าง WWW มองเรื่อง ‘ส่วนตัว’ ยังไง?

Loading

  ผู้อ่านน่าจะคุ้นเคยกับเจ้าตัวอักษรภาษาอังกฤษ WWW นี้กันเป็นอย่างดี แต่กับชื่อ ‘เซอร์ทิม’ ล่ะ? เคยคุ้นกันบ้างไหม? ย้อนความไปเล็กน้อยเมื่อตอนปี 1989 เซอร์ทิม หรือ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นระบบข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) ขึ้นมา ในขณะทำงานที่ CERN (Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire: องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป) โดยมีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการในการแบ่งปันข้อมูลโดยอัตโนมัติระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบัน การใช้งาน WWW ก็ขยายวงกว้างไปมาก ไม่ว่าจะวงการใด ผู้คนก็ใช้ WWW กันทั้งสิ้น เรียกได้ว้าเป็นสิ่งที่ผู้คนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกไปแล้วนั่นเอง เท้าความถึงการสร้าง WWW ขึ้นมาคร่าว ๆ แล้ว ต่อไปเราจะพาคุณเข้าหัวข้อสำคัญกันเลยดีกว่า ใช่แล้ว! วันนี้เราตั้งใจจะมาพาคุณผู้อ่านไปรับรู้มุมมองเล็ก ๆ ของเซอร์ทิมกัน  …