ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แยกกันไม่ออก

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี เป็น “วันกองทัพไทย” โดยถือเอาวันสำคัญในประวัติศาสตร์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชย์แห่งพม่า และทำให้กรุงศรีอยุธยาปลอดจากศึกใหญ่จากพม่าไปประมาณ 100 ปี เป็นที่น่าเสียดายที่เด็กไทยสมัยนี้แทบไม่รู้จักพระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญที่กอบกู้และรักษา พัฒนาประเทศให้มั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน เพราะรัฐมนตรีศึกษาธิการในรัฐบาลสมัยหนึ่ง ให้ปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทยเสียใหม่ จนเด็กไทยแทบไม่รู้จักที่มาที่ไปของแผ่นดินที่ตนเกิดและเติบโตขึ้นมา กล่าวกันว่า วิธีดีที่สุดและได้ผลที่สุดในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข คือ การทำให้เด็กไทยไม่รู้ที่มาที่ไปของตนเอง ไม่รู้ความเป็นมาของประเทศ ไม่มีความภูมิใจในความเป็นมาของประเทศ ไม่รู้ถึงบทบาทและความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ พวกเขาใช้เวลายี่สิบปีจนบรรลุวัตถุประสงค์ระดับหนึ่ง เมื่อความภูมิใจ ความหยิ่งในความเป็นมาของประเทศของคนรุ่นใหม่แทบจะไม่เหลือ เรื่องนี้ไปโทษเด็กไม่ได้ แต่ต้องโทษนักการเมืองบางคนตั้งแต่รุ่นนั้นจนถึงปัจจุบัน มีสิ่งละอันพันละน้อยที่ไม่ได้เป็นประวัติศาสตร์เกี่ยวกับยุทธหัตถีมาเลาให้ฟัง นักประวัติศาสตร์บางคนได้ตั้งคำถามด้วยความสงสัยว่า ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ใช้กระทำยุทธหัตถีวันนั้น ตัวเล็กกว่าช้างของพระมหาอุปราชมาก ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อตัวเล็กกว่า พละกำลังก็ย่อมน้อยกว่า แล้วจะงัดแบกคู่ต่อสู้จนตัวลอย ทำให้พระมหาอุปราชถูกพระนเรศวรมหาราชฟันจนขาดสะพายแล่งบนคอช้าง ได้อย่างไร นับว่าคนตั้งข้อสังเกตเป็นคนละเอียดมาก ผู้เขียนเคยอ่านเรื่องนี้มาเหมือนกัน ซึ่งน่าจะยืนยันได้ว่า ช้างพระที่นั่งของพระนเรศวรมหาราชตัวเล็กกว่าช้างของพระมหาอุปราชจริง แล้วทำไมจึงดันจนคู่ต่อสู้จนเสียศูนย์ ทำให้ผู้นั่งบนคอข้างเสียศูนย์และถูกฟันจนตาย เรื่องเล่าว่า ก่อนนี้ช้างพม่าซึ่งใหญ่กว่าได้ใช้พละกำลังดันและแบกช้างพระที่นั่งจนตัวลอย พระมหาอุปราชได้ ฉวยโอกาสนี้จ้วงฟันพระนเรศวรมหาราชแต่ทรงหลบได้ แต่พระมาลาถูกฟันขาดจนกลายเป็นพระมาลาเบี่ยงซึ่งเล่าไว้แล้วในประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ดี ช้างพระที่นั่งของพระนเรศวรมหาราช ได้รวมพลังแรงฮึดเป็นครั้งสุดท้ายแบกช้างคู่ต่อสู้จนตัวลอย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชใช้โอกาสนี้จ้วงฟันพระมหาอุปราชจนเสียชีวิตบนคอช้าง…

คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ความหวังของสังคมไทย

Loading

  ถือว่าเป็นข่าวดีต้อนรับ Data Privacy Day วันคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สากล) วันที่ 28 ม.ค.นี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคาร ที่ 11 ม.ค.2565 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี 19 พ.ค.2563 แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 10 คนนี้เป็นไปตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และได้มีการประกาศเผยแพร่มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา การที่มีประกาศราชกิจจานุเบกษาแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิครบถ้วนตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด ถือเป็น “หมุดหมาย” สำคัญของประเทศไทยในการมีองค์กรที่จะบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 อย่างแท้จริง เนื่องจากตามโครงสร้างการบังคับใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ หากไม่สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการได้ องคาพายพต่าง ๆ ของกฎหมายก็จะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างแท้จริง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็ต้องถือว่าในระหว่างที่ยังไม่สามารถจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (“สำนักงานฯ”) สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งทำหน้าที่สำนักงานฯ ตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ และรองปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งทำหน้าที่เลขาธิการก็ได้ร่วมกันขับเคลื่อน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจต่อพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ให้แก่สังคมในวงกว้าง รวมถึงการเตรียมการต่าง ๆ เพื่อให้กฎหมายสามารถพร้อมใช้บังคับทั้งฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน 2565…

‘กอ.รมน.’เวิร์คช็อปพัฒนาเครือข่ายมวลชน เฝ้าระวังการก่อการร้าย

Loading

  ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3-กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดน่าน ฝึกอบรมโครงการพัฒนาเครือข่ายมวลชนเฝ้าระวังการก่อการร้าย ประจำปีงบประมาณ 2565 18 มกราคม 2565 ที่ห้องประชุมเทศบาลเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน พลตรีวิฏษณะ คล้ายมณี รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ศปป.3 กอ.รมน.) เป็นประธานเปิดจัดฝึกอบรมโครงการพัฒนาเครือข่ายมวลชนเฝ้าระวังการก่อการร้าย ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมี พันเอกชนก ขาวรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3 , พันเอกนิรันดร์ชัย ทิพย์กาญจนกุล รองผู้อำนวยการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดน่าน และนายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ ในโลกยุคปัจจุบัน ปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ มีรูปแบบหลากหลายและสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความเสียทายแก่ชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย ทำให้เกิดความหวาดกลัว และบั่นทอนจิตใจประชาชน รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ การให้ความรู้ ความเข้าใจด้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติแก่ประชาชน จึงเป็นแนวทางในการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่ง ศปป.3 กอ.รมน. มีหน้าที่ในการบูรณาการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินสถานการณ์ด้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ…

10 แนวทางปฏิบัติการสำรองข้อมูลบน AWS อย่างมั่นคงปลอดภัย

Loading

Credit: AWS สำหรับผู้ใช้งาน AWS ที่สนใจเรื่อง Best Practice ในการทำ Backup วันนี้เราขอสรุปสาระจากบล็อกของ AWS มาให้ติดตามกันครับ 1.) มีกลยุทธ์ด้านการสำรองข้อมูล มีแผนการสำรองข้อมูลชัดเจน เช่น ข้อมูลส่วนใด จะทำบ่อยแค่ไหน ติดตามการสำรองและกู้คืนอย่างไร ประเมินว่าอาจมีเหตุรบกวนใดเกิดขึ้นได้บ้าง และจะส่งผลกระทบอย่างไร มีรายละเอียดการสำรองและกู้คืนเชิงลึกชัดเจน เช่น Point-in-time, Continuous Backup, ทำที่ระดับไฟล์ แอป Volume หรือ instance เป็นต้น และทำแล้วตอบโจทย์ RTO/RPO หรือไม่ กลยุทธ์ที่ดีควรมีรายละเอียดกิจกรรมย่อยที่สามารถป้องกันการโจมตีโดยละเอียด เช่น รูปแบบการกู้คือแบบข้ามบัญชี AWS หรือข้าม Region บางอุตสาหกรรมต้องคิดถึงเรื่องกฏหมายและข้อบังคับด้วยว่าจะเก็บกี่ชุด นานเท่าใด ปรึกษากับทีม Security ที่จัดทำข้อบังคับด้วยว่าทรัพยากรที่ต้อง Backup และกิจกรรมเหล่านั้นควรรวมหรือแยกจากโปรแกรมที่บังคับในองค์กร 2.) แผนการสำรองข้อมูลควรเป็นส่วนหนึ่งของการทำ DR และ BCP DR คือการเตรียมการ…

คนเอเชียกับภัยในสหรัฐฯ

Loading

  คนเอเชียคิดอย่างไรกับการใช้ชีวิตในสหรัฐฯ หลังจากมีผู้หญิงเชื้อสายเอเชียวัย 40 ปี ต้องสังเวยชีวิตให้กับความรุนแรงและการฆาตกรรมจากความคิดเหยียดสีผิวและเชื้อชาติในสหรัฐฯ โดยกลุ่มคนผิวขาวและบางครั้งเป็นชาวผิวสี และคนไทยในสหรัฐฯ คิดอย่างไรกับการมีชีวิตอยู่ในสหรัฐฯ หลังจากมีการทำร้ายคนเอเชียซ้ำซากและมีคนเสียชีวิตแล้ว รู้สึกว่ายังไม่ถึงขั้นอันตราย เสี่ยงภัยขั้นสูง หรือว่ายังใช้ชีวิตตามปกติ แต่เพิ่มความระมัดระวังมากกว่าเดิมในพื้นที่เสี่ยง หรือว่าไม่ไปไหนตามลำพัง แต่ใช้ชีวิตด้วยความกังวล อเมริกาไม่ใช่ประเทศที่มีความปลอดภัยสำหรับคนเอเชียเหมือนแต่ก่อน เพราะเป็นสังคมที่คนผิวขาวรังเกียจคนสีผิวอื่นๆ โดยพื้นฐานเดิมคือปัญหาคนผิวขาวเหยียด รังเกียจคนผิวดำ ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้คนไทยไม่รู้สึกอยากไปเที่ยวสหรัฐฯ มากเหมือนแต่ก่อนหรือไม่ สังคมอเมริกันมีปัญหาพื้นฐานระหว่างตำรวจผิวขาวใช้ความรุนแรงกับคนผิวดำ ดูเหมือนเป็นอคติ เป็นเรื่องราวใหญ่โตระดับชาติหลายกรณี และยังทำให้ผลกระทบสร้างบาดแผลหยั่งรากฝังลึกในใจของคนทุกผิวสี ปัญหานี้อาจเกิดในชุมชนใดก็ได้ ในเมืองใหญ่มีคนหลากหลายสีผิว มีปัญหาสังคม เช่น ความยากจน การว่างงาน อาชญากรรม บางกรณีการทำร้ายคนเอเชียไม่ได้เกิดจากคนผิวขาว แต่เกิดจากคนผิวดำที่ว่างงาน มีประวัติด้านอาชญากรรม สหรัฐฯ มีการจัดลำดับความสำคัญของผิวสีอย่างไม่เป็นทางการ เหมือนเป็นการรับรู้โดยทั่วไป เริ่มจากผิวขาว ถือว่าเป็นมนุษย์สุดยอด หรือ white supremacy ตามด้วยคนผิวดำ ซึ่งมีประชากรมากอันดับ 2 คนเชื้อสายเม็กซิกัน ละตินและฮิสแปนิก จากนั้นเป็นคนเอเชียซึ่งมีลำดับชั้น เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฟิลิปปินส์…

กลุ่มซีอีโอสายการบินใหญ่สหรัฐฯ เตือน ‘5G’ ส่อกระทบการบิน ‘ขั้นหายนะ’

Loading

กลุ่มผู้บริหารสายการบินหลักสำหรับผู้โดยสารและขนส่งอากาศยานของสหรัฐฯ ออกมาเตือนว่า อุตสาหกรรมการบินในอเมริกาอาจจะเผชิญวิกฤต “ขั้นหายนะ” ในเวลาอีกไม่ถึง 36 ชั่วโมง หากบริษัท AT&T และเวอไรซอน (Verizon) เริ่มให้บริการสัญญาณ 5G แบบใหม่ในวันพุธนี้ (19 ม.ค.) สายการบินต่างๆ เตือนว่าการเปิดใช้สัญญาณ 5G ผ่านย่านความถี่ C-Band อาจจะทำให้เครื่องบินชนิดลำตัวกว้างส่วนใหญ่ไม่สามารถทำการบินได้ “ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารชาวอเมริกันนับแสนๆ คนตกค้างอยู่ในต่างแดน” และจะสร้าง “ความโกลาหล” ครั้งใหญ่ต่อเที่ยวบินของสหรัฐฯ จดหมายซึ่งออกโดยซีอีโอของอเมริกันแอร์ไลน์ส, เดลตาแอร์ไลน์ส, ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ส, เซาท์เวสต์แอร์ไลน์ส, ยูพีเอสแอร์ไลน์ส, อะแลสกาแอร์, แอตลาสแอร์, เจ็ตบลูแอร์เวย์ส และเฟดเอกซ์เอ็กซ์เพรส ระบุว่า “หากศูนย์กลางการบินหลักๆ ของเราไม่ได้รับอนุญาตสำหรับการบินขึ้น-ลง การขนส่งผู้โดยสารและสินค้าส่วนใหญ่จะไม่สามารถทำได้” “ว่ากันตรงๆ ก็คือ การค้าของชาติอาจถึงขั้นหยุดชะงัก” สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) เคยออกมาเตือนว่า สัญญาณ 5G อาจจะไปรบกวนอุปกรณ์บนเครื่องบินที่มีความ “ละเอียดอ่อน” เป็นพิเศษ เช่น มาตรวัดระดับความสูง (altimeters) ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการบินในทัศนวิสัยต่ำ…