เผยด้านมืด ‘Starlink’ อินเทอร์เน็ตของ ‘มัสก์’ ช่องโหว่ให้อาชญากรเอาไปใช้

Loading

  เผย “ด้านมืด” ของอินเทอร์เน็ตดาวเทียมอย่าง “Starlink” ซึ่งเมื่ออุปกรณ์ไปตกอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดีผ่านตลาดมืดแล้ว จึงสร้างความวิตกด้านความมั่นคงขึ้น   จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าอินเทอร์เน็ตที่เราใช้ทุกวันนี้ตกอยู่ในมือของคนร้าย นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในแถบ ทวีปแอฟริกา สถานที่ซึ่งอินเทอร์เน็ตแบบสายเคเบิลเข้าถึงยาก อินเทอร์เน็ตจากดาวเทียม “Starlink” (สตาร์ลิงก์) ของบริษัท SpaceX (สเปซเอ็กซ์) จึงกลายเป็น “ความหวังใหม่” ขึ้นมา   ก่อนอื่นขอปูพื้นก่อนว่า การจะใช้ อินเทอร์เน็ต Starlink นี้ ไม่ว่าจะอยู่กับหมีขั้วโลกเหนือ ป่าดงดิบ หรือเกาะร้างก็ตาม ขอเพียงมีชุดอุปกรณ์รับสัญญาณ (Starlink Kit) ไม่ว่าจะเป็นตัวจานขนาดเท่าพิซซ่า เราเตอร์ฯลฯ พร้อมชำระค่าบริการราว 100 – 500 ดอลลาร์ตามแพ็กเกจ ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตจากดาวเทียมนี้ได้แล้ว ไม่ต้องเสียเวลาลากสาย หรือติดตั้งอะไรต่าง ๆ ให้ยุ่งยาก   ชุดอุปกรณ์ Starlink (เครดิต: SpaceX) Starlink กำลังบูมในตลาดมืด กลับมาใน “เยเมน”…

ต้องอ่าน! แนะ 5 ขั้นตอนง่ายๆ ช่วยปกป้องข้อมูลดิจิทัลของเรา

Loading

  ยุคดิจิทัลในปัจจุบัน ชีวิตของเราเต็มไปด้วยความทรงจำอันล้ำค่า วิดีโอ และทรัพย์สินดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่รูปถ่ายและวิดีโอช่วงเวลาอันน่าประทับใจของครอบครัวไปจนถึงเอกสารสำคัญ ไฟล์ดิจิทัลเหล่านี้มีคุณค่าทางจิตใจและทางการเงินมหาศาล   เมื่อชีวิตของเรากลายเป็นดิจิทัลมากขึ้น การปกป้องข้อมูลเหล่านี้จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ลองพิจารณาสถิติที่น่าสนใจเหล่านี้จากการรวบรวมของ WorldBackupDay.com พบว่ามีคนมากถึง 21% ไม่เคยสำรองข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลเนื่องจากมีโทรศัพท์ 113 เครื่องถูกขโมยทุกนาที   นอกจากนี้ เกิดการสูญเสียข้อมูลโดยไม่ตั้งใจถึง 29% ของเหตุการณ์การสูญหายของข้อมูลที่เราได้ทำการสำรวจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงช่องโหว่ของไฟล์ดิจิทัล ในขณะเดียวกัน คอมพิวเตอร์ประมาณ 30% ติดมัลแวร์อยู่แล้ว ซึ่งตอกย้ำถึงภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของข้อมูลของเรา   การสูญเสียข้อมูลอาจสร้างความเจ็บปวดต่อผู้ใช้งานในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการสูญเสียข้อมูลนั้นเกี่ยวข้องกับภาพถ่ายส่วนตัว หรือบันทึกสำคัญทางธุรกิจ และเนื่องในโอกาสวันสำรองข้อมูลโลกที่ใกล้เข้ามาในวันที่ 31 มีนาคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องทรัพย์สินดิจิทัลของเรา   เพื่อให้สอดคล้องกับธีมของปีนี้ “บันทึกความทรงจำดิจิทัล หรือ Save Digital Memories”  ทาง “ซีเกท” ขอแนะนำห้าขั้นตอนง่าย ๆ ในการปกป้องสมบัติดิจิทัล และรับประกันว่าความทรงจำอันแสนรักของคุณจะยังคงถูกเก็บรักษาไว้อีกหลายปีต่อจากนี้   1. กำหนดเวลาการสำรองข้อมูลของคุณเป็นประจำ: เมื่อพูดถึงการสำรองข้อมูล…

เกือบหนึ่งในสามของชาวอเมริกันใช้ ChatGPT สำหรับการทำงานมากขึ้น

Loading

  คนอเมริกันที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี ใช้งาน ChatGPT มากขึ้นจากปีก่อน พร้อมกันนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งของการทำงานอีกด้วย   Pew Research เปิดเผยรายงานผลวิจัยเกี่ยวกับการใช้งาน ChatGPT ในกลุ่มคนต่างๆ พบว่า ChatGPT กลายเป็นเครื่องหนึ่งของการทำงานในสังคมอเมริกัน โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานที่มีอายุน้อย   การสำรวจของ Pew ซึ่งทำเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ระบุว่า 31 เปอร์เซ็นต์ของคนทำงานชาวอเมริกันที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี ใช้งาน ChatGPT ในที่ทำงาน เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อมีนาคมปีที่แล้ว ซึ่งมีผู้ใช้งานเพียง 12 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น   การใช้ ChatGPT ในการทำงานจากผลสำรวจของ Pew   ที่น่าสนใจคือ ตัวเลขการใช้งาน ChatGPT ในการทำงานค่อย ๆ ลดลงตามกลุ่มอายุ จากผลสำรวจของ Pew ชี้ให้เห็นว่า คนวัยทำงานอายุระหว่าง 30-49 ปีใช้เครื่องมือเอไอราว 21 เปอร์เซ็นต์ และคนวัยเก๋าอายุ…

ความท้าทายในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

  การเติบโตของแพลตฟอร์มดิจิทัลช่วงสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนทำให้เกิดข้อกังวลขึ้นมาว่า กลไกการกำกับดูแลการแข่งขันและการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจไม่เพียงพอเสียแล้ว   แพลตฟอร์มเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมและข้ามสังคมที่แตกต่างไปจากในอดีต ทั้งยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกรรมทั้งที่เป็นธุรกรรมส่วนบุคคล ธุรกรรมเชิงพาณิชย์ ธุรกรรมการเงิน ตลอดจนถึงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐ   แพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมของตนเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันอีกด้วย   แพลตฟอร์มดิจิทัลมีคุณลักษณะเฉพาะหลายประการ เช่น การได้ประโยชน์จากผลของการมีเครือข่ายเพื่อการเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้ต่างๆ ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ทันที ผู้ใช้แพลตฟอร์มสามารถกำหนดเนื้อหาที่จะนำเสนอได้เอง   อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นคืออาจมีการนำเข้าข้อมูลเท็จ การใช้คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง และการควบคุมประเด็นการถกเถียงที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มให้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งจนกลายเป็นการชักนำความเห็นได้   สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของการมีกลไกเพื่อควบคุมเนื้อหาและการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ   ในด้านการค้า แพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อภาคค้าปลีกแบบดั้งเดิมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถนำเสนอความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคที่ธุรกิจแบบเดิมทำไม่ได้   นอกจากนี้แล้ว แพลตฟอร์มยังสามารถในการรวบรวมข้อมูลของผู้บริโภคแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ทำการตลาดเฉพาะบุคคล จนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลไปในทางที่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค และการใช้เพื่อสร้างแต้มต่อในการแข่งขันในตลาด จนอาจนำไปสู่การมีอำนาจเหนือตลาดได้   อีกประเด็นที่มักทำให้เกิดความกังวลคือ การดำเนินงานของแพลตฟอร์มอาจเป็นการขัดขวางการแข่งขัน (Anti-Competitive Practices) ซึ่งมักนำไปสู่การตรวจสอบอำนาจทางการตลาดของแพลตฟอร์มที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง     เหมือนที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอีกหลายประเทศ หน่วยงานในประเทศเหล่านี้ได้ตรวจสอบผลกระทบของการครอบงำจากแพลตฟอร์ม (Platform Dominance)…

ฟีเจอร์ใหม่ “Whoscall” เช็กได้ ว่ามีข้อมูลเราหลุดรั่วหรือไม่!

Loading

    Whoscall เปิดอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ พร้อมวิธีใช้งาน “ID Security” ตรวจสอบได้ ว่ามีข้อมูลเราหลุดรั่วถึงมิจฉาชีพหรือไม่!   Whoscall แอปพลิเคชันสัญชาติไต้หวัน ที่สามารถแจ้งเตือนพร้อมระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่เราไม่รู้จัก ซึ่งอาจเป็นเบอร์ของมิจฉาชีพ และยังช่วยกรองสายที่น่าสงสัยด้วยระบบ AI ได้ด้วย โดยแอปฯ นี้ เริ่มเป็นที่นิยมกว้างขวางในไทย นับตั้งแต่การระบาดของแก๊งคอลเซ็นเตอร์   ล่าสุด แอปฯ Whoscall อัปเดตการทำงานให้เหนือชั้นขึ้น ด้วยการเปิดฟีเจอร์ใหม่ ที่ช่วยเราตรวจสอบได้ว่า มีเบอร์โทรศัพท์ของเราหลุดรั่วไปอยู่ในมืออาชญากรออนไลน์หรือไม่!     การใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าว ในหน้าแรก ให้เข้าไปที่แถบ ID Security จากนั้นให้พิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของเรา เมื่อพิมพ์เข้าไปแล้ว ระบบจะตรวจสอบให้ หากไม่มีข้อมูลเราหลุดรั่ว ระบบจะขึ้นไซเรนสีเขียวพร้อมเครื่องหมายติ๊กถูก พร้อมระบุว่า ไม่มีข้อมูลของเราไม่หลุดรั่ว   แต่หากพบ ระบบจะระบุว่า ข้อมูลของเรารั่วไหลไปกี่แห่ง กี่ประเภท และรั่วไหลไปยังแพลตฟอร์มใดบ้าง   ซึ่งเราสามารถเปิดให้แอปฯ แจ้งเตือนได้โดยอัตโนมัติ หากตรวจสอบพบข้อมูลของเรารั่วไหล   นอกจากนี้…

“หมวกใบสุดท้าย” อับราฮัม ลินคอล์น ในคืนถูกลอบสังหาร ที่ถูกเก็บเป็นความลับถึง 26 ปี

Loading

อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 16 ผู้ประกาศเลิกทาสในสหรัฐฯ มีเอกลักษณ์ที่หลายคนจดจำคือ การสวมใส่ “หมวกทรงสูง” แทบจะทุกโอกาส หลายคนจึงเรียกหมวกทรงนี้ว่า หมวกลินคอล์น รวมทั้งวาระสุดท้ายที่ “โรงละครฟอร์ด” ใน ค.ศ. 1865 สถานที่ที่ลินคอล์นถูกลอบสังหาร เขาก็ยังปรากฏตัวโดยสวมหมวกทรงสูง