จีนสอดแนมนักข่าวโดยแบ่งประเภทตามสีไฟจราจร

Loading

มณฑลเหอหนานของจีนกำลังสร้างระบบสอดแนมที่ใช้เทคโนโลยีการสแกนใบหน้า ที่สามารถตรวจหานักข่าวและ “บุคคลที่น่ากังวล” อื่น ๆ ได้   เอกสารที่บีบีซี นิวส์ ได้เห็น อธิบายถึงระบบที่แบ่งผู้สื่อข่าวตามประเภทของสีไฟจราจรคือ เขียว เหลืองอำพัน และแดง ในเอกสารระบุว่า ผู้สื่อข่าวในกลุ่ม “สีแดง” จะ “ได้รับการจัดการตามความเหมาะสม” หน่วยงานด้านความมั่นคงสาธารณะของมณฑลเหอหนานยังไม่ตอบรับคำขอให้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าว เอกสารซึ่งได้รับการค้นพบโดย IPVM บริษัทด้านการวิเคราะห์การสอดแนมนี้ ยังเผยให้เห็นแผนการสอดแนม “บุคคลที่น่ากังวล” อื่น ๆ รวมถึงนักศึกษาต่างชาติ และผู้อพยพสตรี ฮิวแมนไรท์วอทช์ ระบุว่า “นี่ไม่ใช่รัฐบาลที่จำเป็นต้องมีอำนาจมากขึ้นในการติดตามตัวประชาชนจำนวนมากขึ้น…โดยเฉพาะประชาชนที่พยายามเรียกหาความรับผิดชอบจากรัฐบาล” “บุคคลน่ากังวล” เอกสารซึ่งเผยแพร่เมื่อ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยื่นข้อเสนอให้บริษัทต่าง ๆ ของจีนเข้าร่วมการประกวดสัญญาเพื่อสร้างระบบใหม่นี้ ซึ่งบริษัทที่ชนะการประกวดราคาเมื่อวันที่ 17 ก.ย. คือ NeuSoft NeuSoft ยังไม่ตอบรับคำขอให้แสดงความคิดเห็นจากบีบีซี นิวส์ ระบบนี้รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้าที่เชื่อมต่อกับกล้องหลายพันตัวในเหอหนาน เพื่อแจ้งเตือนทางการเมื่อตรวจพบ “บุคคลที่น่ากังวล” “บุคคลที่น่ากังวัล” จะได้รับการจัดประเภทเก็บไว้ในฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้วในมณฑลเหอหนาน โดยระบบนี้จะเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลแห่งชาติของจีนด้วย “ความกังวลหลัก”…

สัญญาณอันตราย ไทยอยู่อันดับ 19 ประเทศที่มีความเสี่ยงเกิด ‘การสังหารหมู่’

Loading

  ในการจัดอันดับประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการสังหารหมู่ (Countries at Risk for Mass Killing) ประจำปี 2021-2022 ไทยอยู่ในอันดับที่ 19 จาก 162 ประเทศ ขยับขึ้นมาจากอันดับที่ 42 ในปี 2020-2021 หรือกระโดดข้ามขึ้นมาถึง 23 อันดับ การจัดอันดับนี้เป็นการประเมินความเสี่ยงในระดับ Top 30 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยติดอยู่ในประเทศกลุ่มเสี่ยง 30 อันดับแรก ในตารางการประเมินความเสี่ยงในการเกิดการสังหารหมู่ประจำปี 2021-2022 ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงมาก 5 อันดับแรกคือ ปากีสถาน อินเดีย เยเมน อัฟกานิสถาน และคองโก Early Warning Project ทำการประเมินความเสี่ยงทั่วโลกทุกปีตั้งแต่ปี 2014 เมื่อโลกต้องเผชิญความเสี่ยงต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งโรฮีนจาในพม่า การสังหารประชาชนที่ซูดานใต้ เอธิโอเปีย และแคเมอรูน โครงการนี้เป็นการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว Simon-Skjodt Center for the Prevention of…

เอ.ไอ. แทรกแซงกิจการภายในของไทย

Loading

    ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดกระแสสูงทั้งการวิจารณ์ และเลยไปถึงการขับไล่ “ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นนัล ” หรือ เอ.ไอ. เรียกชื่อเป็นไทยว่า “ องค์กรนิรโทษกรรมสากล ” หนึ่งใน “ องค์กรพัฒนาเอกชน ” หรือเรียกทับศัพท์ว่า “ เอ็น.จี.โอ ” ที่มีมากมายเข้ามาทำงานในประเทศไทย หากท่านผู้ใดยังไม่ค่อยรู้จัก ลองไปค้นหาในกูเกิล ซึ่งมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับองค์กรประเภทนี้ที่กระทำการอันดูถูก ดูหมิ่น กระทบกระเทือนจิตใจของประชาชนคนไทยตลอดมา ในช่วงเวลาสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้บริหาร เอ.ไอ.ได้ออกแถลงการณ์ วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ได้ออกมาคัดค้านต่อคำตัดสินของศาลยุติธรรมไทยต่อผู้กระทำผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยอ้างว่ากระทบต่อการแสดงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งกำลังหดหายในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ เอ.ไอ.ก็ออกมาวิจารณ์ศาลไทยเป็นระยะ พฤติกรรมดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่า องค์การนิรโทษกรรมสากล กำลัง “ แทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทย ” อย่างชัดเจน โดยเฉพาะแทรกแซงอธิปไตยทางศาลยุติธรรม เปิดหน้ากันออกมาชัด ๆ อย่างนี้ก็ดี หลังจากอ้อมไปอ้อมมาเสียนาน จึงไม่น่าแปลกใจเมื่อกระแสต่อต้าน “ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นนัล “…

เผยไต๋แฮกเกอร์ หลอกผู้ใช้ Android 3 แสนราย โหลดมัลแวร์ ขโมยรหัสผ่าน

Loading

  รู้ไหมว่า แฮกเกอร์หลอกให้เราโหลดมัลแวร์ไปใส่ในเครื่องได้ยังไง ? . รายงานล่าสุดจากบริษัทรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ThreatFabric เปิดเผยว่าผู้ใช้ Android กว่า 300,000 คนติดตั้งแอปโทรจันที่ขโมยข้อมูลธนาคารของตนอย่างลับ ๆ แม้ว่า Google จะนำแอปออกและปิดใช้งานแล้ว . โดยแอปที่แอบแฝงมัลแวร์เข้ามา จะเป็นแอปที่หลายคนมักโหลดใช้งานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น แอปสำหรับสแกน QR Code , แอปสำหรับแสกนไฟล์ PDF, แอปฟิตเนตสุขภาพ และแอปคริปโตจำนวนมาก โดยแอปเหล่านี้ได้แอบโหลดมัลแวร์เข้าเครื่องผู้ใช้งานโดยไม่รู้ตัวครับ . ส่วนมัลแวร์นั้นจะมีอะไรบ้าง นักวิจัยได้แบ่งแยกออกเป็นทั้งหมด 4 ตระกูลคือ 1.Anatsa: มัลแวร์ที่ใหญ่ที่สุดในสี่ตระกูลที่มีการดาวน์โหลดรวมกันมากกว่า 200,000 ครั้ง มีการใช้โทรจันที่เรียกว่า Anatsa เพื่อใช้เข้าถึงการจับภาพหน้าจอของ Android เพื่อขโมยข้อมูลการเข้าสู่ระบบและข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ . 2.Alien: โทรจันที่มีดาวน์โหลดมากที่สุดเป็นอันดับสอง มีการติดตั้งบนอุปกรณ์ Android ไปแล้วมากกว่า 95,000 เครื่อง โดยความสามารถของ Alien นั้น…

อิสราเอล ผู้นำสตาร์ตอัพ การพัฒนา…ดาบสองคม?

Loading

  ชื่อเสียงของอิสราเอลในฐานะ “ประเทศแห่งสตาร์ตอัพ” กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่ ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา อิสราเอลผงาดขึ้นเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเทคโนโลยีที่สำคัญของโลกจากการมีระบบการศึกษาที่ล้ำหน้า อีกทั้งมีการบรรจุหลักสูตร cybersecurity และ cyberwarfare ชั้นสูง เพื่อฝึกทหารเกณฑ์ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยีแขนงนี้อย่างเข้มข้น ทำให้อิสราเอลมีคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นสาเหตุให้เทคโนโลยีส่วนใหญ่ของอิสราเอลมุ่งเน้นส่งเสริมประสิทธิภาพงานด้านทหารและภารกิจราชการลับเป็นหลัก หนึ่งในซอฟต์แวร์ “เมดอินอิสราเอล” ที่โด่งดัง ได้แก่ “Pegasus” ที่เคยช่วยรัฐบาลเม็กซิโกจับ El Chapo เจ้าพ่อค้ายาที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาแล้ว Pegasus คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ติดตั้งบนโทรศัพท์มือถือเพื่อสอดแนมบทสนทนา อีเมล์ ข้อความ และธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ อีกทั้งยังแปลงโทรศัพท์เครื่องนั้นให้กลายเป็น “เครื่องดักฟัง” ที่ถ่ายทอดเสียงและทุกความเคลื่อนไหวแบบเรียลไทม์ได้ตลอดเวลา ปฏิบัติการไล่ล่า El Chapo ประสบความสำเร็จได้เพราะมีการแอบติดตั้งซอฟต์แวร์ Pegasus บนมือถือของ El Chapo จนนำไปสู่การจับกุมในปี 2014 นับจากนั้น NSO เจ้าของ Pegasus ก็ขยับขึ้นเป็นผู้ให้บริการระดับโลกโดยมีลูกค้าเป็นหน่วยสืบราชการลับและบริษัทเอกชนชั้นนำมากมาย ส่งผลให้อิสราเอลพลอยได้หน้าในฐานะดินแดนแห่งสตาร์ตอัพที่เฟื่องฟูด้วยนวัตกรรมแห่งโลกสมัยใหม่ไปด้วย แต่ชื่อเสียงของอิสราเอลและ NSO กำลังสั่นคลอนหลังจากการสืบสวนภายใต้ความร่วมมือขององค์กรสื่อกับเอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง Amnesty…

5 คำทำนายไซเบอร์ซิเคียวริตี้ปี 2565

Loading

  ช่วงต้นปี 2565 ธุรกิจจำนวนมากจะถูกโจมตี ในขณะที่หลายองค์กรเริ่มเข้าสู่โหมดชะลอตัวก่อนถึงช่วงวันหยุดสิ้นปี และกำลังโฟกัสอยู่ที่การเตรียมให้พนักงานกลับเข้าทำงานในออฟฟิศเหมือนช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือปรับรูปแบบการทำงานให้เป็นไฮบริด มีทั้งทีมที่ทำงานจากที่บ้านและที่ออฟฟิศ สิ่งเหล่านี้อาจเบี่ยงเบนความสนใจด้านซิเคียวริตี้ และกลายเป็นโอกาสให้อาชญากรไซเบอร์แอบแฝงเข้ามาในเน็ตเวิร์คองค์กรได้โดยไม่ก่อให้เกิดความสงสัย ในปี 2565 เราจะเห็นองค์กรออกมาเปิดเผยเหตุละเมิดข้อมูลหรือการถูกโจมตีทางไซเบอร์ต่างๆ และสืบย้อนไปได้ว่าต้นเหตุของการละเมิดข้อมูลเหล่านั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี   เราใกล้จะเป็นพาสเวิร์ดของตัวเราเองแล้ว การโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการเพิ่มขึ้นมหาศาลของบัญชีออนไลน์ พ่วงด้วยแนวปฏิบัติเกี่ยวกับพาสเวิร์ดที่ไม่รัดกุมของผู้บริโภคในปัจจุบัน กำลังกลายเป็นสูตรสำเร็จที่นำสู่เหตุธุรกิจหยุดชะงักอย่างต่อเนื่อง พาสเวิร์ดที่ไม่ปลอดภัยเป็นช่องที่นำสู่การเจาะข้อมูล และนำสู่เหตุพาสเวิร์ดรั่วไหลอื่นๆ ต่อไปอีก จนกลายเป็นวงจรอันตราย การพัฒนาของ AI และเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์จะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกรูปแบบการพิสูจน์ตัวตนอื่นๆ เพิ่มขึ้น เราเริ่มคุ้นเคยกับการใช้ Face ID, ลายนิ้วมือ หรือการพิสูจน์ตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์รูปแบบอื่นๆ ที่วันนี้กลายเป็นตัวเลือกที่ผู้ให้บริการหลายรายเลือกใช้ จริงๆ แล้วผู้บริโภคย่อมไม่สามารถจดจำหรือจัดการพาสเวิร์ดที่แตกต่างกันมากกว่า 20 พาสเวิร์ดได้ และหลายคนก็ไม่ได้ใช้เครื่องมือจัดการพาสเวิร์ด แต่เมื่อมองในแง่ความสะดวก และยิ่งเมื่อการพิสูจน์ตัวตนรูปแบบต่างๆ มีความสะดวกปลอดภัยมากขึ้น เราจะเริ่มเห็นการใช้งานลักษณะนี้มากยิ่งขึ้น   การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทหนึ่ง จะนำสู่การขู่รีดไถอีกบริษัทหนึ่ง การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จะเพิ่มมากขึ้น ภายใต้ความพยายามในการเพิ่มรายได้และปิดจ็อบให้เร็วยิ่งขึ้น ในปี 2565 เราจะเริ่มเห็นแรนซัมแวร์เรียกค่าไถ่แบบขู่กรรโชกสามชั้นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นกับองค์กรหนึ่ง จะกลายเป็นภัยคุกคามขู่กรรโชกไปยังคู่ค้าทางธุรกิจขององค์กรนั้นๆ ด้วย…