“ภัยไซเบอร์” ระบาดหนัก!! เมื่อโลกถูกโจมตีทุก 11 วินาที

Loading

  การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน “แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง” คือ ตัวการใหญ่ “เดลล์” ชี้ภัยไซเบอร์จากนี้ อาจลุกลามใหญ่โตมากกว่าเดิม นพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจาก ภัยไซเบอร์ อาจลุกลามเป็นเรื่องใหญ่โตมากกว่าเดิม สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระบบการเข้าถึงแบบทางไกลนั้น กลายเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้นกว่าเดิม บทความจากเว็บไซต์ของ McKinsey ชี้ว่ามีการทำ ฟิชชิ่งเพิ่มมากขึ้นเกือบ 7 เท่านับตั้งแต่การเกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยที่อาชญากรไซเบอร์เลือกใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในการอัปเดตตัวช่วยกรองระบบอีเมลและเว็บไซต์ที่ล่าช้า ในการกำหนดเป้าหมายสำหรับการโจมตีที่เป็นผู้ใช้งานระบบจากระยะไกล ความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีและความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้หน่วยงานของภาครัฐทั้งหลายควรจะต้องเร่งในการวางแผนในเรื่องของ “แนวทางในการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์อย่างยึดหยุ่น” หรือ Cyber Resilience โดยที่ต้องสามารถป้องกัน ตอบสนองและกู้คืนได้อย่างรวดเร็วหลังเกิดการโจมตี เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแรงพร้อมสำหรับการฟื้นตัวตามสภาพเศรษฐกิจของโลก สูญเสียไปมาก กับเรื่องของการโจมตีทางไซเบอร์ การโจมตีด้วย แรนซัมแวร์ และรูปแบบอื่นๆ ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น กลายเป็นรูปแบบของการโจมตีที่แพร่หลายและสร้างความเสียหายมากกว่าที่เคยเป็นมา โดยมีเป้าไปที่องค์กรหลักและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมากขึ้น อย่างเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื่อเพลิงหลายวัน หลังจากที่…

ARV เผยโฉม “Horrus” โดรนขับเคลื่อนอัตโนมัติ ครั้งแรกของไทย! ตอบโจทย์ภาคอุตฯ

Loading

  บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (เออาร์วี) พัฒนา “Horrus: Fully Automated Drone Solution” เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับที่ขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ ปลดล็อกข้อจำกัดเดิมๆ นำร่องใช้งานในพื้นที่ศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. พรเตรียมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ธนา สราญเวทย์พันธุ์ General Manager, บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ผู้นำด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ในเครือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า พันธกิจที่สำคัญของ ARV ในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชั้นสูงสำหรับสนับสนุนกิจกรรมการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับ ปตท.สผ. และต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ ภาคเกษตรกรรม กลุ่มธุรกิจก่อสร้างและกลุ่มธุรกิจพลังงาน     ซึ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial…

แม่รู้ดี แชทบอท ตัวช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อความ-ข่าวสาร ผนึกพันธมิตรใหม่ เสริมความแกร่งฐานข้อมูล

Loading

  แม่รู้ดี แชทบอท ตัวช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อความ-ข่าวสาร ผนึกพันธมิตรใหม่ เสริมความแกร่งฐานข้อมูล แม่รู้ดี แชทบอทตรวจสอบข้อเท็จจริงอัจฉริยะที่เชื่อมโยงเข้ากับแอปพลิเคชั่น LINE ที่มีผู้ใช้งานกว่า 50 ล้านคนในประเทศไทย ให้เข้าถึงฐานข้อมูลที่กว้างที่สุดเพื่อตรวจสอบข้อมูล-ข่าวสาร ร่วมมือกับองค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงชั้นนำของไทย 5 แห่งเพื่อต่อสู้กับข้อความเท็จและและข้อความที่เป็นอันตรายที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยแม่รู้ดีสามารถใช้ตรวจสอบข้อความที่น่าสงสัยแบบเรียลไทม์และช่วยปกป้องคนไทยจากข่าวปลอมและข้อความหลอกลวงออนไลน์ ฐานข้อมูลพันธมิตรของแม่รู้ดีครอบคลุมหัวข้อและข่าวสารที่หลากหลาย รวมถึงด้านสุขภาพ การเมือง โควิด และเศรษฐกิจ เป็นต้น     เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและระบุข้อความที่น่าสงสัย แม่รู้ดีได้ร่วมมือกับองค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงชั้นนำ 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย, ไทยดีไอแมชีน (Thai D.I. Machine), อย. เช็ก ชัวร์ แชร์, COFACT ประเทศไทย และ สปริงนิวส์ เพื่อตรวจสอบข้อความแบบเรียลไทม์เมื่อมีการแชร์บนแชท LINE แม่รู้ดีจะช่วยตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่แท้จริงและได้รับการยืนยันกับผู้ใช้งาน ทั้งข้อมูลด้านสุขภาพ ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 การเงิน การเมือง และข่าวทั่วไป จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกโดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมช่วงระหว่าง 1 ตุลาคม…

ตามให้ทัน “เมตาเวิร์ส” หวั่นภัยไซเบอร์ลุกลาม

Loading

  กลายเป็นประเด็นให้พูดถึงในวงกว้างสำหรับ เมตาเวิร์ส (metaverse) หลังจากที่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง เฟซบุ๊ก (Facebook) ได้ประกาศรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อ บริษัท ใหม่ เป็น เมตา (Meta) ภายในงานประชุม Connect 2021 ขณะเดียวกันยังประกาศวิสัยทัศน์แบบก้องโลก ที่จะผลักดัน “เมตาเวิร์ส” สู่การใช้งานในชีวิตจริง ซึ่งเมตาเวิร์ส ถือเป็นยุคต่อไปของการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยขยายประสบการณ์สู่รูปแบบ “สามมิติ” หรือมีการแสดงภาพสู่โลกแห่งความจริง และเปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถแชร์ประสบการณ์โลกเสมือนจริงหรือโลกดิจิทัลแก่ผู้อื่น ที่สามารถโต้ตอบ แบ่งปันและใช้พื้นที่เสมือนจริงร่วมกันได้ ผ่าน “อวาตาร์” ที่เป็นตัวแทนของเราในโลกเสมือน หลังจากเมตาเวิร์ส ถูกจุดประเด็นขึ้น ยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศ ทั้ง “ไมโครซอฟท์” หรือบริษัทบันเทิง อย่าง “ดิสนีย์” ก็ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องการเชื่อมโยงโลกดิจิทัลให้ ใกล้ชิดกับคนมากยิ่งขึ้นในรูปแบบ “โลกเสมือนจริง” ผ่านเทคโนโลยีวีอาร์ (Virtual reality) หรือการจำลองสภาพแวดล้อมจริงในโลกเสมือนจริง และเทคโนโลยี เออาร์ (Augmented reality) ที่เป็นเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนเข้ากับโลกความเป็นจริง   ภาพจาก Meta (เฟซบุ๊ก)   “เมตาเวิร์ส” จึงกลายเป็นเรื่องใหม่ที่คนเฝ้าติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่าในอนาคตข้างหน้าเทคโนโลยีนี้จะเปลี่ยนการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างเราไปอย่างไร? สำหรับประเทศไทยแล้วในมุมมองของผู้ที่อยู่ในแวววงไอที มีมุมมองในเรื่องนี้อย่างไร?? “บุญเลิศ นราไท”ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เออาร์ไอพี บอกว่า ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าในไทยคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะเป็นที่นิยม เพราะในต่างประเทศบริษัทต่าง ๆ เพิ่งเริ่มให้ความสำคัญ…

5 สิทธิอนุญาต (app permission) บนสมาร์ทโฟน ที่ต้องระวังเช็คทุกวัน ป้องกันข้อมูลส่วนตัวถูกขโมย

Loading

  5 สิทธิอนุญาต (app permission) บนสมาร์ทโฟน เชื่อว่าทุกคนเคยให้แอปบนโทรศัพท์ของคุณได้รับอนุญาตให้ทำบางสิ่งโดยไม่ได้คิดอะไรหรือไม่? หลายคนให้สิทธิ์แม้ที่ละเอียดอ่อน เช่น เข้าถึงกล้อง ไมโครโฟน และตำแหน่งของคุณทันทีที่ปรากฏ บทความนี้มาดูเรื่องสำคัญเกี่ยวกับประเภทการอนุญาตมือถือที่อันตรายที่สุด และวิธีที่แอปอันตรายอาจใช้ในทางที่ผิดเพื่อขโมยข้อมูลเกี่ยวกับคุณก็เป็นได้ ดังนั้นขณะติดตั้งและใช้แอป ต้องทบทวนเกี่ยวกับสิทธิ์อนุญาตของแอปมือถือด้วย ทั้ง iPhone และ Android   5 สิทธิอนุญาต (app permission) บนสมาร์ทโฟน ที่ต้องระวังเช็คทุกวัน       1. ไมโครโฟน ไม่แปลกใจเลยที่แอปบันทึกเสียงต้องการเข้าถึงไมโครโฟนของคุณ เป็นเรื่องขึ้นมาเมื่อมีเกมฟรีที่คุณเพิ่งติดตั้งมาขอการอนุญาตเข้าถึงไมโครโฟน ในปี 2017 The New York Times รายงานว่ามีเกมหลายร้อยเกมบน Google Play และบางเกมใน App Store ถูกรวมเข้ากับซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Alphonso Automated Content Recognition ซึ่ง ซอฟต์แวร์ของ Alphonso ใช้ไมโครโฟนของอุปกรณ์ของคุณเพื่อระบุภาพยนตร์และรายการทีวีที่กำลังเล่นอยู่รอบตัวคุณ…

รู้ทัน 4 ขั้นตอน กลโกงแก๊ง “เงินกู้ออนไลน์”

Loading

  รู้ทัน 4 ขั้นตอนกลโกงมิจฉาชีพที่อาศัยช่วงที่ประชาชน หาแหล่งเงินกู้ แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการ “เงินกู้ออนไลน์” แล้วหลอกลวงเงินจากประชาชน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย โปรดสังเกตตรวจสอบให้แน่ใจ ก่อนตัดสินใจกู้เงิน   ปัจจุบันโลกของการสื่อสารออนไลน์ เข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตประจำวันของเรา ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด -19 ระบาด วิถีชีวิตของเราก็ถูกปรับเปลี่ยนไป เราหันมาพึ่งการติดต่อสื่อสารออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะการจับจ่ายซื้อของ การทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือ และด้วยความสะดวกสบายนี้เหล่ามิจฉาชีพสบช่องทางในการหลอกลวงได้ง่ายดายหากไม่ระมัดระวัง   ซึ่งการหลอกลวงก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งในระยะหลังจะพบปัญหาการหลอกลวงกรณีการกู้เงินออนไลน์ ผ่านแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะกวาดล้างจับกุมมาเป็นระยะ แต่ก็ยังมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งปล่อยเงินกู้ออนไลน์เหล่านี้   อย่างกรณีล่าสุด ที่ตำรวจไซเบอร์ เปิดปฏิบัติการ “ล่าแอพเงินกู้โหด เหนือจรดใต้” บุกค้น 8 จุด ในพื้นที่ 6 จังหวัด อันสืบเนื่องจาก มีผู้เสียหายชาวกำแพงเพชร หลงกลแก๊งมิจฉาชีพไปทำเรื่องกู้เงินออนไลน์ จาก 6 แอปพลิเคชั่น และเว็บไซต์กู้เงิน แต่แทนที่จะได้เงินตามที่ต้องการกลับถูกหลอกให้โอนเงิน โดยอ้างมีค่าดำเนินการ ต่างๆ นานา…