DSI รร.นายร้อยตำรวจ นิติวิทย์ฯ ขานรับแนวทาง “การสัมภาษณ์เพื่อหาความจริง” เตรียมทดลองใช้จริง

Loading

  “การสัมภาษณ์เพื่อหาความจริง” หรือ Investigative Interview เป็นแนวทางการสืบสวนสอบสวนคดีของตำรวจในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งยึดหลักการในการสอบสวน “สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์” จึงเน้นไปที่การสัมภาษณ์เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงมากกว่าการตั้งเป้าหมายให้ได้คำรับสารภาพจากผู้ต้องสงสัย นี่เป็นแนวทางที่เคยถูกนำมาฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานในประเทศไทยเมื่อปี 2562 แนวทางนี้เป็นหนึ่งในข้อเสนอที่ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้งในเวทีเสวนาที่จัดขึ้นโดย สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ภายใต้ชื่อ TIJ Forum ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ Way Out : หนทางใหม่สู่การค้นหาความจริง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากประเทศนอร์เวย์มาอธิบายถึงหลักการสัมภาษณ์เพื่อหาความจริง หลังมีผลสำรวจของ TIJ Poll จากคดี “อดีตผู้กำกับโจ้” ทำร้ายผู้ต้องสงสัยจนเสียชีวิต ระบุว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมลดลงอย่างมาก และต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เชิงโครงสร้างอำนาจในกระบวนการยุติธรรมไปจนถึงกระบวนการสืบสวนสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงในคดี TIJ Forum จัดขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ในหัวข้อ “WAY OUT: หนทางใหม่สู่การค้นหาความจริง” (ภาคต่อ) โดยมี 3 หน่วยงานสำคัญในกระบวนการยุติธรรม คือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ…

“โทริหมะ” อาชญากรรมไม่เลือกหน้าในญี่ปุ่น

Loading

ภาพจาก www.sankei.com   สวัสดีค่ะเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน หลายท่านคงได้ข่าวหนุ่มญี่ปุ่นถือมีดไล่แทงผู้โดยสารบนรถไฟเมื่อวันฮาโลวีนที่ผ่านา อาชญากรรมแบบทำร้ายคนแบบไม่เลือกหน้าในที่สาธารณะเช่นนี้เกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้วในญี่ปุ่น ทั้งที่ญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่แสนจะปลอดภัย เมื่อวันฮาโลวีนที่ผ่านมา (31 ต.ค.) เกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญภายในรถไฟสายเคโอที่กรุงโตเกียว เมื่อหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งถือมีดแทงผู้คนภายในขบวนรถ ก่อนจุดไฟเผาตู้รถไฟ บรรดาผู้โดยสารต่างหนีเอาชีวิตรอด ปีนออกทางหน้าต่างกันจ้าละหวั่น เหตุการณ์นี้มีผู้บาดเจ็บกว่า 10 ราย และมีคุณปู่วัย 70 ปีคนหนึ่งถูกคนร้ายแทงอาการสาหัส คนร้ายแต่งชุดคอสเพลย์เลียนแบบ “โจ๊กเกอร์” ตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง “แบทแมน” หลังก่อเหตุเขานั่งสูบบุหรี่ภายในตู้โดยสาร รอให้ตำรวจจับกุมอย่างไม่ประหวั่นพรั่นพรึง และยังบอกกับตำรวจว่าต้องการโดนประหารชีวิต พลางโอดครวญว่าตนเองมีปัญหาเรื่องงาน อีกทั้งความสัมพันธ์กับเพื่อนก็ไม่ดี ก่อนหน้านั้นไม่ถึง 3 เดือนก็มีคดีคล้ายกันเกิดขึ้นบนรถไฟสายโอดะคิว ซึ่งในคดีนั้นคนร้ายก็พยายามจะจุดไฟเผาขบวนรถไฟแต่ทำไม่สำเร็จ และในคดีโจ๊กเกอร์นี้คนร้ายก็บอกว่า คดีรถไฟสายโอดะคิวที่ผ่านมาก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงมือของเขาในครั้งนี้ด้วย   ลักษณะเด่นของ “โทริหมะ” ผู้ก่ออาชญากรรมแบบไม่เลือกหน้า ญี่ปุ่นเรียกอาชญากรประเภทนี้ว่า “โท-ริ-หมะ” (通り魔) หมายถึงคนร้ายที่จู่โจมทำร้ายคนที่ผ่านไปมาทั้งที่ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน แบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ก่อเหตุในจุดเดียว ก่อเหตุในหลายจุดภายในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน และก่อเหตุแบบต่อเนื่อง  …

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล : บทบาทและหน้าที่ตามกฎหมาย

Loading

  “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” เป็นคำใหม่ในระบบกฎหมายไทยและมีความหมายเฉพาะตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ   HIGHLIGHTS ในแต่ละองค์กร ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล คือองค์กรที่เป็นนิติบุคคล ไม่ใช่พนักงานหรือส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งภายในองค์กร สถานะ หน้าที่และความรับผิดในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ไม่สามารถมอบหมายไปยังบุคคลอื่นได้ พนักงานภายในองค์กรในบริบทของสัญญาจ้างพนักงานไม่ใช่ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในบริบทของกิจกรรมการประมวลผลหนึ่ง ๆ บุคคลธรรมดาที่จะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามนิยามในกฎหมายนี้ต้องไม่ใช่ผู้ที่ทำการประมวลผลในนามหรือตามคำสั่งขององค์กรที่ตนสังกัด เนื่องจากเจตนารมณ์ของกฎหมายไม่ต้องการให้แยกการดำเนินการของบุคคลต่าง ๆ ในองค์กรออกจากองค์กรที่ตนเองสังกัด บุคคลธรรมดาซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ ในกรณีที่ประกอบกิจการเจ้าของคนเดียวโดยที่ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลแยกต่างหากจากบุคคลที่เป็นเจ้าของ   พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎหมายไว้กับบุคคลสองกลุ่ม ได้แก่ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเป็นระบบ   พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ กำหนดว่า “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (“การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”) และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล   จากบทนิยามดังกล่าว อาจจำแนกลักษณะและองค์ประกอบของความเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล…

อัฟกานิสถาน : ตาลีบันกับสงครามลับกำจัดไอเอสป่วนเมือง

Loading

  ทุก ๆ 2-3 วัน ศพถูกนำมาทิ้งที่ชานเมืองจาลาลาบัดทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน   บางศพอยู่ในสภาพถูกยิงหรือไม่ก็ถูกแขวนคอ บางศพถูกถูกตัดคอ ในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกงของผู้ตายหลายคนมีกระดาษที่เขียนด้วยลายมืออ้างว่าพวกเขาเป็นสมาชิกของสาขาของรัฐอิสลาม หรือ ไอเอส ในอัฟกานิสถาน ไม่มีใครยอมรับว่า เป็นผู้ลงมืออย่างโหดเหี้ยมในการสังหารที่ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายนี้ แต่คนจำนวนมากเชื่อว่า เป็นฝีมือของตาลีบัน ไอเอสก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายในเดือน ส.ค. ที่ด้านนอกสนามบินกรุงคาบูล ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 150 คน และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของตาลีบัน ทั้งสองกลุ่มกำลังต่อสู้กันอย่างบ้าระห่ำ โดยมีเมืองจาลาลาบัดเป็นสมรภูมิของการสู้รบ   ตอนนี้อัฟกานิสถานมีความสงบมากขึ้นแล้ว หลังตาลีบันยุติการสู้รบเมื่อเข้ายึดประเทศได้ แต่ในเมืองจาลาลาบัด กองกำลังของตาลีบันเผชิญกับการโจมตีตามเป้าหมายสำคัญเกือบทุกวัน ไอเอส หรือที่คนในท้องถิ่นรู้จักในชื่อว่า “ดาเอช” กำลังใช้ยุทธวิธีตีแล้วหนีเช่นเดียวกับที่ตาลีบันใช้กับรัฐบาลอัฟกานิสถานก่อนหน้านี้จนประสบผลสำเร็จ รวมถึงการวางระเบิดริมถนน และการลอบสังหาร ไอเอสกล่าวหาตาลีบันว่า “ละทิ้งศาสนา” จากการที่ไม่มีความสุดโต่งมากพอ ด้านตาลีบันเห็นไอเอสว่า เป็นพวกมีแนวคิดสุดโต่งนอกรีต ในจังหวัดนันการ์ฮาร์ ที่ตั้งของเมืองจาลาลาบัด หัวหน้าของหน่วยข่าวกรองของตาลีบันคือ ดร.บาเชียร์ เขามีชื่อเสียงในด้านความโหดร้าย ก่อนหน้านี้เขาเคยช่วยขับไล่ไอเอสออกไปจากฐานที่มั่นขนาดเล็กที่ ไอเอสก่อตั้งขึ้นในจังหวัดคูนาร์ที่อยู่ข้างเคียง   ดร.บาเชียร์ปฏิเสธส่วนเกี่ยวข้องกับซากศพที่ถูกทิ้งไว้ให้คนดูริมถนน แต่เขากล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า คนของเขาได้จับกุมสมาชิกไอเอสหลายสิบคน นักรบไอเอสจำนวนมากที่ถูกจำคุกในสมัยของรัฐบาลปัจจุบัน หลบหนีออกจากเรือนจำไปในช่วงที่เกิดความวุ่นวายจากการที่ตาลีบันยึดครองประเทศอัฟกานิสถาน…

แนวคิดทางอาชญากรรมไซเบอร์กับเงินในบัญชีที่หายไป

Loading

  ในยุคที่ทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อการทำงานกับอินเทอร์เน็ตได้ (Internet of things) ปฏิเสธไม่ได้ว่าความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์หรือทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง   กฎหมายนอกจากจะต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทางกายภาพแล้ว ในทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ไซเบอร์) ก็ควรขยายขอบเขตให้ได้รับความคุ้มครองด้วยเช่นเดียวกัน   “อาชญากรรมไซเบอร์” ยังไม่มีนิยามที่เป็นที่ยอมรับสากล หากแต่อาจแยกลักษณะร่วมกันได้ เช่น เหตุเกิดในพื้นที่ไซเบอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลักษณะการกระทำ ผลของการกระทำ ผู้กระทำ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ อุปกรณ์เครื่องมือหรือวิธีการ เป็นต้น และอาจจะกล่าวได้ว่าอาชญากรรมไซเบอร์เป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง   จากเหตุการณ์ที่มีผู้ได้รับความเสียหายจำนวนมากเนื่องจากเงินในบัญชี หรือบัตรเครดิต/เดบิต หายไป ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนอย่างยิ่ง บางท่านอาจต้องเปิดดูเงินในบัญชีออนไลน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าเงินในบัญชีไม่หายไปใช่หรือไม่   ข้อสันนิษฐานหนึ่งที่เป็นสาเหตุดังกล่าวคือ “เกิดจากมิจฉาชีพสุ่มยิงบอท” ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจัดได้ว่าเป็นอาชญากรรมไซเบอร์ในกลุ่มความผิดต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์   ตามอนุสัญญาอาชญากรรมไซเบอร์และกฎหมายของประเทศไทยยังไม่ได้มีการกำหนดความผิดสำหรับบอทเน็ต (Botnet) ไว้โดยเฉพาะ แต่ฐานความผิดที่มีอยู่อาจนำมาปรับใช้ได้ตามลักษณะพฤติกรรมและข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป และอาจเกี่ยวข้องกับความผิดหลายฐานได้ เช่น   ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (2)…

ชำแหละอดีต ปัจจุบัน อนาคต “ข้อพิพาททะเลจีนใต้” กับบทบาทของไทย

Loading

  เรียบเรียงปัญหา “ข้อพิพาททะเลจีนใต้” ที่ดำเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์กำลังคุกรุ่น   “ทะเลจีนใต้” เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลกและสิ่งแวดล้อม และมีผลประโยชน์มหาศาลที่หลายประเทศจับจ้อง จนเกิดเป็นข้อพิพาทที่ดำเนินมายาวนานหลายสิบปี และย้อนไปได้นานนับร้อยนับพันปี ข้อพิพาททะเลจีนใต้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า จะเกิดผลกระทบอะไรกับประเทศไทยและอาเซียนบ้าง นำมาสู่การชำแหละสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้ในงานสัมมนาออนไลน์ “ไขปัญหาทะเลจีนใต้ ความหวัง ความจริง และท่าทีของสหรัฐอเมริกา”     โดยงานสัมมนาดังกล่าวเป็นความร่วมมือของ สมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย สถานทูตอเมริกา และศูนย์เอเชียแปซิฟิกศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   ข้อพิพาททะเลจีนใต้คืออะไร รศ.ดร.ภูมิ มูลศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เท้าความให้ฟังว่า ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์บางส่วน และทั้งหมด บริเวณเหนือดินแดน และอธิปไตยในน่านน้ำทะเลจีนใต้ หมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) และหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) “พื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลจีนใต้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และยังเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าทางทะเลที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ดังนั้น ทะเลจีนใต้จึงมีความสำคัญในมิติเชิงยุทธศาสตร์เชิงเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศอ้างกรรมสิทธิ์ และส่งผลไปสู่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีต” คณบดีกล่าว   ข้อมูลจาก ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) พบว่า…