Facebook ทำเงินจากคุณได้อย่างไร และล้วงข้อมูลอะไรไปบ้าง !?

Loading

  Facebook ทำเงินจากคุณได้อย่างไร และล้วงข้อมูลอะไรไปบ้าง !? ในทุก ๆ วัน มีคนเกือบ 2,000 ล้านคนทั่วโลกที่กำลังไถฟีด Facebook (เฟซบุ๊ก) และในทุก ๆ วันมีกว่า 300 ล้านภาพ ที่ถูกอัปโหลดเก็บไว้บนเฟซบุ๊ก เอาหน่วยย่อยลงมาหน่อย ในทุก 1 นาที มี 590,000 คอมเมนต์ และ 290,000 สเตตัสเกิดขึ้นบนเฟซบุ๊ก เราอาจคิดว่าเราทุกคนกำลังใช้เฟซบุ๊ก แต่แท้จริงแล้วเฟซบุ๊กกำลังใช้เรา 2,895 ล้านคนคือจำนวนของบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กล่าสุด ณ ปัจจุบัน ถ้าถามถึงสัดส่วนประชากรโลกก็เพียง 36 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง อ้าว! ยังไม่ถึงครึ่งอีกหรอเนี่ย แต่นั่นก็ทำให้เฟซบุ๊กกลายเป็นโซเซียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก และคงไม่เกินเลยที่จะกล่าวว่า เฟซบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังที่สุด และมีอิทธิพลต่อผู้คนทั่วโลกมากที่สุด รวมทั้งเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจ สังคม จนไปถึงการเมืองได้เลย   รายได้ล่าสุด เมื่อครองโลกได้ขนาดนี้จึงไม่แปลกใจนัก ที่บริษัทเฟซบุ๊กจะทำเงินมหาศาล โดยตัวเลขล่าสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2021…

วิธีเปิด Facebook Protect ยืนยันตัวตน เพื่อความปลอดภัย หากไม่ยืนยันจะถูกล็อกบัญชี

Loading

    วิธีเปิด Facebook Protect ยืนยันตัวตน ภายใน 15 วันก่อนถูกล็อกบัญชี เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน facebook ของคุณ ซึ่งเป็นการตั้งค่าให้บัญชี facebook มีความปลอดภัยขึ้นระดับสูงสุด หากคุณไม่ยอมตั้งค่าเปิดใช้งาน Facebook Protect ภายในเวลาที่กำหนด บัญชีของคุณจะถูกล็อก ไม่สามารถเข้าสู่ระบบของ facebook ได้ทันที จะบังคับให้ไปตั้งค่าเปิด Facebook Protect ให้เรียบร้อย   วิธีเปิด Facebook Protect บนแอป Facebook   แตะที่ไอคอน เมนู >> เลือก การตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว >> เลือก การตั้งค่า แล้วเลือกที่ รหัสผ่านและการรักษาความปลอดภัย เลือกที่ Facebook Protect (สังเกตระบุว่า ยังปิดอยู่)   จะขึ้นข้อความแนะนำบริการ Facebook Protect ให้แตะที่ ถัดไป…

ไขข้อสงสัย!! Facebook Protect คืออะไร?? ต้องเปิดใช้งาน ไม่นั้นจะใช้งานเฟซบุ๊กไม่ได้

Loading

  เมื่อวานนี้หลาย ๆ คนคงจะได้รับการแจ้งเตือนจาก Facebook ให้เปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งเป็นฟีเจอร์ความปลอดภัยของเฟซบุ๊ก​ (Facebook) ที่บังคับให้ผู้ใช้เปิดใช้งาน มิเช่นนั้นผู้ใช้จะไม่สามารถใช้บริการเฟซบุ๊กได้จนกว่าจะเปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งก็มีผู้ใช้หลาย ๆ คนที่วิตกกังวล ว่าควรเปิดใช้งานดีหรือไม่ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ Facebook Protect กันดีกว่า ว่าตกลงแล้วคืออะไร??     เดิมทีเมื่อปีที่แล้ว Facebook Protect มีให้บริการในเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่บัญชีของนักการเมือง พรรคการเมือง หน่วยงานราชการ กรรมการการเลือกตั้ง และผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของเพจที่ได้รับการรับรอง (เครื่องหมายถูกสีฟ้า) ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้ง ที่มีการกำหนดว่าผู้ใช้จะเป็นที่จะต้องตั้งค่าการยืนยันตัว 2 ขั้นตอน และเปิดให้เฟซบุ๊กสามารถมอนิเตอร์การใช้งานเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติเพื่อป้องกันการโดนแฮกนั่นเอง     ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีรายงานจาก Axios ว่าในปี 2021 นี้ เฟซบุ๊กจะมีการขยายประเทศที่ให้บริการ Facebook Protect กับประเภทบัญชีที่กว้างมากยิ่งขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ใช้บางคนในประเทศไทยได้รับการแจ้งเตือนดังกล่าว ซึ่งถ้าไม่เปิดใช้งานภายใน 15 วัน…

PwC เตือน “แรนซัมแวร์” โจมตีพุ่ง!! แนะธุรกิจไทยคุมเสี่ยงจาก “บุคคลภายนอก”

Loading

  PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วย ซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก อีกทั้งให้ความสำคัญกับสุขลักษณะที่ดีต่อความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการรับมือภัยคุกคามและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา และหัวหน้าสายงานกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า การโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้เรียกค่าไถ่ข้อมูล โดยขโมยข้อมูลด้วยการเข้ารหัส หรือล็อกไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงหรือเปิดไฟล์ได้และเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าไถ่ (Ransomware) จะเป็นภัยไซเบอร์ที่พบมากที่สุดในปี 2565   “การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จะกลายมาเป็นภัยไซเบอร์ที่มีแนวโน้มการเกิดมากที่สุดในระยะข้างหน้า โดยเราจะเห็นว่า แรนซัมแวร์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มสถาบันการเงินและโรงพยาบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ภัยไซเบอร์ที่พบมากจะเป็นมัลแวร์ประเภทไวรัส โทรจัน และโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการโจมตีและเข้าถึงข่อมูลที่มีความอ่อนไหว” วิไลพร กล่าว   ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลที่สาม (Third-party…

โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ

Loading

  โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ เทคโนโลยีดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์แทบจะทุกขณะของจังหวะชีวิต บางคนบอกว่าเป็นสังคมก้มหน้าที่ทุกคนจดจ้องกับสมาร์ตโฟนในมือตัวเอง หลายคนโอดครวญว่าโซเชียลมีเดียได้พรากเอาเวลาชีวิตอันแสนมีค่าไปจากตน ปัจจุบันเรามีวิธีจัดการเวลาในการใช้โซซียลมีเดียแบบดิจิตอลมินิมัลลิสม์ (digital minimalism) นักปรัชญาจำนวนมากก็ตื่นตัวกับประเด็นเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งผลกระทบที่ส่งผลต่อชีวิตและสังคม     โรแบร์โต ซิมานอฟสกี (Roberto Simanowski) เป็นนักปรัชญาและนักทฤษฎีสื่อชาวเยอรมัน ที่ตั้งคำถามต่อเทคโนโลยีดิจิตอลได้แหลมคมที่สุดคนหนึ่ง หนังสือ The Death Algorithm and Other Digital Dilemmas (2018) เป็นรวมความเรียงที่แสดงให้เห็นอันตรายของเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งทางออกที่เป็นไปได้ที่จะอยู่กับเทคโนโลยีดังกล่าว เขาเห็นว่าปัญหาอยู่ที่การมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลาง และสามารถใช้ไปในทางที่เป็นคุณหรือโทษก็ได้ โดยไม่ตระหนักว่าเทคโนโลยีมีสารัตถะของตัวเอง   จริงอยู่เราอาจใช้ปืนพกตอกตะปูได้ แต่ก็ไม่มีใครทำเช่นนั้น การเรียกร้องให้ใช้โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook โดยแสดงความคิดเห็นอย่างจริงจังด้วยการคอมเมนต์ในรูปของความเรียง ก็ไม่ต่างอะไรกับการใช้ปืนพกไปตอกตะปู   ซิมานอฟสกีเห็นว่าเราจะเข้าใจเทคโนโลยีได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจสารัตถะ (essence) ของมัน เขากลับไปหาแนวคิดของนักปรัชญาเยอรมันอย่างมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ ผู้เห็นว่า สารัตถะของเทคโนโลยีไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยีเลย หากแต่เป็นการเปิดเผย (revealing) นั่นคือเทคโนโลยีต้องการเปิดเผยตัวมันเองออกมา เราเห็นได้จากการที่ความเปลี่ยนแปลงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา  …

อัปเดตร่างกฎหมาย Digital Platform กับข้อสงสัยที่ใคร ๆ อยากรู้

Loading

  (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. .… ซึ่ง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนมาอย่างต่อเนื่อง และได้ปรับแก้ตามข้อคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยหลังผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) ไปแล้ว ปัจจุบัน ร่างนี้ อยู่ในขั้นนำเสนอให้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พิจารณา (ดาวน์โหลดร่างล่าสุดได้ท้ายบทความ) ซึ่งยังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนก่อนประกาศใช้   1. กฎหมายฉบับนี้กำหนดหน้าที่อะไรบ้าง (ตอบ)  ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ นี้ มุ่งเน้นไปที่การควบคุมดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยกำหนดหน้าที่ในการประกอบธุรกิจ ในเรื่องหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ 1) หน้าที่ในการแจ้งให้ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ 2) หน้าที่เพิ่มเติม สำหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะหรือประเภทตามที่ ETDA ประกาศกำหนด ในการแจ้งข้อมูลที่จำเป็นให้ผู้ใช้บริการทราบอย่างชัดเจนก่อนหรือขณะใช้บริการ 3) หน้าที่เพิ่มเติม สำหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่หรือที่มีลักษณะเฉพาะ ตามประกาศของ ETDA โดยความเห็นชอบของ คธอ.   2. กฎหมายฉบับนี้กำหนดหน้าที่ให้ใครบ้าง…