บทเรียนจากสองตุลา

Loading

  วันที่ 6 ตุลา 19 เวียนมาครบอีกครั้งหนึ่ง สัปดาห์ต่อไปก็จะครบรอบเหคุการณ์ 14 ตุลา 16   ผู้อ่านหลายคนเกิดไม่ทันเหตุการณ์สองตุลาที่ว่า ส่วนใหญ่ได้อ่าน ได้ฟัง จากหนังสือและจากพ่อแม่ญาติพี้น้อง บางคนมองอย่างเสียดายว่า จากเหตุการณ์ที่เต็มไปด้วยความสุขกลับจบลงด้วยเหตุการณ์ที่เต็มไปด้วยความเศร้า จาก 14 ตุลา 16 สู่ 6 ตุลา 19 เพียงสามปีที่ผ่านไป ทำไมผลที่ออกมากลับพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ   แม้เป็นอดีตที่ผ่านไปแล้ว ซึ่งไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ แต่อดีตก็เป็นบทเรียนที่เราควรศึกษาไว้ โดยวางใจที่ตรงกลาง ไม่เอาจิตไปผูกพันกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 40 ปีที่ผ่านมา คนที่เกี่ยวข้องได้ตายไปแล้วหลายคน จากวัยหนุ่มวัยสาว วัยกลางคน วัยชรา ที่ให้เวลาทบทวนตนเอง ทบทวนเหตุการณ์ผ่านมุมมองหลายด้าน มองทั้งเราและเขา แล้วหาบทสรุป แต่จะไม่มีบทสรุปอะไรที่ถูกใจเราเลย ถ้าใช้อารมณ์ ความเชื่อของตนแต่ฝ่ายเดียวเป็นสิ่งตัดสิน   ถ้าเราเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง มองแต่มุมมองของตนเอง ตุลาคมแต่ละปีก็จะยังคงเป็นตุลาคมที่เต็มไปด้วยวาทะความโกรธแค้น ความเกลียดชัง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากกลุ่มคนสองฝ่ายที่ส่งมอบมรดกความเกลียดชัง ความโกหกหลอกลวง ให้กับลูกหลานของตนต่อไป…

Facebook Smart Glasses

Loading

  เมื่อรูปแบบของการใช้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง อาจมีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งกันระหว่างกฎหมายกับการใช้เทคโนโลยีขึ้นมาได้ ตัวอย่างเกิดขึ้นแล้วจากกรณีของสินค้า smart glasses กับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แว่นตาอาจถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์พกพาชนิดหนึ่งที่อยู่คู่กับหลาย ๆ คนมานาน ในยุคที่ทุกๆ อย่างถูกทำให้อัจฉริยะมากขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีฝังเข้าไปในอุปกรณ์เพื่อให้มีความเป็น smart devices และสามารถตอบสนองต่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ หลากหลายมากขึ้น และสามารถเชื่อมต่อในระบบเครือข่ายอัจฉริยะของ IoT เจ้าแว่นตาก็เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่หลายๆ บริษัทได้พยายามปรับปรุงให้เป็น smart glasses   Google เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่ได้พัฒนา smart glasses ของตนเอง ภายใต้ชื่อ Google Glass ขึ้นมาและนำออกจำหน่ายในช่วงปี 2013 และยุติการจำหน่ายเป็นการทั่วไปในปี 2015 เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูง (1,500 USD) และไม่ได้รับการตอบรับจากตลาดเท่าที่ควร และดูเหมือนว่ากระแสของ smart glasses ก็จะดูแผ่วเงียบเบาไปจนกระทั่ง Facebook ร่วมมือกับ Ray-Ban ในการพัฒนา Facebook smart glasses ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อทำตลาดกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่มีความสนใจในแฟชั่นและเทคโนโลยี   แต่ไม่ทันที่…

สทป. จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ ตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย

Loading

  ศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(Defence Technology Institute Unmanned Aircraft Systems Training Centre : DTI-UTC)   สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ ตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน พร้อมพัฒนาบุคลากรผู้ใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทยที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองเทคโนโลยีระบบอากาศยานไร้คนขับ หรือ “โดรน” ที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานด้านการพัฒนาประเทศ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคพลเรือน และเพื่อการพาณิชย์   อีกทั้งมีแนวโน้มในการนำระบบอากาศยานไร้คนขับมาประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ อาทิ การบินสำรวจถ่ายภาพ จัดทำแผนที่ 3 มิติ งานด้านการเกษตรกรรม การตรวจสภาวะแวดล้อม เพื่อการช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย การปราบปรามอาชญากรรม ภารกิจด้านการรักษากฎหมาย และภารกิจด้านมนุษยธรรม ฯลฯ   ดังนั้น DTI-UTC จึงมุ่งเน้นในการสร้างและพัฒนาบุคลากรของกระทรวงกลาโหม หน่วยงานด้านความมั่นคง หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยกระบวนการฝึกอบรมในรูปแบบ Competency Base Training เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐานด้านการบิน (Knowledge)…

กลาโหมไต้หวันคาดจีนจะพร้อมบุกยึดภายในปี 2025

Loading

  กลาโหมไต้หวันคาดจีนจะพร้อมบุกยึดไต้หวันแบบเต็มรูปแบบในปี 2025 ชิวกว๋อเจิ้ง รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมไต้หวันเผยต่อคณะกรรมาธิการสภาที่พิจารณางบประมาณพิเศษทางการทหารว่า คาดว่าจีนจะมีศักยภาพเต็มรูปแบบในการบุกรุกโจมตีไต้หวันในปี 2025 “ในปี 2025 จีนจะทำให้ต้นทุนและจำนวนคนต่ำที่สุด ตอนนี้จีนมีศักยภาพแล้วแต่จะไม่เริ่มสงครามง่ายๆ เพราะต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นๆ อีก”   เมื่อถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถามถึงความตึงเครียดทางการทหารกับจีนล่าสุด ชิวกว๋อเจิ้งเผยว่า สถานการณ์อยู่ในจุดที่แย่ที่สุดในรอบกว่า 40 ปีนับตั้งแต่เขาเข้าร่วมกับกองทัพ และยังกล่าวว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดในช่องแคบไต้หวันที่มีความอ่อนไหว   “สำหรับผมในฐานะทหารความเร่งด่วนอยู่ตรงหน้านี้แล้ว” ชิวกว๋อเจิ้งเผยกับคณะกรรมาธิการสภา   ทั้งนี้ จากการหารือ งบประมาณพิเศษทางการทหารของไต้หวันในอีก 5 ปีข้างหน้าส่วนใหญ่จะเน้นไปที่อาวุธที่ใช้งานทางทะเล รวมทั้งอาวุธต่อต้านเรือรบ เช่น ระบบขีปนาวุธภาคพื้นดิน ขณะที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เผยว่าได้พูดคุยกับประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ของจีน และทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับไต้หวัน   “ผมได้พูดคุยกับสีเกี่ยวกับไต้หวัน เราตกลงกัน เราจะปฏิบัติตามข้อตกลงไต้หวัน นั่นคือสิ่งที่เราคุยกัน และเราพูดอย่างชัดเจนแล้วว่าผมคิดว่าเขาควรทำอย่างอื่นนอกเหนือจากการปฏิบัติตามข้อตกลง”   จากคำพูดดังกล่าวดูเหมือนว่าไบเดนจะเอ่ยถึงความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสหรัฐยอมรับว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลที่ถูกกฎหมายของจีนแต่เพียงผู้เดียว ความตึงเครียดระหว่างจีนและไต้หวันน่าจะเป็นหัวข้อการสนทนาระหว่าง เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ และหยางเจี๋ยฉือ…

ปลอดภัยจากภัยไซเบอร์

Loading

  แม้จะมีกฎ กติกา และกฎหมายที่รัดกุม ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้   ข่าวคราวความเสียหายจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้นทุกปีทั้งในแง่จำนวนผู้เสียหาย และเม็ดเงินที่ถูกล่อลวงในหลายประเทศทั่วโลก จนหลายๆ คนเริ่มตั้งคำถามถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีมากเกินไปจนดูเหมือนจะควบคุมไม่อยู่ ความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีทั้งประโยชน์และโทษมาพร้อมกันเสมอ แต่กับเทคโนโลยีดิจิทัลอาจมีความพิเศษมากกว่า เพราะความเร็วในการแพร่กระจายและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความแพร่หลายของเทคโนโลยีดิจิทัลเกิดขึ้น เพราะการปฏิวัติในยุคไมโครคอมพิวเตอร์ที่ทำให้บริษัทขนาดเล็กรวมไปถึงคนทั่วไปมีโอกาสได้ใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เหมือนในอดีตที่คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์มีใช่เฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น   ในบ้านเราคอมพิวเตอร์เครื่องแรกใช้งานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี 1963 ตามด้วยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปีถัดมา กลุ่มผู้ใช้งานจึงจำกัดเฉพาะนักวิชาการและนักสถิติ จนกระทั่งปี 1974 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการซื้อขายหุ้น หลังจากนั้นในช่วงปี 1980 ไมโครคอมพิวเตอร์ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความพยายามในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องใช้ความร่วมมือครั้งใหญ่ ซึ่งจุดเริ่มต้นจริงๆ อยู่ที่เครือข่ายด้านกลาโหมก่อนที่จะขยายวงมาถึงสถาบันการศึกษา และท้ายที่สุดคือการประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งเกิดขึ้นได้เพราะเป็นโครงการของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำ   ตัวอย่างเช่น เจอร์รี่ หยาง ผู้ก่อตั้งยาฮู อดีตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มาจนถึงยุคนี้ ก็มีมาร์ค ซัคเกอร์เบิรก์ ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊คจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็ล้วนมีส่วนจุดประกายให้ธุรกิจในยุคอินเทอร์เน็ตขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ การจับคู่กันระหว่างโลกคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสร้างให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ มากมาย บ้างก็มาแทนที่ธุรกิจเดิมที่ได้รับผลกระทบจากวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นธุรกิจร้านหนังสือ ธุรกิจร้านเช่าวีดิโอ สถานีโทรทัศน์ ฯลฯ   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันจึงเปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนมีอินเทอร์เน็ตมหาศาล พรมแดนของแต่ละประเทศจึงมีบทบาทลดลงเพราะมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมโยงทั้งในด้านการค้า…

วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ

Loading

วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ เชื่อว่าคุณและผู้คนมากมายประมาณสองในสามคนทั่วโลกใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน กิจกรรมในลักษณะการผิดกฎหมายอาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงการแฮ็กและการก่อการร้าย เป็นต้น แม้แต่เว็บจำนวนมากก็สามารถติดตามตำแหน่งของคุณได้ด้วย ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจถึงความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณต้องซ่อนตำแหน่งของคุณ นั่นเป็นเหตุผลที่มาบอกวิธีการป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งของคุณ ด้วยขั้นตอนดังนี้   วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ สำหรับ Chrome เวอร์ชั่นคอม     คลิกจุดสามจุด … มุมขวาบนของ Chrome แล้วเลือกที่ การตั้งค่า     เลือกด้านซ้ายที่ ข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัย แล้วคลิกที่ การตั้งค่าเว็บไซต์     คลิกที่ ตำแหน่ง >>     แล้วเลือกที่ ไม่อนุญาตให้เว็บไซต์ดูตำแหน่งคุณ แค่นี้ Chrome จะดำเนินการไม่ให้เว็บไซต์อื่นๆมาติดตามตำแหน่งคุณได้   สำหรับผู้ใช้ Edge บน Windows10 หรือ Windows11 ให้เปิดหน้า Settings ของ Windows10 หรือ Windows…