KY ICT เผยโฉม “SOC” ศูนย์สั่งการความปลอดภัยอัจฉริยะใหญ่ที่สุดในไทย อีกหนึ่งเทคโนโลยีสุดล้ำแห่งยุคที่จะพลิกโฉมประเทศสู่ Better Thailand

Loading

  ห้องปฏิบัติการที่เต็มไปด้วยจอมอนิเตอร์เรียงราย พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ และเทคโนโลยีสุดล้ำที่ปรากฏตามภาพยนตร์สืบสวนหรือหนัง Sci-fi กลายเป็นภาพจดจำในฐานะ “ผู้ช่วยชีวิต” ที่ลงมือได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีใครสักคนตกอยู่ในอันตราย คงจะดีไม่น้อยหากเทคโนโลยีและทีมปฏิบัติการเหล่านั้นสามารถเฝ้าระวังและช่วยแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตจริง เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางยุคแห่งความไม่มั่นคงปลอดภัย (Insecurity Era) เช่นนี้     ขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY ผู้นำด้านการพัฒนานวัตกรรม การให้บริการ Digital Platform และ AI Solutions ระดับประเทศ เล่าว่า นับตั้งแต่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาด้านความปลอดภัย ช่วยยืนยันอัตลักษณ์บุคคล และวิเคราะห์ความผิดปกติจากสภาพแวดล้อมหรือระบบการทำงานต่างๆ ได้แม่นยำและหลากหลายรูปแบบมากขึ้น   ทำให้เหล่าประเทศพัฒนาแล้วต่างนำ Security Tech มาใช้อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ระดับอุตสาหกรรมไปจนถึงการใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมด้านความปลอดภัยมาตลอด 5 ปี บริษัทเห็นแนวโน้มดังกล่าวจึงได้พัฒนาศูนย์สั่งการอัจฉริยะด้านความปลอดภัย (Security Operation Center) หรือ SOC…

เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ดีกว่าเรือดำน้ำธรรมดาอย่างไร และใครมีเรือดำน้ำนิวเคลียร์บ้าง

Loading

  เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดมีกลุ่มพันธมิตรที่สำคัญเรียกว่า AUKUS ซึ่งเป็นสนธิสัญญาความมั่นคงอินโด-แปซิฟิกฉบับใหม่ เพื่อจัดตั้ง “พันธมิตรไตรภาคีด้านความมั่นคง” ระหว่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย   พูดกันง่ายๆ คือการรวมกลุ่มกัน 3 ประเทศ เพื่อต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนจีนที่อ้างสิทธิเอาทะเลจีนใต้แทบทั้งทะเลเป็นของจีนนั่นเอง เพราะอังกฤษและสหรัฐอเมริกาสัญญาจะช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ทางออสเตรเลียแสดงความตั้งใจที่จะสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ถึง 8 ลำ โดยจะสร้างที่เมืองแอดิเลดของออสเตรเลียนั่นเอง   จากการที่มีข้อตกลงที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกาสัญญาว่าช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์นี่เอง ทำให้ออสเตรเลียแจ้งไปยังทางฝรั่งเศสเพื่อยกเลิกสัญญาที่ออสเตรเลียจ้างให้ฝรั่งเศสสร้างเรือดำน้ำธรรมดาจำนวน 12 ลำ เป็นเงินกว่า 56,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย   ทั้งๆ ที่ออสเตรเลียว่าจ้างฝรั่งเศสให้สร้างเรือดำน้ำดีเซล 12 ลำ ให้กองทัพเรือออสเตรเลียเพื่อทดแทนเรือดำน้ำฝูงปัจจุบันที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่จะถึงกำหนดปลดระวางใน พ.ศ.2569 โดยที่ฝรั่งเศสชนะการประมูลเหนือเยอรมนีและญี่ปุ่นสำหรับโครงการสร้างเรือดำน้ำดีเซล 12 ลำ ใน พ.ศ.2559   แต่ออสเตรเลียก็เบี้ยวเอาดื้อๆ แต่ในที่สุดก็คงถูกปรับหลายเงินอยู่ แต่ผู้เสียหายหนักก็คือฝรั่งเศสนั่นเอง เพราะถูกออสเตรเลียเทเสียกลางคันหากหยุดสร้างก็เสียดายเงินทุนที่ลงไปแล้ว หากสร้างต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์นอกจากจะเกลี้ยกล่อมขายต่อให้ประเทศไทยได้บ้างเท่านั้น   เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์นั้นไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงเลยตลอดอายุการทำงาน 25 ปี ของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์สามารถดำน้ำอยู่ที่ระดับความลึกได้ยาวนานเป็นเดือนโดยไม่ต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ ภายในเรือยังมีอุปกรณ์การสร้างออกซิเจนจากน้ำทะเล และมีพื้นที่กว้างขวางสำหรับการเก็บเสบียงอาหาร และน้ำจืด  …

ESRI หนุนใช้ เทคโนโลยี GIS จัดการ ภัยพิบัติ ครอบคลุม น้ำท่วม แล้ง ไฟป่า

Loading

  ESRI หนุนใช้ เทคโนโลยี GIS จัดการภัยพิบัติ รับมือเหตุฉุกเฉินครบวงจร ชูประสิทธิภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนที่เชิงลึก จัดการทุกภัยพิบัติ แล้ง น้ำท่วม ไฟป่า อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ESRI ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ จากความเชี่ยวชาญในการพัฒนา ซอฟต์แวร์ ArcGIS แพลตฟอร์มภูมิสารสนเทศอัจฉริยะระดับโลกในประเทศไทยมากว่า 30 ปี ชูโซลูชันสุดล้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก GIS for Crisis Management หรือ จีไอเอสเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤตครบวงจร ดึงจุดแข็งด้านข้อมูลแผนที่อัจฉริยะและการวิเคราะห์ประมวลผลเชิงลึก เพื่อ รับมือภัยพิบัติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน   รวมทั้งวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ชูศักยภาพขั้นสูงระบุความเสี่ยงของพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ เข้าใจสถานการณ์ คาดการณ์ผลกระทบ เตรียมแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา พร้อมบริหารจัดการภาวะวิกฤตตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุจนสถานการณ์คลี่คลาย ช่วยฟื้นฟูให้กลับสู่สภาวะปกติ ต่อยอดความสามารถ GIS สู่เทรนด์การพัฒนาเมือง เสริมคุณภาพชีวิตและการจัดการพื้นที่ทุกมิติ แนะหน่วยงานภาครัฐใช้เทคโนโลยีจีไอเอสเพื่อการบริหารภาวะวิกฤตเต็มรูปแบบในทุกสถานการณ์   ธนพร…

เช็คลิสต์ 5 ข้อที่ต้องทำ หากโดน Ransomware โจมตี

Loading

  Ransomware เป็นมัลแวร์ประเภทหนึ่ง เป็นตัวอันตรายที่มักจะโจมตีข้อมูลสำคัญองค์กรเพื่อเรียกค่าไถ่ โดยวิธีการจะหลอกล่อเอาข้อมูลสำคัญส่วนตัวของผู้ใช้ (Phishing) ผ่านอีเมล ลิงค์ไฟล์ ลิงค์เว็บ เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์แนบที่เป็นอันตราย แฮกเกอร์ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรได้ โดยเริ่มจากการแทรกซึมผ่าน Software ที่แฮกเกอร์สร้างขึ้นก่อน แล้วค่อยๆ เข้าไปใน User ของผู้ใช้งานผ่านระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันบนเครื่องหรือบนเครือข่ายและแพร่กระจายออกไปทั่วทั้งองค์กร   เมื่อไฟล์ถูกเข้ารหัสโดย Ransomware ไฟล์เหล่านั้นจะถูกจับเป็นตัวประกัน ผู้ใช้ต้องจ่ายค่าไถ่ก่อนที่จะสามารถเข้าถึงไฟล์เหล่านั้นได้อีกครั้ง มิฉะนั้นข้อมูลจะสูญหายตลอดไป โดยจะมีการส่งโน๊ตเรียกค่าไถ่ให้สัญญาว่าจะส่งมอบกุญแจถอดรหัสข้อมูลให้เราหลังจากได้รับการชำระเงินค่าไถ่แล้ว แต่ไม่มีการรับประกันใด ๆ ว่าแฮกเกอร์จะให้กุญแจถอดรหัสจริง ๆ หรือเปล่า แต่ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้วิธีสุดท้ายในการกู้คืนข้อมูลอาจเป็นการกู้คืนจากสำเนาสำรองก่อนหน้าที่จะถูกโจมตี   ปัจจุบัน Ransomware มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและความเสี่ยงตอนนี้ก้าวไปไกลกว่าการเข้ารหัสข้อมูล กำลังกลายเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวและยังมี Ransomware บางตัวที่รู้จักกันดีว่าสามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้อีกด้วย ทีนี้มาลองดูกันดีกว่ากว่า หากเครื่องเราหรือบริษัทเราโดน Ransomware โจมตี สิ่งใดต้องทำเป็นลำดับต้น ๆ   1.  ตัดการเชื่อมต่อทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตผ่านสาย Lan , WiFi , Bluetooth , NFC…

รายงานเผย ซีไอเอยุคทรัมป์ เคยวางแผนลักพาตัวและลอบสังหาร ผู้ก่อตั้ง Wikileaks เว็บจอมแฉรัฐบาล

Loading

มีรายงานเปิดเผยว่า อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของหน่วยของกรองสหรัฐ หรือ CIA ที่อยู่ในช่วงการบริหารงานของ โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยมีการหารือเพื่อวางแผนลักพาตัว รวมถึงการลอบสังหาร จูเลียน แอสซานจ์ (Julian Assange) ผู้ก่อตั้ง WikiLeaks เว็บไซต์จอมแฉเอกสารลับของรัฐบาลและบริษัทต่างๆ   เว็บไซต์ Yahoo! News ระบุว่า การหารือเกี่ยวกับการลักพาตัวหรือสังหารแอสซานจ์เกิดขึ้นในปี 2017 หลังนักเคลื่อนไหวชาวออสเตรเลียผู้นี้ต้องหลบหนีการจับกุมเป็นปีที่ 5 ด้วยการพักพิงในสถานทูตเอกวาดอร์ โดย ไมค์ ปอมเปโอ (Mike Pompeo) ผู้อำนวยการ CIA ในขณะนั้น และเจ้าหน้าที่ระดับสูง ไม่พอใจกับการตีพิมพ์ข้อมูลเอกสารของชุด ‘Vault 7’ ใน WikiLeaks ซึ่งเป็นเอกสารที่ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับชุดเครื่องมือแฮ็คที่ CIA ใช้ อาทิ มัลแวร์ ไวรัส โทรจัน รวมไปถึง Zero-day Exploits สำหรับ iOS,…

เปิดหลักเกณฑ์ตำรวจ “ล่าโจรโลกไซเบอร์”

Loading

  การฉ้อโกงผ่านโลกออนไลน์ที่เป็นข่าวโด่งดังหลายคดี ทำให้อาจสงสัยว่า ทำไมมีแค่คดีใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ที่จับกุมตัวคนร้ายได้ แต่กับคดีการฉ้อโกง-หลอกลวง หรือแม้แต่หมิ่นประมาททางออนไลน์ คดีความกลับไม่คืบหน้า เรามาหาคำตอบจากหลักเกณฑ์การล่าโจรไซเบอร์กัน 28 กันยายน 2564 พันตำรวจเอก ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บอกว่า ขณะนี้ ทาง ปอท.ได้รับมอบหมายหน้างานหลักเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนความผิดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง แต่ถ้าเป็นคดีฉ้อโกง หรืออาชญากรรมไซเบอร์ เช่น การแฮกข้อมูล หรือการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบ ก็จะเป็นหน้าที่ของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนทางอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บช.สอท.ซึ่งมีคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ได้ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา ส่วนคดีหมิ่นประมาททางออนไลน์ ก็จะเป็นหน้าที่ของโรงพักท้องที่ ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เป็นหน้าที่ของ ปอท. ซึ่งทางสถานีตำรวจท้องที่อาจจะขอความร่วมมือในการให้ ปอท.เข้าไปช่วยเหลือ หากกรณีที่คดีมีความซับซ้อน แต่จริงๆแล้ว โรงพักท้องที่ก็สามารถสืบสวนคดีเหล่านี้ได้เอง หากย้อนไปดูคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 287/2564 จะพบว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ระบุว่า…