อุปกรณ์ IoT โดนโจมตีหนัก

Loading

  อุปกรณ์ไอโอทีกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน ทำให้การโจมตีทวีความรุนแรงมากขึ้น เดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็ไฮเทค มีอุปกรณ์หลายอย่างที่ทำได้มากกว่าสิ่งที่เคยทำได้ในอดีต ผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลและสัญญาณอินเทอร์เน็ต จนในที่สุดเราต่างเรียกอุปกรณ์ประเภทนี้ว่า IoT ย่อมาจาก Internet of Things ซึ่งล่าสุดนักวิจัยพบว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 มีการโจมตี 1.5 พันล้านครั้งบนอุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Device) เพิ่มขึ้นมากกว่า 100% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีก่อนหน้า   โดยสาเหตุน่าจะมาจากการที่อุปกรณ์ IoTต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Smart Watch ไปจนถึงอุปกรณ์ประเภท Smart Home Accessories ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน ทำให้การโจมตีก็ทวีความรุนแรงขึ้นไปตามๆกัน ยิ่งในช่วงที่ผู้คนหลายล้านคนต่าง Work From Home แฮกเกอร์จึงเลือกโจมตีทรัพยากรขององค์กร ผ่านการใช้เครือข่ายและอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้านของพนักงาน เพราะรู้ว่าองค์กรต่างๆ ยังไม่ได้วางแผนรับมือกับภัยคุกคามที่มาจากการทำงานที่บ้านของพนักงาน เมื่ออุปกรณ์ส่วนตัวถูกนำเข้ามาใช้งานร่วมกับระบบขององค์กรเป็นจำนวนมาก ผลที่ได้คือพื้นที่และรูปแบบการโจมตีที่องค์กรอาจได้รับมีเพิ่มมากขึ้น หลังมีการค้นพบว่า อุปกรณ์ IoT ที่ติดไวรัสถูกใช้เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลองค์กร ใช้ขุดสกุลเงินดิจิทัล ใช้เป็น Botnet ในการโจมตี DDoS…

ถอดรหัสภาพยนตร์ต่างชาติ บันเทิงเพื่อ‘ความมั่นคง’

Loading

    “ภาพยนตร์” อาจเป็นสื่อสารมวลชนที่ผู้รับสารเสพเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก แต่หน้าที่ของภาพยนตร์ไปไกลกว่านั้นโดยเกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้วย   นักวิชาการหลายคนได้เสนอแนวคิดผ่านเวทีสัมมนาวิชาการระดับชาติ “ภาพยนตร์กับความมั่นคง” จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้อย่างน่าสนใจ ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ อธิบายว่า ความมั่นคงหมายถึงภาวะปราศจากภัยคุกคาม หรือ ภาวะที่มีภัยคุกคามระดับต่ำจนแทบจะปลอดความกังวล ความมั่นคงแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือความมั่นคงตามนัยดั้งเดิม (traditional security) มองโลกผ่านแว่นตาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหลัก เน้นเอกภาพของประชากร และอำนาจในการปกครองตนเอง จึงให้ความสำคัญกับสถาบันที่รับผิดชอบการปกปักรักษาอธิปไตย ทำหน้าที่ป้องกันชาติให้พ้นจากภยันตราย เช่น ภัยรุกรานจากภายนอก การบ่อนทำลายจากภายใน งานก่อการร้าย การก่อกวนในรูปแบบต่างๆ อันจะส่งผลต่อความผาสุกของสังคม   อีกประเภทคือความมั่นคงใหม่ (non-traditional security) แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การทหาร เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และสังคม ซึ่งความมั่นคงในมิตินี้สัมพันธ์กับภาพยนตร์มากกว่าความมั่นคงในมิติเดิม “แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ความมั่นคง ก็คือความปลอดภัย ภาพยนตร์กับความมั่นคงจึงมีความหมาย เกี่ยวกับบทบาทของสื่อภาพยนตร์ในการส่งเสริมความปลอดภัยทุกด้าน นอกจากนี้ภาพยนตร์กับความ มั่นคงยังหมายถึงความปลอดภัยของภาคอุตสาหกรรมเอง ครอบคลุมงานภาพเคลื่อนไหวทุกประเภท…

โกลบอลโฟกัส : “เคเอสเอ็ม” เดอะ มาสเตอร์มายด์

Loading

เอพี   “เคเอสเอ็ม” เดอะ มาสเตอร์มายด์ ตอนที่ อับดุล บาซิท อับดุล คาริม ใช้พาสปอร์ตปากีสถาน เดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาในชื่อ “รามซี ยูเซฟ” เพื่อวางระเบิดอาคารเวิร์ลด์เทรด เซนเตอร์เมื่อปลายปี 1992 นั้น คาหลิด เชค โมฮัมเหม็ด ยังคงอยู่ในคูเวต ส่วน อับดุล ฮาคิม มูรัด เพิ่งกลับมาหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมเป็นนักบินในสหรัฐอเมริกาแล้ว โมฮัมเหม็ด ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ และมีส่วนร่วมในการ “ระดมทุน” เพื่อการก่อการร้ายครั้งนี้ โดยส่งเงินไปให้ บาซิท เป็นจำนวน 660 ดอลลาร์ เพื่อสมทบเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อการร้าย ซึ่ง บาซิท คาดว่าจะใช้เงินทั้งสิ้นราว 3,000 ดอลลาร์ แผนง่ายๆ ของบาซิท ก็คือ หารถแวนคันหนึ่ง บรรจุระเบิดเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะจัดหาได้ แล้วขับเข้าไปจอดไว้ในลานจอดรถใต้ดิน อาคารเหนือ ของอาคารแฝด เวิร์ลด์เทรด เซนเตอร์ คาดหวังว่า เมื่อเกิดระเบิดขึ้น…

กราดยิงในรัสเซีย ทำความเข้าใจ ทำไมต้อง “กราดยิง” ในมหาลัยฯ

Loading

    จากเหตุการณ์กราดยิงในมหาวิทยาลัยรัสเซีย เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ถึงแม้ว่าจะไม่รู้แรงจูงใจที่แน่ชัดแต่มีงานวิจัยอธิบายแรงจูงใจในการก่อความรุนแรงในวัยรุ่นมากจาก ‘จินตนการที่ไม่สามารถห้ามได้’   เหตุการณ์กราดยิงในมหาวิทยาลัยรัสเซียเมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย และนักศึกษาหลายรายต้องกระโดดหนีออกนอกหน้าต่าง เพื่อเอาตัวรอด แต่แรงจูงใจในการก่อเหตุเช่นนี้ มีงานวิจัยอธิบายว่า มันมาจาก ‘จินตนการที่ไม่สามารถห้ามได้’   กราดยิงในรัสเซีย ทำความเข้าใจ ทำไมต้อง “กราดยิง” ในมหาลัยฯ   แหล่งข่าวท้องถิ่งรัสเซียกล่าวว่า แรงจูงใจในการก่อเหตุครั้งนี้ เกิดจากแรง กดดัน และ ความเกลียดชัง ของชายวัย 18 ปี แต่เหตุผลดังกล่าว ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จึงมีงานวิจัยที่ศึกษาถึงเรื่องการกราดยิงในสถานศึกษา ซึ่งอธิบาย แรงจูงใจในการก่อเหตุกราดยิงได้ดังนี้ 1. ความต้องการ – แรงขับเคลื่อนในในการที่คนเราจะทำอะไรสักอย่างออกมานั้นเกิดจากความคิดและจินตนาการที่มาจากความต้องการเบื้องลึก ทั้งจินตนาการที่ทำให้เรามีความหวัง ต่อชีวิตจนทำให้เราตั้งใจทำงานและนำเงินมาพัฒนาชีวิต และ จินตนาการ ที่มี ความรุนแรงแอบแฝงอยู่ จนอาจนำไปสู่ฉากความรุนแรงในชีวิตจริงและทำให้สังคมวุ่นวาย 2.…

รู้จัก ‘เจไอ’ และ ‘เจเอดี’ เครือข่ายก่อการร้ายในอาเซียน

Loading

    วันที่ 12 กันยายน 2021 กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น สั่งให้สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย เมียนมา และไทย ออกประกาศแจ้งเตือนชาวญี่ปุ่นระวังระเบิดฆ่าตัวตาย โจมตีสถานที่ที่มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ขนส่งสาธารณะ ตลาด สถานที่ท่องเที่ยว ศาสนสถาน โดยขอให้ชาวญี่ปุ่นในประเทศนั้นๆ หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นจริงๆ และเป็นเหตุระเบิดหรือระเบิดฆ่าตัวตายในเมืองใดก็ตาม กลุ่มที่จะถูกพุ่งเป้าเป็นลำดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น เจไอ และเจเอดี อย่างแน่นอน ไทยรัฐพลัสจึงอยากชวนทำความรู้จักกับกลุ่มก่อการร้ายทั้งสองกลุ่ม ว่ามีที่มาเริ่มต้นจากไหน มีแนวคิดทางการเมืองแบบใด ก่อนหน้านี้เคยก่อเหตุร้ายแรงที่ไหนบ้าง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอัลกออิดะห์และไอเอสที่โด่งดังในโลกอาหรับมากน้อยเพียงใด   เจมาห์ อิสลามิยาห์ เจมาห์ อิสลามิยาห์ (Jemaah Islamiyah) หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า ‘เจไอ’ มีความหมายว่า ‘ชุมชนอิสลาม’ ก่อตั้งขึ้นวันที่ 1 มกราคม 1993 โดย อับดุลลาห์…

5 เรื่องที่คนทั่วไปยังไม่รู้เกี่ยวกับ “กล้อง CCTV”

Loading

ภาพ : pixabay   “สกาย ไอซีที” สรุป 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกล้องวงจรปิด ย้ำเป็นเทคโนโลยีใกล้ตัวที่คนทั่วไปควรรู้ เดินหน้าดึง AI พัฒนา Smart Security Platform ตอบโจทย์ธุรกิจ เล็งเปิดตัวไตรมาส 4 วันที่ 20 กันยายน 2564 นายขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY ผู้พัฒนานวัตกรรม การให้บริการ Digital Platform และ AI Solutions กล่าวว่าในช่วง 5 ปีให้หลังมานี้ ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV System) ได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้นมาก จากเดิมที่เป็นเทคโนโลยีสำหรับองค์กรเพื่อใช้ดูแลความปลอดภัยในอาคารกลายเป็นเทคโนโลยีที่ “ใกล้ตัว” ผู้บริโภคมากขึ้น จากเทคโนโลยีที่พัฒนาไปไกลจนมีราคาเข้าถึงได้ รวมถึงการนำความสามารถของอัจฉริยะของ AI มาใช้ (AI…