20 ปีจากวันโลกเปลี่ยน สำรวจ 20 เหตุก่อการร้ายหลัง 9/11

Loading

  เมื่อ 20 ปีที่แล้ว 11 กันยายน 2001 คือวันที่โลกพบความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ หลังเครื่องบิน 2 ลำพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์ก อาคารฝั่งเหนือและฝั่งใต้ไฟลุกไหม้ ก่อนจะพังลงมา ทิ้งม่านฝุ่นควันลอยสูงเบื้องบน ตามมาด้วยการจี้เครื่องบินอีก 2 ลำ ลำแรกพุ่งชนด้านหน้าอาคารเพนตากอน ลำสุดท้ายก่อเหตุร้ายไม่สำเร็จ ตกลงในเพนซิลเวเนีย ผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ 9/11 มีราว 3,000 ราย ส่วนใหญ่คือผู้ที่ไม่สามารถหนีออกมาจากตึกแฝดได้ ผู้รับผิดชอบการลงมือคือ อัลกออิดะห์ ภายใต้การนำของ โอซามา บินลาเดน ที่ในภายหลังทำให้เกิดนิยามของ ‘การก่อการร้าย’ และ ‘ผู้ก่อการร้าย’ ขึ้นบนโลก เมื่อโลกถูกเขย่ารุนแรง ระลอกการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามมารวดเร็ว ในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประกาศสงครามกับการก่อการร้าย ระดมทัพบุกอัฟกานิสถาน เพื่อตามล่า โอซามา บินลาเดน เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามยาวนานที่เพิ่งจบลงไม่นานนี้ เมื่ออัฟกานิสถานตกอยู่ในการปกครองของกลุ่มตาลีบัน นั่นคือปฏิบัติการทางทหารระดับนานาชาติ แต่ในระดับความรู้สึกของคน ‘ความหวาดกลัวอิสลาม’ (Islamophobia) ถูกหว่านเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่วันนั้น…

สหรัฐฯ พร้อมเปิดรับชาติยุโรปเสริมความมั่นคงในอินโด-แปซิฟิก

Loading

  นานาชาติจับตาความร่วมมือทางการทหารครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย โดยทั้งสองชาติ ประกาศจะมอบเทคโนโลยีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้ ส่งผลให้ออสเตรเลียต้องฉีกสัญญาสร้างเรือดำน้ำที่ทำไว้ร่วมกับฝรั่งเศสสิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความไม่พอใจให้ฝรั่งเศส และล่าสุดสหรัฐฯ เผยยังคงเปิดรับทุกโอกาสที่จะสร้างความมั่นคงในอินโด-แปซิฟิกร่วมกับชาติยุโรป ภาพการแถลงข่าวของสามผู้นำประเทศ ได้แก่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ, บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร และสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ประกาศความร่วมมือที่จะสร้างความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในโครงการที่ชื่อว่า ออคัส ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรจะแบ่งปันเทคโนโลยีมากมาย ตั้งแต่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีควอนตัม และระบบการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ รวมถึงเทคโนโลยีทางการทหารขั้นสูงที่สุด นั่นคือ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์     หลังการประกาศความร่วมมือทางการทหารระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและออสเตรเลียออกมามีหลายประเทศไม่พอใจ เช่น จีน ซึ่งก็เข้าใจได้ แต่ที่น่าสนใจคือ มีพันธมิตรหลักของสหรัฐฯ อย่างฝรั่งเศสออกมาแสดงความหงุดหงิดด้วย ฟลอเรนส์ พาร์ลีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเปิดแถลงข่าวทันที ระบุว่า เหมือนถูกแทงข้างหลัง เหตุใดฝรั่งเศสจึงไม่พอใจ เพราะก่อนหน้านี้ คื อเมื่อปี 2016 ออสเตรเลียตกลงและทำสัญญากับฝรั่งเศสไว้แล้ว ว่าจะให้ฝรั่งเศสสร้างเรือดำน้ำให้ 12…

เกาหลีเหนือ : ทำไมการปล่อยขีปนาวุธร่อนของรัฐบาลเปียงยางทำให้หลายชาติกังวล

Loading

เมื่อต้นสัปดาห์นี้ เกาหลีเหนือประกาศว่าประสบความสำเร็จในการทดสอบการปล่อยขีปนาวุธร่อนพิสัยไกลที่มีขีดความสามารถในการโจมตีพื้นที่ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นได้ ขีปนาวุธร่อน (cruise missiles) ต่างจากขีปนาวุธทิ้งตัว (ballistic missiles) มันสามารถเปลี่ยนทิศทางและหักเลี้ยวได้ระหว่างการเดินทาง ทำให้โจมตีเป้าหมายได้จากมุมที่คาดเดาไม่ได้ การทดสอบนี้แสดงให้เห็นว่า เกาหลีเหนือยังคงพยายามที่จะพัฒนาวิธีการที่ซับซ้อนและหลากหลายต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปล่อยอาวุธนิวเคลียร์ได้ เป็นที่ชัดเจนว่าในช่วงการระบาดใหญ่ การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง และความยากลำบากของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ แทบไม่เป็นอุปสรรคต่อเกาหลีเหนือในป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเกาหลีเหนือให้ความสำคัญอย่างมากได้เลย การทดสอบที่ประสบความสำเร็จครั้งล่าสุด ทำให้เกิดคำถามหลายข้อขึ้นว่า ทำไมเกาหลีเหนือจึงทำการทดสอบในช่วงนี้ การทดสอบนี้มีความสำคัญอย่างไร และมันบอกอะไรเราบ้างเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของเกาหลีเหนือ     รัฐบาลเกาหลีเหนือยังไม่เปลี่ยนเป้าหมาย เกาหลีเหนือกำลังพัฒนาขีดความสามารถด้านนิวเคลียร์ของประเทศ ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ นับตั้งแต่ มี.ค. 2019 นับตั้งแต่กลับจากการประชุมสุดยอดที่ล้มเหลวในเดือน ก.พ. 2019 กับอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ในกรุงฮานอยของเวียดนาม คิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ก็ได้แสดงความแน่วแน่ในการลงทุนด้านการป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือต่อไป และเดินหน้ายุทธศาสตร์กลาโหมแห่งชาติ “พึ่งพาตัวเอง” แต่ทำไมเกาหลีเหนือเลือกที่จะทำเช่นนี้ ทั้งที่ก็เผชิญกับการขาดแคลนอาหารและวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรง มันตอบสนองต่อเป้าหมายหลายอย่างของเกาหลีเหนือ ภายในประเทศ การทดสอบเหล่านี้ช่วยสนับสนุนสิ่งที่นายคิมบอกว่า พยายามที่จะพึ่งพาตัวเองในการป้องกันประเทศและเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจด้วย ในทางปฏิบัติ ขีดความสามารถใหม่ของขีปนาวุธร่อนเหล่านี้ ทำให้การวางแผนของศัตรูเกาหลีเหนือยุ่งยากขึ้น เพราะต้องต่อกรกับขีดความสามารถใหม่เหล่านี้…

แกะรอย “ก่อการร้าย” ในไทย สัญญาณเตือนภัยจาก ญี่ปุ่น

Loading

  ปฐมบท การก่อความไม่สงบเริ่มปี 2558 หลัง “รัฐประหาร” ไม่ถึงปี เกิดเหตุลอบวางระเบิดใจกลาง กทม. หลายครั้ง เช่นเดียวหลายจังหวัดภาคใต้ตอนบน ที่ยังมีความคลุมเครือว่าเป็นเรื่องการเมือง หรือ “ก่อการร้าย”   พลันที่กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น ส่งสัญญาณไปยังสถานทูตต่างๆที่ประจำในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย แจ้งเตือนพลเมืองให้เฝ้าระวัง “ก่อการร้าย” หลัง “ตอลิบัน” ยึด “อัฟกานิสสถาน” และทยอยปล่อยนักโทษมุสลิม ทั้ง มาเลเซีย,อินโดนีเซีย,ฟิลิปปินส์ ที่ถูกสหรัฐฯควบคุมตัวก่อนหน้านี้กลับประเทศ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการไปยัง “หน่วยงานความมั่นคง” ประสานไปยังสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และ ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียขอข้อมูล “ก่อการร้าย” แม้จะไม่ได้รายละเอียดอะไรเพิ่มเติมนอกเหนือจากข่าวที่ปรากฎในหน้าสื่อ แต่ “พล.อ.ประวิตร” ได้กำชับ “ความมั่นคง” ไม่ให้ประมาท ติดต่อประสานข้อมูลก่อการร้ายกับเครือข่ายในภูมิภาคอาเซียนอย่างใกล้ชิด ในขณะ พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้จับตาบุคคลที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เพราะเหตุการณ์ลอบวางระเบิดแยกราชประสงค์ และ จังหวัดภาคใต้ตอนบนคือบทเรียนสำคัญ   ปฐมบท…

ดีอีเอสย้ำหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2564 เพื่อคุ้มครองประชาชนจากภัยโซเชียล

Loading

  ดีอีเอสแจงประกาศฯ “หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2564” ปรับปรุงเพื่อให้กฎหมายทันสมัย สอดคล้องแนวปฏิบัติสากล มุ่งปกป้องคุ้มครองประชาชนจากอาชญากรรมและภัยโซเชียลรูปแบบใหม่ๆ   น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2564 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และปี 2560 แต่ประกาศฉบับนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 2550 จึงต้องปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบัน   ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และบริบททางสังคมที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในแทบทุกกิจกรรมของชีวิตประจำวัน เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายต่างๆ ได้ง่าย ทำให้จำเป็นต้องมีกฎหมายที่ก้าวทันการกระทำผิดกฎหมายในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต เช่น สื่อโซเชียล บริการออนไลน์ หรือการให้บริการผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ จำเป็นที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับเดิมซึ่งใช้มานานถึง 14 ปีแล้ว เพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เป็นสากล และสามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายและการคุ้มครองประชาชน ป้องกันความเสียหายต่อประชาชน เศรษฐกิจ สังคม และความสงบเรียบร้อยของประเทศ…

ล็อคเป้าอาเซียน ตอลิบานจุดชนวนก่อการร้ายอาละวาด

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาเซียนเสี่ยงก่อการร้ายจากการผงาดของตอลิบานในอัฟกัน ทำเอาตื่นตกใจไปตามๆ กันเมื่อ AP รายงานว่ากระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นเตือนให้พลเมืองของตนอยู่ห่างจากสถานที่ทางศาสนาและฝูงชนใน 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเตือนถึงการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้   กระทรวงกล่าวว่าได้รับข้อมูลว่า “มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่น ระเบิดฆ่าตัวตาย” คำเตือนนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงที่ไหน แต่เตือนแบบหว่านแหกับพลเมืองญี่ปุ่นในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และเมียนมา   เมื่อเตือนแบบหว่านแหแบบนี้จึงเล่นเอาบางประเทศงงเป็นไก่ตาแตกและทำอะไรไม่ถูก ยิ่งประชาชนในประเทศนั้นตื่นตูมอยู่แล้วยิ่งลงไปกับรัฐบาลตัวเองว่าปิดบังอำพรางอะไรไว้หรือเปล่า อย่างในไทยตอบรับฉับไวเพราะตกเป็นประเทศต้องสงสัย นายธานี แสงรัตน์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ญี่ปุ่นไม่ได้เปิดเผยที่มาของคำเตือน และสถานทูตญี่ปุ่นไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมและ “ไม่เฉพาะเจาะจงกับประเทศไทย” ฝ่ายความมั่นคงของไทยก็บอกในทำนองเดียวกันว่าไม่มีข้อมูลเรื่องภัยคุกคาม   ตกลงมันเป็น False alarm หรือสัญญาณเตือนหลอกให้ตื่นตกใจหรือไม่? ถ้าคิดดูดีๆ อาจไม่น่าจะใช่ หากลองดูทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง   ชัยชนะของกลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถานเมื่อวันที่ 15 ส.ค. อาจเป็นแรงบันดาลใจให้กลุ่มก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลุกขึ้นมาลงมือก่อเหตุในบ้านเกิดอีกครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีฐานที่มั่นในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และภาคใต้ของฟิลิปปินส์ หลังจากบางกลุ่มอ่อนแอลงเพราะถูกรัฐบาลปราบปรามอย่างหนัก ผู้เชี่ยวชาญพุ่งเป้าไปที่กลุ่มอาบูไซยาฟ (Abu Sayyaf) ในฟิลิปปินส์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการลักพาตัวนักท่องเที่ยว และกลุ่มญะมาอะห์อิสลามิยะห์…