ปัญหาระดับโลก “อาชญากรรมไซเบอร์” รวมทุกข้อมูลควรรู้ในยุคที่โจรถือคอมพิวเตอร์แทนปืน

Loading

    กระทรวงสาธารณสุขเพิ่ง “ถูกแฮ็ก” ข้อมูลคนไข้ในโรงพยาบาลภายใต้สังกัดกระทรวงฯ ไปขายบนดาร์กเว็บจำนวนกว่า 16 ล้านรายการ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกและน่าจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพราะ “อาชญากรรมไซเบอร์” เป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกประเทศเผชิญ และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นๆ ในยุคที่ทุกสิ่งทุกอย่างเป็น “ดาต้า” จัดเก็บบนดิจิทัล ครั้งหนึ่ง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” นักลงทุนชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า “อาชญากรรมไซเบอร์” จะเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของมนุษยชาติ และการโจมตีทางไซเบอร์จะเป็นภัยร้ายแรงต่อมนุษย์ยิ่งกว่าอาวุธนิวเคลียร์เสียอีก ทำไมบัฟเฟตต์กล่าวเช่นนั้น? ตัวอย่างมีให้เห็นในโลกมาแล้ว จากการโจมตีทางไซเบอร์ที่ร้ายแรงที่สุด คือ Ransomware หรือซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ ซึ่งจะล็อกระบบไอทีหรือเข้ารหัสข้อมูลของผู้ถูกโจมตีเอาไว้ เพื่อเรียกค่าไถ่ขอค่าเปิดระบบ/ปลดล็อกข้อมูลนั้นๆ ที่ผ่านมาเคยมีกลุ่มอาชญากรไซเบอร์แฮ็กระบบไอทีของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองดุสเซลดอร์ฟ เยอรมนี จนโรงพยาบาลไม่สามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้ ส่งผลให้มีผู้ป่วยรายหนึ่งเสียชีวิต หรือเมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้เอง เพิ่งมีการแฮ็กระบบท่อส่งเชื้อเพลิงของสหรัฐอเมริกา จนทำให้ระบบส่งเชื้อเพลิงเติมน้ำมันเป็นอัมพาตไปชั่วคราว การก่ออาชญากรรมไซเบอร์ในระดับองค์กรจึงทำให้เกิดความปั่นป่วนโกลาหลเป็นอย่างมาก และอาจจะส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตคนได้ ไม่เพียงแต่ผลทางทรัพย์สินเท่านั้น   อาชญากรรมไซเบอร์ ธุรกิจมืดมูลค่าสูงกว่าค้ายา Cybersecurity Ventures คาดการณ์ว่าปี 2021 นี้ มูลค่าความเสียหายของอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกจะสูงถึง 6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เฉลี่ยแล้วมีข้อมูลถูกแฮ็กคิดเป็นมูลค่า 190,000…

เปิดชื่อ บอร์ดรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ “ประวิตร” นั่งประธาน

Loading

  เปิดโครงสร้าง คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ “ประวิตร” นั่งเก้าอี้ประธานบอร์ด วันที่ 7 กันยายน 2564 กรณีโซเชียลเปิดเผยว่า ข้อมูลคนไข้ของกระทรวงสาธารณสุขโดนแฮก ก่อนที่ต่อมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เรื่องเกิดขึ้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และเคยเกิดที่สระบุรี หลังจากทราบข่าวได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ ต่อมา น.อ.อมร ชมเชย รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ชี้แจงผ่าน รายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ทางช่อง MCOT HD ว่า ข้อมูลที่ถูกแฮกเกอร์เจาะเข้าไปนั้น เบื้องต้นไม่น่าเกิน 1 หมื่นคน โดยเป็นข้อมูล ชื่อ หมายเลขประจำตัวคนไข้ ชื่อแพทย์ที่รักษา ยืนยันว่าไม่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชนของคนไข้ และไม่ได้ลงลึกว่าป่วยเป็นโรคใด จากบทบาทของ คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่ต้องรับมือกับประเด็นใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยความรู้เท่าทันด้านเทคโนโลยี “ประชาชาติธุรกิจ” ตรวจสอบข้อมูลพบโครงสร้างและรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้   “ประวิตร” นั่งประธานบอร์ด เว็บไซต์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม…

“ตาลีบัน” คืนชีพ..ปลุกฝันร้าย 9/11 ภาค 2

Loading

    9/11 หรือเหตุการณ์ช็อกโลกที่ผู้ก่อการร้ายทำการโจมตีครั้งใหญ่ต่ออเมริกาในวันที่ 11 กันยายน 2001 ถือเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ไม่เพียงแต่ในสหรัฐ ซึ่งอีกเพียงไม่กี่วัน ก็จะครบรอบ 20 ปีของการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แม้ 9/11 ผ่านมาแล้วถึง 2 ทศวรรษ แต่โลกก็ยังคงไม่ได้พบกับสันติภาพที่แท้จริง และการที่สหรัฐได้ประกาศถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน ก็ยิ่งกระพือความวิตกว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะหวนกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง In Focus สัปดาห์นี้ ขอนำผู้อ่านย้อนอดีตสู่เหตุการณ์ 9/11 และผลกระทบที่เกิดขึ้น พร้อมกับคำเตือนของหลายฝ่ายที่ว่าประวัติศาสตร์อาจซ้ำรอยเหตุการณ์ 9/11 ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่พลิกผันในอัฟกานิสถาน โศกนาฏกรรม 9/11….20 ปี โลกไม่ลืม เมื่อวันอังคารที่ 11 กันยายน 2001 ผู้ก่อการร้ายได้ทำการจี้เครื่องบินโดยสารจำนวน 4 ลำ และบังคับให้พุ่งชนเป้าหมาย 4 แห่งในสหรัฐ โดย 2 ลำแรกโจมตีตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์ก ส่วนลำที่ 3 โจมตีเพนตากอน หรือกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่ตั้งอยู่ในรัฐเวอร์จิเนีย และลำที่ 4 เชื่อกันว่ามีเป้าหมายถล่มอาคารรัฐสภาสหรัฐ หรือทำเนียบขาวในกรุงวอชิงตัน…

ฟอร์ติเน็ตและไอดีซี แนะองค์กรในเอเชียแปซิฟิกพัฒนากลยุทธ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้องค์กร หลังภัยไวรัสระบาดทั่วโลก

Loading

  องค์กรทั่วเอเชียแปซิฟิกต่างเร่งปฏิรูปด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่อาจยังมีความล้าช้าอันเนื่องจากผู้บริหารในองค์กรจัดลำดับความสำคัญทางธุรกิจและกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีภายในองค์กรยังไม่ตรงกัน แต่การจัดวางการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมอย่างระมัดระวังและความร่วมมือกับพันธมิตรที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างศักยภาพทางดิจิทัลที่ตนต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไอดีซีผู้ให้บริการชั้นนำด้านการวิจัยและคำแนะนำด้านไอทีระดับโลกได้ออกรายงานฉบับใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการจัดลำดับความสำคัญทางธุรกิจและทางเทคโนโลยีที่แตกแต่งกันอย่างชัดเจน ในขณะที่ฟอร์ติเน็ต (Fortinet®) ผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้บริหารด้านความปลอดภัย (CISO) และทีมงานขององค์กรประสบความสำเร็จในโลกนิยมดิจิทัลเป็นอันดับหนึ่ง (Digital-first world) ในขณะนี้ รายงาน “หยุดการโต้ตอบ แล้วมาเริ่มวางแผนกลยุทธ์” จากไอดีซี (เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564) หรือ IDC InfoBrief: Stop Reacting, Start Strategizing (August 2021, IDC Doc #AP241253IB) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยฟอร์ติเน็ตนั้น ได้ระบุถึงแนวโน้ม ความเสี่ยง และความท้าทายมีเอกลักษณ์ที่เกิดขึ้นใน 6 ประเทศทั่วภูมิภาค ควบคู่ไปกับลำดับความสำคัญด้านธุรกิจและเทคโนโลยีที่ยังไม่ตรงกัน   ลำดับความสำคัญที่ยังไม่ตรงกัน จากการวิจัยของไอดีซีพบว่า ผู้บริหารระดับสูง (CxOs) ให้ความสำคัญไปที่การสร้างความยืดหยุ่น/ลดความเสี่ยง (61%) และการลดต้นทุน/การใช้การลงทุนให้เหมาะสม (63%) เป็นลำดับความสำคัญสูงสุดทางธุรกิจ ในขณะที่ทีมเทคโนโลยีเชื่อมั่นว่าการลงทุนด้านการรักษาความปลอดภัยด้านไอทีและการเปลี่ยนไปใช้โมเดลไฮบริดคลาวด์เป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาความเสี่ยงที่ธุรกิจอาจหยุดชะงักและด้านความปลอดภัยไซเบอร์ได้ดี อย่างไรก็ตาม ไอดีซีพบว่าการนำเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยมาใช้เพื่อลดความเสี่ยง เป็นหนึ่งในลำดับความสำคัญด้านเทคโนโลยีที่ต่ำที่สุด (33%)…

อัปสกิลดิจิทัล เข้าใจ Digital Literacy คอร์สเรียนฟรี มีใบเซอร์

Loading

  อัพสกิลเพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) จากคอร์สเรียนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื้อหาจะทำให้เราเข้าใจสังคมยุคดิจิทัลมากขึ้น ที่เริ่มจากขั้นพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ Smart phone Tablet โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ ให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้ง่ายขึ้น ก่อนเรียนต้องลงทะเบียนด้วยน้า แต่ไม่ยุ่งยาก ผ่าน Facebook หรือ Gmail พร้อมแล้วไปเริ่มเรียนกันเลย ? https://bit.ly/3DJ0DpD เรียนทั้งหมด 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (รวมทั้งหมด 15 ชั่วโมง) เนื้อหาที่น่าสนใจทั้งหมด บทที่ 1 : Essence of Basic Computer and Mobile Devices บทที่ 2 : Key Applications Word Processing / Presentation / Spreadsheets บทที่ 3 : Security บทที่…

“ระบบจดจำใบหน้า” ความน่ากลัวกับการสูญเสียความเป็นส่วนตัว

Loading

  “ระบบจดจำใบหน้า” ความน่ากลัวกับการสูญเสียความเป็นส่วนตัว ระบบจดจำใบหน้าถูกนำไปใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภาพจำนวนมหาศาลในหลายด้าน ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีด้านการมองเห็นของคอมพิวเตอร์ (Computer vision) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “เอไอ” ได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก สามารถวิเคราะห์ภาพต่างๆ ได้มากมายดังเช่น แยกแยะสิ่งต่างๆ ในรูปได้ว่าคืออะไร รวมทั้งยังสามารถจดจำใบหน้าคนได้ดีกว่าคนอีกด้วย ทุกวันนี้เราสามารถใช้โปรแกรม Google len ในมือถือถ่ายภาพ แล้วค้นหาได้ว่ารูปนี้คืออะไร หรือแม้แต่ค้นหาแหล่งซื้อสินค้าและราคา ทำการแปลภาษาก็สามารถทำได้ ขณะเดียวกัน ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial recognition) โดยเฉพาะการใช้เพื่อระบุตัวตน เช่น การปลดล็อกโทรศัพท์มือถือ การเข้าสถานที่ทำงาน เข้าที่อยู่อาศัย รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน ความสามารถเทคโนโลยีในการมองเห็นทำงานได้ถูกต้องแม่นยำขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิธีการในการคำนวณและประมวลผลที่ดีขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญมากสุดคือ ทุกวันนี้มีฐานข้อมูลรูปภาพจำนวนมหาศาล ทำให้ระบบการมองเห็นนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้เพื่อการค้นหาหรือแยกแยะรูปภาพต่างๆ ได้อย่างแม่นยำขึ้น ซึ่งในหลักการของเทคโนโลยีเอไอยิ่งมีข้อมูลมาก ความถูกต้องของการพยากรณ์ก็จะดียิ่งขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจหากเราค้นชื่อตัวเองใน Google แล้วสามารถแสดงรูปภาพที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตออกมาได้ เพราะคิดว่า Google ไปค้นหาข้อมูลในอินเทอร์หรือโปรไฟล์ในโซเชียลมีเดียที่เปิดเป็นสาธารณะ แต่ในขณะเดียวกันเว็บไซต์ Yandex.com ก็สามารถค้นหาได้โดยใช้รูปภาพบุคคล เพื่อให้ได้รูปอื่นๆ ของคนนั้น รวมทั้งยังได้ชื่อของคนๆ…