คำถามนี้ “ดี” พี่ตอบให้: e-Signature VS Digital Signature มันคืออะไร? ต้องใช้อันไหนดี??

Loading

  1. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) กับ ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) คืออะไร ? ตอบ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) เป็นชุดข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ เสียง ที่ใช้ระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อที่เกี่ยวข้องกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) เพื่อแส่ดงว่า บุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ส่วน ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่งที่ได้จากกระบวนการเข้ารหัสลับของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของและสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่อได้     2. e-Signature หรือ Digital Signature แบบไหนถึงจะมีผลทางกฎหมาย ? ตอบ มีผลทางกฎหมายทั้งคู่ และมีผลเช่นเดียวกับการเซ็นบนกระดาษ     3. ทำไมต้องใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนการเซ็นบนกระดาษ ? ตอบ เพราะมีความสะดวกรวดเร็ว ลดการใช้กระดาษ ประหยัดพื้นที่จัดเก็บเอกสาร ประหยัดค่าส่งเอกสาร มีผลทางกฎหมายเหมือนการเซ็นบนกระดาษ และยังลดการสัมผัส…

ETDA Live Ep.7: e-Saraban กับก้าวสำคัญสู่ภาครัฐดิจิทัล

Loading

  การรับส่งหนังสือด้วยอีเมล ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับงานราชการ เพราะตั้งแต่ปี 2544 ก็อนุญาตให้ใช้ได้แล้ว ต่อมาปี 2548 ก็เริ่มมีระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเข้ามา ดังนั้น การออกระเบียบฯ ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) ในปีนี้ จึงแค่วางกรอบแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐที่ยังไม่ได้ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในงานสารบรรณ ร่วมมือกันหันมาใช้งาน ด้วยภาระที่น้อยที่สุด และเหมาะสมที่สุด ในยุคโควิด-19 ETDA Live Ep.7 โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้รับเกียรติจากผู้แทนของ 3 ใน 7 หน่วยนำร่องเชื่อมโยงระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมพูดคุยในหัวข้อ e-Saraban กับก้าวสำคัญสู่ภาครัฐดิจิทัล “พลอย เจริญสม” เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ฝ่ายให้คำปรึกษาและพัฒนาทักษะ ETDA เกริ่นนำว่า ตั้งแต่เกิด COVID-19 ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการทำงานของเราอย่างปฏิเสธไม่ได้ อย่างการสัมมนาหรือเวทีเสวนาที่จัด ETDA Live Ep.7 วันนี้ (11 สิงหาคม 2564)…

อัฟกานิสถาน: ประเทศไหนจะได้หรือเสียประโยชน์อะไร จากการขึ้นครองอำนาจของตาลีบัน

Loading

GETTY IMAGES   ขณะกองกำลังร่วมของชาติตะวันตกซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกากำลังถอนทัพ ประเทศอื่น ๆ อย่างจีน รัสเซีย ปากีสถาน และอิหร่าน ก็ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วย ประเทศเหล่านี้ รวมถึงกลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ จะได้หรือเสียประโยชน์อย่างไรในวันที่อัฟกานิสถานอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน   ปากีสถาน ด้วยความที่มีชายแดนติดต่อกับอัฟกานิสถานยาวถึง 2,400 กิโลเมตร แน่นอนว่าปากีสถานกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีผู้อพยพชาวอัฟกันที่ลงทะเบียนอยู่ในปากีสถานถึง 1.4 ล้านคน และคาดว่ายังมีที่ไม่ได้ลงทะเบียนอยู่อีกเท่าตัว กลุ่ม “ตาลีบัน” หรือแปลว่า “นักเรียน” ในภาษาพัชโต (Pashto) เริ่มปรากฏตัวในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ทางตอนเหนือของปากีสถาน โดยชาวอัฟกันหลายคนที่เข้าร่วมกลุ่มนี้เคยเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาในปากีสถาน แม้ว่าจะปฏิเสธว่าไม่ได้ช่วยตาลีบัน ปากีสถานเป็นหนึ่งในสามประเทศ พร้อมด้วยซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ยอมรับในตัวตนของกลุ่มตาลีบันตอนพวกเขาขึ้นสู่อำนาจในทศวรรษ 1990 และก็เป็นประเทศสุดท้ายที่ตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับตาลีบันด้วย   EPA   มีผู้อพยพชาวอัฟกันที่ลงทะเบียนอยู่ในปากีสถานถึง 1.4 ล้านคน และคาดว่ามีที่ไม่ได้ลงทะเบียนอยู่อีกเท่าตัว   แม้ว่าช่วงหลังมาความสัมพันธ์ของสองฝ่ายจะไม่ลงรอยกันนัก อูเมอร์ คาริม จากสถาบันรอยัลยูไนเต็ดเซอร์วิส (RUSI) ในกรุงลอนดอน บอกว่า ผู้กำหนดนโยบายในปากีสถานรู้สึกร่วมกันว่านี่ถือเป็นเรื่องที่ดี…

อัฟกานิสถาน : อะไรทำให้หุบเขาปัญจ์ชีร์ เป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของฝ่ายต่อต้านตาลีบัน

Loading

  มีรายงานว่า นักรบฝ่ายต่อต้านกลุ่มตาลีบันหลายพันคนไปรวมตัวกันอยู่ในแถบหุบเขาปัญจ์ชีร์ ที่มีทางเข้าอันคับแคบ ห่างจากกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถานไป 30 ไมล์เศษ (ราว 48 กม.) หุบเขาปัญจ์ชีร์ ถือเป็นจุดสำคัญของความขัดแย้งที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน โดยเคยถูกใช้เป็นฐานที่มั่นของฝ่ายต่อต้านกองทัพโซเวียตในช่วงทศวรรษที่ 1980 และฝ่ายต่อต้านกลุ่มติดอาวุธตาลีบันในช่วงทศวรรษที่ 1990 สำหรับกลุ่มนักรบที่ใช้หุบเขาปัญจ์ชีร์เป็นฐานที่มั่นในขณะนี้คือ กลุ่มแนวร่วมต่อต้านแห่งชาติอัฟกานิสถาน (National Resistance Front of Afghanistan หรือ NRF) นายอาลี นาซารี หัวหน้าฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของ NRF ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า “กองทัพแดง (ของโซเวียต) อันยิ่งใหญ่ ไม่สามารถเอาชนะเราได้…เช่นเดียวกับตาลีบันเมื่อ 25 ปีก่อน…พวกเขาพยายามเข้ายึดครองหุบเขาแห่งนี้และต้องพ่ายแพ้ไป พวกเขาเผชิญกับความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ” หุบเขาปัญจ์ชีร์ อยู่ทางตอนเหนือของกรุงคาบูล โดยทอดยาวตั้งแต่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปจนถึงตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 120 กม. และมียอดเขาสูงเป็นปราการธรรมชาติปกป้องผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั่น การจะเดินทางเข้าสู่หุบเขาแห่งนี้มีเพียงทางเดียว คือผ่านถนนสายแคบ ๆ แห่งหนึ่งที่คดเคี้ยวเลี้ยวลดไปตามแนวแม่น้ำปัญจ์ชีร์ ชาคิบ ชาริฟี ซึ่งเคยอาศัยอยู่ที่นั่นตอนเป็นเด็ก แต่เดินทางออกจากอัฟกานิสถานหลังจากตาลีบันยึดครอง เล่าว่า ภายในหุบเขาแห่งนี้ยังมีหุบเขารองขนาดเล็กกว่าอีกอย่างน้อย 21…

Remote working ช่องโหว่ มัลแวร์โจมตี – ‘ไทย’ โดนหนัก ติดอันดับ 2

Loading

    แคสเปอร์สกี้เผยโมบายมัลแวร์คุกคามองค์กรและพนักงานเพิ่มสูง รับกระแส Remote working ยอดโจมตีไทยพุ่งขึ้นอันดับสองของอาเซียน     ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเผชิญสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 พนักงานจำนวนมากจึงต้องจัดสภาพแวดล้อมสำหรับการทำงานจากระยะไกล แนวโน้มนี้ช่วยให้ประชากรมีความปลอดภัยทางกายภาพมากขึ้น แต่ก็เป็นการเปิดช่องโหว่องค์กรทางออนไลน์ด้วยเช่นกัน แคสเปอร์สกี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก ได้ตรวจพบและบล็อกการโจมตีผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านมือถือจำนวน 382,578 ครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมี 336,680 ครั้ง แม้ว่าการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในการทำงานหรือ BYOD จะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นก่อนสถานการณ์โรคระบาด แต่การใช้งานก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี 2020 เนื่องจากบริษัทต่างๆ ได้ปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้พนักงานมีบาทบาทในการรักษาความปลอดภัยเน็ตเวิร์กของบริษัทเพิ่มขึ้นเช่นกัน การสำรวจเรื่อง “How COVID-19 changed the way people work” ของแคสเปอร์สกี้เมื่อปีที่แล้วเปิดเผยว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่าสองในสามกำลังใช้อุปกรณ์ส่วนตัวเพื่อทำงานจากที่บ้าน นอกจากนี้พนักงานยังใช้อุปกรณ์ในการทำงานเพื่อทำกิจกรรมส่วนตัว เช่น ดูวิดีโอและเนื้อหาเพื่อการศึกษา อ่านข่าว และเล่นวิดีโอเกม ที่น่าสนใจที่สุดคือพนักงาน 33% จาก 6,017 คนที่ตอบแบบสอบถามจากทั่วโลกยอมรับว่าใช้อุปกรณ์สำนักงานเพื่อดูเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นเนื้อหาประเภทหนึ่งที่มักตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์…

กรอบการทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  ปัจจุบันโลกของเราขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ที่เกิดขึ้นสำหรับช่วยพัฒนาธุรกิจให้มีความสะดวกสบายและรวดเร็วมากขึ้น หลายองค์การขาดการบริหารความมั่นคงปลอดภัยที่ดีเพียงพอ ส่งผลให้มีช่องโหว่ (Vulnerability) ที่ทำให้ภัยคุกคาม (Threat) หรือผู้ไม่ประสงค์ดี (Hacker) สามารถโจมตีเข้ามาจนส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ผิดปกติด้านความมั่นคงปลอดภัยซึ่งเรียกว่า “Security Incident” เกิดขึ้น เช่น ข้อมูลลูกค้าหลุด ระบบใช้งานไม่ได้ ข้อมูลที่ใส่เข้าไปในระบบสูญหายหรือไม่ตรงกับความเป็นจริง จนส่งผลเสียหายต่อธุรกิจทั้งทางการเงิน ชื่อเสียง ความเชื่อมั่น และอาจมีความรับผิดตามกฎหมายทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง จนอาจทำให้ธุรกิจนั้นไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ องค์กรควรบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศโดยประยุกต์ใช้มาตรฐานสากลหรือแนวปฏิบัติที่ดี เช่น ISO/IEC27001 ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก นอกจากนี้อาจใช้กรอบการทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายมาก คือ NIST Cybersecurity Framework หรือเรียก NIST CSF Version 1.1 ซึ่งเผยแพร่โดยสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Institute of Standards and Technology: NIST) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศไทยเองได้นำ NIST CSF มาเป็นต้นแบบส่วนหนึ่งในการจัดทำ…