ย้อนบทเรียน‘ซิมบับเว’กระตุกไทย เลิกหลับใหลระบบจัดการผู้อพยพ

Loading

  แม้ผ่านช่วงร้อนแรงของการสู้รบ แต่ภาพการอพยพของผู้คนในอัฟกานิสถาน กำลังสร้างปรากฎการณ์ที่หลายประเทศต้องจับตา สถานการณ์ระอุหลัง“ตาลีบัน”ยึดอำนาจ“อัฟกานิสถาน”สำเร็จ ภาพที่เกิดขึ้นทันทีคือการ“อพยพ”เอาตัวรอดออกนอกประเทศ ปรากฏการณ์คนจำนวนมากกรูกันไปที่สนามบินหวังขึ้นเครื่องบินไปตายเอาดาบหน้าแบบไม่คิดชีวิต  เพื่อเริ่มต้นบนผืนแผ่นดินใหม่ใครเห็นก็เศร้าใจ ประเทศไทยแม้ห่างไกลสถานการณ์ และคงไม่ใช่หมุดหมายปลายทางของผู้อพยพกลุ่มนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยภาวะสงคราม ความต้องการหนีภัยความมั่นคง และการย้ายถิ่นฐานของประชากร อาจส่งผลให้ประเด็นผู้อพยพ  การลี้ภัยมีความเสี่ยงเผชิญหน้าได้มากขึ้นในอนาคต  และการวางแผนรับมือล่วงหน้าย่อมดีกว่าแน่นอน… ดังเรื่องราวจากภาพยนตร์ดังหลายปีก่อน“ The terminal” ที่มีตัวเอกใช้ชีวิตอยู่ในสนามบินนานแรมปี  ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศที่มาถึงได้  และไม่สามารถเดินทางกลับไปประเทศบ้านเกิดได้เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบ ใครคิดว่าจะเกิดขึ้นจริงมาแล้วที่ประเทศไทย     ย้อนกลับไปเมื่อปี 2560 มีเหตุการณ์ครอบครัวชาวชาวซิมบับเว  8  ชีวิต ประกอบด้วยผู้ใหญ่ 4 ชีวิต  เด็กอีก 4 ชีวิต ติดอยู่ในสนามบินสุวรรณภูมินาน 3 เดือน ก่อนปรากฏเป็นข่าว ซึ่งต่อมาจึงรู้ว่าคนเหล่านี้ใช้ชีวิต กิน นอน อยู่ในเขตอาคารผู้โดยสารชั้นใน  โดยมีสายการบินเป็นผู้ดูแล เพราะไม่สามารถเดินทางไปยังประเทศปลายทางได้   ตามเหตุการณ์ทั้งครอบครัวเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวีซ่าท่องเที่ยว แต่ที่ผ่านมาก็มีสถานะอยู่เกินกำหนด(over stay)ระหว่างนี้เคยมีการประสานขอขึ้นทะเบียนสถานะผู้ลี้ภัยกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) แต่ด้วยขั้นตอนที่ต้องใช้ระยะเวลานานนับปี ต่อมาทางครอบครัวจึงขอเดินทางออกจากประเทศไทย  มีการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อย  หลังเดินทางฟ้าออกไปสุดท้ายถูกสายการบินยูเครนส่งตัวกลับมาที่สนามบินสุวรรณภูมิเพราะไม่มีวีซ่ายูเครน ความไม่สงบในประเทศบ้านเกิดทำให้ครอบครัวชาวซิมบับเวไม่ต้องการเดินทางกลับไป  แต่ต้องการขอลี้ภัยไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศที่สามแทน   การใช้ชีวิตยาวนานนับเดือนอยู่ในสนามบินของครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ไม่ใช่เรื่องเหมาะสมหรือควรเกิดขึ้น …

สปาย vs สปาย (3)

Loading

  บทความโดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์   ผู้อ่านบทความนี้ในสองตอนแรก หารือว่า หากจะดูการ์ตูนฝรั่ง Spy vs Spy จะหาดูได้ที่ไหน ขอแนะว่าให้เปิดดูในกูเกิ้ล จะพบการ์ตูนดังกล่าวซึ่งเป็นการเชือดเฉือนกันระหว่างนกสองตัวสีขาวกับสีดำ ใครดูแล้วจะติดใจ และชมคนเขียนการ์ตูนว่าคิดมุกพวกนี้ขึ้นมาได้อย่างไร   ผู้อ่านอีกท่านหนึ่งบอกว่า อ่านบทความสองตอนที่ผ่านมาทำให้รู้เรื่องหน่วยข่าวของโลกมากมาย และอยากให้ใช้คำว่า “หน่วยสืบราชการลับ” แทนเพราะดูเท่ ตื่นเต้น ลึกลับมากกว่า อีกทั้งชอบใจหน่วยมอสสาดของอิสราเอล ซึ่งไทยน่าจะเรียนรู้จากหน่วยนี้มากกว่า เพราะเป็นประเทศขนาดเล็กทีมีทรัพยากรจำกัดคล้ายกัน แต่เราต้องปรับคุณภาพของคนกันอีกมาก   ผู้อ่านอาจสงสัยว่า ผู้เขียนไม่มีอะไรจะเขียนแล้วหรืออย่างไร จึงหากินกับการเขียนเรื่องหน่วยข่าวกรองของโลกสามสัปดาห์ต่อเนื่องกัน ขอเรียนว่า ที่เขียนหัวข้อนี้เป็นเรื่องยาวเพราะมีผู้อ่านบางคนอยากรู้ สำหรับผู้เขียนเองเห็นว่า “การข่าวกรองเป็นพลังอำนาจแห่งชาติ” อย่างหนึ่งนอกเหนือจากการทหาร เศรษฐกิจ การทูต สังคมวัฒนธรรม ฯลฯ   การข่าวกรองแปลมาจาก Intelligence ในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำนี้มีความหมายพื้นฐานคือ สติปัญญา ความเฉลียดฉลาด ความรอบรู้ ดังนั้น ข่าวกรองจึงมาจากการใช้ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด เข้าต่อสู้หรือเชือดเฉือนกันโดยมีผลประโยชน์และความมั่นคงแห่งชาติเป็นเดิมพัน ใครมี “หู ตา”…

สปาย vs สปาย (2)

Loading

  บทความโดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์   ตามที่เขียนตบท้ายไว้ในบทความสัปดาห์ที่แล้วว่า สำหรับตัวผู้เขียนเองนั้นยังพอใจที่จะให้ “มอสสาด”หรือหน่วยข่าวกรองอิสราเอลเป็นหน่วยข่าวกรองชั้นเยี่ยมหรืออันดับหนึ่งของโลก ทั้งที่เป็นหน่วยขนาดเล็กทั้งกำลังพล งบประมาณ ฯลฯ เมื่อเปรียบเทียบหน่วยข่าวกรองอเมริกัน รัสเซีย จีน ซาอุดิอาราเบีย อิหร่าน ฯลฯ ทั้งในด้านงบประมาณ กำลังพล ฯลฯ โดย “มอสสาด” เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับประเทศเล็ก ๆ หรือขนาดกลางที่เผชิญกับภัยคุกคามขนาดใหญ่ ในการรักษาบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัยและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน   อิสราเอลมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาตัวรอดให้ได้ หลังจากที่คนยิวนับสิบล้านคนถูกนาซีเยอรมันสมัยฮิตเลอร์รมควันพิษตาย จนแทบจะไม่เหลือเผ่าพันธ์ยิว พอคนยิวทั่วโลกมาอยู่ในดินแดนปัจจุบันซึ่งสหประชาชาติกำหนดให้ มีทางออกทางเดียวด้านที่ติดกับทะเลเมดิเตอเรเนียน ที่เหลือถูกล้อมด้วยชาติมุสลิมน้อยใหญ่ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตลอด แม้เป็นชนชาติที่อาภัพ แต่สิ่งที่พระเจ้าประทานให้คนยิวก็คือ “ สมอง “ เพราะเป็นที่รู้กันว่าคนยิวฉลาดมาก นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลกทีคิดค้นระเบิดปรมาณูได้ก็มีเชื้อสายยิว   คนยิวมีทางเลือกเดียวเท่านั้นคือ “อยู่” หรือ “ตาย” เชื้อชาติยิวต้องดำรงอยู่ตลอดไป คนยิวทุกคนพอลืมตาดูโลกก็อยู่ในภาวะสงครามจนกระทั่งตาย ชาวยิวชายหญิงทุกคนต้องเป็นทหาร แต่เป็นทหารกองเกินที่ฝึกแล้วก็ไปทำมาหากินตามปกติ สองปีทีก็มาฝึกหรือซ้อรบกันสักทีเพื่อให้เกิดสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมที่จะทำสงครามปกป้องบ้านเมืองได้ตลอดเวลา   คนไทยเรามีข้าวกิน มีน้ำดื่มน้ำใช้ อย่างฟุ่มเฟือย แต่อิสราเอลแร้นแค้นไปทั้งหมด ต้นน้ำของแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงคนอิสราเอลส่วนใหญ่ของประเทศอยู่บนที่ราบสูงโกลาน…

ถอด 5 กลยุทธ์ สร้าง Happy Digital Workplace สไตล์ LINE

Loading

  เมื่อ “ที่ทำงาน” ไม่ได้หมายถึงออฟฟิศอีกต่อไป แต่หมายถึง “พนักงาน” และ “วัฒนธรรมองค์กร” ที่แข็งแกร่ง การสร้าง Happy Digital Workplace คือความท้าทายครั้งใหญ่ของหลายองค์กร ที่ต้องดูแลความเป็นอยู่ของเหล่ามนุษย์ออฟฟิศ ที่ต่างกำลังประสบภาวะ Burn Out ในช่วง WFH ที่ไม่รู้จะจบลงเมื่อไหร่ เช่นเดียวกันกับ LINE ประเทศไทย ที่มีแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรแบบ LINER-Centric โดยมีหัวใจสำคัญคือ การรับฟังความต้องการของชาว “ไลน์เนอร์” และการให้ความสำคัญกับสุขภาวะ (Wellbeing) ของพนักงานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ LINE จึงได้เดินหน้าปรับกลยุทธ์ดูแลพนักงานให้เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม เพื่อสร้าง Happy Digital Workplace ที่ยั่งยืนและคงไว้ซึ่งความใส่ใจ (Human Touch) บนโลกออนไลน์ ซึ่งจะกลายเป็นไลฟ์สไตล์และวิถีการทำงานแห่งอนาคตต่อไป 5 กลยุทธ์ สร้าง Happy Digital Workplace สไตล์ LINE ประเทศไทย 1.  ระบบรองรับคล่องตัว สื่อสารทั่วถึง – อุปกรณ์การทำงาน เป็นสิ่งสำคัญสิ่งแรกของการปรับเข้าสู่นโยบาย Work from Home พนักงานสามารถยืมอุปกรณ์ออฟฟิศทุกชิ้นไปใช้ที่บ้านได้…

วิเคราะห์: รอง ปธน. สหรัฐฯ เตรียมเยือนชาติอาเซียน มุ่งสานสัมพันธ์ในภูมิภาค

Loading

Vice President Kamala Harris speaks about the bipartisan infrastructure bill from the East Room of the White House in Washington, Tuesday, Aug. 10, 2021.(AP Photo/Susan Walsh)   นักวิเคราะห์ระบุว่า กำหนดการเดินทางเยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส ในสัปดาห์หน้า จะช่วยประธานาธิบดีโจ ไบเดน แข่งขันกับอิทธิพลของจีนในภูมิภาคดังกล่าวได้ ไซโมน แซนเดอส์ โฆษกทำเนียบขาวระบุว่า นางแฮร์ริสจะเดินทางเยือนศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคอย่างสิงคโปร์ และอดีตคู่สงครามของสหรัฐฯ อย่างเวียดนาม โดยเธอมีกำหนดหารือกับทั้งสองประเทศเกี่ยวกับความมั่นคง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โรคระบาด และความร่วมมือเพื่อสนับสนุนกติกาสากล กำหนดการของนางแฮร์ริสมีขึ้นหลังจากพลเอกลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เดินทางเยือนทั้งสองประเทศและฟิลิปปินส์เมื่อปลายเดือนที่แล้ว และหลังจากนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ประชุมออนไลน์กับชาติสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเมื่อวันที่ 4…

ย้อนดูเหตุการณ์กลุ่มตาลิบันบุกยึดอัฟกานิสถาน

Loading

กลุ่มตาลิบันเริ่มปฏิบัติการบุกยึดเมืองเมื่อราวสามเดือนที่แล้ว ยึดอำเภอเนิร์ค ซึ่งอยู่ติดกับกรุงคาบูลได้เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม และยึดเมืองจาลาลาบัดได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ทำให้เข้าล้อมกรุงคาบูลได้สำเร็จ โดยประธานาธิบดีอัชราฟ กานี ของอัฟกานิสถาน หลบหนีออกนอกประเทศในวันดังกล่าว   1 2 3 4 5 6 7 (ที่มา: สำนักข่าว Reuters) ———————————————————— Link : https://www.voathai.com/a/taliban-timeline/6006722.html โดย : voathai.com/ 18 สิงหาคม 2564