ชาวสวิตเซอร์แลนด์ลงประชามติสวมผ้าคลุมหน้าผิด กม. แต่ไม่พาดพิงมุสลิม

Loading

  ข้อเสนอของพวกขวาจัดที่ต้องการห้ามสวมผ้าปกคลุมใบหน้าในสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับชัยชนะอย่างฉิวเฉียดในศึกประชามติแบบมีพันธะผูกพันเมื่อวันอาทิตย์ (7 มี.ค.) โดยการทำประชามติครั้งนี้เกิดขึ้นตามแรงกระตุ้นของคนกลุ่มเดียวกันที่เคยเสนอโหวตห้ามก่อสร้างหอคอยสุเหร่ามาแล้วในปี 2009 จากผลประชามติอย่างเป็นทางการในเบื้องต้นพบว่า มาตรการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสวิตเซอร์แลนด์ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนอย่างฉิวเฉียด 51.2% ต่อ 48.8% ข้อเสนอภายใต้ระบบประชาธิปไตยโดยตรงของสวิตเซอร์แลนด์ ยังมีเป้าหมายหยุดความรุนแรงบนท้องถนนจากฝีมือพวกผู้ประท้วงสวมหน้ากาก และไม่ได้พาดพิงของอิสลามโดยตรง แต่กระนั้นก็มีพวกนักการเมืองท้องถิ่น สื่อมวลชนและนักเคลื่อนไหวบางส่วน ให้สมญานามมันว่าเป็น “บูร์กาแบน” “ในสวิตเซอร์แลนด์ วัฒนธรรมของเราคือคุณต้องโชว์ใบหน้า มันเป็นสัญญาณของเสรีภาพขั้นพื้นฐาน” วอลเตอร์ ว็อบมันน์ ประธานคณะกรรมการประชามติและสมาชิกรัฐสภาจากพรรคสวิส พีเพิลส์ กล่าวก่อนการโหวต เขาบอกต่อว่า “การปกปิดใบหน้าเป็นสัญลักษณ์อิสลามการเมืองอันสุดโต่ง ที่เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆในยุโรป ซึ่งไม่ควรปรากฏอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์” กลุ่มมุสลิมต่างๆ ประณามประชามติครั้งนี้ และบอกว่าพวกเขาจะเดินหน้าคัดค้านถึงที่สุด “การตัดสินใจในวันนี้เป็นการเปิดแผลเก่า รังแต่ขยายหลักการความไม่เท่าเทียมทางกฎหมาย และส่งสารอย่างโจ่งแจ้งแห่งการกีดกันชนกลุ่มน้อยมุสลิม” สภากลางมุสลิมในสวิตเซอร์แลนด์ระบุ พวกเขาสัญญาว่าจะยื่นคัดค้านทางกฎหมายต่อกฎหมายทั้งหลายที่บังคับใช้มาตรการห้ามสวมผ้าปกคลุมใบหน้า และจะดำเนินการระดมทุนไว้คอยช่วยเหลือบรรดาผู้หญิงที่ถูกปรับเงินจากฐานความผิดดังกล่าว “การบรรจุกฎระเบียบด้านการแต่งกายไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แค่กัดกร่อนสิทธิความเท่าเทียมของผู้หญิง แต่มันยังเป็นการก้าวถอยหลังสู่อดีต” สหพันธ์องค์กรอิสลามในสวิตเซอร์แลนด์กล่าว พร้อมระบุว่าค่านิยมแห่งความเป็นกลาง อดทนอดกลั้นและผู้ประนีประนอมของสวิตเซอร์แลนด์กำลังถูกบั่นทอนจากประเด็นถกเถียงนี้ ฝรั่งเศสห้ามสวมผ้าคลุมทั้งใบหน้ายามอยู่ในที่สาธารณะมาตั้งแต่ปี 2011 ส่วนเดนมาร์ก ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์และบัลแกเรีย ก็ห้ามสวมผ้าคลุมทั้งใบหน้าหรือบางส่วนในที่สาธารณะแล้วเช่นกัน ขณะที่ในสวิตเซอร์แลนด์เอง มีอยู่ 2…

ระวังPhishing รูปแบบใหม่ผ่านจดหมาย Voucher ขโมยรหัสผ่าน e-banking

Loading

ระวัง Phishing รูปแบบใหม่ผ่านจดหมาย Voucher ส่งทางทางไปรษณีย์ แต่แปลก ขอรหัสธนาคารออนไลน์ ลงเว็บไซต์ url แปลก หากหลงกลอาจเสียเงินทั้งหมดในบัญชี จากที่ผ่านมา Phishing มาในรูปแบบลิงก์บนอีเมล แจ้งเตือนธุรกรรมผิดปกติ ให้เปลี่ยนรหัสผ่านตามลิงก์ที่กำหนดให้ หวังผู้ที่เป็นเหยื่อคลิกแล้วกรอกรหัสบนเว็บไซต์ธนาคารปลอม แต่รอบนี้มาในรูปแบบเอกสารสำคัญส่งทางไปรษณีย์ถึงบ้าน เป็นจดหมาย EMS และออกแบบเอกสารได้เหมือนเรื่องจริงเลยทีเดียว     ระวัง Phishing รูปแบบใหม่ผ่านจดหมาย ของจริง ทำซะน่าเชื่อถือ แต่ความจริงคือหลอก     โดยข้างในซองจดหมาย EMS เป็นใบ gift voucher มูลค่า 10,000 บาท พร้อมกับข้อมูลขั้นตอนการใช้ Gift Voucher คงน่าตื่นเต้นไม่น้อยที่เราจะได้ซื้อของแล้วได้ส่วนลด 1 หมื่นบาท แต่ทว่า มีข้อสังเกตคือ ทำไมต้องใส่ password แถมใน gift card ข้อ 2 บอกว่าต้องใส่…

ศูนย์ปฏิบัติการ Smart City มข. นำ Digital Twin แผนที่ 3 มิติ ความละเอียดสูง หนึ่งในระบบอัจฉริยะ การบริหารงานมหาวิทยาลัย ประยุกต์ใช้ช่วยตำรวจซ้อมรับมือเหตุร้าย เพิ่มความปลอดภัยประชาชน

Loading

  หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีแนวโน้มเผชิญกับภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนครอบคลุมเชื่อมโยงหลายมิติ อาทิ ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาความมั่นคงทางทะเล และปัญหาโรคอุบัติใหม่ หน่วยงานความมั่นคงในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักและรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาความมั่นคง จึงได้ทบทวนแผนให้มีความก้าวทันต่อสถานการณ์ กอปรกับนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หรือ ไทยแลนด์ 4.0 ที่นายกรัฐมนตรีได้ลงนามอนุมัติแผน โครงการสมาร์ทซิตี้จังหวัดขอนแก่น (Smart City) ในปี 2559 ที่มีเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นให้อัจฉริยะตามมาตรฐานสากล 6 สาขา ได้แก่ การเดินทางและขนส่ง (Smart Mobility) พลเมือง (Smart People) ระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการ (Smart Economy) สิ่งแวดล้อม(Smart Environment) การบริหารจัดการภาครัฐ (Smart Governance) และ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของพลเมือง (Smart Living) โจทย์ของหน่วยงานความมั่นคง และ การนำพาเมืองไปสู่ความอัจฉริยะ ประชาชนมีความปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้ศูนย์ปฏิบัติการ Smart City หรือ SCOPC (Smart City Operation Center) มหาวิทยาลัยขอนแก่น…

ถอดรหัสเหตุร้ายในห้างสรรพสินค้า แรงจูงใจ 3 ด้านอาชญากร

Loading

    เหตุการณ์คนร้ายใช้อาวุธปืนจู่โจมก่อเหตุ “ชิงทรัพย์ธนาคาร หรือร้านทอง” ในสถานที่ที่คนพลุกพล่านตาม “ห้างสรรพสินค้า” เริ่มเกิดถี่มากยิ่งขึ้นใน “ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ” จากผลกระทบโรคระบาดโควิด-19 ที่มีโอกาสนำสู่เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินได้อยู่เสมอ ทำให้ประชาชนต่างรู้สึก “ไม่ปลอดภัย” อย่างเคยเกิดขึ้นมาแล้วใน “เหตุคนร้ายจี้ชิงทอง ในห้างฯดัง จ.ลพบุรี” กลายเป็นเหตุสะเทือนขวัญที่อาจไม่ใช่เหตุการณ์สุดท้ายก็ได้ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ม.รังสิต บอกว่า     ทุกคนมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามอันเป็นอันตรายแก่ชีวิต และทรัพย์สินแบบคาดไม่ถึงได้ทุกที่ทุกเวลา “คนร้าย” มีโอกาสก่อเหตุร้ายแรงได้เสมอ นับแต่ปี 1990 มีการขยายตัวของสังคมเมืองมากขึ้น มีผลให้เหตุอาชญากรรมเพิ่มตามมาด้วย ทั้งคดีฆ่าผู้อื่น หรือคดีพยายามฆ่า ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา…นักอาชญาวิทยามีการศึกษาเกี่ยวกับคดีฆ่าผู้อื่น ที่มีจุดเริ่มต้นของการก่ออาชญากรรมนี้เกิดจากจุดเล็กน้อยของความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม ตั้งแต่การขีดเขียนบนฝาผนังทั่วไป การทิ้งขยะเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่ว่าจะเป็นที่สวนสาธารณะ ถนนที่ทำงาน โรงเรียน ที่เรียกว่า…“ทฤษฎีหน้าต่างแตก” (Broken windows) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางอาชญาวิทยาของการสร้างมาตรฐาน ในการเปรียบเทียบจุดเริ่มต้นของ “การก่อเหตุอาชญากรรม” เสมือนกับ “หน้าต่างร้าว” เมื่อปล่อยไม่ซ่อมแซมแก้ไข ทำให้หน้าต่างบานนี้แตกได้…

เช็คความพร้อมไอทีก่อน PDPA บังคับใช้

Loading

  เช็คความพร้อมไอทีก่อน PDPA บังคับใช้ : โดยนายวรเทพ ว่องธนาการ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนด้านโซลูชั่น บริษัท ยิบอินซอย จำกัด เชื่อว่าหลายองค์กรในขณะนี้ต่างมีความเข้าใจถึงความสำคัญของการบังคับใช้กฎหมาย PDPA ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะเป็นการเสริมความมั่นคงปลอดภัยและความมั่นใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้งาน เพื่อเป็นการส่งท้ายก่อนกฎหมาย PDPA จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในกลางปีนี้ จึงอยากเชิญชวนองค์กรมาเช็คความพร้อมของระบบไอทีไม่ให้ตกหล่นเครื่องมือสำคัญที่ต้องมีเพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูง นั่นคือ   เครื่องมือค้นหาและจัดประเภทข้อมูล (Data Discovery and Classification) เพราะแต่ละองค์กรต่างมีการจัดเก็บและเรียกใช้และปรับปรุงข้อมูลมากมาย กระจัดกระจายอยู่ในระบบทั้งในองค์กร นอกองค์กร บนคลาวด์ หรือแม้ในปลายทาง หรือ เอนด์พอยต์ อย่างโทรศัพท์มือถือ หรือ BYOD ต่าง ๆ ดังนั้น การค้นหาและจัดประเภทข้อมูล จึงเป็นก้าวเริ่มต้นที่สำคัญในการวางระบบความปลอดภัยให้ข้อมูล เพราะเราคงไม่สามารถคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลใด ๆ ได้เลยหากไม่รู้ว่าข้อมูลนั้นอยู่ที่ไหน ข้อมูลใดสำคัญหรือไม่สำคัญและควรกำหนดแนวทางคุ้มครองอย่างไร การมีเครื่องมือไอทีที่ดีในการจัดทำคลังข้อมูลส่วนบุคคล นับเป็นการสร้างกระบวนการบริหารเชิงรุกไม่ให้มีการนำข้อมูลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา ระบุตำแหน่งที่จัดเก็บ และคัดแยกประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลในระบบ การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงผ่านการกำกับดูแลได้จากจุดเดียว สามารถติดตามกิจกรรมที่เกิดขึ้นกับการเรียกหรือใช้งานข้อมูลเหล่านั้นได้ทั้งการตรวจสอบย้อนหลัง หรือป้องปรามโดยการแจ้งเตือนทันทีที่เกิดการละเมิดนโยบายหรือข้อตกลง รวมถึงป้องกันการเข้าถึงข้อมูลด้วยการเข้ารหัส…

วิธีใช้แอป Facebook ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว บนมือถือ 2021

Loading

วิธีใช้แอป Facebook ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว บนมือถือ ยุคปี 2021 โดยทาง facebook ได้เผยถึงการเปลี่ยนแปลงในการออกแบบหน้าตาการตั้งค่าแบบใหม่ให้ผู้ใช้ facebook สามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้ง่ายขึ้น ตระหนักถึงความปลอดภัยของข้อมูลบน facebook ให้เหมาะสม โดย facebook ได้ออกแบบหน้าตาการตั้งค่าบนแอปมือถือใหม่อีกครั้ง เพราะส่วนใหญ่ผู้ใช้ facebook ก็จะใช้ผ่านมือถือเป็นหลัก   วิธีใช้แอป Facebook ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว บนมือถือ 2021       โดยหากคุณได้อัปเดตแอป Facebook เป็นประจำจนเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ลองสังเกตหน้าตาการตั้งค่าใหม่บนมือถือจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้     เริ่มจากเลือกที่เมนูขวามือสุด     1. เลือกการตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว 2. แล้วลองเลือกที่ ทางลัดไปการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว       Facebook ได้ออกแบบหน้าตา ทางลัดความเป็นส่วนตัวใหม่ ให้คุณสามารถลองตั้งค่าปรับความเป็นส่วนตัวให้ได้ง่ายขึ้น และปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม รวมถึงสามารถตั้งค่าตรวจสอบบัญชีเพื่อรักษาความปลอดภัยของบัญชี facebook ได้ง่ายขึ้นด้วย  …