เตือนผู้เล่นแอป Clubhouse ระวังเรื่องความเป็นส่วนตัว

Loading

  เตือนผู้เล่นแอป Clubhouse แอปโซเชียลใหม่ที่กำลังมาแรงในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นแอปการคุยด้วยเสียงอย่างเดียว หรือการโทรด้วยเสียงแบบกลุ่มเป็นแบบสาธารณะ โดยคุณสร้างห้องต่างๆที่มีผู้ใช้มากถึง 5,000 คนต่อครั้ง และล่าสุดมีคนดังมากมายมี clubhouse กันแล้ว ทั้ง นักธุรกิจ, นักลงทุน, นักแสดง, Content Creator หลังจาก Elon musk พูดถึง clubhouse นั่นเอง แม้จะเป็นแอปยอดฮิตมีเพื่อนมาเล่น Clubhouse มากมาย แต่ผู้เชี่ยวชาญจากทาง Forbes และผู้ใช้งานต่าง ๆ มีข้อกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ( Privacy ) รวมถึงทาง ACIS จากไทย ก็พบจุดที่ต้องระวังเกี่ยวกับ PRIVACY ด้วยเช่นกัน เตือนผู้เล่นแอป Clubhouse สิ่งที่ระวังเรื่อง Privacy ความเป็นส่วนตัว 1. การเข้าถึง contact ในโทรศัพท์ Clubhouse มีการขอการเข้าถึง Contact ในโทรศัพท์ในช่วงการลงทะเบียน…

รัฐบาลสิงคโปร์เดินหน้าลดความเสี่ยงด้าน IT หลัง Digital Transformation อย่างรวดเร็วในช่วงโควิด 19

Loading

  คณะกรรมการ Public Accounts Committee ของสิงคโปร์รายงานถึงสถานการณ์ของระบบดิจิทัลและ IT ภายในภาครัฐ โดยพบความเสี่ยงในหลายด้านเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างกว้างและรวดเร็วในช่วงวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ก็เป็นโจทย์ด้าน IT ที่รัฐบาลวางแผนจะแก้ไขต่อไป รายงานของ Public Accounts Committee เผยถึงจุดอ่อนและความเสี่ยงในระบบ IT ของหน่วยงานราชการสิงคโปร์ในปี 2020 ที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก Digital Transformation ที่ถูกเร่งให้เกิดในช่วงโรคระบาด ความเสี่ยงเหล่านี้ก็มีเช่น ความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความปลอดภัยระบบ การจัดการกับบัญชีผู้ใช้สำหรับพนักงานของรัฐที่โยกย้ายตำแหน่งหรือไม่ใช้งานแล้ว ระบบ Log ที่สามารถตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบ IT ได้ และกลกไกการจัดการอื่นๆ เช่น กระบวนการรายงานเหตุเกี่ยวกับความปลอดภัยข้อมูล โดยความเสี่ยงเหล่านี้มีทั้งปัญหาเชิงเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน และเชิงนโยบาย แผนการต่อไปของรัฐบาลสิงคโปร์จึงเป็นการอุดรูรั่วเหล่านี้ และเสริมสร้างระบบไอทีที่แข็งแรง ตรวจสอบได้ขึ้น เพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือในอนาคตที่จะมีการพึ่งพาระบบดิจิทัลมากขึ้น สิงคโปร์มีหน่วยงานอย่าง Smart Nation and Digital Government Group (SNDGG) มาช่วยประเมินความเสี่ยง และจัดการปัญหาด้วยโครงการต่างๆ…

วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุ

Loading

  วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุ หลังผู้คนทั่วโลกต่างพึ่งพาเครื่องมือเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งก็มีความเสี่ยงด้านการปลอดภัยอยู่ด้วย ทาง Google ได้รวบรวมเคล็ดลับต้านความเสี่ยงด้านความปลอดภัยออนไลน์ใหม่ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่หรือผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบนโลกอินเทอร์เน็ต วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ 1. ปกป้องบัญชีออนไลน์ของคุณเอง – สร้างรหัสผ่านที่คาดเดายาก – ลองใช้ประโยคที่จำง่าย และใช้ตัวอักษรตัวแรกของแต่ละคำโดยใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กตามความเหมาะสม หากเป็นไปได้ให้แทนที่ตัวอักษรด้วยตัวเลขหรือสัญลักษณ์ – อย่าใช้รหัสผ่านซ้ำ – ใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน เช่น passwords.google.com ,1password เพื่อสร้างและจัดเก็บรหัสผ่านที่คาดเดายาก     2. ระมัดระวังในการแชร์ข้อมูล – ควรงดการโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคล เช่นชื่อนามสกุลและที่อยู่อีเมลของคุณในฟอรัมสาธารณะหรือพื้นที่ออนไลน์ – อย่าเปิดเผยข้อมูลบัญชีธนาคาร PIN หรือรหัสผ่านของคุณ คุณจะพิมพ์ข้อมูลเหล่านี้ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในเว็บไซต์ที่คุณรู้จักและเชื่อถือได้ และเป็นเว็บไซต์ที่คุณสามารถเข้าถึงได้โดยตรง เพื่อความปลอดภัย อย่าคลิกที่ลิงก์ไปยังธนาคารหรือเว็บไซต์อื่น ๆ หากลิงก์นั้นส่งถึงคุณทางอีเมลหรือข้อความ ให้ไปที่เว็บไซต์ที่ต้องการโดยตรงโดยพิมพ์ URL ของเว็บไซต์นั้นในแถบที่อยู่ของบราวเซอร์ หรือค้นหาเว็บไซต์ – ตรวจสอบการตั้งค่าการแชร์ของคุณบนโซเชียลมีเดียและทำความเข้าใจว่าคุณแชร์โพสต์แบบสาธารณะ และหากเป็นเรื่องเฉพาะบางคนเท่านั้นให้ตั้งค่าเปลี่ยนเป็น แชร์ให้เห็นเฉพาะบางคน…

ไซเบอร์บุลลี่ ใครๆก็ไม่อยากโดน

Loading

  คุณเข้าโซเชียลมีเดียครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? เคยคอมเมนต์แง่ลบใครใร เฟสบุ๊ก, อินสตาแกรม หรือสื่อสังคมออนไลน์มั้ย? รู้หรือไม่การกลั่นแกล้งกัน เป็นต้นเหตุหนึ่งที่นำพาไปสู่อาการโรคซึมเศร้า และเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้คนที่ถูกกลั่นแกล้งตัดสินใจฆ่าตัวตาย !! ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะอเนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) ให้ข้อมูลถึงผลวิจัยเชิงคุณภาพประเด็นการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ในงานเสวนาเรื่อง “เปิดวิถีออนไลน์…เด็กไทยกับภัยใกล้ตัว” จัดโดยสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และภาคีเครือข่าย ว่า จากการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพประเด็นการลั่นแกล้งทางออนไลน์ ด้วยการจัดสนทนากลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 50 คน ในช่วงเดือน ส.ค. 2562 พบว่า   การกลั่นแกล้งทางออนไลน์มีอยู่ทั้งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่ 1.การก่อกวน ข่มขู่คุกคาม 2.การให้ร้ายใส่ความ การแกล้งแหย่ 3.การเผยแพร่ความลับ 4.การกีดกันออกจากกลุ่ม 5.การแอบอ้างชื่อ การสร้างบัญชีปลอม 6.การขโมยอัตลักษณ์ 7.การล่อลวง ***** โดยรูปแบบที่ถูกกลั่นแกล้งมากที่สุดคือการถูกก่อกวน ข่มขู่คุกคาม…

พกปืนมาด้วย?! สนามบินสหรัฐฯ ยึดปืนจากผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัวเมื่อปีก่อน

Loading

  สำนักงานดูแลความปลอดภัยด้านการคมนาคมของสหรัฐฯ หรือ TSA เผยหน่วยงานด้านความปลอดภัยที่สนามบินทั่วอเมริกา ยึดอาวุธปืนจากผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเท่าตัว ทำสถิติใหม่เมื่อปีที่แล้ว ตามรายงานของ Associated Press หน่วยงาน TSA เปิดเผยเมื่อวันอังคารว่า เมื่อปี 2020 เพียงปีเดียว เจ้าหน้าที่ตามจุดตรวจที่สนามบินทั่วประเทศ ยึดอาวุธปืนจากผู้โดยสารเที่ยวบินต่างๆ หรือจากกระเป๋าสัมภาระติดตัวขึ้นเครื่องบินของผู้โดยสารได้ราว 3,257 กระบอก หรือเท่ากับว่าผู้โดยสาร 1 ล้านคน จะมีอาวุธปืนติดตัวมาด้วยราว 10 คน ขณะที่อาวุธปืนราว 83% อยู่ในสัมภาระที่เก็บใต้ท้องเครื่อง ที่น่าสนใจคือ การยึดอาวุธปืนที่สนามบินต่างๆ ในอเมริกาเพิ่มขึ้นเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2019 จากที่ผู้โดยสารเครื่องบินเฉลี่ย 5 คน จากทุกๆ 1 ล้านคน จะพกพาอาวุธปืนมาที่สนามบิน แต่ยอดนักท่องเที่ยวเดินทางโดยเครื่องบินในปี 2019 มากกว่าในปี 2020 ถึง 500 ล้านคน จากวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้การเดินทางโดยเครื่องบินลดฮวบ ทาง TSA ยังพบว่า 5 สนามบินในอเมริกาที่พบการพกพาอาวุธปืนของผู้โดยสารมากที่สุดเมื่อปีที่แล้ว…

นักวิจัยเผย QUIC อาจรักษาความเป็นส่วนตัวได้ไม่ดีเท่า HTTPS

Loading

  ทีมนักวิจัยจากประเทศจีนได้ออกมาเผยถึงเทคนิคในการทำ Website Fingerprint บน QUIC ซึ่งอาจทำให้ผู้โจมตีสามารถรับรู้ถึงพฤติกรรมการเชื่อมต่อเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ของผู้ใช้งานได้แม้ไม่ต้องมีการถอดรหัส และยังมีความแม่นยำสูงกว่าเมื่อเทียบกับการใช้เทคนิคเดียวกันโจมตีทราฟฟิกแบบ HTTPS Pengwei Zhan, Liming Wang แห่ง Chinese Academy of Sciences และ Yi Tang แห่ง Guangzhou University คือนักวิจัยที่ได้ร่วมกันนำเสนอผลงานในเปเปอร์ Website Fingerprinting of Eary QUIC Traffic ถึงผลการทำ Website Fingerprinting บน QUIC ในครั้งนี้ การทำ Website Fingerprinting คือการพยายามดักฟังข้อมูลระหว่าง Client กับ Web Server โดยในงานวิจัยครั้งนี้ไม่ได้มีความพยายามในการถอดรหัสข้อมูลแต่อย่างใด แต่ทำการวิเคราะห์ Pattern จากทราฟฟิกที่เข้ารหัสเอาไว้อยู่แล้วว่าทราฟฟิกนั้นๆ น่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลอะไร โดยอาศัยข้อมูลอย่างเช่น Packet Size, Packet…