แบงก์ หวั่นข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว หลังกฎหมายใหม่บังคับใช้

Loading

  วงการแบงก์หวั่น ข้อมูลส่วนบุคคลลูกค้ารั่วไหล หลัง “กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล” จะเริ่มบังคับใช้ 1 มิ.ย.64 หลังเลื่อนมา 1 ปี แต่ไม่มีความชัดเจน ทั้งมาตรฐานรวบรวมข้อมูลและแนวปฎิบัติ เหตุรอกฤษฎีกาตีความบอร์ดทั้งชุด “วินาศภัย” เบรกขยายตลาดเสนอขายประกันหรือบริการแบบอื่น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data Protection Act (PDPA) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 1 มิถุนายน 2564 หลังเลื่อนมาจากวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังมีความไม่ชัดเจนในหลายเรื่อง เช่น มาตรฐานจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล แนวปฎิบัติ ส่วนหนึ่งเพราะยังต้องรอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความรายชื่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(บอร์ด) จากปัจจุบันที่มีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี)เป็นประธานกรรมการชั่วคราว เมื่อบอร์ดยังไม่ชัดเจน จึงเกรงว่า จะสร้างปัญหาในทางปฎิบัติ ถ้าไม่มีรายละเอียดหรือแนวทางปฎิบัติ มาตรฐานการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งถ้าไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องขอความยินยอม (Consent)จากเจ้าของข้อมูล และยังเกรงว่า เมื่อออกแนวปฎิบัติมาแล้วจะเป็นปัญหาว่า ไม่สามารถปฎิบัติ “ข้อมูลที่ต้องรวบรวมจัดเก็บนั้นมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่ไม่ต้องขอ Consent เพราะได้รับยกเว้น…

เจาะแอปพลิเคชันโควิดสิงคโปร์ ติดตามตัวโดยบลูทูธ ย้ำไม่ละเมิดข้อมูลส่วนตัว

Loading

  แอปพลิเคชันรายงานสถานการณ์โควิด-19 และติดตามผู้ป่วย ‘เทรซ ทูเกตเตอร์’ มีชาวสิงคโปร์ใช้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ กลายเป็นแอปฯสู้โควิด-19 ที่ถูกยกให้เป็นแอปฯ ที่ประสบความสำเร็จที่สุด นอกจากนี้ยังมี โทเคน หรืออุปกรณ์พกพาเป็นทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุและเด็กที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ส่วนประชาชนที่ไม่อยากดาวน์โหลดแอปฯให้หนักเครื่องก็สามารถใช้ โทเคน ได้เช่นกัน ส่วนแอปฯของญี่ปุ่น และฮ่องกง กลับสวนทางประชาชนไม่เลือกใช้เพราะความซับซ้อนของวิธีใช้งาน และกังวลการละเมิดข้อมูลส่วนตัว นักวิเคราะห์ชี้ ความเชื่อมั่นในรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดว่าประชาชนนั้นจะใช้แอปพลิเคชันได้อย่างสนิทใจหรือไม่   สัปดาห์ที่ผ่านมาสิงคโปร์ประกาศว่า แอปพลิเคชัน ‘เทรซ ทูเกตเตอร์’ (TraceTogether) ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ติดตามตัวประชาชนต่อสู้กับโรคโควิด-19 มีผู้สมัครใช้กว่า 5.7 ล้านคน หลังจากการรณรงค์ของรัฐบาลสิงคโปร์ ที่ระบุชัดว่าถึงแม้จะไม่มีการประกาศบังคับใช้ประชาชนโหลดแอปพลิเคชันดังกล่าว แต่ผู้ที่ไม่มีแอปฯอาจถูกปฏิเสธให้เข้าสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงร้านอาหาร ส่งผลให้มีประชาชนสมัครใช้งานเพิ่มเป็นจำนวนมาก หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีหลายฝ่ายกังวลเกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ทำให้มีการแก้ไขปรับปรุงจุดด้อย ซึ่งแอปพลิเคชัน ดังกล่าวยังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะนำพาสิงคโปร์เข้าสู่การผ่อนคลายมาตรการป้องกนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเฟส 3 ก่อนปีใหม่นี้ รู้จัก เซฟเอ็นทรี และเทรซ ทูเกตเตอร์ รัฐบาลสิงคโปร์ได้ใช้การเช็กอิน ผ่านระบบดิจิทัลหรือเรียกว่า ‘เซฟเอ็นทรี’ ซึ่งคล้ายคลึงกับ…

โคตรเซียน “ไอโอ” คือไอโอรัสเซีย

Loading

ประเทศที่ทำไอโอมากที่สุดในโลกและสำเร็จมากที่สุด รัสเซียทำอย่างไรและกำลังมุ่งไปทางไหน กลยุทธ์การรบแบบสับขาหลอกของรัสเซีย (หรือสหภาพโซเวียตในขณะนั้นฉ ที่โด่งดังมากในช่วงสงครามเย็นคือสิ่งที่เรียกว่า “มาสกิรอฟสกา” (Maskirovka) ซึ่งแปลว่าการอำพราง แต่มันมีความหมายมากกว่านั้น สารานุกรมการทหารของสหภาพโซเวียตในปี 1944 นิยาม “มาสกิรอฟสกา” ว่าเป็นวิธีการรักษาที่มั่นในการปฏิบัติการรบโดยอาศัย “ความซับซ้อนของมาตรการเป็นการชี้นำให้ศัตรูเข้าใจผิด” โดยสรุปก็คือ “มาสกิรอฟสกา” คือการใช้กลยุทธ์อำพราง ซ่อนเร้น หรือแม้แต่การทำแบบเปิดเผยเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด หรือใช้ภาษาชาวบ้านทุกวันนี้ก็คือ “ปฏิบัติการไอโอ” (Information Operations) ในระยะหลัง “มาสกิรอฟสกา” ไม่ใช่แค่การอำพรางในสนามรบ แต่ยังรวมถึงกลยุทธ์การเมืองและการทูตรวมถึงการบิดเบือน “ข้อเท็จจริง” เกี่ยวกับสถานการณ์และการรับรู้ที่จะส่งผลกระทบต่อสื่อมวลชนและความคิดเห็นทั่วโลก เพื่อบรรลุหรืออำนวยความสะดวกในด้านยุทธวิธียุทธศาสตร์ระดับชาติและเป้าหมายระหว่างประเทศ ปฏิบัติการที่ทำให้สื่อและความเห็นสาธารณะเข้าใจผิดคือการปล่อย “ความเท็จ” เพื่อสร้าง “ความจริงใหม่” ทำให้อีกฝ่ายถูกหลอกด้วยข่าวปลอมที่คิดว่าเป็นความจริงจนกระทั่งกลายเป็นหมูในอวยของฝ่ายศัตรู หลังสิ้นสุดสงครามเย็นแล้ว “มาสกิรอฟสกา” หายเข้ากลีบเมฆไปเพราะรัสเซียอ่อนแอลงและโลกไม่ได้เป็นสนามชิงอำนาจของประเทศใหญ่ๆ อีก จนกระทั่งถึงช่วงปลายทศวรรษที่ 2010 “มาสกิรอฟสกา” ก็เริ่มคืบคลานกลับเข้ามาอีก และมันหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ รัสเซียกลับมาแข็งแกร่งมากขึ้ภายใต้การบริหารของวลาดิมีร์ ปูติน ขณะเดียวกันชาติตะวันตกก็พยายามบีบรัสเซียด้วยการรุกคืบเข้าในเขตอิทธิพลเดิมของรัสเซียคือยุโรปตะวันออกและอดีตประเทศในเครือสหภาพโซเวียต เหตุการณ์ที่นำไปสู่การแตกหักคือความวุ่นวายในยูเครน กรณีนี้ทำให้ “กลยุทธ์ไอโอสับขาหลอก” กลับมาผงาดอีกครั้ง มาเรีย สเนโกวายา ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ทำการวิเคราะห์การทำสงครามข้อมูลข่าวสารของปูตินในกรณียูเครนเอาไว้โดยบอกว่ารัสเซียใช้รูปแบบสงครามลูกผสมขั้นสูง (Hybrid warfare) ในยูเครนตั้งแต่ต้นปี 2014 โดยใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “การควบคุมแบบสะท้อนกลับ” “การควบคุมแบบสะท้อนกลับ” (Reflexive Control) คือวิธีการถ่ายทอดข้อมูลไปยังคู่ต่อสู้ โดยใช้ชุดข้อมูลเตรียมไว้เป็นพิเศษเพื่อโน้มน้าวให้เขาตัดสินใจล่วงหน้าโดยสมัครใจตามที่ผู้ริเริ่มปฏิบัติการกระทำต้องการให้เป็นอย่างนั้น สรุปสั้นๆ…

เปิดเเผนรัสเซียขยายอิทธิพลเพื่อ ‘แทรกซึมการเมืองสหรัฐฯ’ ต่อเนื่อง

Loading

Putin’s language สี่ปีหลังจากการเตือนภัยและเตรียมการต่อต้านการเเเทรกแซงของรัสเซียต่อการเลือกตั้งอเมริกัน หน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯ มั่นใจว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเมื่อปี ค.ศ. 2016 ที่รัสเซียสามารถเจาะล้วงระบบข้อมูลและขยายอิทธิพลต่อกระบวนการประชาธิปไตยอเมริกา อย่างไรก็ตาม ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่ารัสเซียยังคงพยายามขยายปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสารในรูปแบบที่แยบยลกว่าในอดีต จากเดิมที่รัสเซียใช้บัญชีโซเชี่ยลมีเดียปลอมสร้างเนื้อหาและเผยเเพร่ข้อมูล ปัจจุบันกลวิธีใหม่ๆ ถูกนำมาใช้เพื่อชี้นำความคิดในสังคมอเมริกัน เช่น การแทรกซึมเข้าไปในวงการข่าวและสื่อสังคมออนไลน์ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มขวาจัดและซ้ายจัดในอเมริกา เอวานา ฮู ซีอีโอ ขององค์กร Omelas ที่ศึกษาเกี่ยวกับความคิดสุดโต่งออนไลน์ ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า วิธีการลักษณะนี้ของรัสเซียสามารถสร้างความสนใจและมีปฏิกิริยาตอบโต้บนสื่อออนไลน์โดยผู้ใช้สื่อจำนวนนับล้านคน เธอบอกว่าโพสต์เหล่านี้ถูกออกแบบมาอย่างดี เพื่อกระตุ้นความรู้สึก ทั้งทางบวกและทางลบต่อเป้าหมาย องค์กรของเธอซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน วิเคราะห์เนื้อหาที่รัสเซียปล่อยออกมาบนสื่อสังคมไลน์ 1 ล้าน 2 แสนโพสต์บน 11 แพลตฟอร์มช่วง 90 วัน ก่อนและหลังวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 3 พฤศจิกายน US-politics-vote-RALLY องค์กร Omelas พบว่าสื่อของรัสเซียที่ปล่อยข้อมูลออกมามากในอันดับต้นๆได้เเก่ RT, Sputnik, TASS และ Izvestia TV Omelas…

Data Privacy กับ Digital Trust ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบนความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย

Loading

โดยนายวรเทพ ว่องธนาการ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนด้านโซลูชั่น บริษัท ยิบอินซอย จำกัด บนโลกดิจิทัล ข้อมูลคือขุมทรัพย์มูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ที่สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้กับผู้ผลิตสินค้าและบริการ การได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปในการระบุตัวตน เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลที่มีความอ่อนไหวสูง (Sensitive Data) เช่น ข้อมูลที่บ่งบอกพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภค รสนิยม ข้อมูลสุขภาพ ซึ่งทำให้องค์กรสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าได้โดยใช้เวลาน้อยลง และเกิดผลสัมฤทธิ์แบบ  วิน-วิน กล่าวคือ ลูกค้าให้การยอมรับต่อการนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ประโยชน์อย่างเจาะจงเพื่อตอบสนองความต้องการที่ตรงจุดและโดนใจได้แม่นยำกว่าในอดีต ขณะที่การดูแลเอาใจใส่ที่ลูกค้าได้รับเป็นพิเศษจะนำมาซึ่งความจงรักภักดี (Loyalty) ที่ยั่งยืนต่อสินค้าและบริการขององค์กรได้ด้วย ครบทุกมิติการจัดการข้อมูลความเป็นส่วนตัว – Data Privacy Management (DPM) หน่วยงานที่ดูแลความปลอดภัยด้านไอทีมีบทบาทสำคัญโดยตรงต่อการลดความเสี่ยงและสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย (Digital Trust) ต่อข้อมูลความเป็นส่วนตัว โดยต้องทำให้ลูกค้าไว้วางใจได้ว่า หนึ่ง การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชันหรือบริการอื่นใดทั้งในองค์กร นอกองค์กร หรือเชื่อมโยงข้ามพรมแดน จะถูกเก็บรวบรวม เข้าถึง ประมวลผล และเคลื่อนย้ายถ่ายโอนอย่างเหมาะสม ปลอดภัย สอง สามารถสร้างประโยชน์แบบเฉพาะเจาะจง (Hyper-Personalization) ตรงตามสัญญาที่ให้ไว้กับเจ้าของข้อมูล และเป็นไปตามธรรมาภิบาลด้านข้อมูล (Data Governance)…

ก่อการร้ายเขย่ากรุงเวียนนาของออสเตรีย : ใครทำ?

Loading

ที่มาภาพ: https://www.bbc.com/news/world-europe-54798508 Written by Kim หลายชั่วโมงก่อนที่ออสเตรียจะปิดเมือง (lockdown) อีกครั้ง เพื่อสะกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2020 ได้เกิดเหตุก่อการร้ายในกรุงเวียนนา โดยที่เกิดเหตุหลายแห่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคง ขณะที่ผู้นำยุโรปรวมทั้งนายกรัฐมนตรีอังกฤษบอริส จอห์นสันและประธานาธิบดีฝรั่งเศสเอ็มมานูเอล มาครงร่วมประณามการโจมตีดังกล่าว ซึ่งแสดงเครื่องหมายการก่อการร้ายของ ISIS ที่คล้ายคลึงกับปฏิบัติการโจมตีกรุงปารีส (พฤศจิกายน 2015) และกรุงบรัสเซลส์ (มีนาคม 2016)[1]           การโจมตีแบบประสานงานของผู้ก่อการร้าย (ไม่ทราบจำนวน) ใช้อาวุธปืนไรเฟิลและปืนพกกราดยิง 6 จุดในกรุงเวียนนาเมื่อ 20.00 น. ของวันที่ 2 พฤศจิกายน 2020 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน (ชาย 2 หญิง 2) บาดเจ็บมากกว่า 15 คน (มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงคนร้ายเสียชีวิต 1 คน) ทางการออสเตรียระบุว่า เหตุดังกล่าวเป็นการก่อการร้าย ขณะที่ข่าวลือแพร่สะพัดในโลกออนไลน์รวมถึงการจับตัวประกันที่โรงแรมฮิลตันและร้านซูชิญี่ปุ่นสถานที่เกิดเหตุทั้ง 6 แห่งยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคง ทางการออสเตรียเตือนให้ประชาชน (พลเรือน) หลีกเลี่ยงการเดินทางใจกลางกรุงเวียนนา โดยเฉพาะสถานีขนส่งสาธารณะ เนื่องจากหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายได้เปิดปฏิบัติการรักษาความมั่นคงขนาดใหญ่ เพื่อพิสูจน์ทราบและกักตัวผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย มีการปิดกั้นพื้นที่สถานบันเทิง ธุรกิจและถนนรอบเมือง รถยนต์กู้ภัยฉุกเฉินมุ่งสู่ถนนใจกลางกรุงเวียนนาซึ่งเป็นทางสัญจรหลักที่มีบาร์และร้านอาหารจำนวนมาก…