การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: เด็กชายจากโคเปนเฮเกน (ตอนที่ 2)

Loading

ที่มาภาพ: captured at: https://www.youtube.com/watch?v=GBKXTx45yGE Written by Kim บทความตอนที่แล้วได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง “หมอดู” กับ “นักวิเคราะห์ข่าวกรอง” ในตอนนี้เราจะอภิปรายถึงการดำเนินหนทางปฏิบัติสำคัญ 4 แนวทาง เพื่อตอบสนองความต้องการที่จำเป็นของประชาคมข่าวกรองและผู้ที่พึ่งพาอาศัยการประมาณการให้ดียิ่งขึ้น ประการแรก ควรมีการจัดตั้งองค์การข่าวกรองที่ครอบคลุมเบ็ดเสร็จ (Comprehensive intelligence organizations) เพื่อบูรณาการการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการวิเคราะห์ ระบบแยกส่วนโดยมีหน่วยงานรับผิดชอบเฉพาะเรื่อง เช่น หน่วยงานหนึ่งจัดเตรียมประเด็นทางการเมืองเท่านั้น อีกหน่วยเตรียมการทางทหารและยังมีหน่วยวิเคราะห์ทางสังคม – เศรษฐกิจ จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการสังเคราะห์รายงานอย่างเป็นอิสระ ผลผลิตของระบบที่แยกจากกันเป็นการรวบรวมรายงานเป็นตอน ๆ อาจไม่มีการวางแผนหรือมุ่งเน้นแง่มุมด้านใดด้านหนึ่งมากเกินจริง[1] สถานการณ์อันตรายไม่แพ้กันที่ดำรงอยู่ เมื่อไม่มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่สังเคราะห์รายงานวิเคราะห์อิสระของสำนักงานต่าง ๆ ให้ดีเพียงฉบับเดียว แต่ละหน่วยงานต่างรายงานการคาดทำนายของตนไปยังผู้ตัดสินใจโดยตรง ปัญหาคือ อุปมาเหมือนคนป่วยไข้ไม่สบายแยกปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เช่น ประสาทวิทยา หัวใจ กระดูก แพทย์แต่ละคนก็ตรวจรักษาและวินิจฉัยซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดความงงงวย ในการตัดสินใจเลือกการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่างสาขา ประการที่สอง คัดเลือกนักวิเคราะห์ข่าวกรองทุกระดับด้วยความรอบคอบ (very carefully selected at all echelon) เนื่องจากองค์ประกอบของความไม่แน่นอนสูง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการใช้นักวิเคราะห์ที่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและเห็นคุณค่าความเป็นไปได้ที่มีนัยสำคัญของพัฒนาการใหม่ นักวิเคราะห์ข่าวกรองจะต้องสามารถเปลี่ยนการวิเคราะห์ครั้งก่อนอย่างรวดเร็วเมื่อข้อมูลบ่งชี้ถึงความจำเป็น หากปราศจากคุณภาพที่จำเป็นของความยืดหยุ่นในการวิเคราะห์ ชะตากรรมของนักวิเคราะห์จะถูกชี้ด้วยความประหลาดใจ ซึ่งเป็นคำถามของเวลาและโอกาส…

การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: “หมอดู” กับ “นักวิเคราะห์ข่าวกรอง” (ตอนที่ 1)

Loading

ที่มาภาพ: https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifestyle/1823259/your-horoscope-for-27-dec-2-jan Written by Kim ในอดีตกาลที่ผ่านมา “กษัตริย์” และ “นายพล” มักจะไปหารือขอคำแนะนำจากนักดาราศาสตร์หรือโหราจารย์ (หมอดู) ก่อนตัดสินใจเรื่องสำคัญ เช่น การทำสงครามหรือออกรบ ซึ่งเป็นความพยายามแก้ไขปัญหาแบบเก่าภายใต้เงื่อนไขความไม่แน่นอน แม้พวกเราหลายคนยังคงอ่านคำพยากรณ์รายวันเพื่อความสนุกและบันเทิงหรือไปหาหมอดู (ดูหมอ) แต่รัฐบาลในยุคสมัยใหม่แทบจะไม่ต้องพึ่งพาวิธีการ “ปรึกษา” แบบโบราณ           ปัจจุบันผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการข่าวกรองได้สืบทอดบทบาทของบุคคลลึกลับเหล่านั้น ยกเว้นผู้ที่ถูกเรียกว่า นายทหารฝ่ายเสนาธิการ (staff officers) หรือข้าราชการพลเรือน (civil servants) แม้พวกเขาทำหน้าที่เป็นมือขวาของผู้มีอำนาจตัดสินใจ ทั้งนี้ ความพยายามใด ๆ ที่จะบรรยายรายละเอียดเชิงเปรียบเทียบระหว่าง “นักวิเคราะห์” และ “หมอดู” จะเปิดเผยให้เห็นมนุษย์สองจำพวกที่แตกต่างกัน           ผู้มีอาชีพด้านการข่าวกรองไม่เคยอ้างตนว่าสามารถทำนายอนาคตได้ แม้จะมีความลับรายล้อมอยู่รอบตัวอย่างสม่ำเสมอ งานข่าวกรองเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมาแบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างในการวิเคราะห์ งานข่าวกรองมีขีดความสามารถและความได้เปรียบอันเป็นที่เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันควรตระหนักถึงข้อจำกัด ผู้มีอำนาจตัดสินใจทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ต้องแบ่งปันความรับผิดชอบกับนักวิเคราะห์ข่าวกรองในกรณีที่ตัดสินใจแย่ ๆ บนพื้นฐานของการประมาณการแบบคาดเดา           บทความนี้[1]จะพูดถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างข่าวกรองกับ “ลูกค้า (clients)” หรือ “ผู้ตัดสินใจ” ที่อาจนำไปสู่การทำงานที่มีการบูรณาการเป็นอย่างดีและความพึงพอใจมากขึ้น ลักษณะพิเศษของนักวิเคราะห์ข่าวกรอง (The Special Traits of…

“ซื้อพาสปอร์ตย้ายประเทศ” วิธีใช้เงินแก้ปัญหาช่วงโควิด-19 ระบาด

Loading

FILE PHOTO: Photo illustration of a Cypriot passport, October 12, 2019. REUTERS/Stringer/Illustration/File Photo สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า แม้คนส่วนใหญ่จะท่องเที่ยวได้น้อยลงในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่สำหรับคนที่ร่ำรวยมหาศาลนั้น สามารถ “ซื้อ” พาสปอร์ตของประเทศอื่นๆ ที่ปกติปิดชายแดนจากประเทศของพวกเขาได้ การซื้อพาสปอร์ตไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด รัฐบาลหลายประเทศมีโครงการมอบสัญชาติหรือวีซ่าให้ชาวต่างชาติที่ลงทุนเม็ดเงินในประเทศเหล่านี้ โดยในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา จุดประสงค์ของผู้ที่ลงทุนเพื่อรับสัญชาติใหม่ที่มีทรัพย์สินตั้งแต่ 2 – 50 ล้านดอลลาร์หรือมากกว่านั้น คือเพื่อเสรีภาพในการบ้ายถิ่นฐาน สิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือเหตุผลด้านไลฟ์สไตล์เช่น เพื่อเข้าถึงการศึกษาที่ดีขึ้น หรือเสรีภาพพลเมืองที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้ บรรดาครอบครัวเศรษฐีก็มีเหตุผลในการซื้อสัญชาติหรือวีซ่าเพิ่มขึ้นด้วยคือ การรับบริการด้านสุขภาพและการหาประเทศอื่นรองรับเผื่อเหตุการณ์ในอนาคต โดมินิค โวเล็ค หัวหน้าแผนกเอเชียของบริษัทให้คำปรึกษาด้านการถือสัญชาติและการหาที่พำนัก Henly & Partners กล่าวกับทางซีเอ็นเอ็นว่า คนร่ำรวยมักไม่วางแผนล่วงหน้า 5-10 ปีแต่วางแผนด้านการเงินและความเป็นอยู่ล่วงหน้านานถึงกว่าร้อยปี โดยเฉพาะในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด เนื่องจากนี่อาจไม่ใช่การระบาดครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียวในชั่วชีวิตของพวกเขา ทางบริษัทยังได้รับคำขอรับบริการจากลูกค้ามากขึ้นถึง 49…

แนวโน้มล่าสุดของสงครามไซเบอร์ (CYBERWARFARE) และการจารกรรมทางดิจิทัล (ESPIONAGE)

Loading

ที่มาภาพ: https://www.forbes.com/sites/steveandriole/2020/01/14/cyberwarfare-will-explode-in-2020-because-its-cheap-easy–effective/#53af1d216781 Written by Kim  “สงครามไซเบอร์จะระเบิดขึ้นในปี 2020 เพราะ “ต้นทุน (ราคา) ถูก ง่ายและมีประสิทธิภาพ” Steve Andriole, Professor of Business Technologyin the Villanova School of Business at Villanova University” ในการแข่งขันเพื่อเป็นชาติแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา (COVID-19) ปรปักษ์ของสหรัฐฯได้แอบขโมยข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนดังกล่าวจากมหาวิทยาลัย บริษัทเภสัชภัณฑ์และสถาบันดูแลสุขภาพของสหรัฐฯ เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงและศักดิ์ศรีของประเทศรวมทั้งแรงกระตุ้นทางการเงินประกอบกับความสัมพันธ์สหรัฐฯ – จีนที่เสื่อมทรามลง โอกาสที่ทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันจึงมีค่าเท่ากับศูนย์ (nil) ขณะที่กลุ่ม Cozy Bear นักเจาะระบบชาวรัสเซีย ซึ่งใกล้ชิดกับหน่วยข่าวกรองต่างประเทศรัสเซีย (SVR) ได้เล็งเป้าที่การวิจัยวัคซีนดังกล่าวเช่นกัน อย่างไรก็ดี รัสเซีย จีนและปรปักษ์อื่น ๆ ต่างก็ใช้ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในการ “ชักชวน” ให้นักเจาะระบบผู้ช่ำชองและอาชญากรไซเบอร์ “ทำงาน” ที่ยากต่อการเชื่อมโยงกลับไปยังรัฐผู้อุปถัมป์ (state sponsors)[1] ปัจจุบัน นักเจาะรบบจากจีน รัสเซียและอิหร่านได้ขโมยข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาจากมหาวิทยาลัย บริษัทเวชภัณฑ์และสถาบันดูแลสุขภาพในสหรัฐฯ โดยทำให้การแข่งขันเพื่อเป็นชาติแรกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 ทวีความรุนแรง ทั้งนี้ การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyberattacks) ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศเหล่านี้…

ภูมิทัศน์ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายระดับโลกในปี 2019

Loading

ดาวน์โหลดเอกสารที่ https://www.state.gov/country-reports-on-terrorism-2/ Written by Kim กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเผยแพร่รายงานการก่อการร้ายรายประเทศประจำปี 2019 (Country Reports on Terrorism 2019)[1] สรุปภาพรวมภูมิทัศน์ของภัยคุกคามทั่วโลกโดยเน้นความคืบหน้าในการต่อต้านการก่อการร้ายในพื้นที่ต่าง ๆ และยอมรับว่ายังมีความท้าทายสำคัญรออยู่ข้างหน้า ทั้งนี้ กลุ่ม Salafi-jihadist[2] รวมถึงรัฐอิสลาม (Islamic State -IS) และ al-Qaida ยังคงเป็นปฏิปักษ์ที่ยืดหยุ่นและเป็นภัยคุกคามความมั่นคงโลกผ่านกลุ่มพันธมิตรและขยายพื้นที่ปฏิบัติการใหม่อย่างต่อเนื่อง แม้รายงานจะบ่งชี้ว่า สหรัฐฯกดดันอิหร่าน “ขั้นสูงสุด” โดยประกาศให้กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (Islamic Revolutionary Guard Corps – IRGC) อิหร่านเป็นองค์กรก่อการร้ายต่างชาติ แต่ผลที่ได้มีความหลากหลายรวมกัน หากมองในแง่ดีที่สุด[3] เมื่อ 24 มิถุนายน 2020 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเผยแพร่รายงานประจำปีเกี่ยวกับการก่อการร้ายรายประเทศโดยสรุปภาพรวมภูมิทัศน์ภัยคุกคามทั่วโลก สาระสำคัญส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยรวมทั้งภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้ายที่ยังคงอยู่และบทบาทของอิหร่านในการสนับสนุน (ตัวแทน) กลุ่มก่อการร้าย เช่น กลุ่ม Hezballah ปลุกปั่นการก่อการร้ายและความรุนแรงสุดโต่งทั่วโลก (จากตะวันออกกลางถึงละตินอเมริกา) และยอมรับว่าเครือข่ายกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติที่มีเหตุจูงใจด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ก่อการร้ายคนขาวผู้สูงส่ง (white supremacist terrorists) เป็นภัยคุกคามความมั่นคง ในเบื้องต้นรายงานมุ่งเน้นเหตุการณ์ในปี 2019 ซึ่งสหรัฐฯและพันธมิตรสามารถเอาชนะและกำจัดที่มั่นสุดท้ายของ IS ใน Baghouz…

เมื่อข่าวกรอง (Intelligence) ถูกทำให้เป็นการเมือง (Politicizing): อันตรายของประเทศ

Loading

https://www.npr.org/2020/07/01/885909588/trump-calls-bounty-report-a-hoax-despite-administration-s-briefing-of-congress Written by Kim รัฐบาลของประธานธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯมีมาตรฐานการปฏิบัติต่อรายงานใด ๆ ที่เผยให้เห็นว่าประธานาธิบดีทรัมป์ประจบประแจงประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ด้วยการตีตราว่ารายงานนั้นเป็น “ข่าวปลอม” การทำให้รายงานประมาณการข่าวกรองแห่งชาติ (national intelligence assessments) และการวิเคราะห์จากประชาคมข่าวกรองเป็น “การเมือง” (politicizing) ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ส่งผลทางลบอย่างมหาศาลและก่อให้เกิดความจริงทางเลือก (alternative facts) ที่ขัดแย้งไม่สำคัญทางการเมืองรวมทั้งการวิเคราะห์ฝ่ายเดียว ทั้งนี้ มีหน่วยงานพลเรือนของรัฐบาลกลางเพียงไม่กี่แห่งที่ไม่ถูกประธานาธิบดีทรัมป์และผู้จงรักภักดีทางการเมือง ป้ายสีว่าลำเอียงเข้าข้าง ทรยศหรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐพันลึก (Deep State)[1] ระหว่างการนำสหรัฐฯเข้าสู่หายนะของการรุกรานอิรักในปี 2003 รัฐบาลของประธานาธิบดีบุชประสบความสำเร็จอยู่บ้างในการคัดเลือกเฉพาะข่าวกรองที่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง (casus belli) เพื่อเข้าทำสงคราม จากนั้นรองประธานาธิบดี Dick Cheney ได้แทรกแซงและจุ้นจ้านกับการวิเคราะห์ของสำนักงานข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency – CIA) โดยใช้การเมืองกดดันหน่วยข่าวกรองมืออาชีพฝ่ายพลเรือน โดยผลพวงของความขัดแย้งดังกล่าวยังคงรู้สึกได้จนถึงทุกวันนี้ รัฐบาลสหรัฐฯมักจัดลำดับความสำคัญและออกคำสั่งข่าวกรองแห่งชาติ (national intelligence directives) มอบหมายภารกิจให้หน่วยงานข่าวกรองรวบรวม วิเคราะห์ ประมาณการและแจกจ่ายรายงานข่าวกรองตามลำดับความสำคัญและวัตถุประสงค์ เมื่อใดที่รัฐบาลพยายามแสวงหาข่าวกรอง เพื่อสนับสนุนข้อกำหนดที่มีอยู่ก่อน (pre-existing preference) หรือความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลที่เกิดขึ้นตามมาย่อมเลวร้ายเสมอ นี่คือแนวโน้มความแตกแยกที่ถูกตรวจสอบโดยข้าราชการพลเรือนที่ทำหน้าที่รับใช้ฝ่ายบริหารทุกระดับของรัฐบาล…