เฟมทวิต : ประวัติศาสตร์ของแนวคิดสตรีนิยม และปมขัดแย้งในสังคมไทย

Loading

แนวคิดสตรีนิยม (feminism) และกลุ่มผู้นิยมแนวคิดนี้ที่เรียกว่า “เฟมินิสต์” (feminist) กำลังเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนในหมู่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียของไทย #เฟมทวิต เป็นแฮชแท็กที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทางโซเชียลมีเดีย โดยเป็นคำเรียกในเชิงเสียดสีที่หมายถึง กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ออกมารณรงค์เรื่องความเสมอภาคทางเพศระหว่างหญิงชาย และต่อต้านเรื่องการเหยียดเพศ ตลอดจนการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิง ผ่านการโพสต์ถ้อยคำในโลกออนไลน์ โดยที่ไม่ได้ลงมือทำอะไรอย่างแท้จริง แบบที่กลุ่ม “เฟมินิสต์” ตัวจริงเคลื่อนไหวรณรงค์อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง บีบีซีไทยจะพาไปดูประวัติความเป็นมาของแนวคิดสตรีนิยม และความเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศนี้ กำเนิดแนวคิดสตรีนิยม คำว่า “เฟมินิสม์” (feminism) หรือแนวคิดสตรีนิยม ได้รับการบัญญัติไว้โดยนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ชาร์ล ฟูรีเย ในปี ค.ศ.1837 ปัจจุบันสารานุกรมบริแทนนิกา ซึ่งเป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์มายาวนาน ได้นิยามความหมายของคำนี้ว่าเป็น “ความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง” ขณะที่พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับอ็อกซ์ฟอร์ด ได้นิยามคำว่า “เฟมินิสต์” (feminist) ว่าเป็น “ผู้สนับสนุนสิทธิและความเสมอภาคของสตรี” รีเบ็คก้า เวสต์ นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษผู้วิพากษ์วิจารณ์ความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศอย่างตรงไปตรงมา เคยเขียนเอาไว้ในปี 1913 ว่า “ดิฉันเองไม่เคยระบุได้อย่างชัดเจนว่า แนวคิดสตรีนิยม คืออะไร ดิฉันรู้เพียงว่าผู้คนเรียกดิฉันว่า “เฟมินิสต์” เวลาที่ดิฉันแสดงทัศนะที่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างตัวดิฉันกับพรมเช็ดเท้า” พัฒนาการของแนวคิดสตรีนิยม…

รู้จัก ‘สำนักประสานงานร่วมสองเกาหลี’ หลังถูก ‘โสมแดง’ บึ้มทิ้ง

Loading

ทำความรู้จักบทบาทหน้าที่ของ “สำนักประสานงานร่วมสองเกาหลี” ในเมืองพรมแดนเกาหลีเหนือ หลังถูกเปียงยางระเบิดทิ้งในวันนี้ (16 มิ.ย.) ถือเป็น “จุดแตกหัก” ล่าสุดระหว่างสองประเทศที่ขัดแย้งกันมาหลายทศวรรษ กระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ ซึ่งกำกับดูแลความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลี แถลงว่า รัฐบาลเกาหลีเหนือทำการระเบิดทิ้งสำนักประสานงานกับเกาหลีใต้ในเมืองแกซอง ซึ่งติดกับพรมแดนเกาหลีใต้เมื่อเวลา 14.49 น.ของวันอังคาร (16 มิ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น เหตุระเบิดนี้มีขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังสำนักงานคณะเสนาธิการทหารแห่งกองทัพประชาชนเกาหลี (เคพีเอ) เพิ่มคำขู่ใช้ “มาตรการทางทหาร” ต่อเกาหลีใต้และไม่กี่วันหลัง คิม โย จอง น้องสาวผู้ทรงอำนาจของ คิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดโสมแดง ประกาศว่า อีกไม่นาน จะได้เห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่สำนักประสานงานร่วมเกาหลีเหนือ-ใต้อันไร้ประโยชน์นี้ “ราบเป็นหน้ากลอง” อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: พังราบ! ‘โสมแดง’ บึ้มทิ้งสำนักประสานงานร่วมสองเกาหลี ก่อนถูกเกาหลีเหนือระเบิดทิ้ง สำนักประสานงานร่วมเกาหลีซึ่งก่อตั้งขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมแกซอง ทางภาคใต้ของเกาหลีเหนือติดพรมแดนเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2561 ถือเป็นหน่วยงานในการประสานงานด้านต่าง ๆ ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ คณะผู้แทนจากสองเกาหลีถ่ายรูปร่วมกันในพิธีเปิดสำนักประสานงานร่วม เมื่อปี 2561 สำนักงานแห่งนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็น “สถานทูต” ในทางพฤตินัย และยังเป็นช่องทางสื่อสารโดยตรงระหว่างสองเกาหลีด้วย โดยมีผู้แทนของแต่ละฝ่ายดูแลสำนักงานฯร่วมกัน ผู้แทนฝั่งเกาหลีเหนือคือ “จอน จอง-ซู” รองประธานคณะกรรมาธิการรวมชาติอย่างสันติแห่งปิตุภูมิ และฝั่งเกาหลีใต้คือ “ชุน แฮ-ซอง” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงรวมชาติ ทั้งนี้ การก่อตั้งสำนักประสานงานร่วมเกาหลี ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก “ปฏิญญาปันมุนจอม” ที่ลงนามโดย คิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ และ มุน…

การต่อต้านข้อมูลบิดเบือน (disinformation): ทางเลือกนโยบายที่เหลืออยู่

Loading

ที่มาภาพ: GLOBSEC Strategic Communication Programme https://counterdisinfo.org/ Written by Kim การรณรงค์ (หาเสียง) ด้วยข้อมูลบิดเบือน (disinformation) สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การเปลี่ยนผลการเลือกตั้งไปจนถึงกระตุ้นการก่อความรุนแรง ภาครัฐและเอกชนรวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯและบริษัทสื่อสังคม (social media) เพิ่งเริ่มต้นใช้กลยุทธ์ต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือน ซึ่งนำไปสู่การตอบสนองทีละน้อย ทั้งนี้ การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มาพร้อมกับ “infodemic”[1] จะต้องพิจารณาอย่างครอบคลุมรวมถึงการใช้กฎหมายใหม่และการคว่ำบาตรตลอดจนขยายทรัพยากรขององค์กร เพื่อจัดการความท้าทายของข้อมูลบิดเบือน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไม่ใช่ยาครอบจักรวาล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนจะต้องเสริมสร้างทักษะความรู้ของตัวเองเกี่ยวกับดิจิตอลและสื่อด้วย[2]           การเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนถือเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพและสันติภาพระหว่างประเทศ การรณรงค์อย่างซับซ้อนเพื่อสร้างอิทธิพลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 ของรัสเซีย บ่งชี้ถึงการเป็นภัยคุกคามอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีสมคบคิดที่ถูกผลักดันทางออนไลน์ (โลกเสมือนจริง) สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ในโลกกายภาพ ล่าสุดที่ลอสแอนแจลิส วิศวกรรถไฟชื่อ Eduardo Moreno เจตนาทำให้รถไฟตกรางเพื่อขัดขวางความพยายามของรัฐบาลในการต่อสู้กับ COVID-19 โดย Moreno เชื่อว่า เรือโรงพยาบาล (the Mercy) ของกองทัพเรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการยึดครองประเทศของรัฐบาล นอกเหนือจากการปรับใช้ทฤษฎีสมคบคิดและ deepfakes (วิดิโอดัดแปลงด้วยปัญญาประดิษฐ์) เพื่อจัดการความเชื่อของปัจเจกบุคคล บริษัทสื่อสังคมซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามข้อมูลบิดเบือนได้ใช้วิธีไม่คงเส้นคงวาในการต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือนและ deepfakes โดย Twitter ดำเนินการเชิงรุกด้วยการห้ามโฆษณาทางการเมือง แต่ตัดสินใจติดธง (ไม่ลบ) deepfakes ทางการเมือง ในทางกลับกัน Facebook ประกาศว่าจะไม่ลบโฆษณาทางการเมืองที่ทราบว่าเป็นข้อมูลผิด ปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงเมื่อเกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เรียกว่า infodemic           รัฐบาลประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯมีนโยบายตอบโต้ข้อมูลบิดเบือนค่อนข้างช้า…

ขบวนการชุมนุมประท้วงในสหรัฐฯกับทั่วโลก: อะไรคือความเหมือน

Loading

ที่มาภาพ: https://www.nytimes.com/2020/06/01/us/floyd-protests-live.html Written by Kim เมื่อชาวอเมริกันนึกถึงการปกครองแบบอำนาจนิยม ที่ผู้นำเผด็จการข่มขู่จะใช้กำลังทหารกับผู้ประท้วง ประกาศเคอร์ฟิวห้ามการรวมกลุ่มของประชาชนรวมทั้งคุกคามและข่มขู่สื่อมวลชน พวกเขามีแนวโน้มจะคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ในกรุงไคโรมากกว่ามินนิแอโพลิส การวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ซึ่งคุมขังชาวอุยกูร์นับล้านคนในค่าย อาจพูดด้วยน้ำเสียงไม่จริงใจ แต่เมื่อ “การตอบสนองดีที่สุดของสหรัฐฯแย่กว่าประเทศอื่น” ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็หายไป การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาของสหรัฐฯ ประกอบกับภัยพิบัติทางเศรษฐกิจและการประท้วงในห้วงปัจจุบัน ทำให้จุดยืนระหว่างประเทศของสหรัฐฯตกต่ำอย่างรวดเร็ว ขณะที่ประชาคมโลกหมดหวังกับผู้นำที่น่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบ คงเป็นไปไม่ได้ที่จะเพิกเฉยต่อความไม่เท่าเทียม การกดขี่และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่นำไปสู่การฟื้นคืนของการประท้วงทั่วโลกในปี 2019 ทั้งนี้ สหรัฐฯในฐานะผู้นำระดับโลกกลายเป็นพวกเดียวกันกับประเทศต่าง ๆ ที่เคยประสบเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างคาดไม่ถึง[1]           ห้วงเวลาหลายปีที่ชาวอเมริกันมองดูการเร่งปฏิกิริยาของขบวนการประท้วง จากสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติสี (Color Revolutions)[2] ที่เกิดขึ้นในประเทศที่แยกตัวจากอดีตสหภาพโซเวียตในช่วงกลางปี 2000 จนถึง Arab spring[3] ซึ่งครอบงำพาดหัวข่าวเมื่อต้นปี 2011 ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2020 ผู้ประท้วงชุมนุมบนท้องถนนเรียกร้องความยุติธรรม การปฏิรูปการเมืองและความรับผิดชอบในซูดาน อัลจีเรีย ชิลี ฮ่องกง เลบานอน และอีกหลายประเทศจากแอฟริกาเหนือถึงอเมริกาใต้           การประท้วงในสหรัฐฯ กรณีการเสียชีวิตของ George Floyd ชายผิวดำในระหว่างการเข้าควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจในมลรัฐมินนิโซตา สะท้อนให้เห็นความเสื่อมถอยของอำนาจทางศีลธรรม (Moral Authority) รัฐบาลประธานาธบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกวิจารณ์โดยประเทศที่ปกครองแบบอำนาจนิยม ซึ่งสหรัฐฯเคยเรียกหาความรับผิดชอบเกี่ยวกับประวัติที่น่าสังเวชด้านสิทธิมนุษยชน จากปักกิ่งถึงเตหะราน คำวิจารณ์จากจีน ซึ่งคุมขังชาวอุยกูร์นับล้านคนในค่ายอาจพูดด้วยน้ำเสียงไม่จริงใจ แต่เมื่อ “การตอบสนองดีที่สุดของสหรัฐฯแย่กว่าประเทศอื่น” ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็หายไป…

การซื้อขายโปรแกรมสายลับ (SPYWARE) ที่ยังไม่มีการควบคุม

Loading

The entrance to the London office of Israeli private investigation firm Black Cube.Raphael Satter / AP ที่มา: https://www.haaretz.com/us-news/farrow-turned-black-cube-investigator-shadowing-him-during-weinstein-probe-1.7951350 Written by Kim ในปี 2019 รัฐชาติ (nation-states) หรือบุคคลที่มีความมั่งคั่งสามารถจ่ายเงินให้ “นักรบรับจ้าง” ดำเนินกิจกรรมผิดกฎหมายรวมทั้งการจารกรรม ขโมยข้อมูล ข่มขู่และล่วงละมิดทางไซเบอร์ ทั้งนี้ บริษัทเอกชนผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของตนก่อนส่งออกโปรแกรมสะกดรอย (surveillance software) หรือโปรแกมสายลับ (Spyware)[1] อย่างไรก็ดี มาตรการตรวจสอบของภาครัฐได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอที่จะสะกัดกั้นรัฐบาลที่ปกครองด้วยความเข้มงวด (draconian regimes) ให้ได้มาซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้ ขณะที่ภูมิศาสตร์การเมืองในปัจจุบันถูกกำหนดโดยการกระจายอำนาจจากรัฐชาติ และเร่งตัวขึ้นโดยเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ถูกควบคุมโดยกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น การแพร่ขยายและการใช้โปรแกรมสะกดรอยของรัฐอำนาจนิยม จึงสมควรได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศ           บทความสามตอนที่เผยแพร่ใน The New Yorker[2] เปิดเผยข้อมูลการทำงานของบริษัทข่าวกรองเอกชนของอิสราเอลซึ่งรู้จักในชื่อ Black Cube[3] โดย Ronan Farrow นักข่าวสายสืบสวนอ้างว่าตนถูกสะกดรอยระหว่างการสืบสวนกรณี Harvey Weinstein[4] ผู้ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมรวมทั้งข่มขืนสตรีจำนวนมาก ตอนแรกของบทความ Farrow อธิบายว่าตนได้รับข้อความเสนอให้คลิกลิงก์และร่วมการสำรวจทางการเมือง ทั้งที่ตนไม่ได้คลิกลิงก์ดังกล่าว แต่นักสืบเอกชนของบริษัท Black Cube เริ่มได้รับข้อมูลพิกัดที่แน่นอนของตน ทำให้กระบวนการสะกดรอยทั้งหมดง่ายขึ้น การชักนำให้เป้าหมายคลิกลิงก์เป็นเทคนิคที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่โปรแกรมสะกดรอยซึ่งพัฒนาโดยบริษัทเอกชนและใช้กันทั่วโลก…

New Normal หลังโควิด-19 … โลกที่ Cyber Security และ Privacy ไปคู่กัน

Loading

New Normal (ความปกติแบบใหม่) คือ พฤติกรรมอะไรที่ผิดปกติกลายเป็นพฤติกรรมปกติ เช่น ทุกคนใส่หน้ากากและทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ก็เช่นกัน อย่างแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ที่เป็นประเด็นในโลกออนไลน์ ทำให้เห็นว่าประชาชนตื่นตัวเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy) มากขึ้น อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cyber Security กล่าวกับ The Story Thailand ว่า คนทั่วโลกจะมอง 2 สิ่ง คือ เรื่องความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และ ความเป็นส่วนตัว ถ้าเจาะลึกไปที่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จะเห็นว่า DP ตรงกลางมาจากคำว่า Data Protection หมายความว่าข้อมูลต้องถูกป้องกัน คือ เรื่องการเก็บข้อมูลให้ปลอดภัย คนที่เก็บข้อมูลไว้และไม่รักษาความปลอดภัยจะต้องรับผิดชอบ จึงไม่ต้องกังวลการที่ภาครัฐหรือเอกชนนำข้อมูลไปเก็บ เพราะมีกฎหมายคุ้มครองอยู่ และสามารถร้องเรียนได้เมื่อเกิดความเสียหาย ถึงแม้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะเลื่อนไป 1 ปี ในบางมาตรา แต่เรื่องความปลอดภัย (Security) ไม่ได้ถูกเลื่อนออกไป ซึ่งในมาตรา 4 ได้ระบุไว้ชัดเจน…