“ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติหลัง COVID-19”
 ประเทศไทยควรปรับสมดุลอย่างไร-ด้านใดบ้าง จึงจะไปต่อได้อย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืน

Loading

By :  Atthasit Mueanmart ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนาและคิดค้นวัคซีน COVID-19 กันอย่างเร่งด่วน เพื่อฝ่าวิกฤตโรคอุบัติใหม่นี้ไปให้ได้ รวมถึงงานวิจัย “วัคซีนชนิด mRNA” ที่ศูนย์วัคซีนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ได้มอบหมายให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ หลังทดสอบในหนูทดลองแล้วประสบความสำเร็จดี และกำลังเตรียมจะทดสอบในลิงในประเทศไทยสัปดาห์หน้าต่อไป ขณะเดียวกัน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ก็ได้มองไปข้างหน้าถึงโลกยุคหลัง COVID-19 ผ่านการนำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงชาติหลัง COVID-19 จากหนังสือ “โลกเปลี่ยน ไทยปรับ : หลุดจากกับดัก พ้นจากโลกที่ล้มเหลว” ผลงานเขียนของ ดร.สุวิทย์ เองที่ได้เผยแพร่สู่สาธารณชนไปแล้วก่อนหน้านี้ โดย ดร.สุวิทย์ ชี้ว่าหากมองวิกฤตเป็นโอกาส การแพร่ระบาดของ COVID–19 อาจเป็นตัวแปรในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่เปลี่ยน “โลกที่ไม่พึงประสงค์” เป็น “โลกที่พึงประสงค์” ทำให้ผู้คนหันกลับมาทบทวนสมมติฐานในความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ กลายเป็นการผนึกกำลังร่วม การคำนึงถึงประโยชน์จากธรรมชาติ ก่อให้เกิดคุณค่าอย่างไม่สิ้นสุด สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เห็นว่าเรากำลังอยู่ในยุค “หนึ่งโลก หนึ่งชะตากรรมร่วม” (One World, One Destiny)“จากนี้ไป เวลาสุขเราก็จะสุขด้วยกัน เวลาทุกข์เราก็จะทุกข์ด้วยกัน จากโลกที่ไร้ความสมดุล ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพและความไม่มั่นคงตามมา เกิดเป็นวงจรอุบาทว์โลก (Global Vicious Circle)” ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) การสร้างรัฐ–ชาติ (Nation Building) ผ่านเสรีภาพ (Liberty) ความเสมอภาค (Equality) และภราดรภาพ (Fraternity) ในศตวรรษที่ผ่านมา จะถูกแทนที่ด้วย การสร้างความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ผ่านการกระชับแน่นภายในกลุ่ม (Bonding) การเชื่อมโยงข้ามกลุ่ม (Bridging) และยึดโยงระหว่างสถาบัน (Linking) ในโลกหลัง COVID-19 โดยแนวทางในการการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ มี 2 แนวทางหลัก คือ การออกแบบสวัสดิการสังคมใหม่ ด้วยการใช้ Negative Income Tax (NIT) และโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (Social Safety Net) เช่น การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย การมีรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอกับการใช้ชีวิต การช่วยเหลือผู้บกพร่องทางร่างกายและผู้สูงอายุ การขจัดความยากจนอย่างตรงจุด และแผนประกันชีวิต/สุขภาพ รูปแบบใหม่ เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจเติบโตขึ้น ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้มักจะกลายเป็นปัญหาที่แต่ละประเทศต้องเผชิญ ที่ผ่านมามีนักวิชาการหลายคนได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหานี้…

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฉบับประชาชน: บันทึกภาพ/แชร์ภาพคนอื่น ผิดกฎหมาย?

Loading

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) หากไม่มีอะไรผิดพลาด จะประกาศบังคับใช้วันที่ 27 พฤษภาคมนี้ โดยพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือชื่อย่อ PDPA (Personal Data Protection Act) ฉบับ 2560 นี้เป็นพ.ร.บ.ที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองประชาชน ปกป้องข้อมูลส่วนตัวทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งในบทความ ‘PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บรรทัดฐานใหม่ของชีวิตดิจิทัล’ ในเว็บไซต์ Brandinside กล่าวสรุปอย่างง่ายไว้ว่า “หนึ่งความเข้าใจผิดต่อเรื่องหลักการเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคือ คิดว่าจะเป็นมาตรการที่ห้ามใช้ ห้ามบันทึก ข้อมูลของคน ซึ่งผิดไปจากข้อเท็จจริง เพราะที่จริงแล้ว เนื้อหาหลักคือ ให้นำไปใช้เท่าที่จำเป็น ปลอดภัย และโปร่งใส” ดังนั้นทีมงานวิจัยโครงการของศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้แก่ ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง, ชวิน อุ่นภัทร, ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล และ พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล จึงจัดเสวนาให้ความรู้เรื่องพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับประชาชน ในมุมมองประชาชนว่าเราควรรู้อะไรบ้าง เช่น การบันทึกภาพ หรือแชร์ภาพถ่ายคนอื่น จะโดนปรับสามแสนบาทไหม? ทางแฟนเพจ Law Chula โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ อยากถ่ายรูปเพื่อน แต่กลัวโดนจับ หนึ่งในความเข้าใจผิดยอดฮิตของ PDPA  คือหากถ่ายรูปเพื่อน ครอบครัว แล้วอัปโหลดลงโซเชียล อาจถูกจับหรือปรับได้ ฐิติรัตน์…

สงครามอัฟกานิสถาน : สันติภาพที่สั่นคลอน หลังเหตุโจมตีงานศพ-แผนกทำคลอดในโรงพยาบาล

Loading

เหตุการณ์ที่กลุ่มติดอาวุธโจมตีแผนกทำคลอดของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 24 ราย ทั้งแม่ ทารกแรกเกิด และพยาบาล ไม่เพียงเท่านั้น กระทรวงสาธารณสุขอัฟกานิสถานแจ้งว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 16 ราย ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้ก่อเหตุซึ่งเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลดาชต์-อี-บาร์ชี ในกรุงคาบูล กลุ่มตาลีบันเองก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขณะที่กลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลามหรือไอเอส ออกมาบอกว่าอยู่เบื้องหลังเหตุโจมตี อีกเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นที่งานศพนายตำรวจ ชั้นผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งทางตะวันตกของประเทศ เหตุรุนแรงสองเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในวันเดียวกันคือเมื่อวันที่ 12 พ.ค. สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการเจรจาสันติภาพช่างเปราะบางแค่ไหน และความหวังว่าสงครามที่ดำเนินมาหลายทศวรรษจะสิ้นสุดก็ยิ่งริบหรี่เข้าไปใหญ่ ประธานาธิบดีอัชราฟ กานี ได้สั่งให้กองทัพหันไปเริ่มปฏิบัติการโจมตีกลุ่มตาลีบัน และกลุ่มติดอาวุธ อื่น ๆ อีกครั้ง เขากล่าวหาว่ากลุ่มติดอาวุธเหล่านี้ไม่ได้สนใจคำขอร้องให้ลดละการก่อเหตุลงเลย นสพ.นิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า โดยรวมแล้วมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในวันที่ 12 พ.ค. วันเดียว ราว 100 คน เกิดอะไรขึ้นที่โรงพยาบาล ราว 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ชาวบ้านในพื้นที่เล่าว่าได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 2 ระลอก ส่วนแพทย์คนหนึ่งที่หนีออกมาจากโรงพยาบาลดาชต์-อี-บาร์ชี ในกรุงคาบูล บอกบีบีซีว่า มือปืนลงมือก่อเหตุขณะที่มีคนอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 140 คน…

เตรียมตัวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมสอดส่อง (surveillance industrial complex)

Loading

ที่มาภาพ: https://yourstory.com/2019/01/top-6-trends-surveillance-industry-2019 Written by Kim หลายประเทศทั่วโลกใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่สามารถเฝ้าดูและสอดส่อง (surveillance) ความเคลื่อนไหวของประชาชน เพื่อที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) แม้ประชาชนจำนวนหนึ่งเต็มใจแลกความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคงปลอดภัย แต่เทคโนโลยีที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นการชั่วคราวอาจมีบทบาทอย่างถาวรต่อการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคตอันใกล้ ขณะนี้มีความกังวลเกี่ยวกับวิธีการที่รัฐบาลรวบรวม จัดเก็บและใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลที่สะสมไว้ คาดกันว่าโลกในยุคหลัง COVID-19 บริษัทเทคโนโลยีเอกชนและประเทศต่าง ๆ จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนน้อยลงและหันไปมุ่งเน้นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการรวบรวมข้อมูล เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งและฝ่ายตรงข้ามตามลำดับ[1]           ปัจจุบัน เกาหลีใต้ อิสราเอลและสิงคโปร์ใช้ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ คลิปวิดีโอกล้องวงจรปิดและข้อมูลบัตรเครติตในการเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของประชาชน โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการติดตามร่องรอยของไวรัสโคโรนา แม้ประชาชนส่วนหนึ่งเต็มใจแลกความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคงปลอดภัย แต่เทคโนโลยีที่รัฐเสนอใช้ชั่วคราวจะมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันต่อไปและทำให้เกิดปมอุตสาหกรรมสอดส่อง (surveillance industrial complex) ที่เกี่ยวดองกับปมอุตสาหกรรมทหาร (military–industrial complex)[2] โดยบริษัทเทคโนโลยีเอกชนออกแบบและจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สอดแนมที่ทันสมัยที่สุดแก่รัฐบาล องค์การและบุคคล (เอกชน) ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันจนแยกไม่ออก           จุดสิ้นสุดของความสัมพันธ์แบบนี้อาจเป็นการสืบทอดตัวเองไปเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หลายคนอาจโต้แย้งว่าฉากทัศน์แบบนี้เกี่ยวข้องกับอนาคตค่อนข้างน้อยและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันในหลายภาคส่วนของโลก เพียงแค่พกพาโทรศัพท์อัจฉริยะ (smartphone) ผู้คนก็แพร่กระจายข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ (personally identifiable information) โดยสมัครใจ เช่นเดียวกับข้อมูลที่รวบรวมจากสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่น ๆ ก็เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย โดยการบุกรุกด้วยเครื่องมือเจาะระบบและมัลแวร์ อนึ่ง แนวคิดเรื่องอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things – IoT) และพัฒนาการของ…

ซาอุดีอาระเบีย : เมื่อเศรษฐีน้ำมันเผชิญปัญหารุมเร้าทั้งเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ

Loading

จากเคยเป็นประเทศปลอดภาษี ตอนนี้ซาอุดีอาระเบียประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มสามเท่าจาก 5% เป็น 15% และยกเลิกเงินช่วยเหลือประชาชนรายเดือนตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป นโยบายนี้เป็นผลมาจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลงจนต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของราคาเมื่อปีที่แล้ว ทำให้รายได้ของรัฐบาลหดหายไป 22% และโครงการใหญ่ ๆ ทั้งหลายต้องหยุดชะงัก ซาอุดิ อรัมโค ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียมีผลกำไรลดลง 25% ในไตรมาสแรกของปี สาเหตุหลักก็คือราคาน้ำมันดิบที่ดิ่งลง “มาตรการเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการคุมค่าใช้จ่ายและพยายามให้ราคาน้ำมันคงที่” ไมเคิล สตีเฟนส์ นักวิเคราะห์ด้านอ่าวอาหรับกล่าว เขาบอกด้วยว่า สภาพเศรษฐกิจของประเทศกำลังย่ำแย่และต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะกลับมาเป็นปกติ โรคโควิด-19 กำลังสร้างความปั่นป่วนให้เศรษฐกิจซาอุดีอาระเบีย ซึ่งพึ่งพาแรงงานทักษะต่ำหลายล้านคนจากเอเชีย โดยมากแรงงานเหล่านี้อาศัยในสถานที่แออัดและสกปรก ขณะเดียวกัน เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ซึ่งยังได้รับความนิยมในประเทศอย่างมาก ก็ยังถูกชาติตะวันตกตีตัวออกห่างหลังมีข้อสงสัยว่าพระองค์พัวพันกับคดีสังหารจามาล คาชูจกิ นักข่าวซาอุฯ ในปี 2018 นับจากนั้นมาความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนของต่างชาติก็ลดถอยลง และยังไม่ฟื้นตัวจนถึงบัดนี้ นอกจากนี้ สงครามกับเยเมนที่ยืดเยื้อมากว่า 5 ปี ก็ทำให้ซาอุฯ แทบหมดหน้าตักโดยที่ไม่ได้ประโยชน์อะไร และยังมีวิกฤตการทูตกับกาตาร์ที่ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 6 ประเทศในกลุ่มประเทศความร่วมมือแห่งอาหรับสั่นคลอน ปัญหารอบด้านแบบนี้ ซาอุฯ กำลังเจอวิกฤตหนักหรือไม่ พลังฟื้นตัวจากภายใน หากมองภาพรวม สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกพังไปตาม…

หมัดเด็ดจากจีน

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ สงครามข่าวสารในยกต้นๆ เกี่ยวกับไวรัสโควิด 19 ที่ผ่านมานั้น สหรัฐเป็นฝ่ายรุกโดยกล่าวหาว่าจีนเป็นต้นตอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอู่ฮั่น หรือไวรัสโควิด 19 ที่เกิดจากเมืองอู่ฮั่นซึ่งเป็นที่รับรู้กันทั่วโลก จีนยอมรับว่า เชื้อร้ายนี้เริ่มต้นระบาดที่เมืองอู่ฮั่นจริง แต่กล่าวหาว่า เป็นฝีมือของสหรัฐซึ่งคิดค้นไวรัสตัวนี้ที่สถานีวิจัยในอเมริกา และถูกนำมาปล่อยในเมืองอู่ฮั่นของจีนโดยโครงการนี้เป็นของ ซี.ไอ.เอ. ซ้ำยังมีเปิดเผยหมายเลขจดทะเบียนโครงการกับกรมการค้า เพื่อดูให้น่าเชื่อถืออีกด้วย เพื่อให้ดูน่าสมจริงยิ่งขึ้น ทางการจีนได้ฟ้องร้องต่อศาลระหว่างประเทศ กล่าวว่า สหรัฐได้นำเชื้อนี้มาปล่อยในจีนผ่านนักกีฬาทหารอเมริกันที่มาร่วมแข่งกีฬาทหารโลกที่เมืองอู่ฮั่น จะเรียกว่าเป็นการฟ้องเพื่อ “แก้เกี้ยว” ก็คงได้ ทางด้านสหรัฐที่เวลานี้กลายเป็นประเทศที่มีคนติดเชื้อมากที่สุดในโลก และคนตายเป็นอันดับหนึ่งหรืออันดับต้นๆ ของโลก ประธานาธิบดีทรัมป์ และนายปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ออกมาประสานเสียงให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน กล่าวหาว่า เชื้อไวรัสเกิดจากห้องทดลองในเมืองอู่ฮั่น ต่อมา ซี.เอ็น.เอ็น. ได้รายงานว่า ประชาคมข่าวกรองสหรัฐ ยืนยันว่าเชื้อไวรัสโคโรน่าตัวนี้ น่าจะเกิดจากตลาดค้าสัตว์ป่ามากกว่าเกิดจากการทดลองในห้องแล็บเมืองอู่ฮั่น และยังไม่มีข้อมูลการแพร่ระบาดของไวรัสตลาดค้าสัตว์ป่าสู่คน เรื่องนี้ต้องเชื่อหน่วยข่าวกรองทั้งห้าซึ่งเป็นมืออาชีพ ส่วนฝ่ายการเมือง ในที่นี้คือประธานาธิบดีและรัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นผู้ใช้ข่าว ข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองสหรัฐน่าเชื่อถือได้มากกว่าเพราะหน่วยข่าวกรองต้องให้แต่ความจริง ส่วนฝ่ายการเมืองซึ่งใช้ข้อมูลนั้น จะเอาไปใช้อย่างไร โกหกบิดเบือนหลอกลวงอย่างใดเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ฝ่ายการเมืองต้องรับผิดชอบเอง สุดท้าย อยู่ที่ประชาชนจะเชื่อฝ่ายไหนมากกว่า จากที่ไวรัสตัวนี้ที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้ถูกจีนและสหรัฐนำมาใช้ประโยชน์ทางการเมือง จีนซึ่งตกเป็น “จำเลยโลก” ได้แก้ตัว และโต้กลับโดยเปิดเผยข้อมูลที่ดูน่าเชื่อถือว่าสหรัฐเป็นคนที่เพาะพันธ์ตัดต่อให้รุนแรงและรักษายากขึ้นและแอบนำมาปล่อยที่เมืองอู่ฮั่น เพื่อบ่อนทำลายจีน ทำให้โครงการพัฒนาต่างๆ ของจีนล่าช้าเพราะรัฐบาลปักกิ่งต้องมาใส่ใจในการแก้ปัญหาโรคร้าย จีนได้ระบุถึงหน่วยงานอเมริกันที่รับผิดชอบโครงการนี้ ทำกันเมื่อไร สถานที่ของโครงการตั้งอยู่ที่ไหนฯลฯ อเมริกันรู้เรื่องนี้มาตั้งแต่กลางปี…