Guerilla Projection : ศิลปะแห่งการประท้วง จากสถานทูตแอฟริกาใต้ถึงหน้าวัดปทุมฯ

Loading

เช้าวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 สื่อหลายสำนักรายงานว่า เมื่อคืนวันที่ 10 พฤษภาคม ปรากฏข้อความปริศนา #ตามหาความจริง ถูกฉายด้วยลำแสงโปรเจ็กเตอร์บนผนังหรืออาคารสถานที่สำคัญหลากหลายจุด ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมพฤษภา 2553 ทั้ง วัดปทุมวนาราม สยามพารากอน กระทรวงกลาโหม ซอยรางน้ำ และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยไม่ปรากฏว่าการกระทำครั้งนี้เป็นของกลุ่มใด แม้จะทราบโดยข้อความและสถานที่ว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ครบ 10 ปีของการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมเพื่อประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 การฉายภาพหรือข้อความด้วยลำแสงของโปรเจ็กเตอร์เป็นทั้งการใช้งานในการสื่อสารทั่วไป หรืองานศิลปะ และในขณะเดียวกันเทคโนโลยีนี้ก็ถูกหยิบจับมาใช้สื่อสารในเชิงศิลปะการประท้วงแบบกองโจรโดยใช้การฉายโปรเจ็กเตอร์ หรือที่เรียกว่า ‘Guerilla Projection’ โดยที่ไม่อาจล่วงรู้ได้มาก่อนว่าจะเกิดขึ้นที่ใด เมื่อไร และบางครั้งก็ไม่อาจรู้ได้ว่าใครเป็นผู้ทำ ศิลปะการประท้วงแบบกองโจรโดยใช้การฉายโปรเจ็กเตอร์ หรือ ‘Guerilla Projection’ นี้ ในหนังสือเรื่อง Augmented Reality Art: From an Emerging Technology to a Novel Creative Medium เรียบเรียงโดย Vladimir Geroimenko ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า แม้จะไม่ทราบว่าผู้ใดหรือศิลปินคนใดเป็นผู้หยิบยืมนำมาใช้ในเชิงการประท้วงเป็นครั้งแรก แต่ผู้ที่ถือเป็นผู้นำและได้รับการจดจำในการใช้โปรเจ็กเตอร์มาเป็นสื่อศิลปะในการประท้วงทางการเมืองก็คือ คริสซตอฟ โวดิซโก (Krzysztof Wodiczko) ศิลปินชาวโปแลนด์ ผลงานอันโด่งดังของคริสซตอฟ โวดิซโกที่ถูกหยิบมาเล่าซ้ำแล้วซ้ำอีกก็คือ การฉายภาพมือของโรนัลด์ เรแกน ที่เห็นเฉพาะมือในเสื้อเชิ้ตสีขาวมีคัฟฟ์ลิงค์ติดอยู่บนอาคาร AT&T Long Lines ในนครนิวยอร์ก ในช่วงสี่วันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในปี 1984 และแน่นอนว่าโรนัลด์ เรแกน คว้าชัยชนะการเลือกตั้งในครั้งนั้นไป หรือผลงานในปี 1985 เมื่อเขาฉายโปรเจ็กเตอร์รูปสวัสดิกะบนอาคารของสถานทูตแอฟริกาใต้ ในกรุงลอนดอน เพื่อประท้วงการต่อต้านแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ซึ่งแม้จะปรากฏให้เห็นไม่เกิน 2 ชั่วโมงก่อนที่ตำรวจจะมาถึง แต่ภาพข่าวนั้นก็แพร่กระจายไปทั่วโลก ในวันที่ยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่าโซเชียลมีเดีย ผลงาน Guerilla Projection ที่น่าสนใจที่ผ่านมา นอกจาก #ตามหาความจริง ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อไม่กี่วันมานี้ ในอดีตมีการนำเอาศิลปะการประท้วงแบบกองโจรโดยใช้การฉายโปรเจ็กเตอร์มาใช้และเป็นที่จดจำ น่าสนใจหลายชิ้นด้วยกัน เช่นตัวอย่างต่อไปนี้ การประท้วงพลังงานนิวเคลียร์ของกรีนพีซ ในปี 1989 กลุ่มกรีนพีซประท้วงเรื่องอันตรายของพลังงานนิวเคลียร์โดยฉายข้อความ “We Have Nuclear Weapons on Board” (เรามีอาวุธนิวเคลียร์อยู่บนเรือ) ลงบนเรือ ARK ROYAL ในขณะที่เทียบท่าที่เมืองฮัมบวร์ก  99% การประท้วงยึดวอลล์สตรีท การประท้วงยึดวอลล์สตรีทในปี 2011 โดยชูประเด็น 99% ซึ่งหมายถึงประชาชนส่วนใหญ่คือคน 99% ที่ถูกขูดรีดเอารัดเอาเปรียบจากคน 1% ของสังคม โดยในการประท้วงครั้งนี้มีการฉายสัญลักษณ์สไตล์แบทแมน (Batman Signal) เป็นภาพตัวเลข 99% ขึ้นไปบนตึกสูง 32 ชั้น Verizon Building ที่อยู่ตรงข้ามสะพานบรูคลิน เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์การประท้วง Citizen Safety Law ประท้วงกฎหมายลงโทษการชุมนุมในสเปน ในปี 2015 สเปนออกกฎหมายที่ชื่อ  Citizen Safety Law หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ The Gag Law ซึ่งนอกจากจะจำกัดสิทธิในการประท้วงตามกฎหมายแล้ว ยังมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ออกมาประท้วงอีกด้วย โดยการประท้วงหน้ารัฐสภาอาจมีโทษปรับสูงถึง 30,000 ยูโร จึงเกิดความเคลื่อนไหวที่ชื่อ  ‘NoSomosDelito’ (เราไม่ใช่อาชญากร) นำเอาเทคโนโลยีโฮโลแกรมฉายภาพผู้ประท้วงกว่า 2,000 คนเดินผ่านหน้ารัฐสภาในกรุงมาดริด ซึ่งแน่นอนว่าไม่ถูกจับเพราะผู้ประท้วงเหล่านั้นเป็นภาพโฮโลแกรม Resist Trumpism Everywhere ประท้วงการมาเยือนอังกฤษของทรัมป์ การมาเยือนอังกฤษของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ในปี 2018 ได้รับการต้อนรับอย่างเจ็บแสบจากกลุ่มที่เรียกว่า Bluman ด้วยการฉายโปรเจ็กเตอร์ด้วยคำว่า ‘Resist Trumpism Everywhere’ ไปทั่วเมือง ตั้งแต่ซุ้มประตู Houses of Parliament and Marble Arch สถานที่สำคัญอื่นๆ อย่าง Cable…

7 “ความเข้าใจผิด” เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ซีไอโอควรรู้

Loading

เป็นที่รู้กันว่าช่องโหว่ที่เพิ่มขึ้นนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายขององค์กรที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจในส่วนดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จำนวนการโจมตีและค่าใช้จ่ายเพื่อแก้ปัญหาข้อมูลรั่วไหล (Data Breach) ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากผลการศึกษาของ Ponemon Institute เผยว่า ผลกระทบทางการเงินในภูมิภาคนี้สูงถึง 2.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2562 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2561 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นกำลังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการก้าวสู่ ‘ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน’ ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามในห้าขององค์กรในภูมิภาคนี้ได้ชะลอแผนการลงทุนด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นเป้าหมายการโจมตีทางไซเบอร์ จากรายงานของ Deloitte Cyber Smart: รายงานศักยภาพธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก ชี้ว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์อาจส่งผลทำให้สูญเสีย GDP ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 145 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในทศวรรษหน้า แม้จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในโซลูชันด้านความปลอดภัย แต่กลุ่มผู้ไม่หวังดีนั้นมีทั้งทรัพยากร และเวลาเพื่อเจาะค้นหาช่องโหว่ขององค์กรได้ตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้น แนวทางส่วนใหญ่ที่องค์กรใช้ในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในวันนี้ ยังคงเป็นแนวรีแอคทีฟที่มุ่งเน้นการไล่ล่าภัยคุกคาม ดังนั้นองค์กรจึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมความปลอดภัยที่ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานหลัก แอปพลิเคชัน ผู้ใช้งาน และการดำเนินงาน (operation) องค์กรจำเป็นต้องแก้ความเข้าใจผิดด้านความปลอดภัยที่ไม่เอื้อการผสานความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้ากับกลยุทธ์หลักทางธุรกิจ และนี่คือ 7 ความเข้าใจผิดที่ซีไอโอทุกคนควรรู้ ความเข้าใจผิด ข้อที่ 1 – คิดว่าถ้าเข้าใจแนวโน้มการโจมตี จะช่วยป้องกันระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ…

New Normal คืออะไร? สำคัญแค่ไหน? และจะส่งผลอะไรกับชีวิตเราบ้าง?

Loading

By :  littlepearl ช่วงนี้หลายคนคงได้ยินคำว่า New Normal ในข่าวกันมากขึ้น อาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ ทำไมเดี๋ยวนี้คนพูดถึงคำนี้กันบ่อยจัง มันคืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตฉันไหม ฉันต้องรู้จักมันรึเปล่า New Normal ถ้าแปลแบบตรงตัวเลยก็คือ New แปลว่าใหม่ Normal แปลว่าปกติ รวมกันแล้วแปลได้ความหมายว่า ความปกติแบบใหม่ หรือ ภาวะปกติแบบใหม่ ลองนึกง่าย ๆ ว่า อะไรที่เราทำในชีวิตประจำวันเป็นปกติบ้าง เช่น กินข้าว 3 มื้อ, อาบน้ำ 2 ครั้ง, ใส่ชุดว่ายน้ำไปเที่ยวทะเล, ใส่ชุดดำไปงานศพ ทั้งหมดนี้มันคือเรื่อง “ปกติ” ที่เราคุ้นตา ที่เราเคยชินกัน แต่ภาวะปกติแบบใหม่นี้ มันคือสิ่งที่เรามองว่า เมื่อก่อนไม่ใช่เรื่องปกติที่เขาทำกัน แต่พอมันเกิดเหตุการณ์ หรือปรากฎการณ์อะไรบางอย่างขึ้น สิ่งเหล่านั้นก็กลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย ถ้ายกตัวอย่างที่เห็นกันชัด ๆ ในยุค Covid-19 นี้เลยก็คือ การใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้าน เมื่อก่อน เราจะหยิบหน้ากากอนามัยออกมาใส่ก็ต่อเมื่อเราป่วยเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้…

‘ดีอีเอส’ ถกเลื่อน ‘กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล’

Loading

ดีอีเอส เร่งถกยืดบังคับใช้กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล หลังพบ ‘โควิด’ ทำพิษ หลายบริษัทพ่วงเอสเอ็มอียังไม่พร้อมปรับใช้ ระบุไม่เกินสิ้นเดือนนี้ได้ข้อสรุปจะเลื่อนไปเป็นช่วงไหน “พุทธิพงษ์” ชี้จะต้องดำเนินการให้เหมาะสม ทั้งการออกกฎหมายลูก หรือระเบียบที่จำเป็น เพื่อให้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนำไปบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึง ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีประกาศใช้ใช้ไปเมื่อ 27 พ.ค. 2562 และจะมีผลบังคับใช้ในปลายเดือนนี้คือ 28 พ.ค. 2563 โดยกฎหมายบัญญัติให้มีการจัดตั้งสำนักคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และออกระเบียบและกฎหมายลูกในการปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างการดำเนินการ ตามบทบัญญัติของกฎหมายไม่สามารถเลื่อนการมีผลบังคับใช้ออกไปได้ แต่เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตนเห็นตรงกับหลายฝ่ายว่าควรหาช่องทางบรรเทาการบังคับใช้ด้วยการยืดระยะเวลาออกไปอย่างน้อย 1 ปี โดยได้รับฟังข้อเสนอจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ที่เสนอให้ รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นการนำบทบัญญัติของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดหรือบางส่วนมาบังคับใช้ โดยตนได้นำเรื่องนี้เข้าหารือกับนายวิษณุเครืองามรองนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้และเหตุผลความจำเป็นในการออกพระราชกฤษฎีกา “เราพยายามจะให้ยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้ การบังคับใช้กฎหมายเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพราะถ้าหากรีบใช้อาจจะไม่เกิดประโยชน์กับทุกคน และความพร้อมทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนที่ต้องปฏิบัติ เพราะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ต้องยอมรับว่ามีหลายบริษัทรวมไปถึงเอสเอ็มอีเอง ปรับตัวเพราะให้เข้ากับกฎหมายไม่ทัน จึงก็ต้อง พิจารณาให้ดี” นายพุท ธิพงษ์ กล่าว…

กลุ่มต่อต้านรัฐบาลยกระดับตัวตนและการโฆษณาชวนเชื่อ

Loading

ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/2020/apr/17/far-right-coronavirus-protests-restrictions Written by Kim กลุ่มขวาจัดรวมทั้งกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและพวกหัวรุนแรงสุดโต่งในสหรัฐฯ มีการเคลื่อนไหวและโฆษณาชวนเชื่อเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่ไวรัสโคโรนา (COVID-19) เริ่มแพร่ระบาดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาลปลุกปั่นให้ผู้สนับสนุนปฏิเสธมาตรการ “อยู่บ้าน (stay at home)” ซึ่งประกาศโดยมลรัฐต่าง ๆ และจัดชุมนุมในที่สาธารณะพร้อมอาวุธปืนอย่างเปิดเผย ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นพาหะตัวนำ (vector) ที่สมบูรณ์แบบในการแพร่กระจายทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับการกดขี่เสรีภาพ (ส่วนบุคคล) ของรัฐบาล ขณะที่การสนับสนุนให้ประชาชน “ปลดปล่อย” มลรัฐของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้การออนไลน์ของกลุ่มขวาจัดสุดโต่งที่รียกร้องสงครามกลางเมือง (civil war) เพิ่มขึ้นอย่างมาก[1]           ในห้วงเวลาก่อนการแพร่ระบาดของไวรัส กลุ่มขวาจัด (far-right) และพวกหัวรุนแรงสุดโต่ง (violent extremist) ในสหรัฐฯค่อย ๆ เผยตัว เร่งปฏิกิริยาเศรษฐสังคม (socio-economic) และการเมืองท่ามกลางความแตกแยกของประชาชนในประเทศ ซึ่งถูกทำให้เลวร้ายมากขึ้นโดยสื่อสังคม (social media) ระหว่างการแพร่ระบาด กลุ่มเหล่านี้แสวงประโยชน์จากวิกฤติโดยหว่านแพร่ความไม่ไว้วางใจรัฐบาลและสถาบันต่าง ๆ เกี่ยวกับการลดจำนวนผู้ติดเชื้อ (flatten the curve) หรือชะลออัตราการติดเชื้อ…

ซัดกันคนละหมัด

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ สงครามข่าวสารระหว่างจีนและสหรัฐยังดำเนินไปอย่างเผ็ดร้อน และยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลงง่ายๆ หรือจบไม่ลง เพราะการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบานว่า ตนเองเป็นผู้แพร่เชื้อไข้หวัดมรณะ “โควิด 19” นั้น คงเป็นไปไม่ได้ แม้ว่า เวลานี้จีนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะกลายเป็น “จำเลย” ในสังคมโลก ซึ่งรู้กันอย่างเปิดเผยว่า ไวรัสโควิด 19 เกิดขึ้นที่เมืองอู่ฮั่น และสุดท้ายเผยแพร่ไปยังทั่วโลกในขณะนี้ ในขณะที่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐและสหภาพยุโรปต่างชี้หน้ามาที่จีนว่าเป็นตัวการที่แพร่กระจายเชื้อโควิด 19 ไปทั่วโลก จีนยอมรับว่าจริงที่เชื้อนี้เกิดขึ้นที่จีนแต่เชื้อโรคร้ายที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมโดยมนุษย์ถูกแอบนำมาปล่อยในจีนเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของจีน และกล่าวหาว่า สหรัฐนั่นแหละที่เป็นคนแอบเอาเชื้อนี้มาปล่อยในจีนจนระบาดไปทั่ว และเพื่อให้ดูมีน้ำหนักมากขึ้น จีนได้ฟ้องต่อศาลระหว่างประเทศว่า สหรัฐเป็นตัวการที่เอาเชื้อนี้มาปล่อยในจีน ส่วนผลจะออกมาอย่างไร คงใช้เวลาเป็นปี ในขณะเดียวกัน ผู้ว่าการรัฐหนึ่งในสหรัฐได้ฟ้องต่อศาลสูงสุดของสหรัฐกล่าวหาจีนว่า เป็นต้นตอทำให้คนอเมริกันตายและติดเชื้อโควิด 19 ซึ่งคงเป็นการฟ้องเพื่อหวังผลการเลือกตั้งในประเทศมากกว่า ส่วนศาลสูงสหรัฐจะพิจารณาคดีนี้อย่างไรเพราะจีนซึ่งเป็นจำเลยคงไม่มาชี้แจง ถ้ามาก็เท่ากับยอมรับอำนาจศาลของอเมริกา สุดท้าย ศาลก็คงพิจารณาฝ่ายเดียวว่าจีนผิด สังคมประชาธิปไตยแบบสหรัฐนี่ดีอย่างเพราะทุกอย่างต้องโปร่งใส คนอเมริกันและคนทั่วโลกเข้าถึงข้อมูลต่างๆ หลายที่หาจากที่อื่นไม่ได้ เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2563 มีบทความในรูปวิดีโอชื่อ “ความจริงทั้งหมด” หัวข้อเรื่อง “คำร้องขอข้อมูลของฟอร์ด ดิทริค” เขียนโดย เกรซ ไบร์ด ได้จัดลำดับเหตุการณ์เด่นๆ ที่นำไปสู่บทสรุปที่ว่า เชื้อไวรัสโควิด 19 รั่วไหลออกมาจากห้องปฏิบัติการอาวุธชีวภาพของซี.ไอ.เอ. จนศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (ซีดีซี) ต้องปิดห้องปฏิบัติการและยุติโครงการดังกล่าว และกำลังสืบสวน…