การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา: ปัจจัยเสริมอุดมการณ์พวกสุดโต่ง

Loading

ที่มาภาพ: https://edition.cnn.com/2020/04/07/politics/national-security-warning-coronavirus-extremism/index.html National security officials warn of extremists exploiting coronavirus pandemic By David Shortell, CNN Updated 0032 GMT (0832 HKT) April 8, 2020 Written by Kim ผลร้ายที่ตามมาของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) มีแนวโน้มเป็นปัจจัยส่งเสริมอุดมการณ์สุดโต่งทุกประเภท โดยกลุ่มสุดโต่งทางศาสนา (religious extremists) กลุ่มหัวรุนแรงฝ่ายซ้าย (radical left-wing groups) และพวกคนขาวผู้สูงส่ง (white supremacists) ต่างเห็นโอกาสที่จะเสริมพลังอุดมการณ์และเรื่องเล่าในการอธิบายแนวทางจัดการไวรัสโคโรนาของตน ขณะที่มาตรการสอดส่องตรวจตราประชาชนด้วยเทคโนโลยีสอดแนมก่อให้เกิดความรู้สึกถึงโลกที่ไม่พึงปราถนาซึ่งปกครองด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จ ในอนาคตผู้ก่อการร้ายอาจฉวยใช้เทคโนโลยีจัดส่งสิ่งของ เช่น เครื่องบินไร้คนขับ (drone) เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ในการก่อการร้ายต่อไป           การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เปิดโอกาสให้ผู้ก่อการร้ายและพวกหัวรุนแรงสุดโต่งเสริมสร้างความรุนแรงให้กับเรื่องเล่าของตน หลังการแพร่ระบาดจะนำไปสู่ความคับข้องใจครั้งใหม่ ซ้ำเติมความทุกข์ยากเดิมอย่างลึกซึ้งจากเรื่องเชื้อชาติ ศาสนาไปจนถึงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ความไร้เสถียรภาพถูกทำให้ลุกเป็นไฟด้วยการกระจายข้อมูลบิดเบือน (disinformation) ที่ออกแบบมาเพื่อหว่านแพร่ความสับสนวุ่นวาย ขณะเดียวกันแสวงประโยชน์จากความแตกแยกและกระตุ้นให้เกิดการแบ่งขั้วเป็นฝักเป็นฝ่าย[1]           พวกสุดโต่งทางศาสนาพยายามสร้างภาพการแพร่ระบาดว่า…

COVID-19 กำลังเปลี่ยนโลกและท่าทีของเราต่อเทคโนโลยีและความเป็นส่วนตัว

Loading

The way we do business and interact could be fundamentally changed by Covid-19 (Credit: Getty Images) ที่มาภาพ: https://www.bbc.com/future/article/20200331-covid-19-how-will-the-coronavirus-change-the-world Written by Kim อนาคตหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนามีความเป็นไปได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของรัฐบาลและสังคมรวมทั้งสภาพเศรษฐกิจและผลที่ตามมา[1] ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบในระยะยาวของการแพร่ระบาด นักวิชาการ นักวางแผน ผู้นำทางความคิดและนักธุรกิจต่างก็เริ่มจัดทำรายการความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย หากการแพร่ระบาดยิ่งนานเท่าไรการเปลี่ยนแปลงจะยิ่งช้าลงเท่านั้น[2]           ข้อมูลสถิติและผู้เชี่ยวชาญระบุว่า จุดเริ่มต้นการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อยู่ที่เมืองอู่ฮั่นของจีนและปัจจุบันเริ่มถูกจำกัดวง (contain) โดยมีต้นทุนความเสียหายทั้งด้านเศรษฐกิจและชีวิตมนุษย์ แม้ในช่วงเวลาก่อนการอุบัติขึ้นแบบฉับพลัน (outbreak)[3] ของเชื้อไวรัส พลเมืองชาวจีนอยู่ภายใต้การสอดส่องตรวจตราอย่างเข้มงวดโดยรัฐ (state surveillance) และมาตรการติดตามแกะรอยทางเทคโนโลยี (technology-driven tracking measures) ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในโลกตะวันตกคุ้นเคย ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง การบุกรุกชีวิตประจำวันของเราดูเหมือนกำลังขยายตัวมากขึ้น[4] เจ้าหน้าที่ทางการใช้หมวกนิรภัยติดกล้องตรวจจับแยกแยะอุณหภูมิฝูงชนและโทรศัพท์สมาร์ทโฟนติดตั้งแอป ซึ่งใช้หลักการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning)[5] ประเมินค่า “ระดับความเสี่ยง” ของประชาชนด้วยรหัสสี (แดง เหลือง เขียว) เครื่องบินไร้คนขับควบคุมด้วยวิทยุทางไกล (drone) ติดตั้งกล้องตรวจจับความร้อน ลำโพงขยายเสียงรวมทั้งเครื่องฉีดสารเคมีบินลาดตระเวณบังคับใช้ตรวจจับประชาชนที่ละเมิดกฎหมายกักตัวอยู่บ้าน มีรายงานว่าผู้อยู่อาศัยในอพาร์ทเมนต์จำนวนหนึ่งไม่สามารถกลับเข้าที่พัก เนื่องจากระบบรักษาความปลอดภัยอัตโนมัติตัดสินว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้มี “ความเสี่ยง”           ไม่เพียงแต่จีนเท่านั้น รัฐบาลอิหร่านสนับสนุนให้ประชาชนดาวน์โหลดแอปที่ใช้วินิฉัยการแพร่กระจายของไวรัส โดยไม่บอกว่าแอปดังกล่าวสามารถใช้ติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ใช้รวมทั้งผู้ที่ติดต่อด้วย…

ประกาศงาน 27 อาชีพห้ามต่างด้าวทำเด็ดขาด

Loading

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ งาน 27 อาชีพ ห้ามต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่งแห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีหนึ่งท้ายประกาศนี้ หรืองานที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีสัญชาติไทย เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาดในทุกท้องที่ในราชอาณาจักร ข้อ 3 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีสองท้ายประกาศนี้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ในทุกท้องที่ในราชอาณาจักรโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงาน ได้ตามข้อตกลงระหว่างประเทศหรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีความผูกพันภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ข้อ 4 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีสามท้ายประกาศนี้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำในทุกท้องที่ในราชอาณาจักร โดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานฝีมือหรือกึ่งฝีมือนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้าง ข้อ 5 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีสี่ท้ายประกาศนี้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำในทุกท้องที่ในราชอาณาจักรโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้างและได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกับนายจ้าง ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด ข้อ 6 ในกรณีเป็นงานที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองคนต่างด้าวจะขอรับใบอนุญาตทำงานได้ก็ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองตามกฎหมายนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2563 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน…

แนวทางการปฎิบัติสำหรับการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลชีวภาพ (Biometrics) โดย ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม

Loading

บทความนี้เรียบเรียง สรุป (และอธิบายขยายความเพิ่มเติม) จากเอกสาร Guidelines on processing of personal data through video devices Version 2.0 (เผยแพร่เมื่อ มกราคม 2020) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเอกสารแนะนำการทำงานเกี่ยวกับกล้อง CCTV และข้อมูล Biometrics (ข้อมูลชีวมิติ/ชีวภาพ) การเรียบเรียงเอกสารฉบับนี้ ไม่ใช่การแปลตรง ๆ แต่เป็นการเขียนสรุปความ และเรียบเรียงขึ้นใหม่ในสำนวนและภาษาของผู้เขียนเอง คำอธิบายและตัวอย่างบางส่วนมิได้มาจากเอกสารข้างต้นที่อ้างถึง แต่หยิบยกจากประสบการณ์และความรู้ของผู้เขียนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อหาในหัวข้อแรก “พื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้น” ที่อธิบายเพื่อปูพื้นฐานให้ผู้อ่านเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และข้อมูลส่วนบุคคล ว่าเชื่อมโยงไปที่ Biometrics อย่างไร เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านติดตามทำความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น 1. พื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้น ข้อมูลชีวภาพ ใน พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  เทียบได้กับคำว่า Biometric ใน GDPR (General Data Protection Regulation) ทั้งนี้…

ชานมข้นกว่าเลือด : ประจักษ์ ก้องกีรติ มอง พันธมิตรชานม ปะทะ “สลิ่มจีน” ใน “ศึกทวิตภพข้ามพรมแดน”

Loading

โดย หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ / ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย ศึก “ทวิตภพ” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ลุกลามบานปลายจากสื่อสังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ ระหว่างผู้ใช้งานทวิตเตอร์ชาวไทย-จีน-ไต้หวัน-ฮ่องกง ไปยังเวยป๋อ/เวยโป๋ (Weibo) ในหมู่ชาวจีนด้วยกันเอง จนเกิด “พันธมิตรชานม” ขึ้นในพื้นที่การต่อสู้ของคนที่เรียกตัวเองว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย” ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “ศึกทวิตภพข้ามพรมแดน” และถือเป็นครั้งแรกที่พลเมืองเน็ตไทยไปต่อกรกับพลเมืองเน็ตชาติอื่นด้วยประเด็นทางการเมือง “สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าทวิตเตอร์ในไทยมีศักยภาพสูงกว่าที่หลายคนเคยคาดคิด โดยสามารถขยับประเด็นการเมืองในประเทศ ไปสู้ข้ามประเทศได้ด้วย” ผศ.ดร.ประจักษ์กล่าวกับบีบีซีไทย วชิรวิชญ์ หรือ ไบรท์ ได้ออกมาขอโทษสำหรับ “การรีทวีตที่ไม่ได้คิดทบทวนอย่างระมัดระวัง” โดยบอกว่าเขาไม่ได้อ่านคำบรรยายภาพให้ชัดเจน และจะไม่ให้เกิดความผิดพลาดแบบนี้ขึ้นอีก ศึกทวิตภพข้ามพรมแดน สะท้อนความกังวลอิทธิพลจีนในภูมิภาค ชนวนศึกครั้งนี้เริ่มจากความเห็นในโลกออนไลน์ของนักแสดงหนุ่มและแฟนสาวชาวไทยที่จุดกระแสความไม่พอใจให้แก่ชาวเน็ตจีน ก่อนลุกลามบานปลายกลายเป็น “ความกังวลใจต่ออิทธิพลจีนในภูมิภาคนี้” ตามทัศนะของ ผศ.ดร.ประจักษ์ โดยที่ชาวไต้หวันและฮ่องกงมีความกังวลอยู่แล้วจากนโยบายจีนเดียว ขณะที่ผู้เล่นทวิตเตอร์ชาวไทยก็ได้ร่วมแสดงออกในเชิงสนับสนุนจุดยืนการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของไต้หวันและฮ่องกง พร้อม ๆ กับสะท้อนความไม่พอใจสะสมต่อระบอบการเมืองไทยในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ของจีน ทักทายนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ของไทย…

วิกฤตไทย 2563 ! ข้อสังเกต 10 ประการ โดย สุรชาติ บำรุงสุข

Loading

โดย สุรชาติ บำรุงสุข ประเทศไทยไม่แตกต่างจากหลายประเทศทั่วโลกที่วันนี้ตกอยู่ภายใต้วิกฤตการณ์ชุดใหญ่ อันเป็นผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมโลกครั้งใหญ่เช่นไร สังคมไทยก็กำลังถูกความเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้นไม่แตกต่างกันด้วย หรือดังที่นักสังเกตการณ์ทั้งหลายมีความเห็นในระดับโลกร่วมกันก็คือ โลกหลังยุคก่อนโควิดจะไม่หวนกลับมาหาเราอีก เช่นที่โลกยุคหลังโควิดก็จะแตกต่างออกไปจากยุคก่อนอย่างมาก และจะเป็นความเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ครั้งใหญ่อย่างคาดไม่ถึงด้วย ดังนั้นหากทดลองคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงของไทยในอนาคตแล้ว เราอาจจะเห็นประเด็นต่างๆ ที่จะมีความสำคัญต่อทิศทางการพลิกฟื้นประเทศหลังจากการสิ้นสุดของโรคระบาดชุดนี้ ได้แก่ 1) วิกฤตซ้อนวิกฤต: การเมืองไทยจะยังคงตกอยู่ในภาวะวิกฤต ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนการระบาดนั้น ไม่ได้หายไปไหน เป็นแต่เพียงจะถูกทับซ้อนจากสถานการณ์ใหม่ อันเป็นผลจากความอ่อนแอของรัฐบาลในการบริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น อันอาจจะส่งผลให้วิกฤตที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว กลายเป็นวิกฤตที่มีความรุนแรงมากขึ้น และจะส่งผลต่อสถานะทางการเมืองของรัฐบาล โดยเฉพาะต่อตัวผู้นำรัฐบาลโดยตรง และจะเป็นวิกฤตที่มีนัยต่อความอยู่รอดของรัฐบาลอีกด้วย หรืออาจคาดได้ว่า การเมืองหลังจากการระบาดสิ้นสุดลงจะมีความเข้มข้นมากขึ้นอย่างแน่นอน และจะมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองด้วย 2) เศรษฐกิจพังทลาย: วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2563 จะมีความรุนแรงและหนักหน่วงมากกว่าวิกฤตในปี 2540 อย่างแน่นอน และความคาดหวังว่าวิกฤตเศรษฐกิจ 2563 จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเช่นในปี 2540 อาจจะเป็นการคาดคะเนที่ง่ายเกินไป การพังทลายของเศรษฐกิจไทยกำลังเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน จนวันนี้กล่าวได้ชัดเจนว่า ไม่มีภาคส่วนใดที่ไม่ได้รับผลกระทบ และผลที่เกิดขึ้นกำลังพาเศรษฐกิจไทยสู่ “การ ถดถอย” ครั้งใหญ่ (economic recession) และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะอยู่ในภาวะ “ติดลบ” อย่างแน่นอน…