“ปืน” ผิด ก.ม.หาซื้อง่าย ถูกใช้สนองเหตุแก้ปัญหา

Loading

เหตุการณ์ “คนร้าย” ใช้อาวุธปืนก่อความรุนแรง มุ่งประสงค์ต่อชีวิตบุคคลอื่น มีลักษณะแนวโน้มเกิดถี่มาก ต้นเหตุหนึ่ง ผู้ครอบครองอาวุธปืน โดยถูกกฎหมาย และ…ผู้เป็นเจ้าของครอบครองแบบไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ทำให้บ่อยครั้ง…มีเหตุใช้ “ปืนแก้ปัญหา”…ก่อเหตุอาชญากรรม “ฆ่ากันตายรายวัน” และยังใช้เป็นเครื่องมือระบายอารมณ์ความเครียด แม้แต่ปัญหาเล็กน้อย…ข้อพิพาทขับรถปาดหน้ากัน ก็ใช้ปืนออกมาข่มขู่ง่ายขึ้น โดยเฉพาะนับแต่เหตุบุกกราดยิง ร้านทอง จ.ลพบุรี หรือเหตุทหารคลั่งสังหารยิงผู้บริสุทธิ์ ใน อ.เมืองนครราชสีมา จนมีหนุ่มเครียดระบายอารมณ์ยิงปืน 40 นัด ซอยจุฬา 10 กทม. กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่น่าวิตกกังวลมากขึ้น สาเหตุลักษณะการนำปืนก่อเหตุนี้ “ทีมข่าวสกู๊ปหน้า 1” ได้พูดคุยกับ ครูสอนยิงปืน สนามยิงปืนสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เล่าว่า การขออนุญาตมีปืนมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง…ข้าราชการทหาร ตำรวจ ได้รับรองโดย ผู้บังคับบัญชา ในตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ เหตุผลจำเป็นที่ขออนุญาตออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ในการใช้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทำให้ทหาร ตำรวจ ขอได้ง่ายกว่าพลเรือน แต่ไม่ใช่ว่า…ทุกคนจะสมหวังเสมอไป เพราะผู้ออกใบอนุญาตอาจมองถึงหลักความจำเป็นสำคัญ เช่น ขอมีปืนขนาด…

IBM เผยรายงานวิวัฒนาการของ Cyber Attack ในการขโมยข้อมูลเพื่อโจมตีธุรกิจ

Loading

กุมภาพันธ์ 12, 2020 | By Techsauce Team IBM Security เปิดเผยรายงาน IBM X-Force Threat Intelligence Index ประจำปี 2563 ที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการใหม่ๆ ของเทคนิคที่อาชญากรไซเบอร์นำมาใช้ หลังจากที่ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมานี้สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลบริษัทหลายหมื่นล้านเรคคอร์ด รวมถึงช่องโหว่ในซอฟต์แวร์อีกนับแสนรายการมาแล้ว โดยจากรายงานพบว่า 60% ของการเริ่มเจาะเข้าถึงเครือข่ายของผู้ตกเป็นเป้าหมายนั้น อาศัยข้อมูลประจำตัวที่ถูกขโมยมา หรือช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ที่เคยมีการแจ้งเตือนให้ทราบแล้ว โดยที่ผู้โจมตีไม่ต้องพยายามวางแผนเพื่อใช้วิธีหลอกลวงที่แยบยลในการเข้าถึงระบบมากเหมือนเมื่อก่อน รายงาน IBM X-Force Threat Intelligence Index ได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อวิวัฒนาการต่างๆ ข้างต้น กล่าวคือ •    การเจาะระบบครั้งแรกสำเร็จด้วยวิธีฟิชชิ่ง ถือเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 จากเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด (31%) เมื่อเทียบกับสัดส่วน 50% ในปี 2561 •    การสแกนและการโจมตีช่องโหว่คิดเป็น 30% ของเหตุทั้งหมด เมื่อเทียบกับสัดส่วนเพียง 8% ในปี…

ตัวตนข้าราชการสองหน้า แฉข้อมูลลับให้สื่อจนริชาร์ด นิกสัน ทิ้งเก้าอี้ปธน. คดีวอเตอร์เกต

Loading

(ซ้าย) ริชาร์ด นิกสัน (ขวา) มาร์ก เฟลต์ ฉากหลังเป็นภาพการจัดแสดงหลักฐานจากวาระครบ 30 ปี การงัดสำนักงานพรรคเดโมแครต ที่วอเตอร์เกต (ภาพจาก PAUL J. RICHARDS / AFP) คดีวอเตอร์เกต (Watergate) อันลือลั่นซึ่งว่าด้วยการแฉข้อมูลทางการเมือง แม้จะล่วงเลยมาหลายสิบปีแล้ว จนถึงปัจจุบัน คดีนี้ยังอยู่ในความทรงจำในฐานะเรื่องอื้อฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หรืออาจเป็นประวัติศาสตร์โลก คดีวอเตอร์เกต การแฉข้อมูลเบื้องลึกว่าด้วยการดำเนินการของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน และผู้ใกล้ชิดซึ่งกระทำการโดยผิดกฎหมายเพื่อให้มีชัยเหนือคู่แข่งทางการเมือง และชนะการเลือกตั้ง แต่จุดที่ทำให้ถูกเปิดโปง คือกรณีที่ทีมงานเข้าไปติดตั้งเครื่องดักฟังในศูนย์รณรงค์หาเสียงของพรรคเดโมแครต และถูกตำรวจจับได้ ขณะที่สื่อสารมวลชนที่รายงานเบื้องหลังของการงัดแงะครั้งนั้นอย่างต่อเนื่อง จนข้อมูลเบื้องลึกถูกเปิดโปงใหญ่โต จากคดีงัดแงะเล็กน้อยกลายเป็นคดีอื้อฉาวระดับประเทศอันเป็นผลทำให้ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และน้ำตาตกต่อหน้าการแถลงข่าว สื่อมวลชนกลุ่มที่ปฏิบัติการนี้เองมีแหล่งข่าวปริศนารายสำคัญซึ่งสาธารณชนรู้จักในนามแฝงว่า “ดีพโธรต” (Deep Throat) แล้วเขาคือใคร? หากเอ่ยถึงในข้อเท็จจริงโดยรวมแล้ว คดีวอเตอร์เกทในช่วงต้นยุค 70s มีตัวละครสำคัญที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อคดีคือบทบาทสื่อมวลชนทั้งของวอชิงตัน โพสต์ (The Washington Post) และนิวยอร์ก ไทม์ส (The New York Times) โดยเฉพาะบทบาทการทำข่าวสืบสวนสอบสวนโดยบ๊อบ…

Big Data Is A Big Problem : เปลี่ยนดีเอ็นเอให้เป็นฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล

Loading

By : sopon supamangmee | Feb 18, 2020 เคยมีคำถามกันบ้างไหมครับเวลาอัพโหลดรูปภาพบนเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือลงวิดีโอไว้บนยูทูบแล้วรูปไปอยู่ที่ไหน? เราใช้บริการเหล่านี้ในชีวิตประจำวันจนแทบไม่เคยตั้งคำถามหรือคิดถึงมันเลยด้วยซ้ำ หลายคนก็อาจจะตอบว่าก็คงไปอยู่บนคลาวน์ “ที่ไหนสักแห่งหนึ่ง” ที่มีพื้นที่มากมาย ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไฟล์หรือข้อมูลเหล่านี้แม้ว่าจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ใช่ปึกกองกระดาษเหมือนหนังสือเล่ม หรือม้วนวิดีโอ แต่ว่าไฟล์ดิจิทัลเหล่านี้ก็ยังต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บที่เรียกว่า ‘data center’ หรือ ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตึกที่เต็มไปด้วยเซิร์ฟเวอร์หลายพันหลายหมื่นตัว (มีการประมาณการจาก Gartner ว่าในปี 2016 กูเกิลมีเซิร์ฟเวอร์กว่า 2.5 ล้านตัวใน data center ของตัวเองทั่วโลก) ไฟล์ดิจิทัล แต่พื้นที่จัดเก็บนั้นไม่สามารถเป็นดิจิทัลได้ ไม่ใช่แค่ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลเท่านั้นที่มี data center ขนาดเท่าสนามฟุตบอลกระจายอยู่ทั่วโลก บริษัทอื่นๆ อย่างเน็ตฟลิกซ์, ไลน์, วอทส์แอป, ทวิตเตอร์, แอมะซอน ฯลฯ หรือเรียกได้ว่าผู้ให้บริการออนไลน์ทุกเจ้าจะต้องมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ด้วยกันทั้งนั้น ทุกครั้งที่มีการส่งอีเมล แชร์รูปบนเฟซบุ๊ก สตรีมเน็ตฟลิกซ์ ค้นหาบนกูเกิล ​เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้แหละที่ทำงานอยู่เบื้องหลังตลอดเวลา มีการคาดการณ์ว่าข้อมูลออนไลน์จะเติบโตจาก 33 ZB…

เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่

Loading

จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคโนโลยีหนึ่ง ก็คือ การจดจำใบหน้า แม้ภาครัฐอ้างว่าจะใช้เพื่อป้องกันภัยจากการก่อการร้ายหรืออาชญากรรม แต่ประชาชนกลับมองว่านี้อาจลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเอง เพระาไม่สามารถตรวจสอบการเข้าถึงได้ รัฐนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันมาใช้ โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องและป้องกันภัยจากการก่อการร้ายและอาชญากรที่พัฒนาขึ้นทุกวัน แต่ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่า สิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขากำลังถูกลิดรอน เพราะไม่สามารถตรวจสอบหน่วยงานรัฐได้ว่าเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวมากน้อยเพียงใด โปรแกรมหนึ่งที่กำลังถูกพูดถึงคือ โปรแกรมจดจำใบหน้า หรือ face-recognition technology ซึ่งหน่วยงานความมั่นคงนำมาใช้เพื่อช่วยให้สืบหาตัวคนร้ายได้รวดเร็วฉับไวมากยิ่งขึ้น ทางการของเกาะฮ่องกง นำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับกลุ่มผู้ประท้วง เพื่อหาทางจัดการทางกฎหมายกับผู้ประท้วงที่ฮ่องกง เริ่มมาตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม 2562 ในช่วงแรกการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ ก่อนที่เหตุการณ์จะเริ่มรุนแรงในเวลาต่อมา หลายต่อหลายครั้งทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจ ต้นตอเริ่มแรกของการประท้วงมาจากความไม่พอใจร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งผู้ชุมนุมมองว่า รัฐบาลจีน กำลังแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของชาวฮ่องกง การประท้วงยืดเยื้อข้ามปี เพราะผู้ประท้วงต้องการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป โดยระบุว่ารัฐบาลฮ่องกงไม่ได้ทำตามคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าว นับตั้งแต่จีนได้เข้าปกครองฮ่องกงในปี 2540 ว่ากันว่า ตอนนี้ทั้งสองฝ่ายพยายามยั่วยุกัน โดยทางการฮ่องกงเชื่อว่า หากปล่อยให้มีการประท้วงต่อไปเรื่อยๆ ผู้ประท้วงเองจะเลิกราไปเอง ส่วนผู้ประท้วงก็พยายามยั่วยุ เพื่อให้ทางการหมดความอดทน ครั้งหนึ่งมีการเผยแพร่ภาพหนึ่งในโลกออนไลน์ที่เข้าใจว่า เป็นภาพของผู้ประท้วงชาวฮ่องกงคาดศีรษะด้วยอุปกรณ์ดิจิทัล ประกอบด้วยจอโปรเจ็คเตอร์ ซึ่งจะฉายเป็นภาพบุคคลอื่นบนใบหน้าของคนๆ นั้น เพื่อพรางตัวไม่ให้โปรแกรมจดจำใบหน้าจำได้ แต่ต่อมามีการเปิดเผยว่า ภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่คิดค้นโดย จิง ไซ หลิว นักศึกษาของ Utrecht School of the Arts…

โซเชียลมีเดีย สื่อป่วนโลก : เฟค นิวส์ ข่าวป่วนเมือง

Loading

วิกฤติไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเชื่อว่า ต้นตอของเชื้อโรคมาจากสัตว์ได้สร้างความตื่นตระหนกและเชื้อโรคได้ลุกลามไปหลายประเทศจนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศทำให้ประชาชนทั้งโลกต่างอยู่ในภาวะเตรียมรับมือและหาวิธีป้องกันตัวเอง รวมทั้งหามาตรการยับยั้งการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้มข้น สิ่งที่แพร่ออกไปพร้อมๆกันกับเชื้อไวรัสโคโรน่าคือ ข่าวปลอม ที่ถูกสร้างด้วยน้ำมือของมนุษย์เอง ซึ่งไม่เพียงสร้างความสับสนวุ่นวายต่อสังคมและรัฐบาลของประเทศที่ได้รับผลกระทบแล้วยังเป็นการเพิ่มภาระให้กับภาครัฐที่ต้องมานั่งแถลงข่าวการจับผู้ปล่อยข่าวปลอมไม่เว้นแต่ละวันต้องเสียเงินเสียทอง เสียเวลาแก้ข่าวและบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาของภาครัฐอยู่ไม่น้อย ข่าวปลอมจากโซเชียลมีเดีย มิใช่เกิดเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น การปล่อยข่าวปลอมผ่านสื่อโซเชียลเกิดขึ้นกับหลายประเทศในโลกและเกิดขึ้นได้ในทุกสถานการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดความรุนแรง เพราะข่าวปลอมสามารถทำให้คนบริสุทธิ์ต้องสังเวยชีวิตดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศอินเดียซึ่งมีผู้ถูกรุมประชาทัณฑ์จนเสียชีวิตจากข่าวลือผ่านโซเชียลมีเดียและมีผู้ถูกเผาทั้งเป็นจากการเผยแพร่ข่าวลือผ่านโซเชียลมีเดียในประเทศเม็กซิโก เป็นต้น ในช่วงที่ไวรัสโคโรน่ากำลังแพร่ระบาดมีการเผยแพร่ข่าวปลอมผ่านสื่อโซเชียลต่างๆในประเทศไทยจำนวนมาก เป็นต้นว่า ข่าวการเดินทางของคนจีน 5 ล้านคนมายังประเทศไทยที่มีสื่อนำเสนอและเผยแพร่ต่อทางโซเชียลมีเดีย การแพร่ข่าวการติดเชื้อของผู้คนตามสถานที่ต่างๆโดยคิดเอาเองว่า เป็นความจริงหรือแชร์ต่อจากเพื่อน การแพร่ข่าวตลาดที่เชื่อว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ข่าวและรูปแสดงการกินสัตว์แปลกๆ หรือแม้แต่การแนะนำให้กินสมุนไพรเพื่อรักษาอาการติดเชื้อไวรัส ซึ่งข่าวสารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข่าวปั้นน้ำเป็นตัวที่มาจากโซเชียลมีเดียทั้งสิ้น ข่าวปลอมที่ถูกแพร่ออกมาจากโซเชียลมีเดียในขณะที่โลกอยู่ในภาวะวิกฤติได้สร้างความแตกตื่น รวมทั้งสร้างความเชื่อที่ผิดต่างๆแก่ผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ผู้คนยังขาดความรู้ ขาดวิจารณญาณและใช้สื่อโซเชียลด้วยความคึกคะนองหรือต้องการสร้างเครดิตจากยอดไลค์แก่ตัวเองโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ยิ่งจะทวีความสับสนให้กับผู้คนที่บริโภคข่าวผ่านโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย โซเชียลมีเดียจึงเป็นสื่อตัวแม่ที่ช่วยกระพือข่าวปลอมไปยังทุกมุมโลกด้วยระยะเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที สิ่งน่ารังเกียจเป็นอย่างยิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นในสถานการณ์วิกฤติก็คือ การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อหวังผลทางการเมือง ทั้งจากตัวนักการเมืองเองและพลพรรคที่สนับสนุนกลุ่มการเมืองโดยใช้ความมีชื่อเสียงของตัวเองในการเผยแพร่ข่าว ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าความเห็นที่ไร้ความสร้างสรรค์ต่างๆจะออกมาจากปากของนักการเมืองที่มักถูกเรียกว่า ผู้ทรงเกียรติและชอบอ้างตัวเองอยู่เสมอว่ามาจากประชาชน เพราะแทนที่นักการเมืองเหล่านี้จะให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์หรือให้กำลังใจต่อรัฐบาลหรือประชาชน แต่กลับเพิ่มความเลวร้ายของสถานการณ์ให้มากขึ้นไปอีกด้วยการฉกฉวยสถานการณ์ปล่อยข่าวด้านลบเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพรรคพวก ซึ่งในที่สุดจะไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใดเลย เพราะนอกจากการกระทำดังกล่าวจะประจานความไม่เอาไหนของตัวเองแล้วยังบั่นทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลภายใต้สถานการณ์อ่อนไหว รวมถึงลดทอนความน่าเชื่อถือของสถาบันผู้แทนราษฎรของประเทศไทยอีกด้วย ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่โซเชียลมีเดียถูกนำมาใช้ในการเผยแพร่ข่าวปลอมในภาวะวิกฤติ ประเทศต่างๆล้วนแต่เผชิญปัญหาการเผยแพร่ข่าวปลอมไม่แพ้กัน เป็นต้นว่า พม่าประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเรากำลังผจญกับปัญหาข่าวปลอมจากสื่อโซเชียลอยู่เช่นกัน ด้วยความเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับจีนจึงทำให้ผู้คนในพม่าสนใจเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรน่าเป็นพิเศษและมีการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับการรักษาไวรัสโคโรน่ากันอย่างกว้างขวาง เช่น การแพร่ข่าวว่าหัวหอมมีสรรพคุณช่วยป้องกันไวรัสได้ เพราะพบว่า มีคนป่วยใกล้ตายนำหัวหอมวางไว้ใกล้ตัวขณะนอนแล้วเห็นผลในการรักษาหรือการแพร่ข่าวว่าการดื่มสุราสามารถป้องกันไวรัสโคโรนาได้ เป็นต้น การระบาดของข่าวปลอมไม่ได้สร้างความเสียหายต่อมนุษย์เฉพาะในยุคของการเบ่งบานของข้อมูลข่าวสารเช่นในปัจจุบันเท่านั้น ในยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เครื่องพิมพ์เมื่อหลายร้อยปีก่อน มีการเผยแพร่ข่าวสารที่ผิดๆและสร้างความหายนะให้กับมนุษย์ผู้บริสุทธิ์อย่างมากมาย เพราะทันทีที่การพิมพ์ได้เริ่มขึ้นปัญหาความขัดแย้งก็เริ่มปรากฏในชั่วเวลาไม่นาน การแพร่กระจายของสิ่งพิมพ์ นอกจากจะทำให้ความรู้ของผู้คนเพิ่มอย่างรวดเร็วแล้ว การเผยแพร่สิ่งพิมพ์ได้นำไปสู่เหตุการณ์น่าเศร้าสลด…