จับตา 13 ประเด็นร้อนในเวทีโลกปี 2020 กับ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข

Loading

ปี 2019 เป็นปีที่มีเหตุการณ์สำคัญมากมายในเวทีโลกให้ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนที่ปะทุขึ้นเป็นระยะๆ กระแสเรียกร้องให้พลเมืองโลกตระหนักถึงวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างจริงจัง ความล้มเหลวของประชุมสุดยอดผู้นำระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือที่ยังไม่มีข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม รวมถึงความยืดเยื้อของ Brexit และการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกจากตำแหน่ง THE STANDARD มีโอกาสพูดคุยกับ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องของประเด็นสำคัญในเวทีโลก โดยเฉพาะในมิติของการเมืองและความมั่นคง นี่คือ 13 ประเด็นสำคัญในเวทีโลกที่น่าจับตามองในปี 2020 Photo: Posteriori / Shutterstock 1. ยุคใหม่ของการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐมหาอำนาจที่อาจนำไปสู่สงครามเย็นในศตวรรษที่ 21 ปี 2019 ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างการครบรอบ 30 ปีของการสิ้นสุดสงครามเย็น สิ่งนี้บอกเราว่าการเมืองโลกมีการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่สุดคือการสิ้นสุดของสงครามเย็นหรือสงครามคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นเราก็ได้เห็นโลกที่มีระเบียบอีกชุดหนึ่งที่ทำเนียบขาวเรียกว่า ‘ระเบียบโลกใหม่’ (New World Order) แต่หลังจากปี 1989 ที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง สิ่งที่เห็นคือความปั่นป่วนในเวทีโลกที่มีสหรัฐฯ เป็นมหาอำนาจเดียว สหภาพโซเวียตล่มสลาย จีนเองก็ยังไม่ได้เข้มแข็งมากนัก จนนักวิชาการจำนวนไม่น้อยต่างมองว่าโลกหลังสงครามเย็นยังเป็น ‘โลกไร้ระเบียบ’ (New World Disorder)…

ร่างกายฉัน แต่ DNA นั้นของใคร? การสืบสวนจะเป็นอย่างไรเมื่อ DNA ของคนอื่นอยู่ในตัวเรา

Loading

Chris Long credit : The New York Times (Tiffany Brown Anderson) ลองจินตนาการว่าวันหนึ่งเราไปตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรค แต่กลับพบว่า ดีเอ็นเอในเลือดนั้นไม่ใช่ของเราเพียงคนเดียว แต่มีของเพื่อนร่วมงาน คนข้างบ้าน หรือคนแปลกหน้าที่อยู่ถัดไปอีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งไม่เคยพบกันมาก่อนปะปนอยู่ด้วย! เรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นได้จริงๆ น่ะเหรอ? หรืออาจจะไม่ต้องจินตนาการแล้วก็ได้ เพราะเหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นจริงกับผู้ป่วยโรคลูคีเมียคนหนึ่ง ที่เคยเข้ารับการบริจาคไขกระดูก ซึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายของเขาได้รับดีเอ็นเอของใครบางคนมาโดยไม่รู้ตัว เรื่องนี้ถูกเผยแพร่ลงใน New York Times โดย คริส ลอง (Chris Long) ชายคนหนึ่งในเมืองรีโน รัฐเวเนดา ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ดีเอ็นเอในเลือดของเขาเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ก็คือการ ‘ถูกแทนที่’ ด้วยดีเอ็นเอของคนคนหนึ่ง ซึ่งพวกเขาไม่เคยรู้จักหรือพบหน้ากันมาก่อน หลังจากที่ คริส ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกเมื่อ 4 ปีก่อนเพื่อช่วยผลิตเม็ดเลือดให้กับร่างกาย เขาก็ได้รับการตรวจเลือดอีกครั้งหนึ่ง และสิ่งที่น่าตกใจก็คือ แม้ขนอกและผมยังมีดีเอ็นเอของเขาอยู่ แต่ในเลือดบริเวณเยื่อบุแก้ม ลิ้น และริมฝีปากของเขา กลับพบดีเอ็นเอของคนอื่น แม้กระทั่งในน้ำอสุจิด้วยก็ตาม ซึ่งภายหลังก็ทราบว่าดีเอ็นเอนั้นเป็นของชายชาวเยอรมันที่เป็น ‘ผู้ให้บริจาค’ ไขกระดูกแก่เขา…

แฮ็คเกอร์รัฐบาลเวียดนามโจมตีไทย ล้วงความลับทางธุรกิจยักษ์ใหญ่

Loading

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่ากลุ่มแฮ็คเกอร์ชาวเวียดนามกำลังเรียนรู้ยุทธศาสตร์การทำสงครามไซเบอร์แบบเดียวกับที่จีนทำ โดยใช้การโจมตีทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อสอดแนมคู่แข่งและช่วยให้เวียดนามสามารถไล่ตามคู่แข่งทั่วโลกได้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ CrowdStrike Inc. เผยว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา มีกลุ่มแฮ็คเกอร์ที่คาดมีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลเวียดนามและรู้จักกันในชื่อ APT32 ได้ทำการจารกรรมไซเบอร์มากขึ้นโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันกับที่แฮ็คเกอร์ชาวจีนทำกันอยู่ จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญหลายรายระบุว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นเป้าหมายสำคัญของ APT32 นักวิจัยที่จับตาเรื่องนี้อยู่แต่ไม่ขอเปิดเผยชื่อระบุว่ากลุ่ม APT32 สร้างโดเมนปลอมของ Toyota Motor Corp และ Hyundai Motor Co. เพื่อพยายามแทรกซึมเครือข่ายของผู้ผลิตรถยนต์ ในเดือนมีนาคมโตโยต้าค้นพบว่าบริษัทสาขาในเวียดนามและไทยตกเป็นเป้าหมาย รวมถึงบริษัทสาขาในญี่ปุ่นคือ Toyota Tokyo Sales Holdings Inc ในเรื่องนี้โฆษกของบริษัทคือไบรอัน ลีออนส์เป็นผู้เปิดเผย และยังมีพนักงานของโตโยต้าอีกคนหนึ่ง (ซึ่งร้องขอไม่ให้เปิดเผยตัวตน) ยืนยันว่ากลุ่มแฮ็ค APT32 เป็นผู้ลงมือ เวียดนามยังมุ่งเป้าไปที่ธุรกิจอเมริกันที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของเวียดนาม รวมถึงอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นเวลาหลายปีจากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญแอนดรูว์ กร็อตโต แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการอาวุโสด้านนโยบายความมั่นคงทางไซเบอร์ของสภาความมั่นคงแห่งชาติตั้งแต่ปลายปี 2558 ถึงกลางปี 2560 เขากล่าวว่า มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ในด้านการคุกคามทางไซเบอร์และผู้ที่เข้ามามีบทบาทในกิจกรรมนี้ยังเก่งขึ้นเรื่อยๆ กร็อตโต ยังกล่าวว่า…

เจาะลึก ‘หวังลี่เฉียง’ ที่อ้างเป็น ‘สายลับจีน’ผู้แปรพักตร์

Loading

ภาพถ่ายจากวิดีโอรายการทีวีออสเตรเลีย ซึ่ง หวัง “วิลเลียม” ลี่เฉียง ผู้อ้างตัวเป็น “สายลับจีน” แปรพักตร์ ออกมาให้สัมภาษณ์ ‘Defector’ Wang Liqiang and the Great GameBy Dave Makichuk ความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ดูเหมือน หวัง “วิลเลียม” ลี่เฉิง อดีตนักศึกษาศิลปะวัย 27 ปี ผู้อ้างเป็นสายลับจีนซึ่งขอ “แปรพักตร์” อย่างเก่งที่สุดก็น่าจะเป็นมือปฏิบัติการระดับล่างๆ เท่านั้น เจมส์ แองเกิลตัน (James Angleton) [1] อดีตผู้คุมงานด้านต่อต้านสปายสายลับ ในสำนักงานซีไอเอมาอย่างยาวนาน เคยพูดถึงการต่อต้านข่าวกรอง โดยบรรยายว่ามันคือ “ดงแห่งกระจก” (Wilderness of Mirrors) ซึ่งภาพของสิ่งต่างๆ จะถูกสะท้อนไปสะท้อนมา ยากแก่การจำแนกว่า สิ่งนั้นมีรูปร่างลักษณะที่แท้จริงอย่างไรกันแน่ คำพูดนี้เห็นกันว่าคมคายสมเหตุสมผล เนื่องจากในธุรกิจของสปายสายลับนั้น สิ่งต่างๆ ไม่เคยเป็นอย่างที่มันดูเหมือนจะเป็นเลย ในเดือนธันวาคมนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนและหน่วยงานด้านข่าวกรองของประเทศนั้น กลายเป็นข่าวพาดหัวหลายๆ…

เปิดปมทหารซาอุฯ กราดยิงฐานทัพสหรัฐฯ สะเทือนสัมพันธ์ ‘วอชิงตัน-ริยาด’

Loading

เรืออากาศตรี โมฮัมเหม็ด ซาอีด อัลชามรานี วัย 21 ปี นายทหารซาอุฯ ซึ่งลุกขึ้นมาก่อเหตุกราดยิงภายในฐานทัพเรือเพนซาโคลา รัฐฟลอริดา นับเป็นโศกนาฏกรรมที่สร้างความตกตะลึงเมื่อทหารอากาศซาอุฯ นายหนึ่งลงมือกราดยิงคนตาย 3 ศพ และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก ภายในฐานทัพเรือเพนซาโคลาที่รัฐฟลอริดาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นำมาสู่คำสั่งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ให้ระงับการฝึกของทหารจากซาอุดีอาระเบียทั้งหมด ขณะเดียวกันก็จุดประเด็นคำถามเกี่ยวกับความร่วมมือทางทหารระหว่างวอชิงตันและริยาด รวมถึงมาตรการคัดกรองทหารต่างชาติที่จะเข้ารับการฝึกฝนในอเมริกา มาตรการ ‘safety stand down’ นี้จะส่งผลต่อนักเรียนการบินทหารซาอุฯ กว่า 300 นาย ตลอดจนทหารราบ (infantry personnel) และปฏิบัติการฝึกอื่นๆ ทั้งหมดของทหารซาอุฯ ยกเว้นแต่การเรียนภายในห้องเรียน เช่น วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งจะยังมีการเรียนการสอนตามปกติ เจ้าหน้าที่อาวุโสของเพนตากอนระบุว่า มาตรการนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้กระทรวงฯ ได้พิจารณาทบทวนมาตรการด้านความปลอดภัย ซึ่งท้ายที่สุดจะถูกนำไปใช้กับนักศึกษาทหารต่างชาติทั้งหมดในสหรัฐฯ ซึ่งมีอยู่ราวๆ 5,000 นาย เรือโทหญิงแอนเดรียนา เจนูอัลดี โฆษกกองทัพเรือสหรัฐฯ ยืนยันว่า คำสั่งระงับปฏิบัติการฝึกของนักเรียนการบินทหารซาอุฯ ที่เริ่มมีผลตั้งแต่วันจันทร์ (9) จะครอบคลุมศูนย์ฝึก 3 แห่ง ได้แก่…

การก่อวินาศกรรมทางไซเบอร์

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ กิจกรรมค้นการข่าวกรองได้ปรับเปลี่ยนไปมากเมื่อเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสาร หรือ ไอ.ที่.ก้าวหน้ามากขึ้น แม้วัตถุประสงค์คงเดิม แต่วิธีการได้ปลี่ยนไป บางอย่างง่ายขึ้น สะดวกสบายมากขึ้นแต่ก็ซับซ้อนมากขึ้น นอกจาก “ข่าวกรองทางไซเบอร์” ที่นำเสนอไปแล้ววันนี้ จะเขียนถึงการก่อวินาศกรรมทางไซเบอร์ที่ทำลายเป้าหมายได้กว้างขวางและรุนแรงกว่า การก่อวินาศกรรมทางไซเบอร์ หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ทำลาย ขัดขวางทำให้เสียหายต่อระบบ เครื่องจักร ที่มีเทคโนโลยีสูงคำว่า การก่อวินาศกรรม มาจากภาษาอังกฤษSabotage โดยพัฒนาจากคำว่า subot ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่ารองเท้าไม้ ที่กรรมกรฝรั่งเศสไม่พอใจนายจ้าง จึงเอารองเท้าไม้ใส่เข้าไปในเกียร์เครื่องจักร ทำให้เครื่องจักรหยุดทำงาน กระบวนการผลิตชะงัก เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ต่อมาการก่อวินาศกรรมได้พัฒนาวิธีการให้ทันสมัยขึ้น โดยมีเป้าหมายคือการบ่อนทำลายทางการเมืองต่อเสถียรภาพของรัฐบาล และความมั่นคงของประเทศ ย้อนหลังไปเมื่อปี 2510 คนที่ถูกฝึกให้เป็นนักก่อวินาศกรรม หรือ วินาศกร ต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจและมีชีวิตอยู่กับ “ระเบิดแรงสูง” หลายคนบาดเจ็บ เสียชีวิตระหว่างการฝึกก็มี วินาศกรทุกคนจะต้องมี “เซฟตี้ พิน” ติดตัวไว้จนเป็นนิสัย นักเรียนจะถูกฝึกให้รู้จักระเบิดและความรุนแรงของระเบิดชนิดต่างๆ ในการใช้ทำลายเป้าหมายบุคคลและสถานที่ รู้จักจุดอ่อนของเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ อาทิโรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้า โรงกรองน้ำประปา สะพาน ฯลฯ…