“ระวัง! เป็น ‘ชาวเน็ต’ แบบนี้ เสี่ยงโดนฟ้องนะรู้ไหม?”

Loading

“ชาวเน็ตด่ายับ ชาวเน็ตรุมจวก ชาวเน็ตแห่แชร์ฯลฯ สารพัดการกระทำที่ชาวเน็ตทำ แล้วชาวเน็ตคือใครกันแน่? ตอบเลยว่าชาวเน็ตอาจเป็นคุณนั่นแหละค่ะ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตบนสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก, LINE, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์ หรือพื้นที่ออนไลน์อื่น ๆ คุณก็เป็นชาวเน็ตไปครึ่งหนึ่งแล้วนะ ยิ่งสมัยนี้พอโซเชียลมีเดียบูมขึ้นเรื่อย ๆ ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ ทุกคนเล่นเป็นกันหมด โซเชียลเลยกลายเป็นโลกเสมือนขึ้นมาอีกใบ ที่ส่งเสริมให้ชาวเน็ตมีอิทธิพลมากเข้าไปอีก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการสร้างตัวตนออนไลน์ขึ้นมาทำให้เรากลายเป็นอีกร่างหนึ่งได้โดยไม่รู้ตัว ดังที่เห็นกันตามข่าวดัง ๆ เมื่อไม่กี่วันมานี้ ไหนจะเรื่องเด็กติดเกมส์คลั่ง หนุ่มแว่นหัวร้อน รวมถึงคลิปต่าง ๆ ตามไทม์ไลน์ที่เต็มไปด้วยคอมเมนต์หยาบคาย คุณรู้หรือไม่ว่าการกระทำเหล่านี้มีความสุ่มเสี่ยงจะผิดกฎหมายนะคะ มันก็เหมือนในสังคมจริงนั่นแหละค่ะ ในเมื่อมีคนดีก็ย่อมมีคนไม่ดีปะปนอยู่ด้วยเป็นธรรมดา ส่วนบรรดาชาวเน็ตที่ไม่น่ารักมีแบบไหนบ้างห้องแนะแนวรวบรวมมาไว้แล้ว! ล่าแม่มด ชาวเน็ตตัวดีชอบตามไล่ลาหา ‘ผู้ต้องสงสัย’ ในประเด็นต่าง ๆ มารับผิดชอบเรื่องราว แต่กลายเป็นว่าชาวเน็ตเหล่านี้ไปลากใครก็ไม่รู้มาเกี่ยวข้องแบบงง ๆ คนนั้นก็เลยกลายเป็น ‘แพะรับบาป’ แบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เรื่องนี้เกิดจากชาวเน็ตที่ขาดสติ คิดว่าตนเองเป็นผู้พิทักษ์ความถูกต้อง ตั้งศาลเตี้ยขึ้นมาตัดสินอะไรต่อมิอะไรด้วยตัวเอง แต่นั่นกลายเป็นละเมิดความเป็นส่วนตัวคนอื่นไปซะอย่างนั้น แบบนี้ถือว่าผิดกฎหมายนะคะ ลามปาม เมื่อการล่าแม่มดคนเดียวมันไม่เพียงพอ ชาวเน็ตก็จะเริ่มไปสู่โซเชียลมีเดียของญาติโกโหติกาของคนนั้นอีกด้วย ไม่ว่าจะแชร์…

เมื่อ Smart Phone คือ ปัญหาของสิทธิพลเมืองที่ต้องระวัง…

Loading

ในโลกที่ทุกสิ่งทันสมัยมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ Smart Phone กลายเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก แต่ในความสะดวกกับมาพร้อมกับปัญหาของล่วงล้ำสิทธิอย่างคาดไม่ถึง… เมื่อ Smart Phone ล่วงล้ำพื้นที่ส่วนตัว? นวัตกรรม และเทคโนโลยีอันทันสมัยได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน แต่ในทางกลับกัน เครื่องมือที่ทันสมัย และมอบความสะดวกสบาย กับช่องทางให้เกิดอาชญากรรมรูปแบบใหม่ และเกิดคำถามมากมายถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่อาจเข้ามาละเมิดสิทธิพลเมือง เช่น สิทธิในความเป็นส่วนตัว ได้เช่นกัน เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากที่โลกได้ก้าวไปสู่ยุคที่เราเรียกว่า “ยุคดิจิทัล” ที่แทบจะทุกคนใช้สมาร์ทโฟนเป็นเหมือนอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย เพียงแต่หลายคนยังไม่ตระหนักถึงภัยคุกคามที่ตามมาเน่ืองจากไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นดังในหนัง “สายลับ” ได้จริง หากคุณนึกภาพไม่ออกผู้เขียนแนะนำให้ลองกลับไปหาหนังเรื่อง สโนว์เดน (Snowden) หรือ แฉกระฉ่อนโลก (CitizenFour) ดู เพราะมันคือหนังที่สร้างขึ้นจากกรณีของ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ของ ซีไอเอ (CIA) ที่ออกมาเปิดเผยถึงโครงการลับสุดยอดที่ใช้ชื่อรหัสว่า “พริซึม” (prism) หรือการสอดแนมด้วยเทคโนโลยีที่ให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) สำนักงานข่าวกรองกลาง (CIA) และสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐฯ (FBI) สามารถเข้าไปจารกรรม…

เผยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 40% ใน เอเชีย-แปซิฟิก มี Cyber risk สูง

Loading

ความจริงที่น่าตกตะลึง!! ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใน เอเชีย-แปซิฟิก มีพฤติกรรมทางไซเบอร์เสี่ยงสูง (Cyber risk) ผลสำรวจพบว่า 40% เต็มใจเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว… ผลสำรวจชี้ชัด Cyber risk ใน APAC สูง  เมื่อไม่นานมานี้ได้มีเปิดเผยผลสำรวจ Global Privacy Report 2018 ที่ทาง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้สำรวจผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific หรือ APAC) พบว่า 39.2% เต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้ได้ความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบ หรือสอดส่องความปลอดภัยออนไลน์ แต่ยังมีกว่า 40% ที่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว โดยกว่า 22% สารภาพว่าแชร์ข้อมูลโซเชียลมีเดียเพื่อเล่นควิซต่างๆ ขณะที่ 18.9% ยอมรับว่ายอมสละความเป็นส่วนตัวเพื่อรับสินค้า และบริการฟรี เช่น ซอฟต์แวร์หรือของขวัญอื่น ๆ นอกจากนี้ในรายงานฉบับดังกล่าวยังเปิดเผยอีกว่า 55.5% ของผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในช่วงอายุ 16-24 ปี และ 25-34 ปี และมีความคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความเป็นส่วนตัวครบถ้วนสมบูรณ์ในโลกดิจิทัลสมัยใหม่ และเชื่อว่าข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ วันเกิด…

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : คุ้มครองหรือไม่คุ้มครอง

Loading

วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) หรือ PDPA) มีผลบังคับใช้หลังการประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเนื้อหาสาระของกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้คุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างแท้จริง ซึ่งแตกต่างจากชื่อของกฎหมายอย่างสิ้นเชิง อะไรคือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และทำไมต้องมีกฎหมายฉบับนี้! ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ที่เริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทำงานในรูปแบบของ Information Technology คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงานของผู้คนในสังคม และมีบทบาทในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น ทำให้มีการพูดถึงการคุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อคุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกรรมต่าง ๆ ที่เจ้าของข้อมูลไม่ต้องการให้ผู้อื่นนำไปใช้ จากวันนั้นถึงวันนี้ผ่านมา 23 ปี กฎหมายฉบับนี้คลอดออกมา และจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2563 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การให้ความคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน และข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียง เลขบัตรประชาชน หรือเลขหมายเอกสารส่วนตัวอื่น ๆ โดยห้ามไม่ให้ผู้อื่นนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพื่อประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่งที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้นำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากปัจจุบันเราต้องติดต่อกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ…

ทำไมการประท้วงฮ่องกงจึงบานปลายจนควบคุมไม่อยู่

Loading

(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.asiatimes.com) Why Hong Kong protests are out of control By Ken Moak / 02/10/2019 สถานการณ์อันสลับซับซ้อนที่กำลังเกิดขึ้นในฮ่องกงเวลานี้ ไม่สามารถจัดการคลี่คลายได้อย่างง่ายๆ เนื่องจากมีต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างมากมาย, ผลกระทบของหลักสูตรการศึกษาที่ใช้กันในยุคที่ตกเป็นอาณานิคมถูกปกครองโดยอังกฤษ, ข้อจำกัดต่างๆ ภายใต้โครงสร้างแห่ง “หนึ่งประเทศ สองระบบ, และความแตกแยกกันภายในรัฐบาลฮ่องกงตลอดจนภายในประชากรของฮ่องกง เป็นเวลาหลายเดือนมาแล้ว ที่พวกนักเคลื่อนไหว “ฝักใฝ่ประชาธิปไตย” ได้สร้างความเดือดร้อนเสียหายอย่างมหาศาลให้แก่ทั้งเศรษฐกิจ, การเมือง, และสังคมของฮ่องกง โดยเริ่มแรกทีเดียวมาจากการประท้วงร่างแก้ไขกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ร่างกฎหมายที่ก่อให้เกิดการโต้เถียงขัดแย้งฉบับนั้นเวลานี้ได้ถูกถอนออกไปแล้ว กระนั้นความรุนแรงอย่างไร้สติก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่ได้ลดถอยลง แต่มันกำลังเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.theguardian.com/world/2019/sep/04/hong-kong-lam-to-withdraw-extradition-bill-say-reports) ในวันอังคาร (3 ต.ค.) ที่ผ่านมา ผู้ประท้วงที่เป็นหนุ่มวัยรุ่นคนหนึ่งได้ถูกตำรวจยิงด้วยกระสุนจริง จนได้รับบาดเจ็บที่บริเวณหน้าอก (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.asiatimes.com/2019/10/article/hk-protester-shot-on-chinas-national-day/) ทว่าในประเทศจำนวนมากนั้น หากพวกเขากำลังเผชิญกับความรุนแรงอย่างที่ฮ่องกงกำลังอดทนอดกลั้นอยู่ในเวลานี้แล้ว ปฏิกิริยาเช่นนี้จากผู้มีอำนาจหน้าที่ย่อมเป็นสิ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว โดยพวกซึ่งรับผิดชอบสำหรับความรุนแรงดังกล่าวจะต้องถูกจับกุมหรือกระทั่งถูกยิง ด้วยเหตุนี้จึงมีคำถามว่า ทำไมรัฐบาลฮ่องกงและรัฐบาลจีนจึงยอมปล่อยให้ความโกลาหลวุ่นวายนี้ดำเนินต่อไป? เห็นได้อย่างชัดเจนว่า สถานการณ์อันสลับซับซ้อนคราวนี้ไม่สามารถจัดการคลี่คลายได้อย่างง่ายๆ เนื่องจากมีต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างมากมาย, ผลกระทบของหลักสูตรการศึกษาที่ใช้กันในยุคที่ตกเป็นอาณานิคมถูกปกครองโดยอังกฤษ, ข้อจำกัดต่างๆ…