สารสนเทศคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

Loading

เมื่อพูดถึง “สารสนเทศ” หลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดี และคงจะนึกถึงวงการคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร หรือธุรกิจอย่างแน่นอน และถึงแม้ว่าจะได้ยินกันจนคุ้นหูแต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วนั้น “สารสนเทศคืออะไร…?” โดยคิดเพียงแค่ว่าเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับวงการคอมพิวเตอร์เท่านั้น… สารสนเทศคืออะไร…? สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร รูปภาพ สัญลักษณ์ หรือเสียง ที่ล้วนแล้วแต่ผ่านการกระบวนการประมวลผลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบ การวิเคราะห์ การเรียงลำดับ และการสรุปผล เป็นต้น แล้วจึงมีการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปใช้งานต่อไป เช่น เกรดเฉลี่ยของนักเรียน เป็นต้น ซึ่งสารสนเทศจะเกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ของแต่ละคน ความสำคัญของสารสนเทศ ซึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันคนทุกอาชีพ ทุกเพศ และทุกวัยล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งนั้น เพราะสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตเปรียบเสมือนสิ่งที่ขับเคลื่อนสังคมหลากหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษาที่ช่วยให้การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและเกิดความรู้ใหม่ขึ้น หรือจะเป็นทางด้านสังคมที่ช่วยพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคม ทั้งยังช่วยสร้างความเข้าใจแก่คนในสังคม ลดความขัดแย้งและให้คนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข รวมถึงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และวัฒนธรรมอีกด้วย ดังนั้นสารสนเทศคือข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลด้วยวิธีการต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป โดยสารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะต่างก็เกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวันหลากหลายด้านด้วยกัน ซึ่งถ้าขาดสารสนเทศไปอาจจะก่อให้เกิดปัญหาและความวุ่นวายตามมามากมาย… ————————————————– ที่มา : เกร็ดความรู้.net Link : http://www.เกร็ดความรู้.net/สารสนเทศ/  

ระวัง ! อย่าเปิดพัดลมทิ้งไว้เมื่อไม่มีใครอยู่

Loading

เหตุเพลิงไหม้ที่มีให้เห็นตามข่าวมักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยิ่งสภาพอากาศในหน้าร้อนยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ ทำอะไรก็ต้องระวังเป็นพิเศษ การใช้พัดลมหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้มีความระมัดระวังในการใช้งาน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูก เนื่องจากความปลอดภัยในการใช้งานก็จะไปเป็นตามราคาที่จำหน่าย และควรถอดปลักไฟทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันอัคคีภัยที่อาจจะเกิดในช่วงอากาศที่ร้อนอบอ้าวนี้ ทางองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนจึงนำเสนอวีดีโอเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกด้าน รปภ. และแจ้งเตือนถึงผู้ใช้งานพัดลมที่เปิดทิ้งไว้ทั้งวันในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว   เครดิต : youtube โดยคุณ P1   จัดทำโดย : องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน

ออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรและด้วยวาจา … เจ้าหน้าที่ตามคำสั่งใด ? ต้องรับผิด !

Loading

ตัวอย่างคำวินิจฉัยที่น่าสนใจ : เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น นางสาวฐิติพร ป่านไหม พนักงานคดีปกครองชํานาญการ กลุ่มเผยแพร่ขอมูลทางวิชาการและวารสาร สํานักวิจัยและวิชาการ สํานักงานศาลปกครอง ในทางปฏิบัติของการจัดทำภารกิจของหน่วยงานทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคนั้น หน่วยงานทางปกครองจะมีการมอบหมายหรือแต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ควบคุมดูแลหรือดำเนินการเพื่อให้ภารกิจดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอำนาจเลือกที่จะใช้รูปแบบการออกคำสั่งเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจน แต่ในบางกรณีหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอำนาจอาจเลือกที่จะใช้รูปแบบการออกคำสั่งด้วยวาจามอบหมายให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดปฏิบัติหน้าที่ ถ้ากิจการงานที่มอบหมายนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนหรือมีความจำเป็น โดยกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนั้นไม่ได้กำหนดรูปแบบไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะต้องออกคำสั่งโดยทำเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งกรณีเช่นนี้ หน่วยงานทางปกครองย่อมสามารถที่จะออกคำสั่งทางปกครองโดยถือปฏิบัติตามรูปแบบที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กำหนดไว้ กล่าวคือ การออกคำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาหรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ (มาตรา 34) และในกรณีที่คำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคำสั่งร้องขอและการร้องขอได้กระทำโดยมีเหตุอันสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ (มาตรา 35) และคำสั่งทางปกครองนั้นย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น (มาตรา 42 วรรคสอง) อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้อาจเกิดประเด็นปัญหาว่า ถ้าแต่เดิมผู้มีอำนาจได้ออกคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว แต่ต่อมาผู้มีอำนาจได้ออกคำสั่งด้วยวาจาเปลี่ยนแปลงให้เจ้าหน้าที่อื่นทำหน้าที่แทน โดยไม่ได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายตามคำสั่งซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว หากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ คดีปกครองที่นำมาเป็นอุทาหรณ์ในคอลัมน์กฎหมายใกล้ตัวฉบับนี้ เป็นกรณีที่หน่วยงานทางปกครองมีคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้เป็นผู้ควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิด ทั้งที่ความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้มีอำนาจได้มอบหมายงานด้วยวาจาให้เจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้รับผิดชอบแทน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้มีว่า เทศบาลตำบลเสาไห้ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) ได้มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรแต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นช่างโยธาเป็นผู้ควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้างงานก่อสร้างปรับปรุงและตกแต่งอาคารที่ทำการ ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยนายกเทศมนตรีได้มีคำสั่งด้วยวาจาให้ปลัดเทศบาลตำบลเสาไห้…