ประเภทของสารเคมีอันตราย

Loading

อันตรายทางด้านเคมี ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องการสารเคมีจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าสารเคมีที่เกี่ยวข้องนั้นอาจมีอันตรายอย่างเฉียบพลัน อันเกิดจากสารระเบิด ไฟไหม้ การระคายเคืองต่าง ๆ จากพิษของสารเคมี รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้นผู้ทำงานจะต้องเข้าในถึงพิษภัยของสารที่ตัวเองเกี่ยวข้อง อันตรายในด้านเคมีนี้จะกล่าวถึง ประเภทของสารเคมี อันตรายจากสารเคมีในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งผลที่มีต่อสุขภาพ ข้อมูลและสัญลักษณ์ที่พึงทราบและการกู้ภัยเมื่อเกิด เหตุการณ์ฉุกเฉิน การจำแนกประเภทของสารเคมี และวัตถุอันตราย ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะวางมาตรฐานต่าง ๆ ขึ้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อมมาตามลำดับ จนปี พ.ศ. 2499 คณะผู้เชี่ยวชาญด้านขนส่งสินค้าอันตราย ซึ่งตั้งขึ้นโดย Economic and Social Council. ของ United Nations. ได้กำหนดมาตรฐานเบื้องต้นในการขนส่งวัตถุอันตรายขึ้นโดยแบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 9 ประเภท เพื่อประโยชน์ในการขนส่ง การใช้และการเก็บวัตถุอันตราย ให้มีความปลอดภัย ดังนี้   ประเภท 1 วัตถุระเบิด (Explosives) เป็นวัตถุที่ระเบิดลุกติดไฟได้ เมื่อ ได้รับความร้อน ประกายไฟ เปลวไฟ หรือเมื่อได้รับการกระทบกระเทือน การเสียดสี หรือถูกกระทำด้วยการจุดระเบิด…

กฏหมายเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

Loading

กฏหมายเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หมายเหตุ: ข้อกฏหมายอ้างอิงที่มาจาก http://report.thaihotline.org/ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “โฆษณา”หมายความรวมถึงกระทำการไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า แต่ไม่หมายความรวมถึงเอกสารทางวิชาการหรือตำราที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ส่วนที่ 3 สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล มาตรา 35 สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครองการกล่าวหรือไขข่าวแพร่ หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้ง การกระทำด้วย ประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมี ติดต่อถึงกัน จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 ผู้ใด (1) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการจ่ายแจก หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ…

การก่อวินาศกรรมโดยไม่ใช้วัตถุระเบิด

Loading

การก่อวินาศกรรมวิธีนี้อาศัยคุณสมบัติของสิ่งที่จะนำมาใช้วินาศกรรมโดยไม่ต้องอาศัยวัตถุระเบิด เพียงแต่ตัววินาศกรอาจต้องพลีชีพไปพร้อมด้วยเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้จำเป็นจะต้องมีการวางแผนและเตรียมการในกลุ่มผู้ปฏิบัติเป็นอย่างดี ทั้งจะต้องมีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ นอกจากนี้วินาศกรต้องมีความรู้และศึกษาลู่ทางก่อนที่จะพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือยานพาหนะที่มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำลายเป้าหมาย สำหรับการก่อวินาศกรรมในรูปแบบนี้นอกจากจะให้ผลทำลายล้างแล้ว ยังก่อให้เกิดภาวะหวาดระแวงในสังคมและลดศรัทธาที่มีต่อฝ่ายปกครองด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีวินาศกรของกลุ่ม อัล เควดาใช้เครื่องบินพาณิชย์พุ่งชนอาคารเวิร์ดเทรด เซ็นเตอร์ในสหรัฐฯ  นับเป็นการก่อวินาศกรรมที่สามารถกระทำได้อย่างเกินความคาดหมาย และยากต่อการป้องกัน  อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางความคิดของวินาศกร ที่เลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องบินมาทำลายอาคาร ซึ่งให้ผลลัพธ์ได้เท่าเทียมกับวัตถุระเบิด กรณีวินาศกรรมดังกล่าวนับเป็นตัวอย่างของการนำเอาสิ่งประกอบในชีวิตประจำวันมาใช้ในก่อวินาศกรรมอย่างบรรลุผล  ฉะนั้นวิธีการนี้ยอมส่งผลให้เกิดการปรับใช้กับสิ่งอื่นได้อีก เช่น รถยนต์ รถไฟ หรือเรือบรรทุกน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ  และรอโอกาสที่เหมาะสมในการดำเนินการ เท่านั้น

การก่อวินาศกรรมด้วยอาวุธชีวภาพ (Biology Warefare)

Loading

อาวุธชีวภาพในที่นี้หมายถึง การเพาะไวรัส แบคทีเรีย เห็ดรา และพืชบางชนิด เพื่อเตรียมไว้สำหรับการบ่อนทำลาย วินาศกรรม หรือเพื่อทำสงคราม โดยมุ่งกระทำต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และพืช อันจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ  ตัวอย่างเช่น เชื้อโรคที่เชื่อว่ามีการเพาะเลี้ยงไว้อย่างปกปิดในหลายประเทศ ได้แก่ เชื้อแอนแทรกซ์(Anthrax)ที่สร้างแผลพุพองในสัตว์เลี้ยง เมื่อมนุษย์ได้เชื้อประเภทนี้ก็อาจเสียชีวิตได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีเชื้อกาฬโรค อหิวาตกโรค เชื้อโรคที่ทำให้อาหารเป็นพิษ(Botulism) เชื้อเห็ดราหรือแบคทีเรียที่สามารถทำลายพืชผลผลิตการเกษตรและปศุสัตว์ เป็นต้น  เชื้อชีวภาพเหล่านี้ เมื่อนำไปปล่อยในแหล่งสาธารณูปโภค แหล่งที่อยู่อาศัย หรือพื้นที่กสิกรรม จะสร้างความเสียหายและก่อกวนความสงบในสังคมทั้งภาครัฐและประชาชนอย่างยิ่ง  ปัจจุบัน มีการกล่าวโทษหลายประเทศว่า ทำการเพาะเลี้ยงเชื้อชีวภาพไว้ใช้ในการสู้รบ อย่างเช่น สหรัฐฯ กล่าวโทษว่า อิรักมีเชื้อแอนแทรกซ์ประมาณ 12,000 ลิตร และ Botulism ประมาณ 500,000 ลิตร เพื่อบรรจุที่หัวขีปนาวุธสำหรับยิงไปตามประเทศศัตรู เป็นต้น การก่อวินาศกรรมด้วยอาวุธชีวภาพสามารถดำเนินการได้ โดยนำเชื้อโรคที่เพาะเลี้ยงไปปล่อยลงตามแหล่งเป้าหมายที่ง่ายต่อการดำเนินการและให้ผลรวดเร็ว เช่น สถานีผลิตน้ำประปา อ่างเก็บน้ำ หลังจากนั้น เชื้อชีวภาพจะแพร่กระจายตัวเอง โดยทำลายสิ่งมีชีวิตด้วยพิษภัยที่สร้างไว้  เชื้อชีวภาพที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงนี้เชื่อว่า สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่า พิษร้ายแรงกว่า และทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าเชื้อชีวภาพตามธรรมชาติ…

การก่อวินาศกรรมด้วยสารเคมีพิษ

Loading

1. การใช้สารเคมีในลักษณะเจือปนหรือปนเปื้อนในน้ำดื่ม อาหาร หรือจากการสัมผัสแตะต้อง เพื่อให้พิษของสารเคมีสะสมในร่างกาย เช่น ที่กระดูก ถุงน้ำดี ไต ตับ วิธีนี้จะใช้ระยะเวลายาวนาน แต่จะให้ผลลัพธ์แน่นอนโดยจะทำแก้ไขหรือรักษาได้ยาก 2. การใช้สารเคมีในรูปของก๊าซพิษฟุ้งกระจายในอากาศ เป็นวิธีที่ให้ผลและเหมาะกับการนำมาใช้ทำลายล้างมากที่สุด แต่ต้องกระทำในพื้นที่อับอากาศ เช่น มีอากาศหนาวเย็น หรือสถานที่ใช้เครื่องปรับอากาศหรือใช้ระบบระบายอากาศ เช่น บริเวณอาคารผู้โดยสารในท่าอากาศยาน โรงภาพยนตร์ อาคารสมัยใหม่ที่นิยมกระจกติดทึบ สถานที่เช่นนี้จะควบคุมการหมุนเวียนของอากาศ โดยระบบระบายอากาศที่ออกแบบสร้างไว้ ไม่ใช่การหมุนเวียนแบบธรรมชาติที่สามารถถ่ายเทออกสู่ภายนอกได้รวดเร็ว  ดังนั้น หากมีการปล่อยก๊าซพิษในสถานที่ดังกล่าว ระบบระบายอากาศจะช่วยให้ก๊าซฟุ้งกระจายตัวอย่างช้าๆ  ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้น ต้องสูดหายใจรับก๊าซพิษเข้าไปเต็มที่ ก่อนที่จะทันรู้สึกตัว หรือได้รับความช่วยเหลือ หรือหลบออกจากพื้นที่เกิดเหตุได้ทัน อย่างไรก็ดี ในพื้นที่โล่งแจ้งหรืออากาศร้อน การใช้สารเคมีในรูปของการฟุ้งกระจายจะไม่ได้ผลเต็มที่ เพราะก๊าซพิษจะฟุ้งกระจายจนเจือจางไปก่อนที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่สิ่งมีชีวิตได้   ตัวอย่างเช่น ทางการสหภาพโซเวียตปล่อยก๊าซพิษทำร้ายกลุ่มกบฏเชเชนที่เข้ายึดและจับตัวประกันที่โรงละครในกรุงมอสโก เมื่อเดือนตุลาคม 2545 เป็นผลให้ทั้งกลุ่มกบฏและตัวประกันเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ลักษณะของสารเคมีพิษ แบ่งได้เป็น 1. Nerve Agent เป็นสารทำลายระบบประสาท หากได้รับสารนี้โดยตรงหรือเป็นจำนวนมาก จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ก๊าซ Soman(GD), ก๊าซ…

การก่อวินาศกรรมด้วยระบบไฟฟ้าหรือกระแสแม่เหล็กไฟฟ้า (Electronic and Electromagnaetic Interference)

Loading

การก่อวินาศกรรมด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หมายถึงการนำเอาพลังงานดังกล่าวมาใช้รบกวน ขัดขวาง หรือสร้างความสับสนเกี่ยวกับการรับ-ส่งสัญญาณหรือสร้างความไม่เข้าใจระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับในระบบโทรคมนาคม แบ่งเป็น 1. การเข้าแทรกสัญญาณข้อมูล การใช้อุปกรณ์พิเศษในการแผ่สัญญาณไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงไปรบกวน(Jam)หรือขัดขวางสัญญาณสื่อสาร ทำให้การส่งหรือรับสัญญาณพร่ามั่ว เบี่ยงเบน หรือขาดหายไป เช่น การส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนหรือขัดขวางการรับ-ส่งสัญญาณสื่อสารผ่านดาวเทียม เรดาห์ เครื่องตรวจรับสัญญาณ(Sensor) ระบบสื่อสารหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือการใช้ Electro-Magnetic Pulse (EMP) ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กความถี่สูงไปรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะคลื่นแม่เหล็กทำให้เกิดความหน่วงในระบบของคอมพิวเตอร์ และหากคลื่นแม่เหล็กที่ส่งออกมามีความเข้มสูงมาก ก็จะมีผลให้แผ่นดิสเก็ตที่เป็นจานแม่เหล็ก ซึ่งใช้จัดเก็บข้อมูลถูกทำลาย เพราะวิธีการจัดเก็บข้อมูลในดิสเก็ตนี้ใช้หลักเส้นแรงแม่เหล็กเช่นกัน 2. การตรวจจับการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปล่งออกมาจากแหล่งกำเนิด การตรวจจับนี้เพื่อหาตำแหน่งที่เกิดคลื่นนั้นๆ เมื่อสามารถทราบตำแหน่งที่ชัดเจนแล้ว จึงค่อยดำเนินการวินาศกรรม เช่น กรณีการสังหารนาย Dzhokhar Dudayev หัวหน้ากบฏแบ่งแยกดินแดนเชเชชที่บ้านพัก ซึ่งห่างจากกรุงกรอซนีราว 30 ไมล์  สำนักข่าว Interfax ของสหภาพโซเวียต รายงานว่า ได้ใช้จรวดยิงเป้าหมาย หลังจากสามารถตรวจจับสัญญาณโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมที่นาย Dudayev ใช้สนทนาในบ้านพัก โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นตัวชี้เป้าของจรวดโจมตี เป็นต้น