เหยื่อปฏิเสธจ่ายเงินค่าไถ่ ‘แรนซัมแวร์’

Loading

  แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเหตุการณ์การโจมดีด้วย “แรนซัมแวร์” อยู่อย่างต่อเนื่องแต่อัตราการจ่ายเงินค่าได้กลับไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย   จากรายงานของ Coveware บริษัทรับเจรจาเรื่อง แรนซัมแวร์ (Ransomware) พบว่า จำนวนเหยื่อแรนซัมแวร์ที่จ่ายค่าไถ่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 29% ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2023   แนวโน้มนี้ได้ปรากฏชัดเจนอย่างมากในช่วงกลางปี 2021 เมื่ออัตราการจ่ายเงินลดลงเหลือ 46% หลังจากก่อนหน้านี้อยู่ที่ 85% ในปี 2019 สำหรับสาเหตุของการลดลงอย่างต่อเนื่องนี้มีหลายแง่มุม   ส่วนหนึ่งเพราะมีการเตรียมพร้อมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นขององค์กรต่างๆ บวกกับการไม่ไว้วางใจต่ออาชญากรไซเบอร์ที่สัญญาว่าจะไม่เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกขโมย รวมไปถึงความกดดันทางกฎหมายในบางภูมิภาคที่ระบุว่า การจ่ายเงินค่าไถ่เป็นสิ่งผิดกฎหมายเลยทำให้ไม่เพียงแต่จำนวนเหยื่อที่จ่ายค่าไถ่แรนซัมแวร์ลดลงแต่ยังรวมถึงจำนวนเงินค่าไถ่ด้วย   การจ่ายค่าไถ่ในโตรมาสที่ 4 ปี 2023 มีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 568,705 ดอลลาร์ ลดลง 33% จากไตรมาสก่อน ขณะที่การจ่ายค่าไถ่เฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 ดอลลาร์   หากพิจารณาเฉพาะองค์กรที่ตกเป็นเหยื่อจะเห็นว่า มีจำนวนลดลงในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 เช่นกัน ซึ่งสวนทางกับไตรมาส 2 ปี 2565…

ตัวช่วยใหม่ ตำรวจใช้ AI ช่วยกรองคลิป สแกนจากกล้อง Body Cam

Loading

  [ทุ่นแรง] เป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว ที่ตำรวจในสหรัฐฯ ต้องติดตั้งกล้อง Body Cam ไว้กับตัวเอง เพื่อช่วยให้ไม่ใช้หน้าที่ในทางมิชอบ หรือเพื่อความโปร่งใสขณะปฏิบัติหน้าที่ แต่หากต้องตรวจคลิปที่มาจากตำรวจทั่วประเทศ ก็เป็นงานช้างแน่นอน จึงมีการนำ AI เข้ามาช่วยตรวจสอบและคัดคลิปให้ในปีที่แล้ว โดยมีผู้ช่วยสำรวจอย่าง Truleo เข้ามาให้บริการ แต่ล่าสุดเหมือนจะมีหน่วยงานในสหรัฐฯ ไม่ถูกใจบริการ AI ดังกล่าว   เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่โปร่งใส ตำรวจในสหรัฐฯ จะมาพร้อมกล้องติดตัวหรือ Body Cam ฉายให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับพลเรือน ดูว่ามีการ ‘ทำเกินกว่าเหตุ’ จากเจ้าหน้าที่หรือไม่ ทว่าจำนวนคลิปที่ได้มาทั้งหมดนั้น ก็มีมากกว่า 100 Petabytes (1 PB เท่ากับ 1024 TB) ซึ่งเป็นเรื่องยากแน่นอนหากต้องตรวจคลิปทั้งหมดนี้   ย้อนกลับไปในปีที่แล้ว หลังเกิดคดีตำรวจยิงชายที่มีปัญหาสุขภาพจิต ทางกรมตำรวจจากนิวยอร์ก จึงได้ใช้บริการ AI จากทาง Truleo บริษัทซอฟต์แวร์ในชิคาโก เผยตัว AI…

‘ดีพเฟค’ เทคโนโลยีตัดต่อหน้า-เสียง โจทย์ใหญ่ศึกเลือกตั้งทั่วโลกปี 2024

Loading

พ่อค้าเร่ปั่นจักรยานผ่านป้ายแสดงภาพและรายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ในกรุงจาการ์ตา เมื่อ 22 มกราคม 2024 (ที่มา:AP)   ภาพและเสียงสังเคราะห์จากเทคโนโลยีดีพเฟคกำลังสร้างความสับสนให้กับฐานเสียงในประเทศที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง จนนักวิเคราะห์จับตามองว่าปี 2024 ที่ประชาชนในกว่า 60 ประเทศจะต้องเข้าคูหา จะมีการใช้ AI สร้างข่าวลือข่าวลวงเพื่อหวังผลทางการเมืองอย่างแพร่หลาย   ในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งในอินโดนีเซียที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงต่างต้องเจอกับวิดีโอและเสียงของนักการเมืองหลายคน ซึ่งแท้ที่จริงถูกสังเคราะห์ขึ้นมาโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เรียกกันว่า ดีพเฟค (Deepfakes) ยกตัวอย่างเช่นวิดีโอของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตที่เผยแพร่ในแอปพลิเคชันติ๊กตอก (TikTok)   ซานตี อินดรา อัสตูตี จาก Mafindo ซึ่งเป็นเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงในอินโดนีเซีย ระบุว่า การใช้ AI สังเคราะห์เนื้อหาขึ้นมา เป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในปี 2024 เทียบกับครั้งก่อน ๆ   อัสตูตีกล่าวว่า “ในการเลือกตั้งปี 2024 การโจมตีคู่แข่งในปีนั้นมักใช้ข่าวลวงกันเป็นส่วนใหญ่ ในปี 2019 ข่าวลวงถูกใช้โจมตีผู้จัดการเลือกตั้ง ในขณะที่ปี 2024 เราเห็นการยกระดับที่พิลึกพิลั่นขึ้นไปอีกเพื่อโจมตีกระบวนการทางประชาธิปไตยทั้งองคาพยพ”…

ข้อมูลส่วนบุุคคลของไทยรั่วกว่า 10 ล้านคน หนุนกิจกรรมโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  ข้อมูลส่วนบุคคลที่รั่วส่วนใหญ่มาจากแพลตฟอร์มที่เน้นข้อมูลผู้บริโภคเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มอาชญากรที่กำลังเพ่งเล็งไปที่ข้อมูลของคนไทยอย่างจริงจัง โดยมุ่งเป้าไปที่ทรัพยากรอีคอมเมิร์ซ ฟินเทค และภาครัฐของไทย   การอาละวาดหลอกลวงคนของเหล่ามิจฉาชีพในบ้านเราและประเทศอื่น ๆ ในตอนนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล ล่าสุดบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รายงานว่า ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ข้อมูลคนไทยถูกประกาศขายใน Dark Web เป็นจำนวนมหาศาล ส่วนหนึ่งหลุดมาจากหน่วยงานรัฐ   Resecurity บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่และหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก ระบุในรายงานว่าสถานการณ์ของประเทศไทย หลังมีอาชญากรไซเบอร์นำข้อมูล PII หรือข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวตนของบุคคลได้ ซึ่งเป็นข้อมูลของพลเมืองไทยจำนวนมาก ไปประกาศขายผ่าน Dark Web หรือเครื่อข่ายเว็บมืดที่มักถูกใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลผิดกฎหมาย   ช่วงปี 2567 ประเทศไทยเจอปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปี 2566 จากสถานการณ์ช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียว มีการตรวจพบการละเมิดข้อมูลสำคัญของพลเมืองอย่างน้อย 14 ครั้ง ในแพลตฟอร์มของอาชญากรไซเบอร์ ส่วนใหญ่มาจากแพลตฟอร์มที่เน้นข้อมูลผู้บริโภคเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มอาชญากรที่กำลังเพ่งเล็งไปที่ข้อมูลของคนไทยอย่างจริงจัง โดยมุ่งเป้าไปที่ทรัพยากรอีคอมเมิร์ซ ฟินเทค และภาครัฐของไทย   หนึ่งในนั้นคือชุดข้อมูลที่ถูกเปิดเผยบน Breachedforums.is โดยมีป้ายกำกับว่าเป็นข้อมูลที่รั่วไหลออกมาจากเว็บไซต์ของกรมกิจการผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล (PII) ที่เกี่ยวข้องกับประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยเป็นหลัก เป็นข้อมูลจำนวนกว่า…

Neuralink : จาก AI สู่ BCI

Loading

  ทุกวันนี้นอกจากเราจะได้ข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งกำลังสร้างผลกระทบอย่างพลิกโฉมในทุกวงการแล้ว อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่โลกกำลังจับตามองก็คือเทคโนโลยีส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ หรือ BCI   เทคโนโลยีส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interface) หรือ BCI จะทำให้มนุษย์สามารถควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านทางการคิดเท่านั้น และเป็นการปูทางไปสู่การเกิดขึ้นของเครือข่ายสมอง (Brain Net) คล้ายกับการเข้าไปสู่โลก Matrix ในภาพยนตร์เรื่องดัง   สัปดาห์ที่ผ่านมา อีลอน มัสก์ นักธุรกิจและนวัตกรชื่อดัง เพิ่งได้ประกาศว่าบริษัท Neuralink ของเขาประสบความสำเร็จครั้งสำคัญในการปลูกถ่ายชิปขนาดเหรียญซึ่งเป็น “ส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์” (BCI) ในสมองมนุษย์จริง ๆ เป็นครั้งแรก โดยเน้นย้ำว่ามนุษย์คนแรกที่ได้รับการปลูกถ่าย Neuralink กำลังฟื้นตัวได้ดี   อุปกรณ์นี้เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมพลิกโลก ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารโดยตรงระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์   หากสามารถพัฒนา BCI จนประสบความสำเร็จ จะทำให้มนุษย์สามารถควบคุมคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนได้ง่าย ๆ ผ่าน “ความคิด” โดยตรง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อมนุษย์ทุกคน รวมถึงผู้ที่พิการทางการเคลื่อนไหว   นอกจากนี้ยังอาจช่วยรักษาความผิดปกติของสมอง และช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่หลังอย่างรุนแรง…

จิตวิทยานิวเคลียร์

Loading

  เกาหลีเหนือ และอิหร่าน อาจกำลังผลักดันแผนนิวเคลียร์ของพวกเขา และประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ข่มขู่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์อันทรงพลัง กระนั้น ผู้สันทัดกรณีระดับสูงกล่าวว่า มันยังไม่มีความเสี่ยง ที่จะเกิดเหตุการณ์อันตรายแต่อย่างใด   “ระเบียบนิวเคลียร์อาจถูกโจมตี มีความสั่นคลอน หรือเป็นที่โต้แย้ง แต่รากฐานของมันยังมั่นคง และองค์ประกอบสำคัญที่สุดยังคงมีอยู่” นายบรูโน แตร์เตรส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ และรองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (เอฟอาร์เอส) ซึ่งเป็นคลังสมองของฝรั่งเศส กล่าวในการให้สัมภาษณ์ “เกาหลีเหนือ, จีน, อินเดีย และปากีสถาน ยังคงมุ่งมั่นที่จะสถาปนาตนเองเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ และไม่สนใจคำร้องขอ หรือแม้แต่การปลดอาวุธ”   ขณะเดียวกัน เกาหลีเหนือยกระดับสถานะของตัวเองเมื่อปีที่แล้ว ด้วยการระบุในรัฐธรรมนูญ ว่าเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ และทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป (ไอซีบีเอ็ม) หลายครั้ง ซึ่งเป็นการละเมิดมติของสหประชาชาติ (ยูเอ็น)   แตร์เตรส์ กล่าวว่า ท่าทีก้าวร้าวของเกาหลีเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของ “นโยบายป้องปราม” พร้อมกับชี้ว่า รัฐบาลเปียงยางต้องการย้ำเตือนโลก เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของตนเอง หลังประเทศมหาอำนาจของโลก หันไปให้ความสนใจกับความขัดแย้งในยูเครน และฉนวนกาซา  …