นักวิเคราะห์ห่วง ‘ดีพเฟค’ สื่อลวงลึก อาวุธร้ายทำลายงานข่าวสาร

Loading

แฟ้มภาพ – ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีดูวิดีโอปลอมที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์ หรือ ดีพเฟค (Deepfake) ที๋โต๊ะทำงานในกรุงวอชิงตัน 25 ม.ค. 2019 (Alexandra ROBINSON/AFP)   การคืบคลานเข้ามาของเทคโนโลยีดีพเฟค (Deepfake) หรือวิดีโอปลอมที่สร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ ได้กลายเป็นอาวุธใหม่ในการเผยแพร่ข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายในทุกรูปแบบบนโลกออนไลน์   การเผยแพร่คลิปวิดีโอที่มีภาพของผู้ดำเนินรายการข่าวสหรัฐฯ ที่นำเสนอข่าว แสดงความเห็น หรือสนับสนุนสกุลเงินคริปโต รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ อย่างผิด ๆ ได้สร้างความกังวลให้กับเหล่านักวิเคราะห์ในเรื่องนี้   การใช้ ดีพเฟค (deepfake) หรือสื่อลวงลึก เป็นวิดีโอที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการปลอมแปลงตัวตนซึ่งรวมถึงบรรดานักข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวต่าง ๆ ขึ้นมาได้เหมือนจริง ได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาใหญ่ ในปี 2024 ที่ประชาชนมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกจะออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงเลือกตั้งครั้งสำคัญของพวกเขา   ในช่วงเวลาที่ข้อมูลบิดเบือนมีอย่างแพร่หลายและความเชื่อมั่นในข่าวสารบ้านเมืองปัจจุบันตกต่ำอย่างหนัก ประกอบกับการที่ธุรกิจสื่อรับเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานข่าวจริง วิดีโอเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้รับชมในการแยกแยะว่าสิ่งที่เห็นและได้ยินเป็นจริงหรือไม่แค่ไหน   พอล แบร์เร็ตต์ รองผู้อำนวยการ Stern Center for Business and…

ข้อมูลอีเมลรั่วไหลมีความเสี่ยงถึงชีวิตได้หรือไม่

Loading

  เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอังกฤษ (UK Information Commissioners’ Office: ICO) ได้เผยแพร่คำสั่งปรับทางปกครองกระทรวงกลาโหมของประเทศอังกฤษเป็นเงินจำนวน 350,000 ปอนด์ (ประมาณ 15.6 ล้านบาท)   อันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอัฟกานิสถาน ที่จะทำการอพยพย้ายถิ่นฐานจากประเทศอัฟกานิสถานไปยังประเทศอังกฤษในช่วงปี 2564 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย UK GDPR (UK General Data Protection Regulation)   เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กลุ่มตาลิบาน (Taliban) ได้เข้าควบคุมประเทศอัฟกานิสถานในปี 2564 กระทรวงกลาโหมในขณะนั้นได้ดำเนินนโยบาย UK’s Afghan Relocations and Assistance Policy (ARAP) เพื่อช่วยเหลือในการจัดหาที่อยู่ให้กับชาวอัฟกานิสถานที่ร่วมปฏิบัติการกับรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการลี้ภัย โดยให้ยื่นคำร้องขอและส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านช่องทางอีเมล   จากการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว ก่อให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เมื่อกระทรวงกลาโหมได้ส่งอีเมลไปยังผู้รับจำนวน 245 คนซึ่งเป็นพลเมืองอัฟกานิสถานผู้มีสิทธิลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษ…

ความสำคัญของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายต่อองค์กรยุคใหม่

Loading

  ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต จะเป็นสิ่งที่นำพาความสะดวกสบายมาให้ แต่ในขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ยิ่งต้องเจอกับความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้น การมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ดี จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรได้ บทความนี้จะพาทุกคนมาดูกันว่า อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย มีความสำคัญต่อองค์กรในยุคดิจิทัลอย่างไร   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย คืออะไร?   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security Device) คือ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีจุดประสงค์และวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป   ประเภทของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ควรรู้จัก   – ไฟร์วอลล์ (Firewall) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเข้า-ออกของข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลภายในถูกโจรกรรมหรือเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์   – ระบบตรวจจับและป้องกันภัยคุกคาม (Intrusion Detection and Prevention System: IDPS) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น ไวรัส มัลแวร์ การโจมตีแบบ Denial-of-Service (DoS) เป็นต้น   – ระบบป้องกันไวรัส…

ภัยใหม่ยุค IoT เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านถูกแฮ็กไปทำ Botnet! แล้วจะป้องกันได้อย่างไร?

Loading

  สมัยนี้อะไร ๆ ก็ดูจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตั้งทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะแต่คอมพิวเตอร์ เราเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ และสมาร์ตโฟน แต่รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้อย่าง ตู้เย็น หม้อหุงข้าว ไปจนถึงมีดโกนหนวด   ผลการศึกษาของ Transforma Insights ชี้ว่าภายในปี 2030 น่าจะมีอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตรวมกันถึง 24,100 ล้านอุปกรณ์   แต่รู้หรือไม่ว่าขึ้นชื่อว่าเชื่อมเน็ตแล้ว ย่อมเป็นช่องทางในการเข้าออกของผู้ที่ไม่หวังดีได้ทั้งหมด   เครื่องซักผ้าก็ถูกแฮ็กได้   @Johnnie ผู้ใช้งานรายหนึ่งบน X ออกมาโพสต์แสดงตั้งคำถามว่าเครื่องซักผ้าแบรนด์ดัง อยู่ดี ๆ ก็ใช้ข้อมูลอินเทอร์เน็ตถึงวันละ 3.6 จิกะไบต์ ส่วนใหญ่เป็นการอัปโหลดขึ้นในบนเครือข่ายถึง 3.57 จิกะไบต์ ขณะที่ดาวน์โหลดเพียง 100 เมกะไบต์เท่านั้น     ตอนนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไรแน่ ตั้งแต่ข่าวที่ผู้ผลิตแบรนด์ดังกล่าวบอกว่าจะใช้ข้อมูลจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของลูกค้าไปสร้างซอฟต์แวร์ AI (แต่เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตเท่านั้น) ข้อมูลจากเราเตอร์จะผิดพลาด หรือแม้แต่มีคนแอบเอาเครื่องซักผ้าไปขุดคริปโท   ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ความกังวลมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการความเสี่ยงที่เครื่องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าของบ้านเราจะถูกแฮ็ก…

“28 ม.ค.วันแห่งข้อมูลส่วนตัว” ถึงเวลาคนไทยต้องตระหนักรู้

Loading

  วันที่ 28 ม.ค.ของทุกปี เป็น “วันแห่งข้อมูลส่วนตัว” (Data Privacy Day)  ซึ่งในยุค “ดิจิทัล”  ข้อมูลส่วนบุคคล ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก!!   ทุกประเทศต่างมีกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหากเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้ข้อมูล หรือเปิดข้อมูล หากมีการละเมิด ก็ถือว่าผิดกฎหมาย!?!   ซึ่งจากผลสำรวจโดย Telenor Asia Digital Lives Decoded ปี 2023 พบว่าคนไทยมีความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลเพียง 17% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่อยู่ที่ 44% ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าไม่กังวลเรื่องนี้มี 21% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียที่มีเพียง 8% เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า คนไทยกังวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชีย!!   ภาพ pixabay.com   อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย ก็มี พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ ก.ม.พีดีพีเอ  ที่ออกมาบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทุกองค์กรไม่ว่าภาครัฐ หรือเอกชน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย   สำหรับองค์กรโทรคมนาคมใหญ่อย่าง ทรู ที่หลังมีการควบรวมกับดีแทคแล้ว ยิ่งทำให้มีลูกค้าที่ต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น จะมีวิธีจัดการและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างไร?   “มนตรี สถาพรกุล” หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า  ทรู คอร์ปอเรชั่น ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ถือเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนอีกมิติหนึ่งในยุคดิจิทัล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเด็นด้านความยั่งยืนที่ทรูให้ความสำคัญในระดับสูงมาก   มนตรี สถาพรกุล   “หลังการควบรวมระหว่างทรู และดีแทค ทำให้มีฐานลูกค้ากว่า 51 ล้านรายที่ต้องดูแล และหากรวมบริการต่างๆ ทั้งหมดแล้ว จะมีมากกว่า 100 ล้านบัญชีที่ต้องดูแลข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้ยึดกลยุทธ์ “Privacy and Security by Design” ซึ่งเป็นการเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวที่ปกป้องข้อมูลลูกค้าให้ปลอดภัย ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ พร้อมคุมเข้มความปลอดภัยสารสนเทศ ด้วยมาตรฐานสากล ISO 27001 และเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อจำกัด การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็น”   นอกจากนี้ยังได้มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ มาใช้ในการลงทะเบียนซิมเพื่อความแม่นยำและปลอดภัย การเปลี่ยนเอกสารไปเป็นดิจิทัล เลิกใช้กระดาษ 100% นำ เอไอ และแชตบอทเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า เพื่อลดระยะเวลารอและลดระดับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล   หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บอกต่อว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองน้อย จึงต้องมีการสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล ควรทำในวงกว้าง และต่อเนื่อง เราต้องการให้ผู้ใช้บริการมือถือและเทคโนโลยีดิจิทัลทุกคนเข้าใจสิทธิของการเป็นเจ้าของข้อมูลและรับรู้วัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูล เลือกที่จะให้หรือไม่ให้ความยินยอมในการเข้าถึง เปิดเผย และใช้ข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิทราบ ขั้นตอนที่ได้มาของข้อมูล และมีสิทธิยกเลิกหรือแจ้งให้ลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายเมื่อไหร่ก็ได้   โดยผู้ให้บริการมือถือและดิจิทัล เป็นเพียง “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” เท่านั้น  ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูล สามารถเลือกให้ความยินยอมด้านความเป็นส่วนตัวใน 2…

รู้จัก “ฮอรัส : Horrus” อากาศยานไร้คนขับสำรวจสภาพจราจรใช้จริงแล้วในไทย

Loading

  ARV ใช้เทคโนโลยีฮอรัสอากาศยานไร้คนขับสำรวจสภาพการจราจรร่วม กับ สำนักบริหารบำรุงทาง กรมทางหลวง วิเคราะห์และประเมินเส้นทางเดินรถ ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา   ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาบริษัทได้ใช้เทคโนโลยี “ฮอรัส : Horrus” อากาศยานไร้คนขับสำรวจสภาพการจราจรร่วมกับ สำนักบริหารบำรุงทาง กรมทางหลวงในการเดินทางในเส้นทางที่มุ่งสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ในการสำรวจ เก็บข้อมูล ติดตาม วิเคราะห์ และแสดงข้อมูลบนแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็ว   บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์สภาพการจราจร   ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์ข้อมูลเรียลไทม์ (Real time data analytics) หาแถวคอย หรือจุดรถติดว่าติดตั้งแต่กิโลเมตรที่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ อีกทั้งยังช่วยควบคุมการทำงานจากระยะไกลได้ดีขึ้น มีภาพการจราจรที่มีความคมชัด สามารถจำแนกชนิดรถ วัดความเร็วในการเคลื่อนตัว…