2024 : ปีแห่งความเสี่ยงที่ไม่อาจมองข้าม จากเทคโนโลยี ‘เอไอ’ ที่ไม่ถูกควบคุม

Loading

  สัปดาห์นี้มีรายงานเรื่อง ความเสี่ยงของโลกในปี 2024 ที่ระบุว่า ปีนี้จะเป็นปีที่มีความเสี่ยงสูงในหลายด้าน ทั้งเรื่องการเมืองที่จะมีการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และที่น่าสนใจ คือ ปัญหาเทคโนโลยีเอไอ   สัปดาห์นี้มีรายงานเรื่อง ความเสี่ยงของโลกในปี 2024 ออกมาจากสองค่าย รายงานแรกเป็นของ Eurasia ที่ระบุว่า ปีนี้จะเป็นปีที่มีความเสี่ยงสูงในหลายด้าน ทั้งเรื่องการเมืองที่จะมีการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และที่น่าสนใจ คือ ปัญหาเทคโนโลยีเอไอที่กำลังพัฒนาเร็วกว่าความสามารถในการกำกับและควบคุมดูแล   ส่วนอีกรายงานที่ออกมาเป็นของ World Economic Forum (WEF) ที่ระบุความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ทั้งภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ทั้งในระยะสั้นในสองปีข้างหน้า และระยะยาวในอีกสิบปี ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ การบิดเบือนข้อมูลด้วยเทคโนโลยีเอไอ (Misinformation and Disinformation) กลายเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่สุดในปีนี้ และขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในความเสี่ยงระยะสั้น   WEF ระบุว่า เนื่องด้วยเอไอกลายเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถสร้างข้อมูลปลอม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอย่าง…

คนไม่ไหว AI ต้องช่วย! ระวังปี 67 ภัยไซเบอร์ล้นมือ (Cyber Weekend)

Loading

  ชัดเจนแล้วว่าแนวโน้มหลักในวงการไซเบอร์ซิเคียวริตีปี 2567 จะต่อยอดจากปี 2566 ทั้งภาวะภัยออนไลน์ที่ส่อแววล้นทะลักยิ่งขึ้นจนมนุษย์ไม่อาจจัดการได้เอง และการยกทัพปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาช่วยเสริมแกร่งกระบวนการต้านโจรไฮเทค   สถานการณ์แบบนี้ทำให้หลายบริษัทหนักใจกับระบบไซเบอร์ซิเคียวริตีของตัวเอง โดยเฉพาะบริษัทที่ยังใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายรุ่นดั้งเดิม ซึ่งอาจใช้งานคนละยี่ห้อหรือมีการแยกกันทำงานเป็นชิ้นเพราะเมื่อทำงานร่วมกันไม่ได้ การสร้างระบบป้องกันภัยไซเบอร์ที่ทำงานอัตโนมัติก็เกิดไม่ได้จึงต้องมีการเพิ่มพนักงานเข้ามาดูแล และสุดท้ายทำให้ไม่สามารถพาตัวเองให้รองรับภัยมหาศาลในปีถัด ๆ ไป แถมยังอาจทำให้เสียต้นทุนโดยใช่เหตุ   ความเสียหายนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะผลวิจัยบอกว่าเวลาที่ถูกโจมตี บริษัทส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ยกว่า 21 วันในการตรวจสอบพบเจอ แปลว่ากว่าจะได้เริ่มดำเนินการอุดช่องโหว่แฮ็กเกอร์สามารถนำข้อมูลไปทำสิ่งร้ายได้นานหลายสัปดาห์แล้ว ความท้าทายเหล่านี้ทำให้คำว่าการดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Operations) หรือที่คนทั่วโลกเรียกกันว่า SecOps นั้นมีความสำคัญมากขึ้น โดยการสำรวจล่าสุดพบว่า 52% ของบริษัททั่วโลกนั้นมอง SecOps เป็นงานมีความยุ่งยาก และบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากยังไม่มี   ***ภัยล้นคนไม่ไหว   รัตติพงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวถึงผลสำรวจใหม่ที่จัดทำร่วมกับ IDC เกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในหัวข้อ The State of…

‘เร้ดแฮท’ เปิดคาดการณ์ กระแส ‘โลกเทคโนโลยี’ ปี 67

Loading

  จับตาเมกะเทรนด์ทางเทคโนโลยี ปี 2567 อะไรที่จะมีอิทธิพลต่อโลกธุรกิจ เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา เป็นปีแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เอไอ รวมถึง ChatGPT ที่เข้ามาสร้างแรงสั่นสะเทือน เป็นหัวข้อสนทนากันทั่วโลก   Keypoints : •  เอไอจะยังคงเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญในปี 2567 •  ChatGPT เป็นตัวนำให้ gen AI เป็นที่รู้จักในวงกว้าง •  ความปลอดภัยบนไซเบอร์ยังคงเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกของเป้าหมายการจัดหาเงินทุน   สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท เปิดมุมมองว่า ความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ความท้าทาย แต่เป็นโอกาสที่องค์กรและธุรกิจต่างๆ สามารถใช้เพื่อปลดล็อกความเป็นไปได้มากมายที่เทคโนโลยีเกิดใหม่เหล่านี้นำมาให้สำหรับปี 2567 เร้ดแฮทได้คาดการณ์แนวโน้มสำคัญสามประการที่อาจส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างมีนัยสำคัญประกอบด้วย     เกินกว่าการใช้ ‘คลาวด์’   ก้าวไกลเกินกว่าการใช้คลาวด์ : ในอดีตองค์กรต่างพบว่า การดึงคุณประโยชน์จากข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (unstructured data) มาสร้างมูลค่าให้องค์กรเป็นเรื่องยาก   แต่ความล้ำหน้าด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และล่าสุดคือความสามารถของ…

‘แคสเปอร์สกี้’ เตือนภัยแฝงในเงามืด ‘อุปกรณ์ไอที’ ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ

Loading

  ปัจจุบัน ธุรกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการโจมตีไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มการใช้งานอุปกรณ์ไอทีจากภายนอกองค์กรและจากพนักงานเอง   ผลการวิจัยล่าสุดจาก “แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)” พบว่า สองปีที่ผ่านมา ธุรกิจ 77% ได้รับความเสียหายจากการโจมตีไซเบอร์ โดยที่ธุรกิจ 11% ที่ถูกโจมตีมีสาเหตุมาจากการใช้งานอุปกรณ์ไอทีที่ยังไม่ผ่านการตรวจรับรองของบริษัท   โดย ธุรกิจทั่วโลก 11% ที่เป็นเป้าการโจมตีทางไซเบอร์นั้นมีสาเหตุมาจากที่พนักงานใช้งานอุปกรณ์ไอทีจากภายนอกระบบ ซึ่งสามารถจำแนกผลกระทบจากการใช้งานอุปกรณ์ไอทีนอกระบบได้ตามความรุนแรงของความเสียหาย ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ทั้งการรั่วไหลของข้อมูลลับเฉพาะและความเสียหายต่อธุรกิจ   ไอทีนอกระบบคืออะไร : คำว่าไอทีนอกระบบ หรือ Shadow IT หมายถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่อยู่นอกขอบเขตการเฝ้าระวังของฝ่ายไอทีและฝ่ายรักษาความปลอดภัยข้อมูล   เช่น แอปพลิเคชัน อุปกรณ์ต่าง ๆ บริการคลาวด์สาธารณะ และอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้นำมาผนวกเข้ากับนโยบายรักษาความปลอดภัยข้อมูลของทางธุรกิจ การนำไอทีนอกระบบมาใช้งานหรือปฏิบัติงานบนระบบดังกล่าว สามารถนำไปสู่ผลเสียหายทางธุรกิจได้   งานวิจัยของแคสเปอร์สกี้พบด้วยว่ามีเหตุการณ์ความเสียหายเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งเผยให้เห็นว่าอุตสาหกรรมไอทีตกเป็นเป้าการโจมตีอย่างหนัก ในช่วงปี 2565 – 2566   ข้อมูลระบุว่า ความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ 16% เกิดจากการใช้งานไอทีนอกระบบ…

GISTDA พัฒนาแอป “ไฟป่า” แจ้งเตือนจุดความร้อน ลดเสี่ยงไฟป่า

Loading

  GISTDA พัฒนาแอป “ไฟป่า” เพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังให้กับทุกภาคส่วน พร้อมเดินหน้าติดตามสถานการณ์แบบวันต่อวัน   ช่วงปลายปีถึงต้นปีของทุกปี เป็นช่วงที่น่าจับตากับสถานการณ์ไฟป่าในบ้านเราและจากประเทศเพื่อนบ้าน   เรามาดูกันว่าเมื่อปี 2566 จุดความร้อนสะสมใน 17 จังหวัดภาคเหนือจากดาวเทียมระบบ VIIRS พบว่า ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 มีจุดความร้อนทั้งสิ้น 109,035 จุด   จัดอันดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ เชียงใหม่ 13,094 จุด น่าน 11,632 จุด แม่ฮ่องสอน 11,522 จุด ตาก 10,337 จุด เชียงราย 10,129 จุด ลำปาง 7,898 จุด เพชรบูรณ์ 6,205 จุด   อุตรดิตถ์ 5,720 จุด แพร่ 5,646 จุด พะเยา…

‘สมอลวอท’ อิงเทคโนฯ ดาวเทียม ติดตาม ‘แหล่งน้ำชุมชน’ รับมือภัยแล้ง

Loading

  สมอล-วอท (SMORWAT) ระบบติดตามปริมาณแหล่งน้ำขนาดเล็กจากดาวเทียมธีออส-2 ช่วยเตือนภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำ ให้ข้อมูลพื้นที่น้ำล้นตลิ่งหาบริเวณแหล่งน้ำใหม่ ๆ สร้างวิถีชุมชนใหม่ให้กับคนไทย   สมอล-วอท (SMORWAT) ระบบติดตามปริมาณแหล่งน้ำขนาดเล็กจากดาวเทียม หนึ่งในโครงการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมธีออส-2 พัฒนาโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) สามารถเตือนภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำ ให้ข้อมูลพื้นที่น้ำล้นตลิ่ง ตลอดจนนำไปใช้กับการหาบริเวณแหล่งน้ำใหม่ ๆ เพื่อทำเกษตรและสร้างวิถีชุมชนใหม่ให้กับคนไทย   รู้ทันเรื่องน้ำในทุกมิติ   สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ผู้อำนวยการสำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า แหล่งน้ำขนาดเล็กมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศไทย หากขาดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ก็จะส่งผลให้เกิดผลเสียหลายด้านที่ตามมา เช่น ความแห้งแล้ง น้ำท่วม   จิสด้าจึงได้ริเริ่มโครงการระบบติดตามสถานการณ์แหล่งน้ำขนาดเล็ก โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมธีออส-2 และกลุ่มดาวเทียมรายละเอียดปานกลาง ร่วมกับข้อมูลจากเซนเซอร์ภาคพื้นดิน เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณน้ำ ทั้งในเชิงตำแหน่ง ขนาด รูปร่าง และปริมาณของน้ำในแหล่งน้ำขนาดเล็กแต่ละแห่ง ทำให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในแต่ละพื้นที่   สมอล-วอท จะให้บริการประชาชนทั้งบนเว็บไซต์ water.gistda.or.th และแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟนทั้ง Android และ IOS ที่มีชื่อว่า “Geo Caching”…