ปี 2567 : ความท้าทายทั้งรัฐไทยและ BRN ต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้

Loading

(Photo by Madaree TOHLALA / AFP)   เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ หอประชุมชูเกีรติ ปีติเจิรญกิจ (ตึก สนอ.หลังเก่า) มีเสวนาซึ่งจัดขึ้นโดย Peace Resource Collaborative – PRC ในหัวข้อ “เหลียวหลัง แลหน้า : ทิศทาง อนาคตกระบวนการสันติภาพปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้”   มีผู้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ คือ 1. คุณพลเทพ ธนโกเศศ ตัวแทนจากคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ 2. ตัวแทนคณะพูดคุยสันติภาพขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (BRN) 3. ผศ.ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) 4. คุณ Saifulnizam Bin Muhamad รองหัวหน้าขบวนการยุวชนมุสลิมมาเลเซียประจำรัฐกลันตัน 5. Dr.…

ดำเนินการเชิงรุก เพิ่มความยืดหยุ่น การปฏิบัติงาน Cyber Security (2)

Loading

  ขั้นตอนในการสร้างแผนเชิงรุกเพื่อความยืดหยุ่น การปฏิบัติงาน Cybersecurity ลดความเสี่ยงภัยคุกคามที่มุ่งเป้าโจมตีธุรกิจ โดยเฉพาะภาคการเงินที่ตกเป็นเป้าหมายเพื่อทำลายความสามารถของประเทศ   จากสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้พูดถึงเรื่องการดำเนินการเชิงรุกเพื่อความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานทางไซเบอร์ซิเคียวริตี้โดยเฉพาะในองค์กรทางด้านการเงินและการตื่นตัวขององค์กรในต่างประเทศต่างๆ เพื่อช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบ วันนี้ผมขอพูดถึงขั้นตอนในการสร้างแผนเชิงรุกเพื่อความยืดหยุ่นกันต่อนะโดยเริ่มจาก   ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น : เริ่มต้นด้วยการจัดทำแผนโดยรวมและการเชื่อมต่อโครงข่าย การไหลของข้อมูล ข้อกำหนดด้านความต่อเนื่อง และช่องว่างในกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปัจจุบัน ทำความเข้าใจการพึ่งพาภายในและภายนอกองค์กร   รวมไปถึงระบุช่วงระดับการหยุดชะงักที่ยอมรับได้สำหรับการปฏิบัติการที่สำคัญ และเพื่อให้ได้รับมุมมองแบบองค์รวมเกี่ยวกับความสามารถขององค์กรในการต่อต้าน ปรับตัว และ/หรือฟื้นตัวจากภัยคุกคาม   สร้างแผนการตอบสนอง : สร้างช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับบุคคลภายในและภายนอก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายในทุกที่ทุกเวลา และวางแผนการตอบสนองกับการเชื่อมต่อจากบุคคลที่สามแบบ Zero Trust เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขายจะเข้าถึงได้แบบจำกัด   โดยใช้การเรียนรู้จากภัยคุกคามและแบบทดสอบในอดีตเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่จำเป็น ระบุบุคคลและทีมภายในองค์กรที่จะปฏิบัติตามแผนและกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบให้ชัดเจน   มีการคาดการณ์ว่า รายการวัสดุซอฟต์แวร์ (software bills of materials หรือ SBOM) จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากบริษัททางการเงินต้องพึ่งพาแอปและซอฟต์แวร์ของบุคคลที่สามมากขึ้น โดย การ์ทเนอร์ ประมาณการว่า 45% ขององค์กรทั่วโลกจะประสบกับการโจมตีในห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์ภายในปี 2568 ซึ่งเพิ่มขึ้น 3 เท่าจากปี…

5 คู่ขัดแย้งรายใหญ่ เพียงหนึ่งสัปดาห์ แลกขีปนาวุธทั่วตะวันออกกลาง

Loading

  สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เห็นความรุนแรงรอบใหม่เกิดขึ้นทั่วตะวันออกกลาง ปลุกความกลัวว่า ความขัดแย้งจะขยายไปทั่วภูมิภาค และตอนนี้ยังมีความมั่นคงเหลืออยู่หรือไม่   Key Points •  เหตุการณ์แลกเปลี่ยนการโจมตีระหว่างอิหร่าน – ปากีสถาน ส่งผลให้สถานการณ์ชายแดนสองประเทศยังไม่นิ่ง และอาจเกิดเหตุลุกลามบานปลายขึ้นรวดเร็ว หากกลุ่มจาอิช อัล อัดล์ เอาคืนและตอบโต้กลับอิหร่านบ้าง •  มีความเป็นไปได้ที่สงครามทางตอนเหนือ บริเวณชายแดนอิสราเอล – เลบานอน จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพราะมีแนวโน้มใช้ความรุนแรงสูงขึ้นเท่าที่เคยมีมา •  ถึงอย่างไร พื้นที่อื่น ๆ ในตะวันออกกลาง ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะการที่ประเทศหนึ่งโจมตีอีกประเทศหนึ่ง ยังเกิดขึ้นอยู่ในหลายดินแดน ตลอดสัปดาห์นี้   สำนักข่าวบีบีซีได้สรุปรวบรวมสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง ตลอดรอบสัปดาห์ ซึ่งมีการยิงขีปนาวุธตอบโต้ระหว่างคู่ขัดแย้งรายใหญ่หลายคู่ นี่เป็นข้อควรระวังต่อเหตุการณ์ และคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต   1.อิหร่าน-ปากีสถาน   อิหร่านโจมตีด้วยขีปนาวุธและโดรนในดินแดนปากีสถานอย่างไม่คาดคิด เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (16 ม.ค.) โดยอ้างว่ามุ่งเป้าไปที่กลุ่มติดอาวุธซุนนี จาอิช อัล อัดล์ ซึ่งได้ก่อเหตุความรุนแรงในอิหร่านก่อนหน้านี้ ขณะที่ปากีสถานเผยว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ได้คร่าชีวิตเด็ก…

อิสราเอลมีอาวุธล้ำสมัยอะไรบ้าง และเอไอเกี่ยวข้องอย่างไร?

Loading

GETTY IMAGES ทหารอิสราเอลกำลังถือแท็บเลตสำหรับปฏิบัติการ   กองกำลังป้องกันอิสราเอล หรือ ไอดีเอฟ เป็นหนึ่งในกองทัพที่ทันสมัยมากที่สุดในโลก จากการคำกล่าวอ้างในปี 2022 ว่าพวกเขาสร้าง “เทคโนโลยีสำคัญล้ำยุคมากมาย” ภายใต้การร่วมมือกันกับอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ   สงครามในฉนวนกาซาทำให้เห็นว่ากองทัพอิสราเอลได้นำอาวุธไฮเทคมาใช้   ข้อมูลจากไอดีเอฟ ระบุว่า ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอกำลังมีบทบาทอย่างมาก ทั้งในอาวุธที่อิสราเอลใช้และการระบุเป้าหมายโจมตีต่าง ๆ ถึงแม้ว่าผู้ตัดสินใจสั่งโจมตีเพื่อสังหารยังคงขึ้นอยู่กับนายทหาร   ยอดผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซาทะลุ 22,000 คน ตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุขของปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา ซึ่งบริหารงานโดยกลุ่มฮามาส   ไอดีเอฟ บอกว่า การใช้อาวุธเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ และด้วยความระมัดระวังเพื่อลดการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือน   แล้วอาวุธใหม่ไฮเทคของอิสราเอลมีอะไรบ้าง ?   รถถังบารัค   ISRAELI MINISTRY OF DEFENCE รถถังบารัค   รถถังบารัค (Barak) ซึ่งนำเอไอมาใช้ในหลาย ๆ ทาง เป็นรถถังรุ่นที่ 5 ของรถถังชื่อดังอย่างเมอร์คาวา (Merkava)  …

Auto Blocker สำคัญยังไง บล็อกสแปมจากมิจฉาชีพได้จริงไหม? เช็คมือถือ/แท็บเล็ต Samsung Galaxy ได้อัปเดต One UI 6 ใช้ได้ทุกรุ่น

Loading

  หลังจากที่เริ่มทยอยให้ใช้กันสักพัก ล่าสุด Samsung จัดงานเพื่อตอกย้ำถึงการยกระดับความปลอดภัยจากการโจรกรรมทางไซเบอร์ ได้จัดงานแนะนำฟีเจอร์ Auto Blocker (ตัวบล็อกอัตโนมัติ) กับการช่วยป้องกันสแปม มัลแวร์ต่างๆ ผ่านมือถือซัมซุงกาแล็กซี่ ที่รองรับ One UI 6 โดยได้เชิญตำรวจไซเบอร์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาร่วมให้ข้อมูลภัยไซเบอร์อีกด้วย     โดย พลตำรวจตรี ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เผยสถิติแจ้งความออนไลน์ 9 เดือน ช่วงปี 2566 ว่าคิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวมที่เกิดขึ้นสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท จาก 185,814 คดี และมีจำนวนเคสเฉลี่ยต่อวันประมาณ 700 – 800 เคส   14 ประเภทคดีออนไลน์ที่คนไทยโดนหลอกมากสุด 17 มี.ค. – 31 ธ.ค. 2566 1. หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการไม่เป็นขบวนการ 82,902 คดี 2. หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานฯ…

เกิดอะไรขึ้น? ทำไม อิหร่าน-ปากีสถาน ยิงมิสไซล์ตอบโต้กันรอบล่าสุด

Loading

  อิหร่านกับปากีสถาน สองประเทศเพื่อนบ้าน ยิงมิสไซล์โจมตีเข้าใส่กันในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทำให้ต่างฝ่ายต่างมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ   การโจมตีที่ล่าสุด เกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดเป็นวงกว้างในตะวันออกกลาง และความเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดยั้งของกลุ่มติดอาวุธบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการโจมตีครั้งนี้   หลายฝ่ายกำลังจับตาดูว่า สถานการณ์ระหว่างปากีสถานกับอิหร่านจะบานปลายหรือไม่ แต่เชื่อกันว่า เหตุการณ์ไม่น่าจะรุนแรงไปมากกว่านี้แล้ว   ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ปากีสถานกับอิหร่านต่างฝ่ายต่างยิงมิสไซล์ข้ามชายแดนเข้าสู่ดินแดนของอีกฝ่าย ทำให้ความเป็นศัตรูกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้านทั้งสอง เพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง   ชายแดนของทั้ง 2 ประเทศ เชื่อมติดกันเป็นระยะทางกว่า 900 กม. ระหว่างจังหวัดบาลูจิสถานของปากีสถาน กับจังหวัดซิสถานและบาลูเชสถาน ของอิหร่าน ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า ภูมิภาคบาลูช (Baloch) และทั้งคู่ก็ต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นแถบนี้มาอย่างยาวนาน   แต่ในขณะที่ปากีสถานกับอิหร่านมีศัตรูเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเหมือนกัน การโจมตีกลุ่มติดอาวุธที่อยู่ในดินแดนของอีกฝ่ายนั้น เป็นสิ่งที่แทบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แล้วทำไมมันจึงเกิดขึ้นในตอนนี้ และสถานการณ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายจะบานปลายต่อไป หรือยุติลงเพียงเท่านี้กันแน่     อิหร่านโจมตีข้ามพรมแดน ปากีสถานตอบโต้ อิหร่านเป็นฝ่ายเปิดฉากโจมตียิงมิสไซล์และส่งโดรนเข้าสู่จังหวัดบาลูจิสถานของปากีสถานก่อน เมื่อวันอังคารที่ 16 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีเด็กเสียชีวิต 2…