The Imitation Game ดีเอ็นเออังกฤษรากเหง้าเอไอ | หนังเล่าโลก

Loading

  สัปดาห์ก่อนผู้คนในแวดวงเทคโนโลยีและสตาร์ทอัปต่างตื่นเต้นกับงาน Techsauce Global Summit 2023 งานประชุมด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ที่จัดงาน UK AI Week Bangkok และปิดฉากอย่างสวยงามด้วยงาน Turing Night ฉายภาพยนตร์เรื่อง The Imitation Game   The Imitation Game ปี 2014 ผลงานการกำกับของ มอร์เทน ไทล์ดัม (Morten Tyldum) ภาพยนตร์อัตชีวประวัติของอลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์ชาวสหราชอาณาจักร เน้นเรื่องราวตอนที่เขาทำงานอยู่ที่เบลชลีย์ พาร์คระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลอังกฤษมีโครงการลับถอดรหัสลับนาซีจากเครื่องอินิกมา โดยทีมงานสุดยอดอัจฉริยะเพียง 5-6 คนซึ่งอลันเป็นหนึ่งในนั้น แต่ละวันมีพนักงานตรวจจับข้อความจากนาซีเยอรมนีได้เป็นจำนวนมาก หากถอดรหัสข้อความธรรมดาสามัญเหล่านี้ได้ฝ่ายสัมพันธมิตรก็จะทราบได้ว่านาซีจะโจมตีที่ไหนแล้วแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน   แต่ความยากอยู่ตรงที่เครื่องอินิกมาสามารถเข้ารหัสได้ถึง 15 ล้านล้านแบบ และตั้งรหัสใหม่ทุกเที่ยงคืน ข้อความแรกที่ฝ่ายสัมพันธมิตรตรวจจับได้มักมาในเวลา 6.00 น. เท่ากับว่า พวกเขามีเวลาเพียง 18 ชั่วโมงในการใช้มนุษย์…

แรนซัมแวร์บุกโจมตี Microsoft OneDrive

Loading

  บรรดาแฮ็กเกอร์ได้เลือก OneDrive เป็นเป้าหมายในการเปิดการโจมตีครั้งใหม่   OneDrive ถือเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมแชร์ไฟล์ที่ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานอย่างแพร่หลาย ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะผู้ใช้งานสามารถเรียกดูไฟล์และทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา   อีกทั้ง Microsoft เป็นเจ้าของ OneDrive ทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือ ขณะที่ Endpoint Detection and Response Program (EDR) ซึ่งเป็นโซลูชันรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังสามารถตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้   อย่างไรก็ตาม เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ได้เลือก OneDrive เป็นเป้าหมายในการเปิดการโจมตีครั้งใหม่ โดยโปรแกรม OneDrive ถูกใช้เป็นแรนซัมแวร์เพื่อเข้ารหัสไฟล์ต่าง ๆ บนเครื่องเป้าหมาย โดยไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้   Microsoft จึงได้เริ่มการแพตช์ OneDrive เพื่อหยุดการทำงานในเวอร์ชัน 23.061.0319.0003, 23.101.0514.0001 และเวอร์ชันที่ใหม่กว่านั้น โดยมีการรวบรวมกระบวนการในการโจมตี OneDrive ไว้ในเครื่องมืออัตโนมัติที่เรียกว่า DoubleDrive   การเข้าครอบครอง(Take over) บัญชี OneDrive จะเริ่มจากกระบวนการบุกโจมตีเครื่องเป้าหมายผ่านการเข้าสู่บัญชี OneDrive และจัดการกำจัด Access…

อนาคตแห่งอินเทอร์เน็ตดาวเทียม การส่งข้อมูลผ่านเลเซอร์

Loading

  อินเทอร์เน็ตดาวเทียม หนึ่งในระบบที่ได้รับความสนใจมากขึ้นจากการมาถึงของ Starlink แต่ด้วยขีดจำกัดทางเทคโนโลยีทำให้ความเร็วยังต่ำกว่าและสร้างปัญหาในเชิงดาราศาสตร์ ล่าสุดจึงเริ่มมีแนวคิดพัฒนา การส่งข้อมูลผ่านเลเซอร์ ที่อาจเป็นกุญแจสู่ระบบอินเทอร์เน็ตในอนาคต   อินเทอร์เน็ตดาวเทียม อีกหนึ่งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับการพูดถึงมากขึ้น ด้วยจุดเด่นที่รองรับการใช้งานแทบทุกพื้นที่ทั่วโลก ไม่ต้องพึ่งพาสัญญาณจากท้องถิ่นหรือโครงสร้างพื้นฐานแบบเคเบิลใยแก้ว อาศัยเพียงอุปกรณ์เชื่อมต่อรองรับสัญญาณก็เพียงพอ นี่จึงเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง   เราทราบดีว่าระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมปัจจุบันยังมีข้อจำกัดหลายด้าน ทั้งปัญหาในแง่ความเสถียรหรือความเร็วในการให้บริการ นำไปสู่ความพยายามในการปรับปรุงแก้ไข อย่าง Starlink ของบริษัท SpaceX ที่เลือกจะเพิ่มจำนวนดาวเทียมในวงโคจร ขยายขีดความสามารถในการกระจายสัญญาณเพื่อประสิทธิภาพในการส่งข้อมูล   ฟังดูเป็นเรื่องดีแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเพิ่มจำนวนดาวเทียมอินเทอร์เน็ตก็กำลังสร้างผลกระทบใหญ่หลวงเช่นกัน   พิษภัยที่คาดไม่ถึงของระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียม   เมื่อพูดถึงประเด็นในการเพิ่มจำนวนดาวเทียมในวงโคจร สิ่งแรกที่ทุกคนคิดถึงย่อมเป็นจำนวนขยะอวกาศเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณที่ปัจจุบันเรายังไม่มีวิธีจัดการเป็นรูปธรรม แต่อีกหนึ่งปัญหาที่ถูกค้นพบและเริ่มได้รับการพูดถึงคือ สัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นจากระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียม   โดยพื้นฐานระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมจะทำการส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุ แม้แต่ Starlink เองก็ใช้การส่งข้อมูลรูปแบบนี้ แต่อาศัยประโยชน์จากการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำและมีจำนวนมาก ช่วยให้การส่งข้อมูลทำได้รวดเร็ว ลดปัญหาความหน่วงและล่าช้า ยกระดับขีดความสามารถอินเทอร์เน็ตดาวเทียมขึ้นอีกขั้น   แต่จากการศึกษาล่าสุดพบว่า คลื่นวิทยุจากดาวเทียมเครือข่าย Starlink มีจำนวนและอัตราการปล่อยคลื่นวิทยุมากเกินไป กลายเป็นสิ่งกีดขวางการทำงานของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ซึ่งอาศัยการตรวจจับเทหวัตถุบนท้องฟ้าด้วยคลื่นวิทยุเช่นกัน ส่งผลให้การทำงานของดาวเทียมในเครือข่าย Starlink กลายเป็นการรบกวนการศึกษาดาราศาสตร์   จากการทดลองของนักดาราศาสตร์ที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ความถี่ต่ำพบว่า…

สู่ยุคใหม่แห่งการรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI

Loading

  ปัญญาประดิษฐ์ถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเริ่มมีการพูดถึงระบบตรวจจับด้วยกล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI แม้นี่ไม่ใช่ของใหม่แกะกล่อง แต่หลายประเทศก็เริ่มตั้งคำถามในการนำมาใช้งานเช่นกัน   กล้องวงจรปิด หนึ่งในอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ถูกใช้งานในฐานะอุปกรณ์บันทึกภาพเพื่อยืนยันสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ สามารถพบเห็นได้ตามท้องถนน อาคารบ้านเรือน หรือแม้แต่รถยนต์ส่วนบุคคล เรียกว่าเป็นหนึ่งในระบบรักษาความปลอดภัยที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน   สำหรับภาครัฐนี่ก็ถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยระบุตัวตนในพื้นที่สาธารณะเป็นอย่างดี ช่วยให้สามารถตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ ใช้งานในการดูแลรักษาความสงบภายในประเทศ นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ล่าสุดจึงเริ่มมีการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาปรับใช้ นำไปสู่การพัฒนา กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ในที่สุด     ขั้นกว่าในการรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI   ความก้าวหน้าของ เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง การพัฒนาก้าวกระโดดสร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ทางสังคม หลายภาคส่วนจึงเริ่มมองเห็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ สู่การคิดค้นกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ที่เริ่มมีการใช้งานแพร่หลายทั่วทุกมุมโลก   ในสหราชอาณาจักรเริ่มมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ สามารถตรวจสอบการทิ้งขยะของคนขับและผู้โดยสารที่อยู่ภายในรถ จากนั้นจะทำการระบุป้ายทะเบียนและส่งข้อมูลนี้ไปถึงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยอัตโนมัติ นำไปสู่การออกใบสั่งเสียค่าปรับซึ่งมีมูลค่าสูงสุดถึง 100 ปอนด์(ราว 4,400 บาท) เลยทีเดียว   ทางด้านสหรัฐฯได้มีการนำระบบ AI มาใช้ร่วมกับ ระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ…

‘เทคโนโลยี’ กับการสร้าง ความปลอดภัยให้สังคม

Loading

  ‘สภาพแวดล้อม’ ที่ปลอดภัยถือเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐาน ที่ช่วยสร้างมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี ให้ผู้คนในสังคม โดยเฉพาะ “ความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ” (Public Safety) หนึ่งในประเด็นที่คนในสังคมให้ความสำคัญ   เนื่องจากช่วยสร้างความมั่นใจและความอุ่นใจในการใช้ชีวิต ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และส่งผลดีต่อการพัฒนาทางธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน   นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ สหประชาชาติกำหนดให้การ “ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความเสมอภาค ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน” (Make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and sustainable) เป็นหนึ่งใน ‘เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน’ (Sustainable Development Goals: SDGs)   แม้ปัจจุบันหลายองค์กรจะให้ความสำคัญกับการยกระดับความปลอดภัยสาธารณะ แต่ปัญหาอาชญากรรมและอุบัติเหตุในรูปแบบต่าง ๆ ก็ยังคงมีให้เห็นกันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยจึงได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยเสริมความรวดเร็วและความแม่นยำในการป้องกันและยับยั้งภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น เทคโนโลยีระบบสื่อสารฉุกเฉิน (Emergency Communication Systems) ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ อาทิ…

ระบบบล็อกเชน คืออะไร ทำไม เงินดิจิทัล10000 ต้องใช้เทคโนโลยีนี้

Loading

  บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีตัวช่วยด้านความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ความน่าสนใจของระบบนี้ กำลังจะถูกนำมาใช้ใน นโยบายเงินดิจิทัล 10000 ของรัฐบาล   กระแสการพูดถึง เทคโนโลยี Blockchain ในขณะนี้กำลังร้อนแรง ด้วยเรื่องของการเงินและการตรวจสอบที่แม่นยำ เป็นหนึ่งในเครื่องมือตรวจสอบประวัติที่วงการธนาคารนำมาใช้ในการตรวจประวัติของลูกค้าหรือผู้ที่ยื่นขอกู้เงิน แต่ระบบนี้มีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง มาทำความรู้จักกันค่ะ   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้คำอธิบายเกี่ยวกับระบบบล็อกเชน ว่า เป็นนวัตกรรมที่เข้ามาตอบโจทย์คนยุคใหม่ในเรื่องความง่ายและรวดเร็วในการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์เพียงไม่กี่วินาที แม้จะไม่มีธนาคารตัวกลางแต่ยังคงความปลอดภัยเหมือนเดิม และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวนมาก ดังนั้น การใช้ Blockchain ในไทยน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจยุคดิจิทัลได้ดี   บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีตัวช่วยด้านความปลอดภัย (Security) และความน่าเชื่อถือ (Trust) ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศของธุรกิจแบบ B2B (Business to Business) สามารถโอนโดยไม่ต้องแปลงสกุลเงินได้เลย บุคคลทั้งสองฝั่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ แม้บุคคลทั้งสองจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน   ดังนั้น บล็อกเชนจึงเหมาะแก่การนำไปประยุกต์ใช้กับการทำธุรกรรมออนไลน์ หรือ FinTech เช่น การรับ…